ที่ดินมือเปล่า มีโอกาสได้โฉนดไหม?
4
Dec 24

>>> ฮัลโหลทุกคน Property4Cash มาอัพเดท! ข้อมูลให้แล้ว สำหรับคำถามที่ว่า… ที่ดินมือเปล่า มีโอกาสได้โฉนดมั๊ย? 

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจคำว่า ที่ดินมือเปล่า คืออะไรกันก่อน

โดยคำว่า “ที่ดินมือเปล่า” คือ ที่ดิน ที่ไม่มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เช่น ที่ดินไม่มีโฉนด เป็นต้น และเจ้าของที่ดินดังกล่าว มีเพียงสิทธิครอบครอง แต่หากจะซื้อที่ดินมือเปล่า จะต้องพิจารณาดูตามกฎหมาย 

ในทางฎหมายที่ดินมือเปล่า ก็นับเป็นอสังหาริมทรัพย์ชนิดหนึ่ง การโอนที่ดินมือเปล่านั้นก็ต้องทำตามกฎหมายก็คือ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ไม่เช่นนั้นถือเป็นโมฆะ ฟ้องร้องบังคับคดีกันไม่ได้

แต่หาก ศาลฎีกาวินิจฉัยแล้วว่า… การโอนที่ดินนี้ ไม่เป็นไปตามรูปแบบของกฎหมาย การโอนที่ดินจะตกเป็นโมฆะทันที 

และในกรณีของการโอนที่ดินมือเปล่านั้น นับว่าเป็นการโอนที่สมบูรณ์ เพราะการโอนที่ดินมือเปล่า เป็นเพียงแค่ส่งมอบการครอบครองเท่านั้น 

โดยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378 “การโอนไปซึ่งการครอบครองนั้น ย่อมทำได้โดยส่งมอบทรัพย์สิน ที่ครอบครอง” เหตุเพราะที่พิพาทนั้นเป็นที่ดินมือเปล่า ผู้ขายมีเพียงสิทธิครอบครอง ในเมื่อขายแล้วก็ถือว่าผู้ขายได้สละเจตนาครอบครองไม่ยึดถือที่พิพาทอีกต่อไป จึงบังคับได้! 

จริงๆ มีประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 4 ทวิ ที่บังคับให้การโอนสิทธิครอบครองในที่ดินมือเปล่า ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อหน้าเจ้าหน้าที่ และในแง่ปฏิบัติด้วย ถึงแม้จะตกเป็นโมฆะ แต่การส่งมอบการครอบครองจะสมบูรณ์หรือไม่ต้องดูตามกฎหมายแพ่ง หากที่ดินแปลงนั้นมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ก็ควรทำเป็นหนังสือแล้วไปจดทะเบียนต่อหน้าเจ้าหน้าที่ เปลี่ยนชื่อในหนังสือรับรอง ก็จะเป็นผลดีกว่าเมื่อมีการทำธุรกรรมใดๆ 

 

กฎหมายมาตรา 4 มีรายละเอียดดังนี้

มาตรา 4 ตั้งแต่วันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ ให้ยกเลิก

(1) พระราชบัญญัติออกตราจองชั่วคราว ซึ่งประกาศเปลี่ยนนามพระราชบัญญัติเมื่อรัตนโกสิน

ทรศก 124 เป็นพระราชบัญญัติออกโฉนดดราจอง

(2) พระราชบัญญัติการออกโฉนดที่ดิน รัตนโกสินทรศก 127

(3) พระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน ฉบับที่ 2

(4) พระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน ฉบับที่ 3

(5) พระราชบัญญัติแก่ไขความในมาดรา 25 แห่งพระราชบัญญัติการออกโฉนดที่ดิน ร.ศ. 127

(6) พระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พุทธศักราช 2478

(7) พระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2479

(8) พระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พุทธศักราช 2479

(9) พระราชบัญญัติควบคมการได้มาซึ่งที่ดินโดยห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด เพื่อค้าก่าไร พุทธศักราช 2485
(10) พระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 7) พุทธศักราช 2486

(11) พระราชบัญญัติว่าด้วยพนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2486

(12) พระราชบัญญัติว่าด้วยพนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2492

(13) พระราชบัญญัติที่ดินในส่วนที่เกี่ยวกับคนต่างด้าว พุทธศักราช 2486

(14) พระราชบัญญัติที่ดินในส่วนที่เกี่ยวกับคนต่างด้าว (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2493 และ

(15) บรรดาบทกฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นๆ ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในประมวลกฎหมายที่ดิน หรือซึ่งแย้งหรือขัดต่อบทแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน

อัพเดท! ที่ดินมือเปล่า มีโอกาสได้โฉนดไหม?

