ไถ่ถอนขายฝาก
10
Jan 23

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การทำขายฝากนั้น ต้องเสียค่าธรรมเนียมที่สำนักงานที่ดิน เสมือนว่าเป็นการซื้อขายกันปกติ แต่ผู้ขายฝากหลายๆ คนนั้นไม่รู้ และนายทุนผู้รับขายฝากหรือนายหน้าก็ไม่ได้บอกเราไว้ ทำให้เจ้าของทรัพย์ที่มาทราบทีหลัง ตกใจกับค่าใช้จ่ายที่งอกขึ้นมาแบบไม่ทันตั้งตัว ไม่ทันได้เตรียมใจมาก่อน เรามาดูกันดีกว่าว่า ค่าใช้จ่ายในการ ไถ่ถอนขายฝาก นั้น มีอะไรบ้าง..?

การไถ่ถอนขายฝาก เปรียบเสมือน “การซื้อกลับ” แต่เป็นการซื้อกลับภายในระยะเวลาสัญญาที่ตกลงกันไว้ โดยมีค่าใช้จ่ายในการไถ่ถอนเหมือนกับการซื้อขายโดยทั่วไปตามปกติเช่นกัน ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สำนักงานที่ดินอีกครั้ง ทั้งในกรณีบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล 

ค่าใช้จ่ายการ ไถ่ถอนขายฝาก

  1. ค่าธรรมเนียม – แปลงละ 50 บาท
  2. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย – คำนวณตามระยะเวลาถือครอง ตามเกณฑ์ของกรมสรรพากร นับตั้งแต่วันที่ได้ทำสัญญาขายฝากจนถึงวันที่จดทะเบียนไถ่ถอนขายฝาก
  3. อากรแสตมป์ – ร้อยละ 50 สตางค์ (0.50%) โดยคำนวณจากราคาที่จดทะเบียนขายฝาก หรือ ราคาประเมินจากกรมที่ดินในขณะนั้น แล้วแต่ว่าราคาใดมากกว่า 

**หมายเหตุ การไถ่ถอนขายฝาก โดยหลักการแล้วการไถ่อสังหาริมทรัพย์จากการขายฝากภายใน 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ทำขายฝากกัน จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะด้วย แต่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสีย ตามมาตรา 3(15)(ก) 

อ้างอิง : หนังสือจากทางส่วนมาตรฐานการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม สำนักมาตรฐานการทะเบียนที่ดิน การเรียกเก็บค่าธรรมเนียม และภาษีอากร การจดทะเบียนไถ่ถอนจากการขายฝาก

 

พูดถึงการไถ่ถอนขายฝากแล้ว คงจะไม่พูดถึงการไถ่ถอนจำนองไม่ได้ เพราะก็มีค่าธรรมเนียมในการไถ่ถอนเช่นกัน แต่เป็นจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้

ค่าใช้จ่ายการ ไถ่ถอนจำนอง

  1. ค่าคำขอจดทะเบียน – แปลงละ 5 บาท
  2. ค่าจดทะเบียนประเภทไม่มีทุนทรัพย์ – แปลงละ 50 บาท

**หมายเหตุ ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าพยาน, ค่ามอบอำนาจ(กรณีมอบอำนาจ) ฯลฯ

เท่ากับว่าโดยเบ็ดเสร็จเสร็จ การไถ่ถอนจำนองจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 55-100 บาทเพียงเท่านั้นเอง

 

สรุป.. ค่าธรรมเนียมการไถ่ถอนขายฝากจะมากหรือน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับมูลค่าของทรัพย์สินที่ทำขายฝากไว้ และขึ้นอยู่กับระยะเวลานับตั้งแต่วันแรกที่จดทะเบียนขายฝากกัน ถ้าถือครองระยะเวลาสั้นๆ ก็จะเสียภาษีน้อย ถ้าถือครองเป็นระยะเวลานาน ก็จะเสียภาษีแพงขึ้น แต่โดยรวมแล้วไม่ได้มีมูลค่าสูงมากเท่าไหร่ เมื่อเทียบกับการจดทะเบียนซื้อขายทั่วไป เพราะได้รับการยกเว้นในส่วนของภาษีธุรกิจเฉพาะ และได้รับการลดหย่อนค่าธรรมเนียมเหลือเพียงแปลงละ 50 บาทเท่านั้น 

อย่างไรก็ตาม ย่อมเป็นเรื่องที่ดีกว่า หากเรารู้ก่อนล่วงหน้าว่าจะมีค่าใช้จ่ายในวันไถ่ถอนที่สำนักงานที่ดินเท่าไหร่ จะไม่ได้ไม่มาตกใจ และมาผิดใจกันทีหลังนั่นเอง

——————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง 

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

 

ไถ่ถอนขายฝาก

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

บ้าน 2 ชั้น ขายฝากเฉพาะส่วน หรือ ชั้นล่างได้ไหม?
21
Nov 24
บ้าน 2 ชั้น ขายฝากเฉพาะส่วน หรือ ชั้นล่างได้ไหม?

