ไถ่ถอนขายฝาก
10
Jan 23

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การทำขายฝากนั้น ต้องเสียค่าธรรมเนียมที่สำนักงานที่ดิน เสมือนว่าเป็นการซื้อขายกันปกติ แต่ผู้ขายฝากหลายๆ คนนั้นไม่รู้ และนายทุนผู้รับขายฝากหรือนายหน้าก็ไม่ได้บอกเราไว้ ทำให้เจ้าของทรัพย์ที่มาทราบทีหลัง ตกใจกับค่าใช้จ่ายที่งอกขึ้นมาแบบไม่ทันตั้งตัว ไม่ทันได้เตรียมใจมาก่อน เรามาดูกันดีกว่าว่า ค่าใช้จ่ายในการ ไถ่ถอนขายฝาก นั้น มีอะไรบ้าง..?

การไถ่ถอนขายฝาก เปรียบเสมือน “การซื้อกลับ” แต่เป็นการซื้อกลับภายในระยะเวลาสัญญาที่ตกลงกันไว้ โดยมีค่าใช้จ่ายในการไถ่ถอนเหมือนกับการซื้อขายโดยทั่วไปตามปกติเช่นกัน ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สำนักงานที่ดินอีกครั้ง ทั้งในกรณีบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล 

ค่าใช้จ่ายการ ไถ่ถอนขายฝาก

  1. ค่าธรรมเนียม – แปลงละ 50 บาท
  2. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย – คำนวณตามระยะเวลาถือครอง ตามเกณฑ์ของกรมสรรพากร นับตั้งแต่วันที่ได้ทำสัญญาขายฝากจนถึงวันที่จดทะเบียนไถ่ถอนขายฝาก
  3. อากรแสตมป์ – ร้อยละ 50 สตางค์ (0.50%) โดยคำนวณจากราคาที่จดทะเบียนขายฝาก หรือ ราคาประเมินจากกรมที่ดินในขณะนั้น แล้วแต่ว่าราคาใดมากกว่า 

**หมายเหตุ การไถ่ถอนขายฝาก โดยหลักการแล้วการไถ่อสังหาริมทรัพย์จากการขายฝากภายใน 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ทำขายฝากกัน จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะด้วย แต่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสีย ตามมาตรา 3(15)(ก) 

อ้างอิง : หนังสือจากทางส่วนมาตรฐานการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม สำนักมาตรฐานการทะเบียนที่ดิน การเรียกเก็บค่าธรรมเนียม และภาษีอากร การจดทะเบียนไถ่ถอนจากการขายฝาก

 

พูดถึงการไถ่ถอนขายฝากแล้ว คงจะไม่พูดถึงการไถ่ถอนจำนองไม่ได้ เพราะก็มีค่าธรรมเนียมในการไถ่ถอนเช่นกัน แต่เป็นจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้

ค่าใช้จ่ายการ ไถ่ถอนจำนอง

  1. ค่าคำขอจดทะเบียน – แปลงละ 5 บาท
  2. ค่าจดทะเบียนประเภทไม่มีทุนทรัพย์ – แปลงละ 50 บาท

**หมายเหตุ ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าพยาน, ค่ามอบอำนาจ(กรณีมอบอำนาจ) ฯลฯ

เท่ากับว่าโดยเบ็ดเสร็จเสร็จ การไถ่ถอนจำนองจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 55-100 บาทเพียงเท่านั้นเอง

 

สรุป.. ค่าธรรมเนียมการไถ่ถอนขายฝากจะมากหรือน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับมูลค่าของทรัพย์สินที่ทำขายฝากไว้ และขึ้นอยู่กับระยะเวลานับตั้งแต่วันแรกที่จดทะเบียนขายฝากกัน ถ้าถือครองระยะเวลาสั้นๆ ก็จะเสียภาษีน้อย ถ้าถือครองเป็นระยะเวลานาน ก็จะเสียภาษีแพงขึ้น แต่โดยรวมแล้วไม่ได้มีมูลค่าสูงมากเท่าไหร่ เมื่อเทียบกับการจดทะเบียนซื้อขายทั่วไป เพราะได้รับการยกเว้นในส่วนของภาษีธุรกิจเฉพาะ และได้รับการลดหย่อนค่าธรรมเนียมเหลือเพียงแปลงละ 50 บาทเท่านั้น 

อย่างไรก็ตาม ย่อมเป็นเรื่องที่ดีกว่า หากเรารู้ก่อนล่วงหน้าว่าจะมีค่าใช้จ่ายในวันไถ่ถอนที่สำนักงานที่ดินเท่าไหร่ จะไม่ได้ไม่มาตกใจ และมาผิดใจกันทีหลังนั่นเอง

——————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง 

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

 

ไถ่ถอนขายฝาก

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

เตรียมเอกสารก่อนโอน ที่ดิน มีขั้นตอนอะไรบ้าง อัปเดตปี 2568
11
Feb 25
เตรียมเอกสารก่อนโอน ที่ดิน มีขั้นตอนอะไรบ้าง อัปเดตปี 2568

