ทำความเข้าใจขั้นตอนการ ขอรังวัด
3
Jan 25

>>> การขอรังวัดที่ดิน คืออะไร มีแบบไหนบ้าง? วันนี้ Property4Cash สรุปมาให้แล้วค่ะ…

ขอรังวัด หรือรังวัดที่ดิน ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ซื้อ-ขายจะต้องรู้และเข้าใจ รวมทั้งต้องตรวจสอบรายละเอียดให้ถี่ถ้วนก่อนทำการซื้อ-ขายด้วย อีกทั้งการขอรังวัดที่ดินก็มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินด้วยนะ ถ้าพร้อมแล้ว ก็มาทำความเข้าใจกันเลยค่ะ… 

 

รังวัดที่ดิน หมายถึง กระบวนการวัดและกำหนดขอบเขตของที่ดินอย่างถูกต้อง โดยอาศัยเครื่องมือวัดและวิธีการทางวิศวกรรมสำรวจ เพื่อจัดทำเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เช่น โฉนดที่ดิน หรือ น.ส.3 รวมถึงการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวกับเขตแดนของที่ดิน

มีจุดประสงค์ของการรังวัดที่ดิน ดังนี้

  1. การออกเอกสารสิทธิ์ : เพื่อออกโฉนดหรือหนังสือรับรองการครอบครองที่ดิน
  2. การแบ่งแยกหรือรวมแปลงที่ดิน : ใช้ในกรณีแบ่งที่ดินเป็นแปลงย่อยหรือรวมที่ดินหลายแปลงเข้าด้วยกัน
  3. การตรวจสอบแนวเขตที่ดิน : เพื่อยืนยันขอบเขตที่ดินตามเอกสารสิทธิ์หรือแก้ไขกรณีที่มีข้อพิพาท
  4. การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม : เช่น การจำนอง ขาย หรือโอนที่ดิน

สิ่งที่เจ้าของที่ดินควรรู้ก่อนขอรังวัดที่ดิน

จากเว็บไซต์กรมที่ดินได้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการขอรังวัดที่ดิน และสิ่งที่เจ้าของที่ดินควรรู้ไว้ดังนี้

  1. ที่ดินที่ครอบครองอยู่มีหลักฐานอะไร ให้นำหลักฐานที่มีไปประกอบการยื่นคำขอรังวัดที่ดิน
  2. ที่ดินตั้งอยู่ หมู่ที่เท่าใด ตำบล อำเภอ อะไร
  3. เจ้าของที่ดินข้างเคียงเป็นผู้ใดบ้าง ติดที่สาธารณประโยชน์หรือไม่
  4. สภาพที่ดินเป็นอย่างไร เช่น ที่นา ที่สวน ที่ไร่ ที่อยู่อาศัย

 

การรังวัด รวม แบ่งแยก สอบเขตที่ดิน(ข้อมูลจากเว็บไซต์ของกรมที่ดิน)

ประกาศค่าใช้จ่ายในการรังวัดเกี่ยวกับโฉนดที่ดินหรือพิสูจน์สอบสวน หรือตรวจสอบเนื้อที่เกี่ยวกับหนังสือรับรองการทำประโยชน์​

โดยการยื่นคำขอรังวัดที่ดิน ต้องยื่นที่สำนักงานที่ดินจังหวัด สำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา หรือสำนักงานที่ดินอำเภอที่ที่ดินนั้นๆ ตั้งอยู่ คือ

โฉนดที่ดิน ติดต่อที่สำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา ที่ที่ดินนั้น ตั้งอยู่

หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ติดต่อที่สำนักงานที่ดินอำเภอที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่ เว้นแต่ ได้มีการยกเลิกอำนาจนายอำเภอ ให้ติดต่อที่สำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา ที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่

หลักฐานประกอบการขอรังวัด แบ่งแยก หรือสอบเขตโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์

