ไถ่ถอนจำนอง-ขายฝาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ?
22
Mar 23

เพื่อนๆ หลายคนที่มีข้อสงสัยว่าถ้าต้องการ “ไถ่ถอน” จำนองและขายฝากต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรไหม ?
เพราะว่าบางคนอาจจะมีความสามารถชำระหนี้หมดก่อนเวลาที่กำหนดไว้  ซึ่งการ ไถ่ถอนจำนอง หรือขายฝากนั้น
ก็มีความแตกต่างกันแล้วแต่กรณีตามประเภทของการไถ่ถอน วันนี้เราจะพาทุกคนไปหาคำตอบกันว่า
การไถ่ถอนจำนอง และขายฝาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ? ไปดูกันเลย

  1. การ ไถ่ถอนจำนอง คืออะไร

คือ เจ้าของที่ดิน หรือเจ้าของทรัพย์ ได้จดทะเบียนจำนองไว้เป็นหลักค้ำประกันในการชำระหนี้
ต่อมาได้ทำการชำระหนี้ที่จำนองไว้เสร็จสิ้นแล้ว เมื่อชำระหนี้หมดแล้ว ต้องไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองเพื่อแก้ไขเอกสารสิทธิว่าไม่มีการจำนอง หรือปลอดจำนองแล้วนั่นเอง

วิธีการไถ่ถอนจำนอง มี 2 แบบ

  1. ผู้จำนอง และ ผู้รับจำนอง ไปที่สำนักงานที่ดิน เพื่อยื่นคำขอจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองต่อเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน พร้อมกัน
  2. ผู้ที่มีสิทธิในที่ดินหรือผู้มีสิทธิไถ่ถอนเพียงฝ่ายเดียว ไปที่สำนักงานที่ดิน นำหลักฐานที่ผู้รับจำนองได้ทำเป็นหนังสือหลังสัญญาจำนอง
    ฉบับผู้รับจำนองว่าได้มีการไถ่ถอนจากจำนองแล้ว มีการชำระหนี้ครบแล้ว ไปขอจดทะเบียนไถ่ถอน ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน

ค่าใช้จ่ายการไถ่ถอนจำนอง
1. ค่าคำขอจดจำนอง แปลงละ 5 บาท
2. ค่าธรรมเนียม แปลงละ 50 บาท (กรณีมอบอำนาจ ค่ามอบอำนาจ 20 บาท ต่อ 1 คน)

2. การไถ่ถอนขายฝาก
คือ ผู้ขายฝากได้นำโฉนดมาทำธุรกรรมไว้กับผู้รับซื้อฝาก โดยได้ทำสัญญาขายฝากและกำหนดระยะเวลาในการไถ่ถอนที่ดินไว้ไม่ต่ำกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี
โดยขั้นตอนการไถ่ถอนขายฝากนั้น ก่อนครบกำหนดวันไถ่ถอน ผู้ซื้อฝากต้องแจ้งเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังผู้ขายฝาก
เพื่อให้ผู้ขายฝากทราบกำหนดเวลาไถ่ จำนวนสินไถ่ พร้อมแนบสำเนาสัญญาขายฝากไปด้วย โดยแจ้งก่อนวันครบกำหนดเวลาไถ่ไม่น้อยกว่า 3 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน
ถ้าผู้ซื้อฝากไม่ดำเนินการตามที่กำหนดไว้นี้ ผู้ขายฝากจะมีสิทธิขยายระยะเวลาในการไถ่ถอนได้เพิ่มเป็นเวลาอีก 6 เดือน นับตั้งแต่วันครบกำหนดไถ่ตามสัญญา

วิธีการไถ่ถอนขายฝาก มี 2 แบบ

  1. ผู้ขายฝาก และ ผู้รับซื้อฝาก ไปที่สำนักงานที่ดิน เพื่อยื่นคำขอจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองต่อเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน พร้อมกัน
  2. ผู้ที่มีสิทธิในที่ดินหรือผู้มีสิทธิไถ่ถอนเพียงฝ่ายเดียว ไปที่สำนักงานที่ดิน นำหลักฐานที่ผู้รับซื้อฝากได้ทำเป็นหนังสือหลังสัญญาขายฝาก
    ฉบับผู้รับซื้อฝากว่าได้มีการไถ่ถอนจากขายฝากแล้ว มีการชำระหนี้ครบแล้ว ไปขอจดทะเบียนไถ่ถอน ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน

