ที่ดินมรดก สามารถทำขายฝากได้หรือไม่?
19
Nov 24

<yoastmark class=

ที่ดินมรดก สามารถทำขายฝากได้หรือไม่? วันนี้ Property4Cash มาไขคำตอบแล้วค่ะ 

ที่ดินทำกิน ที่ดินเปล่า นับเป็นสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าสูง เปรียบเสมือนมรดกที่ส่งต่อความมั่นคงจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลานในอนาคต เพื่อพัฒนาและทำประโยชน์ให้งอกเงย เลี้ยงดูชีวิต หรือต่อยอดจากแนวคิดของบรรพบุรุษ 

และเมื่อทรัพย์สินดังกล่าว เป็นมรดก และผู้รับมรดกมีความจำเป็นต้องใช้เงินก้อนเร่งด่วน ผู้รับมรดกสามารถใช้ที่ดิน อสังหาที่ได้รับมรดกมาจากบรรพบุรุษ ไม่ว่าจะเป็น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ฯลฯ มาเป็นหลักทรัพย์ทำธุรกรรมขายฝากได้หรือไม่? 

 

โดย ที่ดินมรดก สามารถทำขายฝากที่ดินได้ 

ผู้รับมรดกที่มีชื่อระบุในพินัยกรรม หรือเป็นทายาทโดยธรรมของผู้เสียชีวิต หลังจากดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หลังโฉนดที่ดิน น.ส. 4 มาเป็นชื่อของตัวเองเรียบร้อยแล้ว สามารถนำโฉนดที่ดิน น.ส. 4 มาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันทำสัญญาขายฝาก ณ สำนักงานที่ดิน ได้ตามปกติ 

การขายฝากที่ดิน กับ Property4Cash อนุมัติไว ได้รับเงินก้อนทันที ดอกเบี้ยต่ำเริ่มต้นเพียง 0.75% ต่อเดือน

ที่ดินมรดก ทำขายฝากได้ไหม?

ขั้นตอนดำเนินการ เกี่ยวกับกรณีการจัดการที่ดินมรดก เป็นอย่างไรบ้าง? ตามเราไปอัพเดตกันเลยค่ะ

กรณีที่ดินเปล่าที่มีเอกสารสิทธิ์ เป็นโฉนดที่ดิน น.ส. 4 เมื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์เสียชีวิตลง สมาชิกในครอบครัว ญาติพี่น้อง หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง สามารถดำเนินการได้ 2 กรณีหลัก ดังนี้

  1. กรณีเจ้าของที่ดินเสียชีวิต และทำพินัยกรรมระบุชื่อผู้รับมรดก

บุคคลที่มีชื่อเป็นผู้รับมรดกในพินัยกรรม สามารถยื่นเรื่องขออำนาจศาล เพื่อรับมรดก และหลังจากได้รับใบคำสั่งศาลเรียบร้อยแล้ว สามารถดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดิน น.ส. 4 มาเป็นชื่อของผู้รับมรดกที่ระบุในพินัยกรรม ณ สำนักงานที่ดิน ที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่ เช่น คุณพ่อโชคชัย เป็นเจ้าของที่ดินเปล่า 20 ไร่ ทำพินัยกรรมยกที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นมรดกให้กับลูกสาว คือ นางสาวมีทรัพย์ ดังนั้นเมื่อคุณพ่อโชคชัยเสียชีวิต นางสาวมีทรัพย์จะต้องยื่นเรื่องต่อศาล เพื่อขอรับมรดก และหลังจากได้รับใบคำสั่งศาล นายมีเงินสามารถติดต่อสำนักงานที่ดิน ณ ที่ที่ดินนั้นอยู่ เพื่อจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หลังโฉนดที่ดิน น.ส. 4 มาเป็นชื่อของนายมีเงิน

 

  1. กรณีเจ้าของที่ดินเสียชีวิต แต่ไม่ได้ทำพินัยกรรม

สมาชิกในครอบครัว ญาติ พี่น้อง หรือบุคคลที่ได้รับความยินยอมจากครอบครัวของผู้เสียชีวิต ต้องยื่นเรื่องขออำนาจศาล เพื่อแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก และหลังจากได้รับใบคำสั่งศาลให้เป็นผู้จัดการมรดก จึงจะสามารถดำเนินการจดทะเบียนทำธุรกรรมต่างๆ ณ สำนักงานที่ดิน ที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่ได้

ลำดับทายาท ที่สามารถรับมรดกที่ดิน มีดังนี้ สิทธิตามกฏหมายมี 6 ลำดับ แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลัง ดังต่อไปนี้

ผู้สืบสันดาน ได้แก่ บุตร หลาน เหลน ลื้อ บิดา มารดา พี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน พี่น้องร่วมบิดา หรือ ร่วมมารดาเดียวกัน ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา

สำหรับคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสและยังมีชีวิตอยู่ ถือเป็นทายาทโดยธรรมและมีสิทธิรับมรดกร่วมกับทายาทโดยธรรมทั้ง 6 ลำดับ

 

หลักฐานที่ประกอบการขอรับมรดก โดยผู้มีสิทธิได้รับมรดกที่ดิน จะต้องเตรียมเอกสารและหลักฐานไปขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดิน ณ สำนักงานที่ดิน ที่ที่ดินแปลงนั้นตั้งอยู่ ดังนี้

👉 โฉนดที่ดิน น.ส. 4

👉 บัตรประจำตัว

👉 ทะเบียนบ้าน

👉 หลักฐานการตายของเจ้ามรดก เช่น ใบมรณบัตร

👉 พินัยกรรม (ถ้ามี)

 

ถ้าขอรับมรดกในฐานะเป็นคู่สมรส ต้องมีหลักฐานการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย ถ้าผู้ขอรับมรดก เป็นบิดาเจ้ามรดก ต้องมีทะเบียนสมรสกับมารดาของเจ้ามรดก หรือหลักฐานการรับรองบุตร กรณีบุตรบุญธรรม เป็นผู้ขอรับมรดก ต้องแสดงหลักฐานการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ถ้ามีกรณีพิพาทเกี่ยวกับมรดก ต้องนำสัญญาประนีประนอมยอมความ หรือคำพิพากษาอันถึงที่สุดไปแสดง ถ้ามีผู้มีสิทธิรับมรดกร่วมกันหลายคน บางคนได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว ต้องมีหลักฐานการตายของทายาทนั้นๆ

 

กรณีมีผู้จัดการมรดก ต้องใช้หลักฐานดังนี้

👉 คำสั่งศาลหรือคำพิพากษาของศาล หรือพินัยกรรมซึ่งตั้งให้ผู้ขอเป็นผู้จัดการมรดก

👉 หลักฐานการตายของเจ้ามรดก

👉 ทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวของผู้จัดการมรดก

👉 โฉนดที่ดิน น.ส. 4

 

Property4Cash ผู้ให้บริการจำนอง ขายฝากอสังหาริมทรัพย์อย่างมืออาชีพมากว่า 440 เคส อนุมัติวงเงินไปกว่า 770 ล้านบาท มีการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ปลอดภัย 100%

เลือกใช้บริการขายฝากกับ Property4Cash แม้เป็น ที่ดินมรดก ก็สามารถทำขายฝากได้! ช่วยสร้างโอกาสทางการเงินให้กับผู้ที่ต้องการเงินด่วน ไม่ว่าจะประกอบอาชีพอะไรก็สามารถเข้าถึงเงินทุนที่ถูกกฎหมายได้อย่างปลอดภัย โดยใช้โฉนดเป็นหลักประกัน ในการขอสินเชื่อเงินด่วน บริการรวดเร็วทันใจ ดอกเบี้ยเริ่มต้นเพียง 0.75% ต่อเดือน ไม่ใช้คนค้ำ ไม่เช็คเครดิตบูโร ไม่มีนโยบายยึดทรัพย์ ต้องการเงินด่วนนึกถึง Property4Cash เงินด่วนอสังหา จำนอง ขายฝาก 

 

—————————————————–

Property4Cash ยินดีให้คำปรึกษาและช่วยเพิ่มทุนให้กับทุกคนที่ต้องการเงินด่วน และต้องการเงินเพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจ ไม่เช็คแบล็คลิส ไม่เช็คเครดิตบูโร

อนุมัติรวดเร็วทันใจ นึกถึง ขายฝากจำนอง นึกถึง Property4Cash

Line: @Property4Cash

โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash

ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

ทำนิติกรรมขายฝากทรัพย์ ใครเป็นคนจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียม
25
Oct 24
การทำนิติกรรม ใครเป็นคนจ่าย ค่าธรรมเนียมการขายฝาก