เอกสารที่ต้องเตรียม มีดังนี้

  • บัตรประจำตัว ทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัวชื่อสกุล (ถ้ามี)
  • โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์
  • หลักฐานประกอบการขอรังวัดรวมโฉนดที่ดิน
  • บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล (ถ้ามี)
  • โฉนดที่ดินที่จะขอรวม ต้องมีลักษณะดังนี้
    • ต้องเป็นหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ประเภทเดียวกัน เว้นแต่ โฉนดแผนที่ กับโฉนดที่ดินให้รวมกันได้
    • ต้องมีชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในโฉนดที่ดินเหมือนกันทุกฉบับและต้องยังมีชีวิตอยู่ทุกคน
    • ต้องเป็นที่ดินติดต่อผืนเดียวกัน ในจังหวัดและสำนักงานที่ดินเดียวกัน

ขั้นตอนการรังวัดที่ดิน

  1. การยื่นคำร้อง : เจ้าของที่ดินยื่นคำร้องต่อสำนักงานที่ดินในพื้นที่
  • รับบัตรคิวจากประชาสัมพันธ์
  • รับคำขอสอบสวน ชำระเงินค่าธรรมเนียมคำขอ
  • ส่งฝ่ายรังวัดดำเนินการ นัดวันทำการรังวัด กำหนดตัวช่างรังวัด กำหนดเงินมัดจำรังวัด
  • ค้นหารายชื่อเจ้าของที่ดินข้างเคียง และพิมพ์หนังสือแจ้งข้างเคียง
  • รับหนังสือแจ้งข้างเคียง วางเงินมัดจำรังวัด รับหลักเขตที่ดิน

 

  1. เจ้าหน้าที่สำรวจพื้นที่ : เจ้าหน้าที่จะเข้ามาสำรวจและวัดพื้นที่โดยใช้เครื่องมือ เช่น กล้องสำรวจ (Total Station) หรือ GPS
  • ช่างรังวัดออกไปทำการรังวัดตามวันที่กำหนดไว้
  • คำนวณเนื้อที่ และเขียนรูปแผนที่ในโฉนดที่ดิน
  • ส่งเรื่องรังวัดคืนฝ่ายทะเบียน เรียกผู้ขอมาจดทะเบียน

 

  1. การกำหนดแนวเขต : ผู้มีส่วนได้เสีย เช่น เจ้าของที่ดินข้างเคียง จะมาร่วมยืนยันแนวเขต
  • สอบสวนจดทะเบียนแบ่งแยก
  • ตรวจอายัด
  • ชำระเงินค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน และค่าโฉนด

 

  1. การจัดทำเอกสาร : สำนักงานที่ดินจะจัดทำเอกสารและออกเอกสารสิทธิ์หรือแก้ไขข้อมูลที่ดินตามผลการรังวัด
  • แก้รายการทะเบียน และจดทะเบียนแบ่งแยก
  • สร้างโฉนดที่ดินแปลงแบ่งแยก
  • เสนอเจ้าพนักงานที่ดินลงนามและประทับตรา
  • แจกโฉนดที่ดินแปลงแบ่งแยก

ขั้นตอนการขอแบ่งแยกตรวจสอบเนื้อที่ และรวมหนังสือรับรองการทำประโยชน์

  1. เจ้าของที่ดินนำหนังสือรับรองการทำประโยชน์และเอกสารต่างๆ ไปยื่นคำขอ
  2. ให้ถ้อยคำในการนัดรังวัด เพื่อ 
    • กำหนดวันทำการรังวัด
    • กำหนดค่าใช้จ่ายในการรังวัด
    • กำหนดเจ้าหน้าที่และสถานที่นัดพบ

 

  1. รับเจ้าหน้าที่ไปทำการรังวัดและปักหลัก จนเสร็จการ
  2. ลงนามในเอกสารต่างๆ
  3. รอรับหนังสือแจ้งให้ไปดำเนินการจดทะเบียน ฯ ล ฯ

 

ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรังวัดหนังสือรับรองการทำประโยชน์ และโฉนดที่ดิน

