ทำนิติกรรมขายฝากทรัพย์ ใครเป็นคนจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียม
25
Oct 24

เมื่อคุณตัดสินใจขายฝากทรัพย์ หรือ ทำนิติกรรมขายฝาก คำถามที่หลายคนยังคงสงสัย คือ ค่าธรรมเนียมการขายฝาก ใครเป็นคนจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม? เดี๋ยววันนี้จะมาไขข้อสงสัยให้ทุกคนกันค่ะ

ก่อนอื่นเลยมาทำความรู้จักกับคำว่า ขายฝาก กันก่อนค่ะ

การขายฝาก คือ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ถูกกฎหมาย มีกฎหมายคุ้มครองทั้งผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝาก(นักลงทุน) โดยการขายฝาก คือ การซื้อขายทรัพย์สินอย่างหนึ่งที่กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้ซื้อฝากทันทีที่มีการทำสัญญา แต่มีเงื่อนไขตกลงว่าผู้ขายฝากสามารถไถ่ทรัพย์สินคืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดและวงเงินที่ตกลงกัน โดยจะมีค่าธรรมเนียมในการขายฝากทรัพย์ และค่านิติกรรมอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในการทำธุรกรรมนั้นๆ 

 

ทำไมต้องจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียม

การจ่ายค่าภาษี และ ค่าธรรมเนียมการขายฝาก ในการทำนิติกรรมขายฝากทรัพย์มีความสำคัญ ดังนี้

  1. ปฏิบัติตามกฎหมาย การจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียมเป็นข้อบังคับตามกฎหมายที่ช่วยให้การทำธุรกรรมเป็นไปตามข้อกำหนดและถูกต้องตามหลักกฎหมาย
  2. บันทึกข้อมูลทางการ ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนช่วยให้การขายฝากทรัพย์สินถูกบันทึกในระบบทะเบียนอย่างเป็นทางการ ทำให้สามารถตรวจสอบความเป็นเจ้าของได้อย่างชัดเจน
  3. ป้องกันการฟ้องร้อง การจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียม ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดข้อพิพาทในอนาคต เนื่องจากมีเอกสารและการบันทึกที่ชัดเจน
  4. สนับสนุนการบริการของรัฐ ค่าภาษีที่จ่ายให้กับรัฐจะถูกนำไปใช้ในการพัฒนาสาธารณูปโภคและบริการต่างๆ เช่น การศึกษา สาธารณสุข และโครงสร้างพื้นฐาน
  5. การสร้างความมั่นคงให้กับตลาด การปฏิบัติตามกฎหมายและการจ่ายภาษีช่วยให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์มีความมั่นคงและเชื่อถือได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ลงทุน
  6. ความโปร่งใสในการทำธุรกรรม การมีค่าธรรมเนียมและภาษีช่วยให้การทำธุรกรรมมีความโปร่งใส ลดโอกาสในการทุจริตและการกระทำที่ไม่ถูกต้อง

การจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียมจึงมีความสำคัญไม่เพียงแต่สำหรับผู้ที่ทำธุรกรรมเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของระบบเศรษฐกิจโดยรวมอีกด้วย

 

อัตราภาษีและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้อง คือ 

  • อัตราภาษีการโอน และ ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน

 

ในกรณีบุคคลธรรมดา มีค่าใช้จ่าย ดังนี้

  • ค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท
  • ค่าพยาน 20 บาท
  • ค่าธรรมเนียมการโอน 2% คิดจากราคาประเมินจากสำนักงานที่ดิน หรือราคาขายฝาก
  • ค่าอากรแสตมป์ 0.5% คิดจากราคาซื้อ-ขายฝาก แต่ถ้าราคาซื้อ-ขายฝาก ต่ำกว่าราคาประเมิน ให้ใช้ราคาประเมินราชการ โดยทุก 200 บาท หรือเศษของ 200 บาท เสียค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาประเมินที่ดิน หรือราคาขายฝาก ขึ้นอยู่ว่าราคาใดสูงกว่า (เฉพาะการขายฝากที่อยู่ในหลักเกณฑ์)
  • ค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คิดตามเกณฑ์ของกรมสรรพากร

 

ในกรณีนิติบุคคล มีค่าใช้จ่าย ดังนี้

  • ค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท
  • ค่าพยาน 20 บาท
  • ค่าธรรมเนียมการโอน 2% คิดจากราคาประเมินจากสำนักงานที่ดิน หรือราคาขายฝาก
  • ค่าอากรแสตมป์ 0.5% คิดจากราคาซื้อ-ขายฝาก แต่ถ้าราคาซื้อ-ขายฝาก ต่ำกว่าราคาประเมิน ให้ใช้ราคาประเมินราชการ โดยทุก 200 บาท หรือเศษของ 200 บาท เสียค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาประเมินที่ดิน หรือราคาขายฝาก ขึ้นอยู่ว่าราคาใดสูงกว่า (เฉพาะการขายฝากที่อยู่ในหลักเกณฑ์)
  • ค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 1% ของราคาซื้อ-ขายหรือราคาประเมินราชการ (อย่างใดอย่างหนึ่งที่มูลค่าสูงกว่า)

