วิธีการเอาชื่อเข้า ทะเบียนบ้านของชาวต่างชาติ
5
Sep 23

ทะเบียนบ้านนั้นเป็นเอกสารของทางราชการ ที่ระบุรายชื่อของผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้าน
ทะเบียนบ้านจะบ่งบอกว่าบุคคลใดเป็นเจ้าบ้านและบุคคลใดเป็นผู้อาศัย
คนไทยใช้ทะเบียนบ้านเพื่อแสดงที่อยู่อาศัย และใช้แสดงเป็นหลักฐานสำคัญในการติดต่อกับหน่วยงานต่างๆ
และถ้าคนต่างชาติอยากจะมีชื่อในทะเบียนบ้านบ้างจะต้องทำอย่างไรและเตรียมเอกสารอะไรบ้าง
วันนี้เรามีคำตอบมาให้ทุกคนแล้วค่ะ
สิ่งแรกที่ต้องรู้คือ การขอ ทะเบียนบ้านของชาวต่างชาติ จะต้องเป็นทะเบียนบ้านเล่มเหลือง (ทร.13) เท่านั้น

และการนำชื่อชาวต่างชาติเข้าทะเบียนบ้าน จะมี 2 กรณีหลัก ๆ

1.กรณีที่คนต่างชาติสมรสกับคนไทย และต้องการนำชื่อเข้าทะเบียนบ้าน
หากคุณหรือบิดามารดาของคุณเป็นเจ้าบ้าน ให้เจ้าบ้านไปแจ้งต่อสำนักทะเบียนตามภูมิลำเนาที่บ้านตั้งอยู่
โดยกรอกคำร้องเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร(ทร.13) ขอเพิ่มชื่อบุคคลในทะเบียนบ้าน

สำหรับเอกสารที่ต้องเตรียมก็มีดังนี้ค่ะ
เอกสารเจ้าของบ้าน
– บัตรประชาชนพร้อมสำเนา
– ทะเบียนบ้าน ทร. 14 เล่มจริง พร้อมสำเนา

เอกสารสำหรับขอ ทะเบียนบ้านของชาวต่างชาติ
– หนังสือเดินทาง (ตัวจริงพร้อมสำเนาที่ทำการแปลเป็นภาษาไทย)
– หนังสือแจ้งที่พักอาศัยสำหรับคนต่างชาติ ออกโดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
– ทะเบียนสมรส
– รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 4 รูป
– พยานบุคคลพร้อมบัตรประชาชน อย่างน้อย 2 คน  (พยานควรเป็นคนที่รู้จักกัน)

  1. 2. กรณีที่คนต่างชาติชื้อ Apartment หรือคอนโด และเป็นของเจ้าของกรรมสิทธิ์
    ท่านผู้นั้นสามารถยื่นขอมีทะเบียนบ้านของตนบุคคลต่างด้าวนั้นเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย
    และได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
    หรือเป็นคนต่างด้าวตามที่กฎหมายกำหนดมีสิทธิซื้อห้องชุด
    ได้ไม่เกินร้อยละ 49 ของจำนวนห้องชุดทั้งหมดในอาคารนั้น
    และมีสิทธิขอทะเบียนบ้านได้ ประเภท (ทร.13)
    โดยนำหลักฐานติดต่อ สำนักงานเขตที่คอนโดมิเนียมนั้นตั้งอยู่

เอกสารที่ใช้

  • หนังสือเดินทาง (ตัวจริงพร้อมสำเนาที่ทำการแปลเป็นภาษาไทย)
  • ทะเบียนบ้าน(ทร.14) (เล่มสีน้ำเงิน) แปลเป็นภาษาไทย
  • หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด และ หนังสือสัญญาซื้อขาย อช. 23
  • รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 4 รูป
  • ใบอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทย (ถ้ามี)
  • พยานบุคคลพร้อมบัตรประชาชน อย่างน้อย 2 คน (พยานควรเป็นคนที่รู้จักกัน)
  • เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น ใบขับขี่ วุฒิการศึกษา กรีนการ์ด
  • รูปถ่ายหน้าบ้านให้เห็นหมายเลขบ้าน และในห้องหรือในบ้านที่พักอาศัยจริง

 

