25
Apr 24

ธุรกิจ SMEs ในปัจจุบัน พบกับปัญหาอย่างหนึ่ง “การไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน” ฝันร้ายของธุรกิจ SMEs เพราะเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง และไม่มีหลักทรัพย์สำหรับค้ำประกันจะขอสินเชื่อที่ไหนก็ไม่ผ่าน
เชื่อเลยว่ายังมีหลายคนอาจยังไม่รู้ว่ามีหน่วยงานจากภาครัฐที่คอยให้ความช่วยเหลือธุรกิจ SMEs เพื่อให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น นั่นก็คือ “ บสย. คือ บริษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม”  

บสย.คือใคร มีหน้าที่อะไรบ้าง Property4Cash มีคำตอบ !

บสย. คือ ใคร  

บสย.คือ สถาบันการเงินของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ภายใต้การกำกับของกระทรวงการคลัง โดยมีหน้าที่ค้ำประกันสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ที่ไม่มีหลักทรัพย์ และมีหลักทรัพย์ค้ำประกันไม่เพียงพอในการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน  เพื่อให้ได้วงเงินสินเชื่อตามที่ต้องการ

หน้าที่หลักของบสย. 

บสย.มีนโยบายค้ำประกันสินเชื่อให้กับธุรกิจ SMEs ทุกประเภท ที่ต้องการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน เพื่อช่วยลดภาระหลักทรัพย์ และช่วยให้มีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน นอกจากนี้ยังพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ SMEs ผ่านกิจกรรมต่างๆ และเป็นตัวกลางข้อมูลเพื่อดำเนินการระหว่าง SMEs กับหน่วยงานภาครัฐ 

คุณสมบัติธุรกิจ SMEs ที่บสย. ค้ำประกัน 

บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคลที่มีสัญชาติไทย ที่มีคนไทยถือหุ้นมากกว่า 50% และมีทรัพย์สินถาวรสุทธิ (ไม่รวมที่ดิน) ตามเกณฑ์ที่บสย. กำหนดตามแต่ละประเภทการค้ำประกันสินเชื่อ  

ทำความรู้จัก บสย. ตัวช่วยของผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs

อ่านมาถึงตรงนี้ทุกคนก็พอจะรู้จักกับบสย. กันบ้างแล้ว ต่อไปเรามาดูกันว่า บสย. นั้นข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง ?   

 

ข้อดี 

SMEs สามารถเข้าถึงแหล่งกู้ยืมเงินได้มากขึ้น : ปัญหาที่ธุรกิจ SMEs ส่วนใหญ่ต้องพบเจอ เนื่องจากขาดหลักประกันที่เพียงพอบสย. จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาตรงจุดนี้ โดยการค้ำประกันสินเชื่อให้กับธุรกิจ SMEs เพื่อโอกาสในการได้รับสินเชื่อที่มากขึ้น 

ลดภาระในการหาหลักประกัน : SMEs สามารถใช้หลักประกันที่มีอยู่แค่บางส่วน ประกอบกับการค้ำประกันจากบสย. แค่นี้ก็เพียงพอที่จะได้สินเชื่อจากธนาคาร 

เพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จ : SMEs ถ้ามีแหล่งเงินทุนเพียงพอ ก็มีโอกาสเติบโตและประสบความสำเร็จได้มากขึ้น 

 

ข้อเสีย 

กระบวนการขอสินเชื่อ : กระบวนการขอสินเชื่อจากบสย. ใช้เวลานาน SMEs อาจต้องเจอกับอุปสรรคสำหรับขั้นตอนนี้ 

หลักเกณฑ์การพิจารณา : บสย.มีหลักเกณฑ์การพิจารณา ที่เข้มงวด นั่นทำอาจทำให้ SMEs บางรายไม่ผ่านเกณฑ์พิจารณา 

วงเงินค้ำประกันที่มีจำกัด : วงเงินค้ำประกันสำหรับธุรกิจ SMEs ไม่เกิน 40 ล้านบาท ต่อรายรวมทุกสถาบันการเงิน นั่นทำให้ SMEs อาจไม่ได้รับวงเงินสินเชื่อตามที่ต้องการ 