ทำนิติกรรมขายฝากทรัพย์ ใครเป็นคนจ่าย ค่าธรรมเนียมการขายฝาก

ในค่านิติกรรมอื่นๆ มีค่าใช้จ่าย ดังนี้

  • ค่าต่อสัญญาขายฝาก แปลงละ 50 บาท
  • ค่าไถ่ถอนการขายฝาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สำนักงานที่ดินอีกครั้ง ทั้งในกรณีบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โดยต้องเสียภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามเกณฑ์ของกรมสรรพากร ค่าอากร 0.50% ค่าคำขอและค่าพยาน เสมือนการซื้อกลับมา โดยได้รับยกเว้นค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ และค่าธรรมเนียม (โดยจะคิดค่าธรรมเนียมเหลือ 50 บาทต่อแปลง)

 

ทำนิติกรรมขายฝาก ใครจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียม

  • การขายฝาก ผู้ขายฝากจะเป็นผู้ชําระค่าธรรมเนียม แต่กฎหมายก็ไม่ได้ห้าม หากคู่กรณีจะตกลงกันให้ผู้ซื้อฝากเป็นผู้ออกก่อน ทั้งนี้ผู้ไถ่จะต้องชดใช้ให้แก่ผู้ซื้อฝากพร้อมกับการชําระสินไถ่ (ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา ๕๐๐ วรรค แรก) 

 

สรุปส่งท้าย ค่าธรรมเนียมการขายฝาก ผู้ขายฝากจะต้องเป็นคนออกค่าใช้จ่าย นอกจากนี้การจ่ายค่าธรรมเนียมยังสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนอีกด้วย รายละเอียดค่าธรรมเนียมขายฝากที่ดิน บ้าน คอนโดและอสังหาฯ อัพเดต ปี 2567 ประกอบด้วยค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน, ค่าอากรแสตมป์, ภาษีธุรกิจเฉพาะ, ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และค่าธรรมเนียมอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ค่าประเมินราคาทรัพย์สิน ค่าทนายความ และค่านายหน้า

 

ใครที่ยังสงสัยว่า… ค่าธรรมเนียมขายฝาก คิดยังไง จริงๆ แล้วค่าธรรมเนียม ขายฝากมีการเปลี่ยนแปลงได้ จึงควรตรวจสอบข้อมูลที่เป็นปัจจุบันจากสำนักงานที่ดินในพื้นที่ที่คุณจะดำเนินการ และควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี หรือสอบถามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานสรรพากรและสำนักงานที่ดิน เพื่อให้ได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องและเหมาะสมกับกรณีของคุณค่ะ 

ต้องการเงินด่วน Property4Cash ยินดีให้คำปรึกษาและช่วยเพิ่มทุนให้กับทุกคน เข้าถึงเงินด่วน เพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจ ใช้จ่ายฉุกเฉิน ไม่เช็คแบล็คลิส ไม่เช็คเครดิตบูโร ไม่มีนโยบายยึดทรัพย์

อนุมัติภายใน 24 ชั่วโมง รวดเร็วทันใจ นึกถึง ขายฝากจำนอง นึกถึง Property4Cash

 

—————————————————–

Property4Cash ยินดีให้คำปรึกษาและช่วยเพิ่มทุนให้กับทุกคนที่ต้องการเงินด่วน และต้องการเงินเพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจ ไม่เช็คแบล็คลิส ไม่เช็คเครดิตบูโร

อนุมัติรวดเร็วทันใจ นึกถึง ขายฝากจำนอง นึกถึง Property4Cash

Line: @Property4Cash

โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash

ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

ขายฝากกับกู้ธนาคาร เลือกทางไหนดี?
11
Sep 24
ขายฝากกับกู้ธนาคาร เลือกทางไหนดี?

การตัดสินใจเลือก ขายฝากกับกู้ธนาคาร เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณาให้รอบคอบ เพราะทั้งสองทางเลือกมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันไป เพื่อให้คุณตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ลองมาเปรียบเทียบรายละเอียดกัน ขายฝาก  ขายฝาก คือ สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่มีเงื่อนไขพิเศษ ซึ่งผู้ขายฝากสามารถซื้อทรัพย์สินนั้นกลับคืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดตามกฎหมาย โดยทั่วไปขายฝากจะเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ขายต้องการเงินด่วน แต่ยังต้องการรักษาสิทธิในการซื้อทรัพย์สินนั้นคืน ข้อดี: ได้เงินเร็ว: กระบวนการอนุมัติและรับเงินรวดเร็วกว่าการกู้ธนาคาร วงเงินสูง: มักจะได้วงเงินสูงกว่าการกู้ธนาคาร ไม่ต้องมีเครดิตบูโรที่ดี: เหมาะสำหรับคนที่ไม่มีประวัติเครดิตที่ดี ไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันเพิ่มเติม: ใช้ทรัพย์สินที่มีอยู่เป็นหลักประกัน ข้อเสีย: เสียกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชั่วคราว: กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะโอนไปให้อีกฝ่ายหนึ่ง จนกว่าจะไถ่ถอนคืน ดอกเบี้ยอาจสูงกว่า: อัตราดอกเบี้ยอาจสูงกว่าการกู้ธนาคาร มีความเสี่ยงสูง: หากไม่สามารถไถ่ถอนทรัพย์สินคืนได้ตามกำหนด อาจสูญเสียทรัพย์สินไป ขั้นตอนยุ่งยาก: การทำสัญญาและไถ่ถอนทรัพย์สินมีขั้นตอนที่ซับซ้อนก […]