สถานที่ติดต่อ

กรุงเทพมหานครและปริมณทล

– ให้ติดต่อสำนักงานเขตที่อาศัยอยู่

ต่างจังหวัด

– สำนักทะเบียนอำเภอ

– สำนักทะเบียนท้องถิ่น

ขั้นตอน
–  นำเอกสารทั้งหมด ติดต่อฝ่ายทะเบียนที่สำนักงานเขตหรือสำนักทะเบียนอำเภอนั้น ๆ
– หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่พิจารณาเสร็จ จะมีการนัดสัมภาษณ์เจ้าบ้าน ผู้ขอเพิ่มชื่อ และพยานบุคคล
– เจ้าหน้าที่จะพิจารณาและเรียกไปรับเล่มทะเบียนบ้านอีกครั้ง

ส่วนราคาค่าใช้จ่ายเนี่ยแล้วแต่ของแต่ละเขต แต่ละพื้นที่เลยค่ะ
ราคาไม่ได้สูงมาก และใช้ระยะเวลาในการตรวจสอบประมาณ 60 – 90 วัน แล้วแต่พื้นที่
ถ้าใครคิดว่าต้องใช้แน่ๆ เราในฐานะของนายหน้าอสังหาที่มีลูกค้าต่างชาติเป็นส่วนใหญ่
จากประสบการณ์แล้วขอแนะนำว่าให้ทำล่วงหน้าไว้เลยนะคะ จะได้ไม่มีปัญหาเวลาจะใช้ค่ะ

วิธีการเอาชื่อเข้า ทะเบียนบ้านของชาวต่างชาติ

 

—————————————————–

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

บ้านหลุดจำนอง ดีจริงหรือ?
14
Nov 23
บ้านหลุดจำนอง ดีจริงหรือ?

หลายๆ คนมักจะอคติกับ “บ้านหลุดจำนอง” จริงๆ แล้วรูปแบบอสังหาฯ ประเภทนี้ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด ถ้าได้มาจากแหล่งขายอันน่าเชื่อถือ รับรองว่าได้ราคาดี แถมยังสามารถเรียกกำไรงามได้อีกด้วย บ้านหลุดจำนอง เป็นรูปแบบอสังหาริมทรัพย์ที่ด้อยคุณภาพหรือรอการขาย โดยมักเรียกกันหมู่นักลงทุนว่า NPA ย่อมาจาก Non-Performing Asset เกิดจากทางสถาบันการเงินได้กรรมสิทธิ์เมื่อผู้กู้เกิดพฤติกรรมขาดผ่อนหรือผ่อนต่อไม่ไหว จึงยอมให้ธนาคารยึดบ้านเพื่อนำมาชำระหนี้ รวมไปถึงบ้านที่กรมบังคับคดีได้นำออกมาประมูล ในราคาที่ต่ำกว่าตลาดถึง 40-50% อีกด้วย สำหรับบ้านหลุดจำนอง อาจจะต้องเช็คประวัติย้อนหลังของบ้านให้มากขึ้น เพราะเราไม่รู้ว่าบ้านหลุดจำนองมีประวัติด้านลบมามากหรือน้อยแค่ไหน ถ้าหากไม่ตรวจสอบอย่างละเอียด อาจนำความเดือดร้อนมาภายหลังได้ แล้วบ้านหลุดจำนอง จะทำกำไรให้กับนักลงทุนได้ยังไง วันนี้เรามาเรียนรู้เทคนิคการเลือกซื้อบ้านหลุดจำนองกัน มี 5 ข้อดังต่อไป ต้องรู้ความต้องการของตัวเองก่อน เราต้องรู้ว่าซื้อบ้านหลุดจำนองนี้ไปเพื่ออะไร จะเป็นการลงทุนหรือเพื่ออยู่อาศัยเอง ถ้าเป็นการลงทุน ควรพิจารณาเรื่องแหล่งซื้อเป็นอันดับแรกก่อ […]

อ่านเพิ่มเติม
คอนโดผ่อนตรงกับเจ้าของ ทำได้หรือไม่?
20
Jul 23
อยากซื้อคอนโดผ่อนตรงกับเจ้าของ ทำได้หรือไม่?