 

ตอนนี้ทุกคนน่าจะเข้าใจและได้รู้จักบสย. มากขึ้นแล้ว โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs  หากวันนึงต้องการเงินทุนหมุนเวียน หรือต้องการต่อยอดธุรกิจบสย. ก็คงจะเป็นอีกทางเลือกที่ดีที่สำหรับผู้ประกอบทุกท่าน

 

สำหรับใครที่มีโฉนด ไม่ต้องกังวลกับปัญหาใดๆ เพียงนำโฉนดที่ดินมาที่ Property4Cash  รับจำนอง-ขายฝาก  

 

–  ดอกเบี้ยเริ่มต้น 0.75% ต่อเดือน 

– ทำสัญญาถูกต้องตามกฎหมาย 

– ไม่ต้องมีคนค้ำ

– ไม่เช็คประวัติ

– ไม่มีนโยบายยึดทรัพย์

—————————————————–

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash

โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash

ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficia

#property4cash #เงินด่วนทันใจ #จำนอง #ขายฝาก #เงินด่วนอสังหาฯ #เคียงข้างทุกปัญหาการเงิน  #รู้ผลไว #ได้เงินจริง

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

จํานํา กับ จํานอง ต่างกันอย่างไร
30
Mar 23
จํานํา กับ จํานอง ต่างกันอย่างไร

ช่วงนี้หลายคนอาจได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจเพราะโควิดไม่มากก็น้อย หนึ่งในทางออกที่ใช้คือการนำทรัพย์สินที่มีออกมาขาย หรือนำทรัพย์สินที่มีค่าไป จำนำ หรือ จำนอง  หลายคนก็ยังสงสัยว่า จํานํา กับ จํานอง ต่างกันอย่างไร วันนี้เราจะพาทุกคนไปไข้ข้อสงสัยนี้กัน มาดูกัน จำนอง จำนำ แตกต่างกันอย่างไร การจำนอง การที่ผู้จำนองนำทรัพย์สินที่มีค่านำมาประกันเพื่อกู้เงินมาใช้  โดยใช้เป็นหลักประกันคือ อสังหาริมทรัพย์  คือ ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่น คอนโด โฉนดที่ดิน บ้าน อาคารพาณิชย์ โดยการจำนอง ผู้จำนองต้องนำสินทรัพย์ไปจดทะเบียนไว้กับผู้รับจำนอง ซึ่งต้องกระทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่กรมที่ดินเท่านั้น ทั้งนี้ไม่ต้องโอนที่ดินหรือทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้รับจำนอง สาระสำคัญ ทรัพย์สินที่นำมาจำนองจะต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ ผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบสินทรัพย์ให้แก่ผู้รับจำนอง โดยกรรมสิทธิ์ยังเป็นของผู้จำนองอยู่ ผู้จำนองเป็นลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกก็ได้ มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร ต้องจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที ณ กรมที่ดิน ในกรณีที่ผู้จำนองไม่สามารถชำระหนี้ได้ เจ้าหนี้ต้องทำการฟ้องร้องเพื่อบังคับจำนองโดยการที่จะนำทรัพย์สินไปข […]

อ่านเพิ่มเติม
รีไฟแนนซ์คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง ?
7
Apr 23
รีไฟแนนซ์คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง ?

