ทรัพย์หลุดขาย ฝากผู้รับซื้อฝากจะทำยังไง?
31
Aug 24

ทรัพย์หลุดขายฝาก ผู้รับซื้อฝากจะทำยังไง? การทำธุรกรรมขายฝาก เป็นสัญญาประเภทหนึ่งที่เจ้าของทรัพย์สิน (ผู้ขายฝาก) นำทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน บ้าน คอนโด อสังหาริมทรัพย์ต่างๆ
มาให้กับอีกบุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่า (ผู้รับซื้อฝาก) ถือกรรมสิทธิ์ชั่วคราว เพื่อขอเงินกู้หรือพูดกันให้เข้าใจง่ายๆว่า เอาโฉนดมาวางค้ำเป็นหลักประกัน
เพื่อกู้เงินนำเงินไปใช้ก่อนเมื่อครบกำหนดสัญญาตามที่ตกลงกันก็นำเงินต้นมาไถ่ถอนคืน แต่ในระหว่างสัญญาก็จะมีค่าดอกเบี้ยที่ผู้ขายฝากจะต้องจ่ายให้แก้ผู้รับซื้อฝาก

ในปัจจุบันนี้คนต้องการใช้เงินก้อน เงินด่วนเป็นจำนวนมากเจ้าของทรัพย์ก็นำโฉนดมาทำขายฝากกับทางนายทุนเป็นตัวเลขที่ตกลงกันทั้ง 2 ฝ่าย
แต่เมื่อครบกำหนดสัญญาผู้ขายฝากไม่มาไถ่ถอนทรัพย์คืน จึงทำให้ทรัพย์หลุดไปเป็นของผู้รับซื้อฝากโดยทางกฎหมาย

กรณีที่ ทรัพย์หลุดขายฝาก ผู้รับซื้อฝากจะต้องทำยังไงบ้าง และจะเสียค่าใช้จ่ายอะไรไหม?

– กรณีที่ผู้รับซื้อฝากไม่ได้ส่งหนังสือแจ้งให้ทรัพย์ได้ทราบ ตามกฎหมายใหม่ต้องรอ 6เดือน ทรัพย์จะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากโดยสมบูรณ์

– ถ้าผู้รับซื้อฝากส่งหนังสือแจ้งทรัพย์แล้ว (ส่งหนังสือแจ้งทรัพย์ไม่น้อยกว่า 3เดือน แต่ไม่เกิน6เดือน) ทรัพย์ก็จะหลุดเป็นของผู้รับซื้อฝากโดยสมบูรณ์ภายในระยะเวลาที่กำหนดและได้ตกลงกัน

ส่วนของค่าใช้จ่ายกรณีทรัพย์หลุดขายฝากผู้รับซื้อฝากจะเสียค่าใช้จ่ายอะไรไหม?

– ถ้าหากผู้รับซื้อฝากไม่ได้นำทรัพย์สินที่หลุดขายฝากไปทำธุรกรรมอื่นต่อ เช่น ประกาศขาย ขายฝาก หรือจำนอง ก็จะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทุกปีตามที่กฎหมายกำหนด

** (ต้องเช็คกับเขตก่อนว่า ก่อนหน้านี้เจ้าของเดิมได้มีการเสียภาษีหรือเขตเรียกเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในแปลงนี้ไหม ถ้าไม่ได้เรียกเก็บผู้รับซื้อฝากก็ไม่ต้องเสียภาษี แต่ถ้ามีการจ่ายภาษีมาตั้งแต่เจ้าของเดิม ผู้รับซื้อฝากก็ต้องจ่ายภาษีแปลงนี้ทุกๆปี)

– ถ้าหากผู้รับซื้อฝากนำทรัพย์สินไปทำธุรกรรมอื่นต่อ เช่น ประกาศขาย นำไปขายฝาก/จำนองต่อ ก็ต้องเสียภาษีตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีท้องถิ่น อากรแสตมป์ เป็นต้น