ค่าใช้จ่ายในการไถ่ถอนขายฝาก

  1. ค่าธรรมเนียมแปลงละ 50 บาท
  2. ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย
  3. ค่าอากรแสตมป์ 5 % โดยคำนวณจากราคาประประเมินกรมที่ดิน หรือราคาแจ้งไถ่ถอน แล้วแต่ว่าราคาใดสูงกว่า

ทั้งหมดนี้คือความแตกต่างของไถ่ถอนจำนอง และการไถ่ถอนขายฝาก ว่าเราต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ?
การไถ่ถอนจำนองและไถ่ถอนขายฝากมีความคล้ายกัน ซึ่งเป็นสิทธิของเจ้าของที่ดินที่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอน
เพื่อให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ถูกต้องตามกระบวนของการจำนองและการขายฝาก และเป็นสิ่งที่ผู้จำนอง และผู้ขายฝากจำเป็นต้องรู้ไว้
จะได้ไม่ถูกหลอก ไม่เสียรู้ให้กับนายทุนที่คิดไม่ซื่อกับเรา

หากเพื่อนคนไหนสนใจ สามารถจำนอง ขายฝากกับเราได้นะคะ เรามีทีมงานให้ปรึกษาฟรีและดำเนินการเรื่องเอกสารให้ด้วย

ไถ่ถอนจำนอง-ขายฝาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ?

——————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

29
Apr 24
3 แอปฯ ช่วยให้การออมเงินเป็นเรื่องง่าย ตัวช่วยบริหารค่าใช้จ่าย แบบฉบับมือโปร 2024

“ความมั่นคงทางการเงิน” เป็นเรื่องสำคัญในชีวิตมนุษย์ทุกคน ถึงจะพูดอย่างงั้น แต่ใช่ว่าทุกจะสามารถทำได้ ด้วยภาระทางเกินเงินที่แตกต่างกัน ปัญหาที่พบเจอจึงไม่เหมือนกัน แต่สิ่งที่ทุกคนสามารถทำได้ง่ายและใกล้ตัวที่สุดนั่นก็คือ “การออมเงิน” เพื่อให้การออมเงินเป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน วันนี้ Propert4cash ขอแนะนำ 3 แอปออมเงิน ตัวช่วยการออมเงิน เพื่อการทำรายรับ-รายจ่าย ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับทุกคนมาฝากกันค่ะ  Save Money แอปออมเงิน แอปแรกที่เราแนะนำ แอปฯ บริการรายรับ-รายจ่าย ช่วยควบคุมการเงิน ทำให้มองเห็นภาพรวมการใช้จ่าย ลดการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย สามารถเรียกดูประวัติย้อนหลังได้ วัน/สัปดาห์/เดือน ที่สำคัญ ฟรี! ส่งออกข้อมูลไปยังไฟล์ CSV ฟรี! ระบบสำรองข้อมูล (backup) ได้ด้วยตนเอง ผ่านระบบ ICloud , Google Drive , Dropbox  ดาวโหลด : Andriod / iOS Money+ ตัวช่วยการบันทึกค่าใช้จ่ายอย่างง่ายดาย ออกแบบด้วยสีสันสดใส ใช้งานง่าย สามารถแยกบัญชีหลายประเภทค่าใช้จ่ายหลายรูปแบบ มาพร้อมกับฟีเจอร์แปลงสกุลเงินต่างๆ สามารถใช้แบบออฟไลน์และป้องกันข้อมูลรั่วไหล ดาวโหลด : Andriod / iOS 3.  Piggipo GO ทางเลือกที่เหมาะส […]

อ่านเพิ่มเติม
9
Apr 24
ชาวต่างชาติสามารถรับจำนองได้ไหม?