และ ที่ดินมือเปล่า จัดอยู่ในเงื่อนไขการออกโฉนดตามมาตรา 58 โดยจะต้องได้มาจากการประมวลกฎหมายกฎหมายที่ดิน สิ่งสำคัญของการออกโฉนดสำหรับที่ดินมือเปล่า คือ จะต้องเป็นผู้ครอบครองจริง เป็นเจ้าของที่ดินจริง ถ้าหากต้องการเดินสำรวจเข้าไปในพื้นที่ของท่าน ก็สามารถเดินเข้าไปสำรวจได้ โดยที่ดินมือเปล่าที่จะขอโฉนดได้นั้น จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของการออกโฉนดด้วย

  • ที่ดินจะต้องไม่อยู่ในข้อต้องห้ามออกโฉนด เช่น ที่เขา ที่ภูเขา ที่ดินของรัฐบาล
  • ที่ดินที่ได้มา ต้องซื้อมาจริง ยก หรือมอบสิทธิ์ ให้ใช้ประโยชน์ได้จริง
  • ต้องเดินสำรวจได้ตามมาตรา 58 (การเดินสำรวจต้องมีหลักฐาน ไม่เช่นนั้น จะห้ามทำธุรกรรมโอนสิทธิ)

 

และนี่เป็นข้อมูลที่เรานำมาฝากกัน หากสงสัย หรือต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขายฝาก สามารถติดต่อเข้ามาที่ Property4Cah ได้เลยค่ะ

 

 


Property4Cash ยินดีให้คำปรึกษาและช่วยเพิ่มทุนให้กับทุกคนที่ต้องการเงินด่วน และต้องการเงินเพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจ ไม่เช็คแบล็คลิส ไม่เช็คเครดิตบูโร

อนุมัติรวดเร็วทันใจ นึกถึง ขายฝากจำนอง นึกถึง Property4Cash

Line: @Property4Cash

โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash

ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

คู่สมรสไม่มากรมที่ดิน ขายฝาก- จำนองได้หรือไม่
30
Sep 23
คู่สมรสไม่มากรมที่ดิน ขายฝาก- จำนองได้หรือไม่

หลายๆ คนอาจจะมีข้อสงสัยว่า ถ้าทำธุรกรรมขายฝาก จำนอง แล้วเกิดกรณีที่ คู่สมรสไม่มากรมที่ดิน จะสามารถทำขายฝาก จำนองได้หรือไม่ อย่างแรกเลย ถ้าทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างการสมรสแล้วนั้น ไม่ว่าจะใส่ชื่อใครเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ให้เรียกว่าเป็นสินสมรสก่อนได้เลย กรณีคู่สมรสไม่มากรมที่ดินจะไม่สามารถทำธุรกรรมจำนอง ขายฝากได้เลย เพราะเราต้องได้รับการยินยอมจากคู่สมรสด้วย ไม่ว่าจะทำจำนอง ขายฝาก หรือว่าซื้อขายเองก็ตาม ถ้าหากทั้งคู่เลิกกันแล้ว ก็ต้องทำเรื่องหย่าให้เรียบร้อยก่อน เพราะถ้าไม่หย่าตามกฎหมายแล้ว ยังถือว่ายังเป็นคู่สมรสกันอยู่นะคะ ในกรณีถ้าคู่สมรสไม่สะดวกมา จะต้องมีหนังสือลงลายเซ็นยินยอมของคู่สมรส ยืนยันว่ายินยอมให้ทำธุรกรรมขายฝากหรือจำนอง พร้อมสำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน และทะเบียนสมรสให้เรียบร้อย และอาจจะถ่ายวิดีโอไว้ด้วย เพื่อเป็นการยืนยันในการทำขายฝาก จำนอง ซึ่งหนังสือยินยอมคู่สมรสทางกรมที่ดินจะมีให้บริการทุกสาขาทั่วประเทศ เห็นไหมคะเพื่อนๆ เมื่อเราจดทะเบียนสมรสแล้ว เวลาที่เราอยากทำธุรกรรมต่างๆ จะต้องมีการดำเนินการตามขั้นตอน ซึ่งจะต้องผ่านการยินยอมจากคู่สมรสเสมอ ไม่ว่าจะเป็น การจดจำนอง ขายฝ […]