ทุกคนเห็นไหมคะว่าการนำเอาทรัพย์มาขายฝากเพื่อนำเงินไปหมุนก่อนนั้น มีข้อดีที่เราอาจจะได้เงินมาอย่างรวดเร็ว และสะดวกมากๆ แทบจะไม่ต้องยื่นเอกสารอะไรให้วุ่นวายเลย แต่อาจจะต้องคำนวนการใช้เงินและรอบคอบในเรื่องการบริหารเงินก้อนให้ดีๆไม่เช่นนั้นทรัพย์ของคุณอาจจะหลุดไปเป็นของผู้รับซื้อฝากได้เลยนะ ทรัพย์หลุดขายฝาก

หมุนเงินไม่ทัน ต้องการเงินด่วน Property4Cash ช่วยคุณได้ นึกถึงจำนอง-ขายฝาก นึกถึง Property4Cash นะคะ

"</a

 

Property4Cash ยินดีให้คำปรึกษาและช่วยเพิ่มทุนให้กับทุกคนที่ต้องการเงินด่วน และต้องการเงินเพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจ ไม่เช็คแบล็คลิส ไม่เช็คเครดิตบูโร

อนุมัติรวดเร็วทันใจ นึกถึงจำนอง-ขายฝาก นึกถึง Property4Cash

Line: @Property4Cash

โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash

ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

17
Aug 24
รายละเอียดสัญญาขายฝากที่ดินที่ควรรู้ก่อนทำธุรกรรม สำหรับผู้รับขายฝาก และผู้ขายฝาก

รายละเอียด สัญญาขายฝากที่ดิน ที่ควรรู้ก่อนทำธุรกรรม สัญญาขายฝากที่ดิน เป็นสัญญาที่มีความสำคัญทางกฎหมายและเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินที่มีมูลค่า การทำความเข้าใจรายละเอียดต่างๆ ก่อนลงนามจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งผู้รับซื้อฝากและผู้ขายฝากควรศึกษาข้อมูลเหล่านี้ให้ละเอียดก่อนตัดสินใจ สิ่งที่ผู้รับซื้อฝากควรทราบ กรรมสิทธิ์ในที่ดิน: แม้ว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันทีที่ทำสัญญา แต่ผู้ขายฝากยังมีสิทธิไถ่ถอนที่ดินคืนได้ตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญา ระยะเวลาไถ่ถอน: กำหนดระยะเวลาไถ่ถอนให้ชัดเจน โดยทั่วไปจะไม่น้อยกว่า 1 ปี และไม่เกิน 10 ปี จำนวนสินไถ่: คือจำนวนเงินที่ผู้ขายฝากต้องชำระเพื่อไถ่ถอนที่ดินคืน โดยจำนวนสินไถ่จะต้องไม่น้อยกว่าราคาที่ซื้อฝาก และดอกเบี้ยที่คิดจากราคาซื้อฝากตามอัตราที่กฎหมายกำหนด (ปัจจุบันไม่เกิน 15% ต่อปี) ค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียน: ผู้รับซื้อฝากเป็นผู้ชำระค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนสัญญาขายฝากที่ดิน ณ สำนักงานที่ดิน ภาษีที่เกี่ยวข้อง: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ชำระภาษีที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมนี้ครบถ้วนแล้ว การตรวจสอบเอกสาร: ต […]

อ่านเพิ่มเติม
กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน มีแบบไหนบ้างนะ?
21
Nov 23
กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน มีแบบไหนบ้างนะ?

เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ของ กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน กันว่าคืออะไร? เพื่อที่ว่าเราจะเข้าใจบทบาทรวมถึงบริบทกันได้มากขึ้น สำหรับคนที่กำลังมีปัญหาว่าจะแบ่งสิทธิ์การถือครองร่วมในที่ดินอย่างไร? ซึ่งก็จะมีหลายรูปแบบด้วยกันค่ะ กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน หมายถีง นิติกรรมการซื้อการขายหรือเป็นการให้ในที่ดินซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้ นั่นก็คือ เป็นการขายหรือให้ในบางส่วนโดยให้สังเกตดูตรงรายชื่อในหนังสือแสดงสิทธิ์ที่ดิน ว่าจะมีชื่อเจ้าของที่ดินร่วมมากกว่า 1 คนขึ้นไป เช่น ที่ดิน 100 ไร่ มีผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันหลายคน . การถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน แบบต่างๆ มีแบบไหนบ้าง ? การแบ่งที่ดินในแบบรวมๆ ผู้ร่วมจะไม่สามารถนำที่ดินผืนดังกล่าวไปขายได้จนกว่าได้รับอนุญาติจากผู้ร่วมคนอื่นๆ ลักษณะการแบ่ง โดยการแบ่งชัดเจนด้วยสัดส่วนคิดเป็น % เช่น มีบุตร 3 คน นั่นก็คือ นางสาวเอ นายบี นายซี แต่ในขณะนั้น บิดายังมีชีวิตอยู่และยังไม่ได้ทำเรื่องโอนที่ดินเป็นเรื่องเป็นราว ดังนั้น ความต้องการที่จะให้มีการถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินถึงเกิดขึ้น โดยมีรูปแบบง่ายๆ นั่นก็คือ สมาชิกที่ต้องการจะมีกรรมสิทธิ์มาตกลงและ คุยกันก่อนว่ารู […]

อ่านเพิ่มเติม
24
May 24
เคล็ด(ไม่)ลับ “ฮวงจุ้ยโต๊ะทำงาน” เสริมพลังบวกอย่างมั่นคง

มนุษย์เงินเดือนอย่างเรา มักใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับ “โต๊ะทำงาน” เฉลี่ยวันละ 8-10 ชั่วโมง โต๊ะทำงานคือสิ่งสำคัญในการทำงาน แต่เรามักมองข้ามความสำคัญของโต๊ะทำงานไป ตามหลัก ฮวงจุ้ยโต๊ะทำงาน ให้ถูกที่ถูกทาง เป็นไปตามหลักฮวงจุ้ยจะช่วยเสริมพลังในการทำงาน ให้การทำงานราบรื่น ไร้อุปสรรค ซึ่งจะทำให้คุณประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานมากยิ่งขึ้น    ตำแหน่งโต๊ะทำงาน จุดสำคัญที่ไม่ควรพลาด ! การวางตำแหน่งโต๊ะทำงานให้ถูกต้องตามหลัก ฮวงจุ้ยโต๊ะทำงาน จะช่วยการทำงานลื่นไหล ทำอะไรก็ง่ายไปหมด โดยหลักการวางตำแหน่งโต๊ะทำงานนั้นง่ายนิดเดียว เพียงวางตามหลัก “เสือ-มังกร” วิธีการดูก็คือเมื่อยืนอยู่ภายในห้อง ให้หันหน้าออกทางประตู ฝั่งขวามือคือตำแหน่ง “เสือ” ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้หญิง หากผู้หญิงนั่งตำแหน่งเสือจะช่วยสร้างพลังบวก สร้างบารมี เหมาะกับทุกตำแหน่งในองค์กร สำหรับฝั่งซ้ายมือคือตำแหน่ง “มังกร” เป็นตัวแทนของผู้ชาย เมื่อผู้ชายอยู่ในตำแหน่งมังกร การเจรจาประสานงาน ไม่มีติดขัด คิดอะไรทำได้ดั่งใจแน่นอนค่ะ     บริเวณที่ตั้งโต๊ะทำงาน นั่งถูกที่งานดีแน่นอน  นอกจากการวางตำแหน่งโต๊ะทำงานที่เหมาะสมแล้ว ความสำคัญของบริเว […]

อ่านเพิ่มเติม