รายละเอียด

1. ค่าธรรมเนียมออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์

  • ที่ดินเนื้อที่ไม่เกิน 20 ไร่ แปลงละ 30 บาท
  • ที่ดินเนื้อที่เกิน 20 ไร่ ส่วนที่เกิน( เศษของไร่ให้คิดเป็นหนึ่งไร่) ไร่ละ 2 บาท

 

2. ค่าธรรมเนียมการพิสูจน์สอบสวนหรือตรวจสอบเนื้อที่เกี่ยวกับหนังสือรับรองการทำประโยชน์

  • ถ้าเรียกเป็นรายแปลง แปลงละ 30 บาท
  • ถ้าเรียกเป็นรายวัน วันละ 30 บาท
  • ค่าคัดหรือจำลองแผนที่ แปลงละ 30 บาท
  • ค่าคำนวณเนื้อที่หรือสอบแส แปลงละ 30 บาท
  • ค่าจับระยะ แปลงละ 10 บาท

 

3. ค่าธรรมเนียมออกโฉนดที่ดิน

  • ที่ดินเนื้อที่ไม่เกิน 20 ไร่ แปลงละ 50 บาท
  • ที่ดินเนื้อที่เกิน 20 ไร่ ส่วนที่เกิน( เศษของไร่ให้คิดเป็นหนึ่งไร่ ) ไร่ละ 2 บาท

 

4. ค่าธรรมเนียมรังวัดเกี่ยวกับโฉนดที่ดิน

  • ถ้าเรียกเป็นรายแปลง แปลงละ 40 บาท
  • ถ้าเรียกเป็นรายวัน วันละ 40 บาท
  • ค่าคัดหรือจำลองแผนที่ แปลงละ 30 บาท
  • ค่าคำนวณเนื้อที่หรือสอบแส แปลงละ 30 บาท
  • ค่าจับระยะ แปลงละ 10 บาท

 

5. ค่าธรรมเนียมเบ็ดเตล็ด

  • ค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท
  • ค่ามอบอำนาจ เรื่องละ 20 บาท
  • ค่าปิดประกาศให้แก่ผู้ปิดประกาศ แปลงละ 10 บาท
  • ค่าพยานให้แก่พยาน คนละ 10 บาท
  • ค่าหลักเขต หลักละ 15 บาท

 

6. ค่าใช้จ่ายการรังวัดเกี่ยวกับโฉนดที่ดินหรือพิสูจน์สอบสวน หรือตรวจสอบเนื้อที่เกี่ยวกับหนังสือรับรองการทำประโยชน์

  • ค่าพาหนะเดินทางให้แก่เจ้าพนักงาน พนักงานเจ้าหน้าที่ และคนงานจ้างไปทำการรังวัด ให้จ่ายในลักษณะเหมาจ่ายตามระเบียบ
  • กระทรวงมหาดไทยด้วยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
  • ค่าเบี้ยเลี้ยงให้แก่เจ้าพนักงาน พนักงานเจ้าหน้าที่ และค่าจ้างคนงานที่จ้างไปทำการรังวัด ให้จ่ายในลักษณะเหมาจ่ายตามระเบียบ
  • กระทรวงมหาดไทย ด้วยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
  • ค่าป่ายการให้แก่เจ้าพนักงานผู้ปกครองท้องที่ หรือผู้แทนที่ไปในการรังวัด ไม่เกินอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
  • ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการรังวัดให้จ่ายในลักษณะเหมาจ่ายตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยด้วยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง เรื่องละ 100 บาท

 

การคิดค่าใช้จ่ายในการรังวัดที่ดิน

ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการรังวัดที่ดินที่ผู้ขอจะต้อชำระตามกฎหมาย (กฎกระทรวง ฉบับที่ 47 และ 48 ออกตามความในพระราชบัญญัติ ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497) มีดังนี้

1. ค่าธรรมเนียมรังวัด

  • เกี่ยวกับโฉนดที่ดิน แปลง/วัน/ละ 40 บาท
  • เกี่ยวกับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แปลง/วัน/ละ 30 บาท

 

2. ค่าหลักเขตที่ดิน หลักละ 15 บาท (ตามที่ใช้จริง)

