มาตรการ LTV
15
May 25

          ในปี 2568 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยยังคงเผชิญกับแรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และกำลังซื้อที่ลดลง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงมีการปรับมาตรการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือที่รู้จักกันในชื่อ มาตรการ LTV  (Loan-to-Value) เพื่อกระตุ้นการซื้อ-ขายในตลาดบ้านและคอนโด

 

          ผู้สนใจลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ บ้านมือ 1 หรือบ้านมือ 2 ต้องรู้บ้าง? ว่าในปีนี้มีมาตรการที่เป็นประโยชน์ต่อคุณเยอะมาก เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในการซื้อขายที่อยู่อาศัย โดยจะมี 2 มาตรการที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อทุกคน ได้แก่ “การผ่อนปรนมาตรการ LTV” และ “มาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนบ้านและจดจำนองที่ดิน” ที่คุณมีแต่ได้กับได้ทั้งนั้น

 

ทำความรู้จักกับ LTV

          LTV (Loan-to-Value Ratio) คือ อัตราส่วนระหว่างวงเงินที่ธนาคารอนุมัติให้กู้ กับมูลค่าหลักทรัพย์ที่นำมาจำนอง (เช่น บ้านหรือคอนโด) โดยทั่วไป LTV ใช้ในการควบคุมความเสี่ยงของสถาบันการเงิน และเป็นเครื่องมือหนึ่งในการควบคุมความร้อนแรงของตลาดอสังหาริมทรัพย์

🔍 ตัวอย่าง: ถ้าคุณต้องการซื้อคอนโดราคา 3 ล้านบาท แล้วธนาคารให้กู้ 2.7 ล้านบาท เท่ากับว่า LTV = 90%

 

เทียบการผ่อนปรนมาตรการ LTV กับแบบเดิมมีผลอย่างไร?

          เกณฑ์ในการกู้ของมาตรการ LTV แต่เดิมจะแตกต่างกันกับหลังจากผ่อนปรนมาตรการ LTV ที่มีเกณฑ์การกู้ของแต่ละสัญญาไม่เท่ากัน โดยมีรายละเอียดดังนี้

LTV แบบเดิม

  • เกณฑ์ของบ้านที่มีมูลค่าน้อยกว่า 10 ล้านบาท
    • สัญญาหลังที่ 1 หรือการกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยหลังแรก จะสามารถกู้ได้เต็ม 100% และยังสามารถกู้ค่าตกแต่งบ้านได้อีก 10%
    • สัญญาหลังที่ 2 หรือการกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่สอง จะสามารถกู้ได้ 90% หลังจากผ่อนสัญญาที่ 1 มากกว่า 2 ปี และไม่สามารถขอกู้ค่าตกแต่งบ้านได้
    • สัญญาหลังที่ 3 ขึ้นไป หรือการกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่สามขึ้นไป จะสามารถกู้ได้ 80% หลังจากผ่อนสัญญาที่ 1 ไม่เกิน 2 ปี และไม่สามารถขอกู้ค่าตกแต่งบ้านได้
  • เกณฑ์ของบ้านที่มีมูลค่ามากกว่า 10 ล้านบาท
    • สัญญาหลังที่ 1 หรือการกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยหลังแรก จะสามารถกู้ได้ 90% และไม่สามารถขอกู้ค่าตกแต่งบ้านได้
    • สัญญาหลังที่ 2 หรือการกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่สอง จะสามารถกู้ได้ 80% และไม่สามารถขอกู้ค่าตกแต่งบ้านได้
    • สัญญาหลังที่ 3 ขึ้นไป หรือการกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่สามขึ้นไป จะสามารถกู้ได้ 70% และไม่สามารถขอกู้ค่าตกแต่งบ้านได้

 

LTV แบบอัปเดตใหม่

          รายละเอียดการผ่อนปรนมาตรการ LTV แบบล่าสุดปี 2568 จะแตกต่างจากแบบเดิม “ทุกสัญญาจะสามารถกู้ได้ 100% ไม่จำกัดมูลค่าบ้าน” ซึ่งสัญญาหลังที่ 1 ของบ้านที่มีมูลค่าน้อยกว่า 10 ล้านบาท จะพิเศษกว่าสัญญาอื่น ๆ ที่นอกจากจะสามารถกู้เต็มได้ 100% แล้ว ยังสามารถกู้ค่าตกแต่งบ้านเพิ่มได้อีก 10% ทำให้ผู้ที่สนใจจะซื้อไม่ว่าจะเป็นบ้านมือ 1 หรือบ้านมือ 2 “ไม่ต้องวางเงินดาวน์ในการซื้อบ้าน” โดยมาตรการ LTV แบบใหม่นี้จะเริ่มในวันที่ 1 พฤษภาคม 2568 – 30 มิถุนายน 2569

การผ่อนปรนมาตรการ LTV ดีต่อใครบ้าง?