การซื้อ คอนโดผ่อนตรงกับเจ้าของ เป็นหนึ่งในทางออกสำหรับ เจ้าของคอนโดที่อยากจะขาย และมีคนที่อยากซื้อ แต่กู้ไม่ผ่าน แต่หลายคนก็ยังสงสัยว่าสามารถทำได้จริงหรือไม่? และอะไรที่จะรับประกันการซื้อขายครั้งนี้ วันนี้เรามีคำตอบมาให้ทุกคนได้หายสงสัยกันค่ะ การซื้อคอนโดผ่อนตรงกับเจ้าของ จะเกิดขึ้นโดยตรงระหว่างเจ้าของกับผู้ซื้อ ซึ่งจะไม่ผ่านตัวกลางที่เป็นสถาบันการเงินใดๆ อย่างเช่นธนาคาร ดังนั้นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือ หากใครเป็นเจ้าของคอนโดที่ขายด้วยวิธีนี้ จะต้องทำใจว่าตนเองจะไม่ได้รับเงินก้อนเต็มจำนวนทันทีที่การตกลงซื้อขายสำเร็จ อันนี้คือความต่างข้อแรกที่เกิดขึ้นสำหรับผู้ขายหรือเจ้าของคอนโดนั่นเอง แต่หากมองในฝั่งของผู้ซื้อก็คงไม่มีความแตกต่างใด ๆ เพราะไม่ว่าจะด้วยวิธีใดผู้ซื้อก็ต้องมานั่งผ่อนจ่ายเป็นงวด ๆ อยู่ดี แต่ก็ต้องแบกรับความเสี่ยงที่เมื่อผ่อนชำระครบแล้ว เจ้าของจะไม่ยินยอมโอนกรรมสิทธิ์ให้ ดังนั้นสิ่งสำคัญของการซื้อคอนโดผ่อนตรงกับเจ้าของก็คือ “สัญญาเช่าซื้อ” ซึ่งจะเป็นเอกสารที่มีลายลักษณ์อักษรที่สามารถยืนยันและเป็นหลักฐานทางกฎหมายได้ โดยในการซื้อขายจะต้องทำสัญญาเช่าซื้อขึ้นมา เพื่อใช้เป็ […]

อ่านเพิ่มเติม
2
Feb 23
ค้ำประกัน อันตรายขนาดไหน ทำไมใครๆ ก็บอกว่า หนีไปปป!!

ค้ำประกัน คำที่มักจะได้ยินบ่อยๆ ในตอนที่ต้องกู้สินเชื่อกับทางธนาคาร เนื่องจากในการจะกู้ซื้อบ้านหรือคอนโดต้องใช้เงินก้อนใหญ่ หากจะให้การกู้ง่ายยิ่งขึ้น อาจจะต้องมีการกู้ร่วม เพื่อให้ได้วงเงินที่มากขึ้น หรืออาศัยคนค้ำประกัน เพราะผู้กู้อาจมีคุณสมบัติบางอย่างไม่ถึงเกณฑ์ เพื่อมาช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์การอนุมัติขอสินเชื่อได้ ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับการค้ำประกัน กันแบบง่ายๆ ก่อนเลยค่ะ การค้ำประกันคือ บุคคลที่มาค้ำประกันสินเชื่อให้กับลูกหนี้ โดยสถานะไม่ได้เป็นลูกหนี้ร่วมเหมือนกับคนกู้ร่วม สถานะจะเป็นเพียงแค่คนค้ำประกันที่เมื่อเกิดกรณีที่ลูกหนี้เบี้ยวไม่จ่ายหนี้ ธนาคารหรือสถาบันการเงินก็จะไปไล่เบี้ยเอาคืนกับคนค้ำประกัน เมื่อรู้จักการค้ำประกันแบบคร่าวๆ แล้ว มาดูกันค่ะว่าการค้ำประกันมีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง ความสัมพันธ์กับการค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันสามารถเป็นใครก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลในเครือญาติของผู้กู้ การพิจารณาของธนาคาร การค้ำประกัน ธนาคารจะไม่นำรายได้ของคนค้ำประกันมารวมคิดเพื่อพิจารณาอนุมัติ จะยังคงพิจารณาเฉพาะรายได้ของผู้กู้เท่านั้น แต่จะพิจารณาคุณสมบัติของผู้ค้ำประกันแทน โดยผู้ค้ำประกันจะต้อ […]

อ่านเพิ่มเติม