ทรัพย์หลุด ฝากขาย ควรทำอย่างไรดี?
12
Dec 23

หลายๆ คนที่นำอสังหาริมทรัพย์มาขายฝากครั้งแรกก็มักมีคำถามกังวลใจตลอดเวลา
ถ้าขายฝากอสังหาริมทรัพย์ไปแล้วจะมีโอกาสหลุดไปหรือไม่
หากขายฝากแล้ว ทรัพย์หลุด เราควรทำอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะได้ทรัพย์สินนั้นคือมา

จริงๆ การขายฝากก็คล้ายกับการจำนองนั้นเอง
เราสามารถไถ่ถอนทรัพย์คืนได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา
และเสียค่าดอกเบี้ยตามจำนวนที่ตกลงกันไว้
เมื่อมีการจะถอนไถ่ทรัพย์จะต้องมีเงินต้นไปไถ่ถอนคืนภายใน 1 ปี

กรณีเลยกำหนดไถ่ถอน หรือ ทรัพย์หลุด ขายฝาก อาจมี 2 สาเหตุ

  1. เกิดจากติดต่อผู้ซื้อฝากไม่ได้ หรือผู้ซื้อฝากเบี้ยวนัด

ในกรณีนี้ หากผู้ขายฝากพร้อมจะชำระหนี้ไถ่ถอนตามสัญญา
แต่ผู้ซื้อฝากบ่ายเบี่ยงไม่ยอมรับชำระหนี้ หรือติดต่อเท่าไหร่ก็ติดต่อไม่ได้เลย
อย่าปล่อยเวลาผ่านไปเฉยๆ เพราะคิดว่าติดต่อผู้ซื้อฝากไม่ได้คงไม่เป็นอะไร
เพราะมันมีผลทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่ขายฝากไปนั้นตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อฝากทันที
ปัญหาตรงนี้แหละที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้จะทำอย่างไรดี?

ถ้าเกิดกรณีกับคุณ หรือเกิดกับญาติพี่น้อง
ให้แก้ด้วยวิธีการนำเงินสินไถ่ไปวางที่ สำนักงานวางทรัพย์ กรมบังคับคดี ภายในกำหนดสัญญา
จะทำให้ผู้ขายฝากหลุดจากหนี้ที่จะต้องชำระ
และอสังหาริมทรัพย์ของเราก็จะไม่ตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น

  1. เกิดจากตัวเองไม่มีเงินต้นมาไถ่ถอนตามเวลาที่กำหนด

หากรู้ตัวเองยังไม่มีเงินต้นไปไถ่ถอนตามเวลาที่กำหนดในสัญญาได้หรือเตรียมเงินแล้วแต่ยังไม่พอ
ควรแจ้งความประสงค์และข้อขัดข้องให้กับผู้ซื้อฝาก และขอเจรจาขยายสัญญากับผู้ซื้อฝากโดยตรง
อย่ารอจนจะครบกำหนดแล้วแจ้ง เพราะยิ่งเวลาเหลือน้อยหรือเลยกำหนดเวลาในสัญญาไปแล้ว
อาจทำให้ผู้ขายฝากเสียทรัพย์ไปได้เลย

วิธีป้องกันการหลุดขายฝาก

วิธีป้องกันที่ดีสุด คืออย่าขาดการติดต่อกับผู้ซื้อฝากเด็ดขาด
หากเกิดปัญหาหรือไม่มีเงินในการชำระ
ต้องติดต่อผู้ซื้อฝากเพื่อเจรจาและหาทางออกร่วมกัน
เมื่อถึงเวลาไถ่ถอนระยะเวลากำหนด
ควรนัดมาทำธุรกรรมทุกอย่างที่สำนักงานที่ดินในช่วงเช้า
เพราะหากผู้ซื้อฝากไม่สามารถมาตามนัดได้
ผู้ขายฝากจะได้นำเงินไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์ได้ทัน

อย่างไรก็ตาม ก่อนทำสัญญาขายฝาก
ควรทบทวนความสามารถในการชำระหนี้ของตนเอง
รวมทั้งความน่าเชื่อของบริษัทนายหน้าหรือเจ้าหน้าที่ด้วย
กรณีที่เป็นบริษัท จะมีความน่าเชื่อได้มากกว่าบุคคล
เพราะมีที่ตั้ง มีที่ทำการได้อย่างชัดเจน สามารถติดตามผลงาน
ให้คำแนะนำได้ตลอด และให้บริการดูแลตลอดสัญญา

ทรัพย์หลุด ฝากขาย ควรทำอย่างไรดี?

—————————————————–

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

โฉนดหาย ใช้ใบแทนจำนองได้ไหม?
12
Nov 24
โฉนดหาย ใช้ใบแทนจำนองได้ไหม?