          จากการที่ทุกสัญญาสามารถขอกู้ได้ 100% ในการผ่อนปรนมาตรการ LTV ดีต่อผู้ที่มีแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 ขึ้นไป ไม่จำกัดว่าจะเป็นบ้านมือ 1 หรือบ้านมือ 2 เนื่องจากไม่ต้องวางเงินดาวน์ให้เป็นอุปสรรคในการซื้อบ้าน หรือผู้ที่ต้องการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ ซื้อบ้านมือ 2 เพื่อนำมาทำบ้านเช่า

 

มาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนอง

          นอกจากจะมีการผ่อนปรนมาตรการ LTV แล้ว วันที่ 1 พฤษภาคม 2568 นี้ ยังมีอีกหนึ่งมาตรการที่เอื้อประโยชน์แก่ผู้ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยอีกด้วย คือ “ลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนอง  0.01% สำหรับที่อยู่อาศัยมูลค่าไม่เกิน 7 ล้านบาท ทั้งบ้านมือ 1 และบ้านมือ 2 โดยมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองจะสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2569 ทั้งนี้จะต้องติดตามการอัปเดตรายละเอียดอย่างใกล้ชิดเพิ่มเติมอีกครั้ง

          หากคุณสนใจในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในช่วงนี้ ไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์รูปแบบใดก็ตาม บ้านมือ 1 บ้านมือ 2 คอนโดมิเนียม หรือซื้อเพื่อการลงทุน เช่น การทำบ้านเช่า ควรทำการซื้อ-ขายในช่วงวันที่ 1 พฤษภาคม 2568 เป็นต้นไปแต่ต้องไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2569 เพื่อให้อยู่ในช่วงระยะเวลาของการผ่อนปรนมาตรการ LTV ไม่ต้องวางเงินดาวน์ และได้ลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนอง ทั้งนี้อาจต้องติดตามรายละเอียดหรืออัปเดตมาตรการอย่างใกล้ชิดอีกครั้ง

สรุปส่งท้าย มาตรการ LTV ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ ธปท. ใช้ควบคุมทั้งภาวะหนี้และความร้อนแรงของภาคอสังหาฯ แม้ว่า… การผ่อนคลายจะช่วยกระตุ้นตลาดในช่วงสั้น แต่การกลับไปใช้มาตรการตามปกติ ก็ช่วยสร้างเสถียรภาพทางการเงินในระยะยาว ผู้ที่สนใจซื้อบ้านควรเตรียมความพร้อมด้านการเงินและศึกษาข้อมูลก่อนการจดจำนองอย่างละเอียด

 


Property4Cash ยินดีให้คำปรึกษาและช่วยเพิ่มทุนให้กับทุกคนที่ต้องการเงินด่วน และต้องการเงินเพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจ ไม่เช็คแบล็คลิส ไม่เช็คเครดิตบูโร

อนุมัติรวดเร็วทันใจ นึกถึง ขายฝากจำนอง นึกถึง Property4Cash

Line: @Property4Cash

โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash

ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

ขายฝากกับกู้ธนาคาร เลือกทางไหนดี?
11
Sep 24
ขายฝากกับกู้ธนาคาร เลือกทางไหนดี?