เมื่อคุณตัดสินใจขายฝากทรัพย์ หรือ ทำนิติกรรมขายฝาก คำถามที่หลายคนยังคงสงสัย คือ ค่าธรรมเนียมการขายฝาก ใครเป็นคนจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม? เดี๋ยววันนี้จะมาไขข้อสงสัยให้ทุกคนกันค่ะ ก่อนอื่นเลยมาทำความรู้จักกับคำว่า ขายฝาก กันก่อนค่ะ การขายฝาก คือ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ถูกกฎหมาย มีกฎหมายคุ้มครองทั้งผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝาก(นักลงทุน) โดยการขายฝาก คือ การซื้อขายทรัพย์สินอย่างหนึ่งที่กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้ซื้อฝากทันทีที่มีการทำสัญญา แต่มีเงื่อนไขตกลงว่าผู้ขายฝากสามารถไถ่ทรัพย์สินคืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดและวงเงินที่ตกลงกัน โดยจะมีค่าธรรมเนียมในการขายฝากทรัพย์ และค่านิติกรรมอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในการทำธุรกรรมนั้นๆ    ทำไมต้องจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียม:  การจ่ายค่าภาษี และ ค่าธรรมเนียมการขายฝาก ในการทำนิติกรรมขายฝากทรัพย์มีความสำคัญ ดังนี้ ปฏิบัติตามกฎหมาย การจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียมเป็นข้อบังคับตามกฎหมายที่ช่วยให้การทำธุรกรรมเป็นไปตามข้อกำหนดและถูกต้องตามหลักกฎหมาย บันทึกข้อมูลทางการ ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนช่วยให้การขายฝากทรัพย์สินถูกบันทึกในระบบทะเบียนอย่างเป็นทางก […]

อ่านเพิ่มเติม
17
Aug 24
รายละเอียดสัญญาขายฝากที่ดินที่ควรรู้ก่อนทำธุรกรรม สำหรับผู้รับขายฝาก และผู้ขายฝาก

รายละเอียด สัญญาขายฝากที่ดิน ที่ควรรู้ก่อนทำธุรกรรม สัญญาขายฝากที่ดิน เป็นสัญญาที่มีความสำคัญทางกฎหมายและเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินที่มีมูลค่า การทำความเข้าใจรายละเอียดต่างๆ ก่อนลงนามจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งผู้รับซื้อฝากและผู้ขายฝากควรศึกษาข้อมูลเหล่านี้ให้ละเอียดก่อนตัดสินใจ สิ่งที่ผู้รับซื้อฝากควรทราบ กรรมสิทธิ์ในที่ดิน: แม้ว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันทีที่ทำสัญญา แต่ผู้ขายฝากยังมีสิทธิไถ่ถอนที่ดินคืนได้ตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญา ระยะเวลาไถ่ถอน: กำหนดระยะเวลาไถ่ถอนให้ชัดเจน โดยทั่วไปจะไม่น้อยกว่า 1 ปี และไม่เกิน 10 ปี จำนวนสินไถ่: คือจำนวนเงินที่ผู้ขายฝากต้องชำระเพื่อไถ่ถอนที่ดินคืน โดยจำนวนสินไถ่จะต้องไม่น้อยกว่าราคาที่ซื้อฝาก และดอกเบี้ยที่คิดจากราคาซื้อฝากตามอัตราที่กฎหมายกำหนด (ปัจจุบันไม่เกิน 15% ต่อปี) ค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียน: ผู้รับซื้อฝากเป็นผู้ชำระค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนสัญญาขายฝากที่ดิน ณ สำนักงานที่ดิน ภาษีที่เกี่ยวข้อง: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ชำระภาษีที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมนี้ครบถ้วนแล้ว การตรวจสอบเอกสาร: ต […]

อ่านเพิ่มเติม
25
Apr 24
ทำความรู้จัก บสย. ตัวช่วยของผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs

ธุรกิจ SMEs ในปัจจุบัน พบกับปัญหาอย่างหนึ่ง “การไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน” ฝันร้ายของธุรกิจ SMEs เพราะเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง และไม่มีหลักทรัพย์สำหรับค้ำประกันจะขอสินเชื่อที่ไหนก็ไม่ผ่าน เชื่อเลยว่ายังมีหลายคนอาจยังไม่รู้ว่ามีหน่วยงานจากภาครัฐที่คอยให้ความช่วยเหลือธุรกิจ SMEs เพื่อให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น นั่นก็คือ “ บสย. คือ บริษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม”   บสย.คือใคร มีหน้าที่อะไรบ้าง Property4Cash มีคำตอบ ! บสย. คือ ใคร   บสย.คือ สถาบันการเงินของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ภายใต้การกำกับของกระทรวงการคลัง โดยมีหน้าที่ค้ำประกันสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ที่ไม่มีหลักทรัพย์ และมีหลักทรัพย์ค้ำประกันไม่เพียงพอในการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน  เพื่อให้ได้วงเงินสินเชื่อตามที่ต้องการ หน้าที่หลักของบสย.  บสย.มีนโยบายค้ำประกันสินเชื่อให้กับธุรกิจ SMEs ทุกประเภท ที่ต้องการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน เพื่อช่วยลดภาระหลักทรัพย์ และช่วยให้มีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน นอกจากนี้ยังพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ SMEs ผ่านกิจกรรมต่างๆ และเป็นตัวกลางข้อมูลเพื่อดำเนินการระหว่ […]

อ่านเพิ่มเติม