เลือกซื้อที่ดิน สร้างบ้าน ต้องเลือกอย่างไร
14
Jul 23

เพื่อนๆทุกคนอยากมีบ้านในฝันกันอยู่แล้ว โครงการบ้านหลายๆ โครงการดูสวย น่าอยู่
แต่ก็ไม่ตรงสิ่งที่อยากได้หรือฝันไว้ จะรื้อทำใหม่ก็ทำไม่ได้  ในเมื่อบ้านโครงการไม่ตอบโจทย์
ก็เลยอยากสร้างเอง เราสามารถควบคุมคุณภาพวัสดุ การออกแบบ การก่อสร้าง
และที่สำคัญคือ งบประมาณ ได้ด้วยตนเอง รวมถึงการเลือกทำเลที่ดินสร้างบ้านด้วย
ก่อนจะสร้างบ้านได้นั้นต้อง เลือกซื้อที่ดิน ก่อน วันนี้เราจะพาเพื่อนๆ ไปดูว่า การเลือกซื้อที่ดินสร้างบ้านนั้นต้องเลือกอย่างไร ไปดูกันเลยครับ

 เลือกซื้อที่ดิน ไว้ปลูกสร้างบ้าน ต้องเลือกอย่างไร

  1. ทำเล

ทำเลคือหัวใจสิ่งที่สำคัญที่สุด หากคุณเลือกทำเลไม่ดี ชีวิตคุณก็จะลำบาก
เราต้องเลือกที่ดินที่มีสิ่งอำนวยความสะดวก  การเดินทางเป็นอย่างไร
สิ่งแวดล้อมเหมาะสมกับชีวิตคุณในปัจจุบันและอนาคตหรือไม่
ก็คือเลือกตามการใช้ชีวิตของแต่ละครอบครัวให้ตอบโจทย์การใช้ชีวิตประจำวันของคุณให้ได้มากที่สุด

  1. ขนาดพื้นที่

ขนาดพื้นที่ดินก็สำคัญ เราต้องนึกถึงประโยชน์ใช้สอยให้คุ้มค่า เหมาะกับ ครอบครัวของคุณเป็นลักษณะไหน
มีสมาชิกกี่คน มีสมาชิกในวัยไหนบ้าง และต้องศึกษาเรื่องกฎหมายก่อนก่อสร้างให้ดี
แนะนำให้เลือกรูปร่างของที่ดินควรจะเป็น 4 เหลี่ยม เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์เต็มผืนที่ดิน

  1. ผังเมือง

เรื่องผังเมืองไม่ได้ยุ่งยากอะไรมากมาย แค่เพื่อนๆที่ต้องทราบ ที่ดินของคุณอยู่ในพื้นที่สีอะไร
ซึ่งหมายความว่าคุณจะทำอะไรบนที่แห่งนั้นได้บ้างตามกฎหมาย

  1. อนาคตรอบๆที่ดิน

เพื่อนๆต้องลองคำนึงถึงอนาคตว่าอีก 10 – 20 ปีข้างหน้า ที่ดินแถวนั้นจะพัฒนา
มีความเป็นไปได้มากแค่ไหนที่ความเจริญจะเข้ามายังทำเลที่เพื่อนๆเลือก อันนี้คือมุมมองในด้านดี
แต่ด้านในด้านเสียก็มีเหมือนกัน เราต้องคำนึงถึงที่ดินเราอยู่ในโซนที่มีโอกาสโดนเวนคืน หรือไม่
ลองศึกษาการพัฒนาประเทศจากฝั่งรัฐบาล

  1. สาธารณูปโภค

ต้องดูเรื่องของ น้ำและไฟเข้าถึงหรือยัง และเรื่องอินเตอร์เน็ต เรื่องพวกนี้หลายๆคนอาจมองข้าม
แต่ถ้าถึงเวลาที่จำเป็นหรือซื้อที่ดินแล้ว คุณจะลำบากต้องทำเรื่องขออนุมัติกับการไฟฟ้า การประปา
หรืออินเตอร์เน็ต ต้องวุ่นวายหลายขั้นตอน แถมบ้างที่ต้องมีค่าจ่ายที่ต้องเพิ่มมาอีกมากมาย