การตัดสินใจเลือก ขายฝากกับกู้ธนาคาร เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณาให้รอบคอบ เพราะทั้งสองทางเลือกมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันไป เพื่อให้คุณตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ลองมาเปรียบเทียบรายละเอียดกัน ขายฝาก  ขายฝาก คือ สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่มีเงื่อนไขพิเศษ ซึ่งผู้ขายฝากสามารถซื้อทรัพย์สินนั้นกลับคืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดตามกฎหมาย โดยทั่วไปขายฝากจะเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ขายต้องการเงินด่วน แต่ยังต้องการรักษาสิทธิในการซื้อทรัพย์สินนั้นคืน ข้อดี: ได้เงินเร็ว: กระบวนการอนุมัติและรับเงินรวดเร็วกว่าการกู้ธนาคาร วงเงินสูง: มักจะได้วงเงินสูงกว่าการกู้ธนาคาร ไม่ต้องมีเครดิตบูโรที่ดี: เหมาะสำหรับคนที่ไม่มีประวัติเครดิตที่ดี ไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันเพิ่มเติม: ใช้ทรัพย์สินที่มีอยู่เป็นหลักประกัน ข้อเสีย: เสียกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชั่วคราว: กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะโอนไปให้อีกฝ่ายหนึ่ง จนกว่าจะไถ่ถอนคืน ดอกเบี้ยอาจสูงกว่า: อัตราดอกเบี้ยอาจสูงกว่าการกู้ธนาคาร มีความเสี่ยงสูง: หากไม่สามารถไถ่ถอนทรัพย์สินคืนได้ตามกำหนด อาจสูญเสียทรัพย์สินไป ขั้นตอนยุ่งยาก: การทำสัญญาและไถ่ถอนทรัพย์สินมีขั้นตอนที่ซับซ้อนก […]

อ่านเพิ่มเติม
อัปเดต! การชำระ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2568
18
Jan 25
อัปเดต! การจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี 2568

เปิดศักราชใหม่ กับเรื่องควรรู้ เกี่ยวกับ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2568 วันนี้ Property4Cash ได้รวมข้อมูลต่างๆ มาไว้ให้แล้วค่ะ โดยการจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ในปี 2568 มีการขยายระยะเวลาชำระภาษี จากเดิมเดือนเมษายน เลื่อนเป็นมิถุนายน เพื่อลดภาระและบรรเทาความเดือดร้อนจากสถานการณ์น้ำท่วมให้กับประชาชน ดังนั้น Property4Cash สรุปมาให้เช็ก ว่า… ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแต่ละประเภท ต้องเสียภาษีเท่าไร? เพื่อเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้า เพราะหากชำระล่าช้า ต้องจ่ายค่าปรับสูงสุดถึง 40% ของภาษีที่ค้างชำระเลยนะ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ประเภทไหน ต้องเสียภาษีที่ดิน 2568 ประเภทที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่ต้องเสียภาษีมี 4 ประเภท แบ่งตามรูปแบบการใช้งาน คือ ที่ดินเกษตรกรรม ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม และที่ดินที่ทิ้งไว้ว่างเปล่า ซึ่งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแต่ละประเภท มีอัตราการเสียภาษีที่แตกต่างกัน ดังนี้   1. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างเพื่อการเกษตรกรรม มูลค่าไม่เกิน 75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.01% (บุคคลธรรมดายกเว้น 50 ล้านแรก) มูลค่า 75 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03% มูลค่า 1 […]

อ่านเพิ่มเติม
ที่ดิน น.ค.๓
3
Apr 25
ที่ดิน น.ค.๓ สามารถออกเป็นโฉนดที่ดินได้หรือไม่?

ที่ดิน น.ค.๓ สามารถออกเป็นโฉนดที่ดินได้หรือไม่? วันนี้ P4c สรุปมาให้แล้วค่ะ📕           น.ค.๓ เป็นเอกสารที่ออกสืบเนื่องจาก น.ค.๑ ซึ่งเป็นหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตนิคมสร้างตนเอง โดยกรมประชาสงเคราะห์ (ปัจจุบันกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ) จะเป็นผู้ออกให้กับบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสมาชิกนิคมตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติจัดที่ดิน เพื่อการครองชีพ พ.ศ. ๒๕๑๑ ต่อมาเมื่อสมาชิกของนิคมได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินที่ได้รับอนุญาตเกินกว่า ๕ ปี ได้ชำระเงินช่วยทุนที่รัฐบาลได้ลงไปแล้ว และชำระหนี้สินเกี่ยวกับกิจการนิคมให้ทางราชการแล้ว ก็จะได้รับหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค.๓) เป็นหลักฐาน สมาชิกนิคมสร้างตนเองที่ได้รับหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค.๓)    มาตรา ๑๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. ๒๕๑๑ บัญญัติให้สามารถนำหลักฐานดังกล่าว ขอโฉนดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินได้ ถ้าเป็นการขอออกโฉนดที่ดินเฉพาะรายตามมาตรา ๕๙    แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน จะต้องยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานที่ดินจังหวัด สำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา หรือสำนักงานที่ดินส่วนแยก ที่ที่ดินนั้น […]

อ่านเพิ่มเติม