3. ค่าใช้จ่ายในการรังวัดลักษณะเหมาจ่าย ดังนี้

  • 3.1 ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าส่งหมายข้างเคียงทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ 200 บาท
  • 3.2 ค่าป่วยการเจ้าพนักงานผู้ปกครองท้องที่ ไม่เกินอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง
  • 3.3 ค่าพาหนะพนักงานเจ้าหน้าที่และคนงานรังวัด วันละไม่เกิน 1,600 บาท
  • 3.4 ค่าคนงานรังวัด คน/วัน 420 บาท (ตามเขตจังหวัดที่กระทรวงการคลังกำหนด)

 

ทั้งนี้ การกำหนดวันทำการรังวัดตามข้อ 3.3 และ 3.4 กำหนดตามจำนวนเนื้อที่ ดังนี้ทำความเข้าใจขั้นตอนการ ขอรังวัด

การรังวัดเกี่ยวกับโฉนดที่ดิน

1. เนื้อที่ไม่เกิน 5 ไร่ เวลาทำการ 1 วัน ค่าใช้จ่ายจะเรียกได้ไม่ 3,480 บาท

2. เนื้อที่ไม่เกิน 15 ไร่ เวลาทำการ 2 วัน ค่าใช้จ่ายจะเรียกได้ไม่เกิน 6,760 บาท

3. เนื้อที่ไม่เกิน 30 ไร่ เวลาทำการ 3 วัน ค่าใช้จ่ายจะเรียกได้ไม่เกิน 10,040 บาท

4. เนื้อที่ไม่เกิน 50 ไร่ เวลาทำการ 4 วัน ค่าใช้จ่ายจะเรียกได้ไม่เกิน 13,320 บาท

 

การรังวัดเกี่ยวกับหนังสือรับรองการทำประโยชน์

  • เนื้อที่ไม่เกิน 20 ไร่ เวลาทำการ 1 วัน ค่าใช้จ่ายจะเรียกได้ไม่เกิน 2,640 บาท
  • เนื้อที่ไม่เกิน 50 ไร่ เวลาทำการ 2 วัน ค่าใช้จ่ายจะเรียกได้ไม่เกิน 5,080 บาท

 

หมายเหตุ: (1)กรณีเนื้อที่เกินกว่า 50 ไร่ ทุก 50 ไร่ หรือเศษเกินกว่า 25 ไร่ ให้เพิ่มวันทำการรังวัด 1 วัน (2)กรณีที่ดินตั้งอยู่ในพื้นที่องค์กรปกครองรูปแบบพิเศษ เช่น กรุงเทพมหานคร/เมืองพัทยา ฯลฯ หรือเทศบาลนคร หรือเทศบาลเมือง หรือที่สวนเป็นไม้ ยืนต้น เช่น สวนผลไม้ สวนปาล์ม สวนยาง ฯลฯ เป็นต้น ให้เพิ่มวันทำการรังวัด 1 วัน (3)กรณีการรังวัดต้องคำนวณจำกัดเนื้อที่ ให้เพิ่มวันทำการรังวัด 1 วัน (4)กรณีการรังวัดมีที่ดินข้างเคียงมากแปลง ทุกๆข้างเคียง 30 แปลง หรือเศษเกินกว่า 15 แปลง ให้เพิ่มวันทำการรังวัด 1 วัน (5)กรณีการรังวัดแบ่งแยกจัดสรร ทุกๆ 8 แปลง หรือเศษเกินกว่า 4 แปลง ให้เพิ่มวันทำการรังวัด 1 วัน (6)กรณีมีเหตุข้อ1 และ 2 รวมอยู่ในเรื่องเดียวกัน ให้เพิ่มวันทำการรังวัดได้ในกรณีใดกรณีหนึ่งเท่านั้น

 

ใครเป็นผู้รับผิดชอบ?