อ่านเพิ่มเติม
22
May 25
ติดบูโร รหัส 30 ทำขายฝากได้ไหมคะ?

          ติดบูโร รหัส 30 ทำขายฝากได้ไหม? เป็นคำถามที่ทางบ้านสอบถามเข้ามาวันนี้ Property4Cash เงินด่วนอสังหา มาสรุปให้นะคะ            ใครที่กำลังเตรียมกู้สินเชื่อต้องรู้ เพราะบทความนี้จะพาคุณมาทำความเข้าใจกับอีกหนึ่งกุญแจสำคัญอย่าง “เครดิตบูโร (Credit Bureau)” สถาบันที่จัดเก็บข้อมูลบัญชีสินเชื่อ และประวัติการชำระสินเชื่อทุกประเภท ไม่ว่าคุณทำอะไร ด้วยสินเชื่อไหน เครดิตบูโรก็จะบอกสถานะของคุณไว้อย่างชัดเจน ยิ่งคุณมีสถานะบูโรดีมากเท่าไร โอกาสที่จะได้รับการอนุมัติสินเชื่อก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น           เพราะฉะนั้น มาทำความรู้จักกับ “สถานะบูโร” กุญแจสู่ผลการอนุมัติสินเชื่อในฉบับรวบรัด เครดิตบูโรคืออะไร? ถ้าติดแบล็คลิสแก้ยังไง? หรือตัวเลขสถานะบูโรนั้นมีกี่แบบ กรุงไทยได้รวมคำตอบเหล่านี้ให้คุณได้หายข้องใจกัน   เครดิตบูโรคืออะไร?           เครดิตบูโร (Credit Bureau) หรือ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด คือ สถาบันที่รวบรวมข้อมูลบัญชีสินเชื่อ รวมทั้งประวัติการชำระหนี้และสินเชื่อทุกประเภท อีกทั้งยังสามารถระบุสถานะบูโรของแต่ละบุคคลว่าเป็นอย่างไร มีประวัติการชำระที่ดีหรือไม่ รวมไปถึงการระบุว่า […]

อ่านเพิ่มเติม
9
Apr 24
ชาวต่างชาติสามารถรับจำนองได้ไหม?

หลายคนอาจจะสงสัยว่าการรับจำนองเนี่ย สามารถทำได้เฉพาะคนไทยใช่หรือไม่? และถ้ามี ชาวต่างชาติรับจำนอง ในไทยสามารถทำได้ไหมนะ? ค้นหาตามสื่อต่างๆ ก็อาจจะยังไม่ได้รับคำตอบที่คลายข้อสงสัยได้เลย วันนี้เรามีคำตอบมาให้ทุกคนได้คลายปมความสงสัยกันแล้วค่ะ ก่อนอื่นเรามาดูความหมายสั้นๆ ของ การจำนองกันก่อนดีกว่าค่ะ การจำนอง คือการที่ผู้จำนองนำทรัพย์สินที่มีค่านำมาประกันเพื่อกู้เงินมาใช้  โดยใช้เป็นหลักประกันคือ อสังหาริมทรัพย์  คือ ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่น คอนโด โฉนดที่ดิน บ้าน อาคารพาณิชย์ โดยการจำนอง ผู้จำนองต้องนำสินทรัพย์ไปจดทะเบียนไว้กับผู้รับจำนองซึ่งต้องกระทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่กรมที่ดินเท่านั้น ทั้งนี้ไม่ต้องโอนที่ดินหรือทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้รับจำนอง สำหรับคำถามที่ว่า ชาวต่างชาติสามารถรับจำนองได้ไหม? การรับจำนองสำหรับกรณีที่ ฝั่งผู้รับจำนองเป้นชาวต่างชาตินั้น ยังไม่มีกฎหมายกำหนดห้าม นั่นหมายความว่า ชาวต่างชาติรับจำนอง ที่ดินได้ เนื่องจากการจำนองไม่ได้มีการเปลี่ยนเจ้าของ เจ้าของในโฉนดที่ดินยังคงเป็นบุคคลเดิมอยู่ สัญญาการจำนองจะแตกต่างจากสัญญากู้เงิน คือเมื่อคุณทำการจดจำนองที่ดินแ […]

อ่านเพิ่มเติม