>>> อยากขายฝาก แต่ต้องการ ขายฝากเฉพาะส่วน เฉพาะชั้น สามารถทำได้ไหมคะ? แอดมิน อย่างที่ทุกคนทราบกันว่า การขายฝาก คือ การนำทรัพย์หรืออสังหาไปขายให้กับผู้รับซื้อทรัพย์ โดยกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์นั้นจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันที  นอกจากนี้ผู้ขายฝาก ยังสามารถซื้อทรัพย์สินของตนเองคืนได้ตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัญญา แต่คำถามที่พบเจอได้บ่อยครั้ง คือ ขอขายฝากเฉพาะบ้านชั้น 2 ได้ไหม ขายฝากบ้านเฉพาะหน้าบ้านได้ไหม หรือขายฝากเฉพาะส่วนได้ไหม? วันนี้เราจึงมาตอบคำถามที่ทุกคนสงสัยกันค่ะ   ก่อนอื่นต้องขอแจ้งก่อนว่า…  การขายฝากเฉพาะชั้น เฉพาะส่วน ไม่สามารถทำได้นะคะ การขายฝากจะต้องขายฝากทั้งหมด เช่น บ้านทั้งหลัง ไม่สามารถแยกชั้น 1 ชั้น 2 ได้ หรือขายฝากคอนโดทั้งห้อง ไม่สามารถแบ่งเฉพาะห้องนั่งเล่นได้    แต่หากต้องการขายที่ดิน แยกกับสิ่งปลูกสร้าง แบบนี้ถึงจะสามารถทำได้ค่ะ แต่ส่วนใหญ่จะหาทุนรับฝากยาก    นอกจากนี้ การขายฝาก ก็ไม่ได้กำหนดไว้เฉพาะแค่อสังหาริมทรัพย์เท่านั้น แต่ทรัพย์สินอื่นๆ ก็สามารถทำสัญญาขายฝากได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น กระเป๋า นาฬิกา เครื่องประดับ รถยนต์ โต๊ะ คอมพิวเตอร์ โทร […]

อ่านเพิ่มเติม
6 วิธี วางแผนเกษียณ ฉบับ GEN-Z
20
Feb 25
6 วิธี วางแผนเกษียณ ฉบับ GEN-Z

วางแผนเกษียณ ฉบับ GEN-Z ปัจจุบัน คน Gen Z มักจะมีเป้าหมายที่แตกต่างจากคน Gen อื่นๆ เมื่อก่อนอย่างชัดเจน เพราะเพื่อนๆ Gen Z ไม่เพียงแต่มุ่งเน้นทำงาน เพื่อสร้างรายได้เลี้ยงชีพ แต่หลายๆ คนมีเป้าหมายที่ต้องการอิสระทางการเงินในระยะยาว หรือบางคนมีเป้าหมายจะเกษียณตัวเองให้เร็วกว่ากำหนด  เพื่อให้ตัวเองมีเวลา มีเสถียรภาพทางการเงิน และสามารถทำตามความฝันในช่วงเวลาหลังเกษียณได้   ซึ่งถ้าเพื่อนๆ มีเป้าหมายอยากเกษียณอย่างสบาย มีอิสระทางการเงินที่ใช้จ่ายได้โดยไม่ต้องทำงาน ก็ต้องไม่ลืมวางแผนก่อนวัยเกษียณ เพราะการวางแผนการเงินก่อนวัยเกษียณสำคัญอย่างมาก ด้วยในยุคที่เศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความไม่แน่นอนทางการเงินก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย การวางแผนการเงินที่ดีจะช่วยให้เพื่อนๆ Gen Z สามารถเกษียณได้อย่างมั่นคง โดยไม่ต้องกังวลเรื่องรายได้ในอนาคต   ด้วยเหตุนี้ Property4Cash จึงอยากชวนทุกคนมาวางแผนเกษียณ ฉบับ GEN-Z กับ 6 ข้อเช็กลิสต์ที่คุณสามารถทำได้ง่ายๆ เพื่อให้มีชีวิตที่มั่นคงและสุขสบายในวัยเกษียณนั่นเอง…    GEN-Z ต้องฟัง! เรื่องเกษียณไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป… ถ้าวางแผนการเงินดี ยังไงตอน […]

อ่านเพิ่มเติม
6
Jul 24
อย่าลืม!! ชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ใกล้หมดเวลาเต็มทีแล้วสำหรับการชำระ ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง สำหรับใครที่มีอสังหาริมทรัพย์และยังไม่ได้ชำระ ต้องรีบแล้วนะคะ เพราะกำหนดการ ชำระภาษี จะสิ้นสุดภายใน 31 กรกฎาคม นี้แล้วนะคะ รีบชำระก่อนจะโดนค่าปรับนะคะ หรือหากใครที่เพิ่งซื้อคอนโดหรืออสังหาริมทรัพย์ และไม่รู้ว่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างคืออะไร ต้องชำระที่ไหน อย่างไร และไม่รู้ว่ามีเกณฑ์ชำระอย่างไร ไม่ต้องกังวลไปนะคะ วันนี้เรามีคำตอบมาให้แล้วค่ะ ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างคืออะไร ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ที่มีกรรมสิทธิ์หรือครอบครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ เช่น บ้าน ที่พักอาศัย อาคารพาณิชย์ และอาคารอื่น ๆ โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างรายได้ให้กับรัฐและท้องถิ่นในการนำไปพัฒนาสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีการคำนวณตามมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยมีอัตราภาษีที่แตกต่างกันตามประเภทของการใช้ประโยชน์จากที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เช่น ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อการเกษตร ที่อยู่อาศัย พาณิชย์ และอื่น ๆ สามารถชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ที่ไหน การชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสามา […]

อ่านเพิ่มเติม