ขอรังวัด ในประเทศไทยมักดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดิน ภายใต้กระทรวงมหาดไทย แต่ในบางกรณี อาจมีการว่าจ้างนักสำรวจที่ได้รับใบอนุญาต (Licensed Surveyor) เพื่อดำเนินการ การขอรังวัดที่ดินมีความสำคัญ เพื่อป้องกันปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินและเพื่อให้การจัดการที่ดินถูกต้องตามกฎหมาย

 

เนื้อหาข้อมูลทั้งหมดนี้ Property4Cash ไม่สามารถรับรองหรือรับประกันเกี่ยวกับข้อมูลที่จะเปลี่ยนแปลงได้ รวมทั้งไม่สามารถรับรองหรือรับประกันใดๆ เกี่ยวกับความคลาดเคลื่อนของข้อมูล ขออภัยมา ณ วันที่เขียน 03/01/2025

 

 


Property4Cash ยินดีให้คำปรึกษาและช่วยเพิ่มทุนให้กับทุกคนที่ต้องการเงินด่วน และต้องการเงินเพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจ ไม่เช็คแบล็คลิส ไม่เช็คเครดิตบูโร

อนุมัติรวดเร็วทันใจ นึกถึง ขายฝากจำนอง นึกถึง Property4Cash

Line: @Property4Cash

โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash

ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

ข้อควรรู้ก่อนซื้อที่ดิน สร้างบ้าน ?
23
May 23
10 ข้อควรรู้ก่อนซื้อที่ดินสร้างบ้าน ?

เพื่อนๆ หลายคนคงคิดฝันว่าสักวันนึง อยากจะซื้อที่ดินปลูกสร้างบ้านเอง เมื่อมีรายได้มีเงินมากพอ แต่ยังไม่ทราบว่าก่อนที่เราจะซื้อที่ดินสร้างบ้าง เราต้องรู้ ต้องเช็ค ต้องระวัง อะไรบ้าง วันนี้ทีม Land Thai Mart จะนำเพื่อนไปดู 10 ข้อควรรู้ก่อนซื้อที่ดิน สร้างบ้าน ?กันค่ะ 10 ข้อควรรู้ก่อนซื้อที่ดินสร้างบ้าน ลงพื้นที่จริงเพื่อตรวจสอบที่ดินด้วยตัวเอง ควรเดินทางลงพื้นที่จริงไปสำรวจ ตรวจดูที่ดินแปลงที่จะซื้อด้วยตัวเองให้เห็นกับตา ว่าที่เห็นที่ดินแปลงนี้จากในรูปนั้น สวย ติดถนน ทำเลทอง จริงหรือไม่ และที่สำคัญผู้ซื้อต้องให้ผู้ขายเอาโฉนดมาให้ตรวจดูว่าที่พามาดูนั้นเป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับในโฉนดหรือไม่ เพื่อตรวจและระวังเอาไว้ เพราะบางครั้งผู้ขายที่เจตนาหลอกลวงมาตั้งแต่แรกจะพามาดูที่ดิน ที่ไม่ตรงกับโฉนดเนื่องจากที่ในโฉนดทำเลที่ตั้งไม่ดี เนื่องจากกลัวขายไม่ได้ ตรวจสอบหลักฐาน ที่สำนักงานที่ดิน ผู้ซื้อจำเป็นต้องเช็คให้ชัวร์ ด้วยการเดินทางไปเช็คกับสำนักงานที่ดินแผนกรังวัดที่ดิน ว่าที่ดินแปลงที่ต้องการจะซื้อนั้นตรงกับเลขที่โฉนดหรือไม่ ใช่แปลงเดียวกันหรือเปล่า ขอข้อมูลขนาดเนื้อที่ ตำแหน่งที่ดิน สอบถามตรวจสอบว […]

อ่านเพิ่มเติม
โฉนดติดกรมบังคับคดี ทำจำนอง ขายฝากได้ไหม?
9
Oct 24
โฉนดติดกรมบังคับคดี ทำจำนอง ขายฝากได้ไหม?