  1. น้ำท่วม

ต้องย้อนหาข้อมูลว่าที่ผ่านมาที่ดินบริเวณนั้นเคยเกิดน้ำท่วมมาหรือไม่ หรือ ท่วมขนาดไหน
หากเพื่อนๆซื้อที่ดินริมน้ำ ต้องตรวจสอบระดับน้ำทั้งเวลาน้ำขึ้นและน้ำลง
รวมถึงความแข็งแรงของตลิ่งด้วยว่า มีโอกาสทรุดหรือไม่

  1. ราคาไม่เวอร์เกิน

ในปัจจุบันที่ดินเป็นสินทรัพย์ที่คนนิยมใช้ในการลงทุนมากที่สุด และทุกวันนี้ราคาที่ดินก็เพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา
เจ้าของที่ดินบางคนก็ตั้งราคาเกินจริง ก่อนจะเลือกซื้อที่ดินสักแปลงควรศึกษาราคาประเมินที่ดินจากกรมธนารักษ์

 

เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับการ เลือกซื้อที่ดินสร้างบ้าน ต้องเลือกอย่างไร เพื่อนๆที่วางแผนจะซื้อที่ดินสร้างบ้านเป็นของตนเอง

สิ่งที่เราแนะนำไปเพื่อนสามารถนำปรับใช้กันได้เลย การมีบ้านสักหลังย่อมคาดหวังสิ่งที่ดีที่สุด ลงพื้นที่จริง

เลือกที่ดินที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของเราเอง

เลือกซื้อที่ดิน สร้างบ้าน ต้องเลือกอย่างไร

เลือกซื้อที่ดิน สร้างบ้าน ต้องเลือกอย่างไร

——————————————————

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 096-813-5989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

ก่อนลงทุนต้องรู้จักกับ อัตราการดูดซับ
19
Dec 22
ก่อนลงทุนต้องรู้จักกับ ‘อัตราการดูดซับ’

หลายต่อหลายครั้งเราเห็นคำว่า อัตราการดูดซับ ปรากฏบนข่าว ซึ่งบางทีก็อาจสร้างความสงสัยให้กับผู้ที่เพิ่งเริ่มศึกษาเรื่องอสังหาริมทรัพย์ ว่ามันคืออะไร วันนี้เราจะมาไขข้องสงสัยกันค่ะ อัตราการดูดซับ หรือ Absorption Rate คือ ดัชนีชี้วัด ‘ความต้องการ’ หรือ ‘อุปสงค์’ ของตลาดอสังหาริมทรัพย์ ว่าในทำเลนั้นๆ หรือ ตลาดของอสังหาฯ แต่ละประเภท เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมากน้อยเพียงใด ซึ่งสามารถคำนวณได้โดยการนำหน่วยที่ขายได้ หารด้วยจำนวนยูนิตทั้งหมดที่โครงการมี ยิ่งค่าสูง แสดงว่ายังเป็นที่ต้องการมาก อัตราการดูดซับนี้ เป็นหนึ่งในดัชนีที่ใช้คาดการณ์ภาวะธุรกิจ (Business Expectation Index) ซึ่งโดยส่วนมากทางภาครัฐจะเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลตัวเลขเพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูล เพื่อให้เห็นถึงจุดสูงสุดและต่ำสุดของเศรษฐกิจในประเทศ และติดตามสภาวะเศรษฐกิจ แต่ในบางครั้ง ทางผู้พัฒนาอสังริมทรัพย์เองก็มีการเก็บรวมรวบข้อมูลตัวเลขเกี่ยวกับโครงการของตน เพื่อคำนวณออกมาเป็นอัตราการดูดซับเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ครึ่งแรกของปี 2565 อัตราการดูดซับของที่อยู่อาศัยทุกประเภท ต่ำสุดในรอบ 5 ปี สำหรับบ้านเดี่ยวและบ้านแฝด อัตราการดูดซับอยู่ท […]

อ่านเพิ่มเติม
ที่ดินติดธนาคาร จำนองได้ไหม ขายฝากได้หรือเปล่า
24
Feb 23
ที่ดินติดแบงค์จำนองได้ไหม ขายฝากได้หรือเปล่า