หลายคนอาจจะสงสัยว่าการรับจำนองเนี่ย สามารถทำได้เฉพาะคนไทยใช่หรือไม่? และถ้ามี ชาวต่างชาติรับจำนอง ในไทยสามารถทำได้ไหมนะ? ค้นหาตามสื่อต่างๆ ก็อาจจะยังไม่ได้รับคำตอบที่คลายข้อสงสัยได้เลย วันนี้เรามีคำตอบมาให้ทุกคนได้คลายปมความสงสัยกันแล้วค่ะ ก่อนอื่นเรามาดูความหมายสั้นๆ ของ การจำนองกันก่อนดีกว่าค่ะ การจำนอง คือการที่ผู้จำนองนำทรัพย์สินที่มีค่านำมาประกันเพื่อกู้เงินมาใช้  โดยใช้เป็นหลักประกันคือ อสังหาริมทรัพย์  คือ ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่น คอนโด โฉนดที่ดิน บ้าน อาคารพาณิชย์ โดยการจำนอง ผู้จำนองต้องนำสินทรัพย์ไปจดทะเบียนไว้กับผู้รับจำนองซึ่งต้องกระทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่กรมที่ดินเท่านั้น ทั้งนี้ไม่ต้องโอนที่ดินหรือทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้รับจำนอง สำหรับคำถามที่ว่า ชาวต่างชาติสามารถรับจำนองได้ไหม? การรับจำนองสำหรับกรณีที่ ฝั่งผู้รับจำนองเป้นชาวต่างชาตินั้น ยังไม่มีกฎหมายกำหนดห้าม นั่นหมายความว่า ชาวต่างชาติรับจำนอง ที่ดินได้ เนื่องจากการจำนองไม่ได้มีการเปลี่ยนเจ้าของ เจ้าของในโฉนดที่ดินยังคงเป็นบุคคลเดิมอยู่ สัญญาการจำนองจะแตกต่างจากสัญญากู้เงิน คือเมื่อคุณทำการจดจำนองที่ดินแ […]

อ่านเพิ่มเติม
โฉนดติดกรมบังคับคดี ทำจำนอง ขายฝากได้ไหม?
9
Oct 24
โฉนดติดกรมบังคับคดี ทำจำนอง ขายฝากได้ไหม?

การที่ โฉนดติดกรมบังคับคดี นั้นหมายความว่า โฉนดนั้นถูกนำไปใช้เป็นหลักประกันในการชำระหนี้หรือมีการฟ้องร้อง ซึ่งอาจทำให้มีข้อจำกัดในการทำธุรกรรม เช่น การจำนองหรือการขายฝาก โดยทั่วไปแล้ว หากโฉนดติดกรมบังคับคดี คุณอาจจะไม่สามารถจำนองหรือขายฝากได้โดยตรง เนื่องจากมีการจำกัดสิทธิในทรัพย์สินนั้นๆ การมีโฉนดที่ติดกรมบังคับคดีเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ก่อนที่จะดำเนินการทำจำนองหรือขายฝาก โดยทั่วไปแล้ว โฉนดที่ติดกรมบังคับคดีหมายถึงว่าทรัพย์สินนั้นถูกใช้เป็นหลักประกันในการชำระหนี้หรือมีการฟ้องร้อง ซึ่งทำให้สิทธิในการทำธุรกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นมีข้อจำกัด การจำนอง: การจำนองคือการทำสัญญาเพื่อให้ผู้กู้สามารถนำทรัพย์สินมาเป็นหลักประกันในการกู้เงิน ในกรณีที่โฉนดติดกรมบังคับคดี มักจะไม่สามารถจำนองได้ เนื่องจากธนาคารหรือสถาบันการเงินส่วนใหญ่จะไม่อนุมัติการจำนองในกรณีที่ทรัพย์สินมีปัญหาทางกฎหมายหรือถูกฟ้องร้อง เพราะอาจมีผลกระทบต่อสิทธิในการเรียกร้องหนี้ในอนาคต นอกจากนี้ การจำนองทรัพย์สินที่ติดคดีอาจทำให้เจ้าหนี้เดิมไม่พอใจและอาจดำเนินการทางกฎหมายต่อไปได้ เมื่อโฉนดติดกรมบังคับคดี เจ้าข […]

อ่านเพิ่มเติม