อ่านเพิ่มเติม
9
Jan 23
รับจำนอง ต้องเสีย “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” หรือไม่

หากเราทำการรับจำนอง จะต้องเสียภาษีหรือไม่? และถ้าจะต้องเสีย จะต้องชำระภาษีอย่างไร? เป็นคำถามที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ที่เป็นมือใหม่ในวงการนี้ เรื่องภาษี เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวทุกคนมากๆ แต่บางทีก็เป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ยากสำหรับหลายๆ คน แต่ไม่ต้องห่วงไปค่ะ วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยให้กับทุกคนได้ทราบ และจะได้จัดการกับเงินได้ ที่เราได้มาจากการรับจำนองได้อย่างถูกต้องกันค่ะ จะเป็นอย่างไรไปดูกันเลยค่ะ กรณีหากรับจำนอง รายได้ของท่านคือรายได้จาก ดอกเบี้ยรับ ซึ่งมีภาระภาษีดังนี้ กรณีผู้จ่ายเงิน หักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้อัตรา 15 % สามารถเลือกไม่นำเงินได้มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีประจำปีได้ กรณี ไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย อัตรา 15% จะต้องนำมารวมเป็นเงินได้ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีต้องเสียภาษีประจำปี ไม่สามารถหักรายจ่ายได้ เท่ากับว่าต้องนำรายได้ดอกเบี้ย มาหักค่าลดหย่อน และคำนวณภาษีเงินได้เลย แต่ถ้าเป็นกรณีการขาย รายได้ของท่านคือ รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะมีภาระภาษีดังนี้ ต้องนำรายได้จากการขายทั้งหมดในปีมารวมเป็นเงินได้ในการคำนวณภาษี ต้องหักรายจ่ายตามความจำเป็นและสมควร เช่น ต้นทุนในการซื้อที่ด […]

อ่านเพิ่มเติม
2
Feb 23
ค้ำประกัน อันตรายขนาดไหน ทำไมใครๆ ก็บอกว่า หนีไปปป!!

ค้ำประกัน คำที่มักจะได้ยินบ่อยๆ ในตอนที่ต้องกู้สินเชื่อกับทางธนาคาร เนื่องจากในการจะกู้ซื้อบ้านหรือคอนโดต้องใช้เงินก้อนใหญ่ หากจะให้การกู้ง่ายยิ่งขึ้น อาจจะต้องมีการกู้ร่วม เพื่อให้ได้วงเงินที่มากขึ้น หรืออาศัยคนค้ำประกัน เพราะผู้กู้อาจมีคุณสมบัติบางอย่างไม่ถึงเกณฑ์ เพื่อมาช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์การอนุมัติขอสินเชื่อได้ ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับการค้ำประกัน กันแบบง่ายๆ ก่อนเลยค่ะ การค้ำประกันคือ บุคคลที่มาค้ำประกันสินเชื่อให้กับลูกหนี้ โดยสถานะไม่ได้เป็นลูกหนี้ร่วมเหมือนกับคนกู้ร่วม สถานะจะเป็นเพียงแค่คนค้ำประกันที่เมื่อเกิดกรณีที่ลูกหนี้เบี้ยวไม่จ่ายหนี้ ธนาคารหรือสถาบันการเงินก็จะไปไล่เบี้ยเอาคืนกับคนค้ำประกัน เมื่อรู้จักการค้ำประกันแบบคร่าวๆ แล้ว มาดูกันค่ะว่าการค้ำประกันมีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง ความสัมพันธ์กับการค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันสามารถเป็นใครก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลในเครือญาติของผู้กู้ การพิจารณาของธนาคาร การค้ำประกัน ธนาคารจะไม่นำรายได้ของคนค้ำประกันมารวมคิดเพื่อพิจารณาอนุมัติ จะยังคงพิจารณาเฉพาะรายได้ของผู้กู้เท่านั้น แต่จะพิจารณาคุณสมบัติของผู้ค้ำประกันแทน โดยผู้ค้ำประกันจะต้อ […]

อ่านเพิ่มเติม