ที่ดินติดธนาคาร เป็นคำถามที่ทางเราพบเจอค่อนข้างบ่อย สำหรับเจ้าของทรัพย์ ไม่ว่าเป็นบ้าน คอนโด หรือว่าที่ดิน ที่ต้องการนำทรัพย์มา จำนอง หรือ ขายฝาก กับเรา แต่ว่าทรัพย์นั้นๆ ยังคงมีภาระหนี้อยู่กับธนาคาร หรือสถานบันการเงินอื่นๆ หรือเรียกสั้นๆ กันว่า “ติดแบงค์” ทำให้ไม่รู้ว่าสามารถนำมาจำนองกับขายฝากได้หรือไม่ Property4Cash จึงอยากมาแถลงไขให้ได้กระจ่างใจกันในวันนี้ ^-^ ที่ดินติดธนาคาร คอนโดผ่อนอยู่ จำนองได้ไหม ขายฝากได้รึเปล่า ? โดยปกติแล้วเราสามารถทำได้ ไม่ได้ผิดกฎหมายแต่อย่างใด สามารถทำได้ทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ เพียงแต่ว่ามีข้อแม้และข้อจำกัดอยู่หลายข้อด้วยกัน การนำทรัพย์ที่ติดภาระหนี้กับธนาคารอยู่มาทำการ จำนอง-ขายฝากนั้น คือการที่เราจูงมือ “นายทุน” ที่รับจำนอง-ขายฝาก ไปทำนิติกรรมที่สำนักงานที่ดินพร้อมกัน เพื่อนำเงินที่เราจะได้รับไปปิดยอดหนี้เดิมกับธนาคาร และทำการจำนองหรือขายฝาก กับนายทุนที่มารับช่วงต่อไปในคราวเดียวกัน พูดง่ายๆ คือนายทุนนำเงินไปปิดแบงค์ให้ แล้วนำส่วนที่เหลือหลังจากหักลบค่าใช้จ่ายต่างๆ มาให้เจ้าของทรัพย์ ผู้จำนอง-ขายฝาก นั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น เรามี บ้านติดธนาคาร ยอดหนี้คง […]

อ่านเพิ่มเติม
รีไฟแนนซ์ Retention ต่างกันอย่างไร?
26
May 23
Retention กับ Refinance ต่างกันอย่างไร?

เมื่อผ่อนบ้านมาได้สักระยะหนึ่งแล้วหลายคนก็เริ่มที่จะหาทางทำให้ดอกเบี้ยนั้นลดลง ซึ่งวิธีการที่เราคุ้นเคยกันนั้นคือการ รีไฟแนนซ์ แต่ยังมีอีกหนึ่งวิธีที่ง่ายและสะดวกกว่ามาก คือการ Retention แล้วทั้ง 2 วิธีนี้แตกต่างกันอย่างไร มาดูกันเลยค่ะ Retention เป็นการติดต่อขอลดอัตราดอกเบี้ยกับธนาคารเดิม ในขณะที่ รีไฟแนนซ์ เป็นการนำที่อยู่อาศัยที่ผู้กู้ผ่อนชำระอยู่ มาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน เพื่อขอสินเชื่อใหม่มาปิดหนี้ยอดเงินกู้เดิมที่ยังเหลืออยู่ ทำให้หนี้ของเรากับเจ้าหนี้ ซึ่งก็คือ ธนาคารหรือสถาบันการเงินเดิมนั้นสิ้นสุดลง พร้อม ๆ กับการเกิดขึ้นของหนี้ใหม่กับธนาคารหรือสถาบันการเงินใหม่ ซึ่งข้อแตกต่างสามารถแบ่งได้ตามนี้ #สถาบันการเงิน Retention จะใช้ธนาคารหรือสถาบันการเงินเดิม ไม่ต้องหาสถาบันการเงินใหม่ Refinance จะต้องหาธนาคารหรือสถาบันการเงินใหม่ #การเตรียมเอกสาร Retention ไม่ต้องยุ่งยากในการเตรียมเอกสาร เนื่องจากธนาคารสามารถใช้เอกสารเดิมหลายฉบับที่ผู้กู้ใช้ยื่นขอสินเชื่อ Refinance เนื่องจากเป็นธนาคารหรือสถาบันการเงินใหม่ จึงต้องมีการเตรียมเอกสารใหม่ทั้งหมด #ระยะเวลาอนุมัติ Retention เนื่องจากมีข้อ […]

อ่านเพิ่มเติม