ค่าโอน
30
Dec 22

ถึงกับต้องร้องเสียงหลงกันว่า ไอ้หยา~ เมื่อ ค่าโอน อสังหาฯ ปีหน้า แพงขึ้นถึง 100 เท่า!! หลังมีมิติ ครม. ออกมาว่า ในปี 2566 นี้ จะมีมาตรการช่วยเหลือลดค่าโอนให้เพียง 1% เท่านั้น เทียบจากปี 2565 ที่ผ่านมาคนไทยได้รับการช่วยเหลือตรงนี้ เสียค่าโอนกันเพียงแค่ 0.01% จากปกติ 2% เท่านั้นเอง

จากข่าวที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 เห็นชอบมอบของขวัญปีใหม่ให้แก่ประชาชน ด้วยมาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัยปี 2566 โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. ลดค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์จาก 2% เหลือ 1% 
  2. ลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์จากเดิม 1% เหลือ 0.01% 

สำหรับการซื้อขายที่อยู่อาศัย ได้แก่ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว อาคารพาณิชย์ และห้องชุด (คอนโด) ทั้งบ้านมือ 1 และมือ 2 เฉพาะที่มีราคาซื้อขายและราคาประเมินทุนทรัพย์ไม่เกิน 3 ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 3 ล้านบาท ต่อสัญญา (แหล่งที่มาข่าว https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62863)

หมายความว่า.. หากเราจะซื้อบ้านราคา 3 ล้านบาท 

จากเดิมปี 2565 เราจะเสียค่าโอน 0.01% หรือ 300 บาท เพียงเท่านั้น แต่ในปี 2566 ที่จะถึงนี้จะถูกปรับขึ้นเป็น 1% หรือเท่ากับเราต้องเสียค่าโอนเพิ่มเป็น 30,000 บาททันที ส่วนค่าจดจำนองสำหรับคนที่ยื่นกู้กับธนาคารนั้น ยังคงได้ส่วนลด 0.01% เทียบเท่าปี 2565 นี้ตามเดิม 

ซึ่งหากเทียบกับปี 2564 แล้ว ต้องถือว่าเรายังคงได้รับส่วนลดค่าโอนถูกลงอยู่จริงๆ นั่นแหละ เพียงแต่ว่าในสภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวดีแบบนี้ การปรับค่าโอนเพิ่มขึ้นเป็น 1% นั้นดูจะใจร้ายกับเราไปหน่อย T^T  

นอกจากนี้แล้ว อีกหนึ่งปัจจัยที่จะทำให้ค่าโอนสูงขึ้นนั้นยังมีเรื่องของ ราคาประเมินที่ดินรอบใหม่ (2566-2569) 

เมื่อกรมธนารักษ์ปรับขึ้นราคาประเมินที่ดินใหม่รอบปี 2566-2569 โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ซึ่งราคาเฉลี่ยจะสูงขึ้นถึง 7-8% ส่วนพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ราคาจะปรับเพิ่มขึ้น 20-30% กันเลยแม่เจ้า!!!!!

 

มาตรการลดค่าโอน เกี่ยวกับ จำนอง และ ขายฝาก ไหม ? 

เป็นคำถามที่สงสัยและถามเข้ามากันเยอะมาก แต่ต้องบอกเลยว่า “ไม่เกี่ยวจ้าาาา” ค่าจดทะเบียน การโอนนั้น เขาช่วยเหลือเฉพาะนิติกรรม “ซื้อขาย” เท่านั้น ส่วน ค่าจดจำนอง ก็เป็นค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ที่ยื่นของสินเชื่อกับธนาคารหรือกู้แบงค์เพื่อซื้ออสังหาฯ เป็นคนละส่วนกันกับ “จำนอง” นั่นเอง

แต่จะมีผลกับนิติกรรม “ขายฝาก” ตรงที่ ราคาประเมินที่ดิน รอบใหม่นี่แหละ! เพราะว่าการทำขายฝากนั้นมี ค่าโอน ค่าธรรมเนียมที่อ้างอิงกับราคาประเมินที่ดินอยู่ด้วย ทำให้ค่าใช้จ่ายตรงนี้สูงขึ้นตามไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

ลำพังการขายฝากทั่วไปอาจจะไม่ได้เดือดร้อนมากนัก แต่สำหรับคนที่ทำขายฝากไว้อยู่แล้ว ต้องการเปลี่ยนมือหานายทุนใหม่มารับ บอกเลยว่าหนัก!! เพราะนอกจากจะต้องเสียค่าธรรมเนียมไถ่ถอนขายฝากแล้ว ยังต้องเสียค่าธรรมเนียมขายฝากใหม่อีกครั้งในราคาประเมินที่สูงขึ้นตามไปอีกด้วย 

——————————————————-

สนใจ จำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง 

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

 

ค่าโอน

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

Blacklist และ เครดิตบูโรต่างกันอย่างไร
18
Apr 23
Blacklist และ เครดิตบูโรต่างกันอย่างไร

หลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินคำว่าเครดิตบูโรอยู่บ่อยๆ แต่หลายๆ อาจยังไม่เข้าใจ ว่าจริงๆ แล้วเครดิตบูโร มันคืออะไร และมันต่างจาก Blacklist ยังไงบ้าง มาค่ะ วันนี้เรามาทำความเข้าใจกัน ว่ามันมีความสำคัญอย่างไร และเอามาวัดเครดิตการเงินของเราอย่างไรบ้าง ข้อมูลเครดิตบูโร คือข้อมูลประวัติการชำระหนี้ของเรา ซึ่งมันจะถูกจัดเก็บไว้ในระบบฐานข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิต หรือเราเรียกสั้นๆว่า NCB  ปัจจุบันข้อมูลเครดิตประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1 ข้อมูลบ่งชี้ถึงตัวตนเรา เช่น ชื่อ ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด สถานภาพการสมรส อาชีพ เลขบัตรประชาชน 2 ข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติ และประวัติการชำระสินเชื่อ ราคาสินค้าหรือบริการโดยบัตรเครดิต รวมถึงสถานะบัญชีอีกด้วย สถานะบัญชี คือ รายงานที่จะบอกว่าคุณชำระสินเชื่อปกติ สินเชื่อที่ค้างชำระเกิน 90 วัน หรือ สินเชื่อที่ปิดบัญชีแล้ว * สินเชื่อที่อยู่ในกระบวนการทางกฎหมาย เป็นต้น ข้อมูลเครดิตมีความสำคัญอย่างไร ? ต้องบอกเลยค่ะว่ามันสำคัญมาก เพราะมันคือข้อมูลเครดิตที่จะแสดงถึงประวัติการชำระหนี้ ที่จะสะท้อนถึงพฤติกรรมและวินัยทางการเงินของเรา แสดงถึงความตั้งใจในการชำระหนี้ และความน่ […]

อ่านเพิ่มเติม
ที่ดิน น.ค.๓
3
Apr 25
ที่ดิน น.ค.๓ สามารถออกเป็นโฉนดที่ดินได้หรือไม่?

ที่ดิน น.ค.๓ สามารถออกเป็นโฉนดที่ดินได้หรือไม่? วันนี้ P4c สรุปมาให้แล้วค่ะ📕           น.ค.๓ เป็นเอกสารที่ออกสืบเนื่องจาก น.ค.๑ ซึ่งเป็นหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตนิคมสร้างตนเอง โดยกรมประชาสงเคราะห์ (ปัจจุบันกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ) จะเป็นผู้ออกให้กับบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสมาชิกนิคมตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติจัดที่ดิน เพื่อการครองชีพ พ.ศ. ๒๕๑๑ ต่อมาเมื่อสมาชิกของนิคมได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินที่ได้รับอนุญาตเกินกว่า ๕ ปี ได้ชำระเงินช่วยทุนที่รัฐบาลได้ลงไปแล้ว และชำระหนี้สินเกี่ยวกับกิจการนิคมให้ทางราชการแล้ว ก็จะได้รับหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค.๓) เป็นหลักฐาน สมาชิกนิคมสร้างตนเองที่ได้รับหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค.๓)    มาตรา ๑๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. ๒๕๑๑ บัญญัติให้สามารถนำหลักฐานดังกล่าว ขอโฉนดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินได้ ถ้าเป็นการขอออกโฉนดที่ดินเฉพาะรายตามมาตรา ๕๙    แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน จะต้องยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานที่ดินจังหวัด สำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา หรือสำนักงานที่ดินส่วนแยก ที่ที่ดินนั้น […]

อ่านเพิ่มเติม
การ ประเมินราคาทรัพย์สิน “สำคัญ” กับ การทำขายฝาก อย่างไร?
4
Mar 25
การประเมินราคาทรัพย์สิน “สำคัญ” กับ การทำขายฝาก อย่างไร?

รู้ไว้ จะได้ไม่โดนเอาเปรียบ! การ ประเมินราคาทรัพย์สิน “สำคัญ” กับ การทำขายฝาก อย่างไร?   ในวงการอสังหาริมทรัพย์ “การประเมินราคาทรัพย์สิน” คือ กุญแจสำคัญ ที่ผู้เชี่ยวชาญตัวจริงจะไม่มีวันมองข้าม โดยเฉพาะเมื่อพูดถึง การทำขายฝาก เพราะการประเมินที่ถูกต้องและแม่นยำไม่เพียงช่วยให้คุณไม่เสียเปรียบ แต่ยังปกป้องผลประโยชน์ในระยะยาว ทั้งสำหรับผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝาก ก่อนอื่น ต้องรู้กันก่อนว่า… การ ประเมินราคาทรัพย์สิน คืออะไร? การประเมินทรัพย์สิน คือ การวิเคราะห์และประเมิน มูลค่าที่เหมาะสม ของทรัพย์สิน ณ ขณะนั้น    การจะช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มความโปร่งใสในการทำธุรกรรม ต้องพิจารณาหลายปัจจัย เช่น สภาพทรัพย์สิน, ทำเลที่ตั้ง, ราคาตลาด ณ ขณะนั้น รวมถึง ปัจจัยอื่นๆ เช่น ราคาประเมินจากกรมธนารักษ์ สภาพเศรษฐกิจ หรือ แนวโน้มการพัฒนาในอนาคต   ทำไมต้องประเมินราคาทรัพย์สินก่อนทำการขายฝาก? เพราะการประเมินราคาที่ถูกต้องและเป็นธรรมจะช่วยให้คุณ “ไม่เสียเปรียบ” และ “ช่วยลดความเสี่ยง” ซึ่งหากมีการประเมินราคาทรัพย์ในราคาที่ต่ำเกินไป อาจเสี่ยง! ที่จะได้วงเงินอนุมัติน้อย ไม่ตรง […]

อ่านเพิ่มเติม