ชวนมาเตรียมความพร้อม เตรียมเอกสารก่อนโอน ที่ดิน มีเอกสารและขั้นตอนอะไรบ้าง? สำหรับใครที่กำลังวางแผนจะซื้อขายที่ดิน หรือกำลังจะโอนที่ดินให้ลูกหรือคนในครอบครัว แต่ยังไม่มั่นใจว่าต้องทำอย่างไร? Property4Cash ได้รวบรวมข้อมูลมาให้แล้ว… ว่าการโอนที่ดินต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง มีขั้นตอนอย่างไร ต้องยื่นเรื่องที่ไหน และมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง เพราะการเตรียมตัวที่ดีจะทำให้ไม่เสียเวลาและสามารถยื่นเรื่องโอนที่ดินให้จบอย่างรวดเร็วในวันเดียว มาดูกันว่าวิธีการโอนที่ดินนั้นเป็นอย่างไรบ้าง? เอกสารที่ใช้ในการโอนที่ดินให้กับผู้อื่น สิ่งแรกที่ต้องเตรียมสำหรับการโอนที่ดิน คือ การเตรียมเอกสารโอนที่ดินให้พร้อม ซึ่งแบ่งออกเป็นกรณีบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล โดยทั้งสองแบบต้องเตรียมเอกสารแตกต่างกัน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ กรณีบุคคลธรรมดา สำหรับบุคคลธรรมดาที่ทำการซื้อ-ขายที่ดิน ต้องเตรียมเอกสารต่อไปนี้ เอกสารการโอนที่ดินผู้ซื้อ บัตรประชาชน พร้อมสำเนาที่เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนาที่เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง หนังสือเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล พร้อมสำเนาที่เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง (ถ้ามี)   ในกรณีที่ให้ผู้อื่นมาท […]

อ่านเพิ่มเติม
3 กลโกงขายฝาก ที่ควรระวัง (พร้อมวิธีป้องกัน)
5
Apr 23
3 กลโกงขายฝาก ที่ควรระวัง (พร้อมวิธีป้องกัน)

กลโกงขายฝาก ที่ควรระวัง ขึ้นชื่อว่า “การโกง” นั้น นับว่าเป็นอะไรที่อยู่คู่สังคมมนุษย์มาอย่างยาวนาน เป็นปัญหาที่ลุกลามไปทั่วทุกวงการ รวมไปถึงวงการ “ขายฝาก” เองนั้น ก็เป็นหนึ่งในการทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่มักจะมีปัญหาโดนโกงด้วยวิธีต่างๆ มากมาย จนทำให้เจ้าของบ้านน้ำตาตกในกันมานักต่อนัก พาลทำให้หลายๆ คน ไม่กล้าที่จะทำสัญญาขายฝาก เพราะกลัวว่าจะต้องเสียทรัพย์ เสียบ้าน เสียที่ดินสุดรักสุดหวงไป จะดีกว่าหรือไม่..? ถ้ารู้เท่าทัน กลโกงขายฝาก ต่างๆ พร้อมวิธีป้องกัน เพื่อที่เราจะได้ขายฝากอย่างสบายใจ นำเงินไปใช้ยามฉุกเฉิน ยามจำเป็น โดยไม่ต้องกังวลว่าเวลาผ่านไป จะมีวิกฤตใหม่เข้ามาทำให้ชีวิตต้องทุกข์ทรมาน นัดไถ่ถอน แต่ติดต่อนายทุนไม่ได้! สัญญาขายฝากนั้น เป็นสัญญาที่มีการกำหนดไว้ว่า “ผู้ขายฝาก” หรือเจ้าของทรัพย์ สามารถนำเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยมาไถ่ถอนตามเวลาที่กำหนดในระยะสัญญาได้ ซึ่งจะทำให้สิทธิในการครอบครองทรัพย์สินนั้นๆ กลับคืนสู่เจ้าของเดิมผู้ขายฝาก แต่หากไม่มาไถ่ถอนตามระยะเวลาที่กำหนดแล้วล่ะก็ อสังหาริมทรัพย์ที่เรานำมาขายฝากนั้น ก็จะตกเป็นของนายทุนทันทีโดยไม่ต้องขึ้นศาลฟ้องร้องกันแต่อย่างใด   […]

อ่านเพิ่มเติม
6
Jul 24
อย่าลืม!! ชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ใกล้หมดเวลาเต็มทีแล้วสำหรับการชำระ ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง สำหรับใครที่มีอสังหาริมทรัพย์และยังไม่ได้ชำระ ต้องรีบแล้วนะคะ เพราะกำหนดการ ชำระภาษี จะสิ้นสุดภายใน 31 กรกฎาคม นี้แล้วนะคะ รีบชำระก่อนจะโดนค่าปรับนะคะ หรือหากใครที่เพิ่งซื้อคอนโดหรืออสังหาริมทรัพย์ และไม่รู้ว่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างคืออะไร ต้องชำระที่ไหน อย่างไร และไม่รู้ว่ามีเกณฑ์ชำระอย่างไร ไม่ต้องกังวลไปนะคะ วันนี้เรามีคำตอบมาให้แล้วค่ะ ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างคืออะไร ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ที่มีกรรมสิทธิ์หรือครอบครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ เช่น บ้าน ที่พักอาศัย อาคารพาณิชย์ และอาคารอื่น ๆ โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างรายได้ให้กับรัฐและท้องถิ่นในการนำไปพัฒนาสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีการคำนวณตามมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยมีอัตราภาษีที่แตกต่างกันตามประเภทของการใช้ประโยชน์จากที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เช่น ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อการเกษตร ที่อยู่อาศัย พาณิชย์ และอื่น ๆ สามารถชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ที่ไหน การชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสามา […]

อ่านเพิ่มเติม