มนุษย์เงินเดือนแบบเรามักได้ยินคำว่า “รีไฟแนนซ์” อยู่บ่อยๆ แต่เชื่อว่ามีเพื่อนๆ จำนวนไม่น้อยไม่เข้าใจว่าคืออะไร หากเพื่อนๆยังสงสัย ไม่เข้าใจว่าการรีไฟแนนซ์บ้านคืออะไร? มีขั้นตอน ข้อดีและประโยชน์อย่างไรบ้าง บทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจเรื่องรีไฟแนนซ์บ้านให้มากขึ้น รีไฟแนนซ์ คือ การเปลี่ยนเจ้าหนี้ เป็นการที่เราไปขอกู้เงินใหม่อีกก้อนหนึ่งเพื่อนำมาชำระหนี้ก้อนเดิม ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมักจะทำกับการกู้ซื้อบ้าน คอนโดและรถยนต์เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่าย ในการผ่อนชำระหนี้สินเชื่อก้อนเดิม และจ่ายส่วนของดอกเบี้ยลดลงเพราะได้รับการลดอัตราดอกเบี้ย ที่สำคัญคือในการทำเรื่องขอรีไฟแนนซ์ครั้งใหม่นี้ จะได้รับข้อเสนอในการผ่อนชำระที่ดีกว่าสินเชื่อเดิม และอาจจะได้ระยะเวลาในการผ่อนที่ยาวขึ้นโดยคนส่วนใหญ่มักจะไปขอรีไฟแนนซ์หลังจากได้ผ่อนชำระครบ 3 ปี วิธีขอรีไฟแนนซ์บ้าน ตรวจสอบสัญญากู้เดิม ก่อนการยื่นเรื่องรีไฟแนนซ์บ้าน ต้องทำการติดต่อขอเอกสารสรุปยอดหนี้ทั้งหมดจากธนาคารเก่า เพื่อเป็นการสรุปรายละเอียด เช่น จำนวนเงินที่กู้ ระยะเวลาที่ชำระไปแล้ว เหลือเวลาที่ต้องผ่อนชำระอีกกี่ปี หลังจากนั้นให้นำเอกสารนี้ไปยื่นที่ธนาคารใหม่ท […]

อ่านเพิ่มเติม
บ้านหลุดจำนอง ดีจริงหรือ?
14
Nov 23
บ้านหลุดจำนอง ดีจริงหรือ?

หลายๆ คนมักจะอคติกับ “บ้านหลุดจำนอง” จริงๆ แล้วรูปแบบอสังหาฯ ประเภทนี้ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด ถ้าได้มาจากแหล่งขายอันน่าเชื่อถือ รับรองว่าได้ราคาดี แถมยังสามารถเรียกกำไรงามได้อีกด้วย บ้านหลุดจำนอง เป็นรูปแบบอสังหาริมทรัพย์ที่ด้อยคุณภาพหรือรอการขาย โดยมักเรียกกันหมู่นักลงทุนว่า NPA ย่อมาจาก Non-Performing Asset เกิดจากทางสถาบันการเงินได้กรรมสิทธิ์เมื่อผู้กู้เกิดพฤติกรรมขาดผ่อนหรือผ่อนต่อไม่ไหว จึงยอมให้ธนาคารยึดบ้านเพื่อนำมาชำระหนี้ รวมไปถึงบ้านที่กรมบังคับคดีได้นำออกมาประมูล ในราคาที่ต่ำกว่าตลาดถึง 40-50% อีกด้วย สำหรับบ้านหลุดจำนอง อาจจะต้องเช็คประวัติย้อนหลังของบ้านให้มากขึ้น เพราะเราไม่รู้ว่าบ้านหลุดจำนองมีประวัติด้านลบมามากหรือน้อยแค่ไหน ถ้าหากไม่ตรวจสอบอย่างละเอียด อาจนำความเดือดร้อนมาภายหลังได้ แล้วบ้านหลุดจำนอง จะทำกำไรให้กับนักลงทุนได้ยังไง วันนี้เรามาเรียนรู้เทคนิคการเลือกซื้อบ้านหลุดจำนองกัน มี 5 ข้อดังต่อไป ต้องรู้ความต้องการของตัวเองก่อน เราต้องรู้ว่าซื้อบ้านหลุดจำนองนี้ไปเพื่ออะไร จะเป็นการลงทุนหรือเพื่ออยู่อาศัยเอง ถ้าเป็นการลงทุน ควรพิจารณาเรื่องแหล่งซื้อเป็นอันดับแรกก่อ […]

อ่านเพิ่มเติม