การที่ โฉนดติดกรมบังคับคดี นั้นหมายความว่า โฉนดนั้นถูกนำไปใช้เป็นหลักประกันในการชำระหนี้หรือมีการฟ้องร้อง ซึ่งอาจทำให้มีข้อจำกัดในการทำธุรกรรม เช่น การจำนองหรือการขายฝาก โดยทั่วไปแล้ว หากโฉนดติดกรมบังคับคดี คุณอาจจะไม่สามารถจำนองหรือขายฝากได้โดยตรง เนื่องจากมีการจำกัดสิทธิในทรัพย์สินนั้นๆ การมีโฉนดที่ติดกรมบังคับคดีเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ก่อนที่จะดำเนินการทำจำนองหรือขายฝาก โดยทั่วไปแล้ว โฉนดที่ติดกรมบังคับคดีหมายถึงว่าทรัพย์สินนั้นถูกใช้เป็นหลักประกันในการชำระหนี้หรือมีการฟ้องร้อง ซึ่งทำให้สิทธิในการทำธุรกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นมีข้อจำกัด การจำนอง: การจำนองคือการทำสัญญาเพื่อให้ผู้กู้สามารถนำทรัพย์สินมาเป็นหลักประกันในการกู้เงิน ในกรณีที่โฉนดติดกรมบังคับคดี มักจะไม่สามารถจำนองได้ เนื่องจากธนาคารหรือสถาบันการเงินส่วนใหญ่จะไม่อนุมัติการจำนองในกรณีที่ทรัพย์สินมีปัญหาทางกฎหมายหรือถูกฟ้องร้อง เพราะอาจมีผลกระทบต่อสิทธิในการเรียกร้องหนี้ในอนาคต นอกจากนี้ การจำนองทรัพย์สินที่ติดคดีอาจทำให้เจ้าหนี้เดิมไม่พอใจและอาจดำเนินการทางกฎหมายต่อไปได้ เมื่อโฉนดติดกรมบังคับคดี เจ้าข […]

อ่านเพิ่มเติม
ไม่ได้แจ้ง บอกดิน มีโอกาสจะได้โฉนดไหม?
10
Dec 24
ไม่ได้แจ้ง บอกดิน มีโอกาสจะได้โฉนดไหม?

โครงการ บอกดิน คือ โครงการที่เปิดโอกาสให้ประชาชนผู้ที่มีที่ดิน แต่ไม่มีเอกสารสิทธิ หรือมีที่ดิน ส.ค. 1 น.ส.3 น.ส.3 ก แจ้งบอกข้อมูลตำแหน่งที่ดินทุกประเภท ที่ยังไม่มีโฉนดที่ดิน  โดยโครงการมุ่งเน้นการให้บริการ ในรูปแบบการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยการนำข้อมูลที่ได้ มาตรวจสอบเบื้องต้นแล้ว นำไปใช้สำหรับการจัดทำแผนงาน ด้านการบริหารจัดการที่ดินของรัฐบาล เพื่อให้ประชาชน สามารถเข้าถึงสิทธิในที่ดินได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย   ทำไมต้องมีการบอกดิน เพื่อรับแจ้งตำแหน่งที่ดิน ที่ราษฎรมีความประสงค์ให้รัฐเข้าไปดำเนินการระหว่างเจ้าหน้าที่กับราษฎรเป็นไปด้วยความยากลำบาก ล่าช้า และมีหลายรูปแบบ เพื่อรวบรวมข้อมูล ภายหลังจากมีการรับแจ้งแล้ว ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจน หรือเป็นแนวทางขั้นตอนตามระบบราชการ ถามไปถามมาเพื่อให้ได้ข้อมูลที่นำมาดำเนินการต่อได้ สิ้นเปลืองทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย การแจ้งผลไม่เป็นไปในรูปแบบบริการเบ็ดเตล็ด เช่น พื้นที่ยังไม่ประกาศเดินสำรวจในปีนี้ แต่จะทำเมื่อใดกำหนดไม่ได้ พื้นที่อยู่ของรัฐทำไม่ได้ไม่มีคำแนะนำเพิ่มเติมให้นอกจากขอให้ติดต่อหน่วยงานที่ดูแลพื้นที่ให้ถอนสภาพก่อน การบอกดิน ใช้การสื่ […]

อ่านเพิ่มเติม