วันนี้ Property4Cash จะมาตอบคำถามที่ลูกค้าได้สอบถามกันเข้ามาว่า… “ โฉนดหาย ใช้ใบแทนจำนอง หรือขายฝาก แทนโฉนดตัวจริงได้ไหม? ” ้เดี๋ยวเราจะอธิบายขยายความ ให้ทุกคนได้เข้าใจกันเองค่ะ   ใบแทนโฉนดที่ดิน คืออะไร  เอกสารที่ออกโดยสำนักงานที่ดิน เพื่อใช้แทนโฉนดที่ดินฉบับเดิมที่สูญหาย ชำรุด หรือเสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้ ซึ่งใบแทนนี้จะมีข้อมูลและสถานะทางกฎหมายเหมือนกับโฉนดที่ดินฉบับเดิมทุกประการ เช่น ขนาดและตำแหน่งของที่ดิน เลขที่ดิน ผู้ถือกรรมสิทธิ์ และสิทธิที่จดทะเบียนไว้   >>> โฉนด เปรียบเสมือนหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินสิ่งปลูกสร้างที่สำคัญที่สุด หลายคนคงเคยกังวลหาก โฉนดหาย ขาด หรือชำรุด แล้วเป็นเอกสารสำคัญแบบนี้ จะสร้างปัญหาในการทำธุรกรรมจำนอง ขายฝากหรือไม่? เพราะการจำนอง ขายฝาก จำเป็นต้นใช้งานโฉนดตัวจริง แต่หากโฉนดหาย ขาด หรือชำรุดสามารถใช้ใบแทนในการทำธุรกรรมได้ค่ะ    โฉนดใบแทนสามารถนำไปจำนอง ขายฝากได้เช่นเดียวกับโฉนดที่ดินทั่วไป โดยที่มีข้อกำหนดและเงื่อนไขบางประการที่ธนาคาร สินเชื่อ อาจกำหนดเพิ่มเติม เพื่อความปลอดภัย ซึ่งโฉนดใบแทนจะเป็นโฉนดที่ออกมาทดแทนใบเดิมที่สู […]

อ่านเพิ่มเติม
บังคับจำนอง
3
Jan 23
การบังคับจำนอง คืออะไร ?

บังคับจำนอง ไม่ได้หมายความว่าเรามีทรัพย์สินอยู่แล้วถูกบังคับให้เอาไปจำนองแต่อย่างใด แต่หมายถึงการที่เราได้ทำสัญญาจำนองไว้เรียบร้อยแล้ว แต่ผิดสัญญา ไม่จ่ายดอกเบี้ย ไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงกันไว้ ทำให้ถูกฟ้องร้องต่อศาล โดยการบังคับจำนอง นั้นทำได้ 2 วิธีคือ ประเภทของ บังคับจำนอง ขายทอดตลาด คือการยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่ง “ยึด” ทรัพย์สินที่จำนองไว้ขายทอดตลาด และนำเงินมาใช้หนี้แก่ผู้รับจำนอง โดยจำเป็นต้องส่งหนังสือแจ้งลูกหนี้ก่อนล่วงหน้า 1 เดือน ถึงจะสามารถฟ้องร้องได้ การบังคับจำนองขายทอดตลาดนั้น หากตัวทรัพย์สินที่จำนองไว้มูลค่าต่ำกว่าหนี้ที่มีอยู่ ลูกหนี้ไม่จำเป็นต้องเสียค่าส่วนต่างแต่อย่างใด (แต่เสียที่ดิน เสียบ้านนะจ๊ะ!) และหากสามารถขายทรัพย์สินในราคาที่สูงกว่าหนี้ที่คงค้างได้ เจ้าหนี้จำเป็นต้องนำเงินส่วนที่เกินมาคืนให้แก่ลูกหนี้ไป จะเห็นได้ว่าการจำนองนั้น “เจ้าหนี้” ค่อนข้างเสียเปรียบในการทำสัญญาไม่น้อย เพราะฉะนั้น จะรับจำนองทรัพย์สินอะไร ให้ประเมินราคา ประเมินมูลค่าที่แท้จริงให้ดีเสียก่อน ก่อนที่จะเสียทั้งเงินและเวลาไปโดยใช่เหตุ ยึดทรัพย์สินให้เป็นของเจ้าหนี้ กรณีนี้สา […]

อ่านเพิ่มเติม
บ้านหลุดจำนอง ดีจริงหรือ?
14
Nov 23
บ้านหลุดจำนอง ดีจริงหรือ?

หลายๆ คนมักจะอคติกับ “บ้านหลุดจำนอง” จริงๆ แล้วรูปแบบอสังหาฯ ประเภทนี้ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด ถ้าได้มาจากแหล่งขายอันน่าเชื่อถือ รับรองว่าได้ราคาดี แถมยังสามารถเรียกกำไรงามได้อีกด้วย บ้านหลุดจำนอง เป็นรูปแบบอสังหาริมทรัพย์ที่ด้อยคุณภาพหรือรอการขาย โดยมักเรียกกันหมู่นักลงทุนว่า NPA ย่อมาจาก Non-Performing Asset เกิดจากทางสถาบันการเงินได้กรรมสิทธิ์เมื่อผู้กู้เกิดพฤติกรรมขาดผ่อนหรือผ่อนต่อไม่ไหว จึงยอมให้ธนาคารยึดบ้านเพื่อนำมาชำระหนี้ รวมไปถึงบ้านที่กรมบังคับคดีได้นำออกมาประมูล ในราคาที่ต่ำกว่าตลาดถึง 40-50% อีกด้วย สำหรับบ้านหลุดจำนอง อาจจะต้องเช็คประวัติย้อนหลังของบ้านให้มากขึ้น เพราะเราไม่รู้ว่าบ้านหลุดจำนองมีประวัติด้านลบมามากหรือน้อยแค่ไหน ถ้าหากไม่ตรวจสอบอย่างละเอียด อาจนำความเดือดร้อนมาภายหลังได้ แล้วบ้านหลุดจำนอง จะทำกำไรให้กับนักลงทุนได้ยังไง วันนี้เรามาเรียนรู้เทคนิคการเลือกซื้อบ้านหลุดจำนองกัน มี 5 ข้อดังต่อไป ต้องรู้ความต้องการของตัวเองก่อน เราต้องรู้ว่าซื้อบ้านหลุดจำนองนี้ไปเพื่ออะไร จะเป็นการลงทุนหรือเพื่ออยู่อาศัยเอง ถ้าเป็นการลงทุน ควรพิจารณาเรื่องแหล่งซื้อเป็นอันดับแรกก่อ […]

อ่านเพิ่มเติม