ก่อนลงทุนต้องรู้จักกับ อัตราการดูดซับ
19
Dec 22

หลายต่อหลายครั้งเราเห็นคำว่า อัตราการดูดซับ ปรากฏบนข่าว
ซึ่งบางทีก็อาจสร้างความสงสัยให้กับผู้ที่เพิ่งเริ่มศึกษาเรื่องอสังหาริมทรัพย์ ว่ามันคืออะไร
วันนี้เราจะมาไขข้องสงสัยกันค่ะ

อัตราการดูดซับ หรือ Absorption Rate คือ ดัชนีชี้วัด ‘ความต้องการ’ หรือ ‘อุปสงค์’ ของตลาดอสังหาริมทรัพย์
ว่าในทำเลนั้นๆ หรือ ตลาดของอสังหาฯ แต่ละประเภท เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมากน้อยเพียงใด
ซึ่งสามารถคำนวณได้โดยการนำหน่วยที่ขายได้ หารด้วยจำนวนยูนิตทั้งหมดที่โครงการมี ยิ่งค่าสูง
แสดงว่ายังเป็นที่ต้องการมาก

อัตราการดูดซับนี้ เป็นหนึ่งในดัชนีที่ใช้คาดการณ์ภาวะธุรกิจ (Business Expectation Index)
ซึ่งโดยส่วนมากทางภาครัฐจะเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลตัวเลขเพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูล
เพื่อให้เห็นถึงจุดสูงสุดและต่ำสุดของเศรษฐกิจในประเทศ และติดตามสภาวะเศรษฐกิจ
แต่ในบางครั้ง ทางผู้พัฒนาอสังริมทรัพย์เองก็มีการเก็บรวมรวบข้อมูลตัวเลขเกี่ยวกับโครงการของตน
เพื่อคำนวณออกมาเป็นอัตราการดูดซับเช่นเดียวกัน

ตัวอย่างเช่น ครึ่งแรกของปี 2565 อัตราการดูดซับของที่อยู่อาศัยทุกประเภท ต่ำสุดในรอบ 5 ปี
สำหรับบ้านเดี่ยวและบ้านแฝด อัตราการดูดซับอยู่ที่ 2.6% อาคารชุด อยู่ที่ 4.8% และ
ทาวน์เฮาส์ อยู่ 2.9% แสดงว่าคนมีความต้องการซื้ออสังหาฯ น้อยลง
โดยประเภทของอสังหาฯ ที่คนมีความต้องการจะซื้อมากที่สุดก็คืออาคารชุด

เราสามารถนำข้อมูลนี้มาพิจารณาต่อได้ เช่น ถ้าเราอยากลงทุนปล่อยเช่า
เราอาจเลือกเจาะไปที่การปล่อยเช่าอาคารชุดมากกว่าบ้านเดี่ยว เป็นต้น
แต่ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ด้วยเช่นเดียวกัน

.

อย่างไรก็ตาม เราสามารถนำอัตราการดูดซับ มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของข้อมูล ไว้ศึกษาตลาด
ก่อนลงทุนเลือกซื้ออสังหาริมทรัพย์ เพื่อดูว่าโครงการมีแนวโน้มเปิดตัวมาแล้วได้รับความนิยมหรือไม่
ควรเดินหน้าลงทุนกับโครงการนี้หรือเปล่านั่นเองค่ะ

ก่อนลงทุนต้องรู้จักกับ อัตราการดูดซับ

___________________________________________________________________

ติดตามบทความเกี่ยวกับขายฝากและจำนองได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือติดตามข้อมูลข่าวสารแบบอัพเดตทาง Fan Page : https://www.facebook.com/propertyforcashofficial/

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

ใบปลอดหนี้ คืออะไร รู้ไว้ก่อนซื้อขายบ้าน-คอนโด
9
Jun 23
ใบปลอดหนี้คืออะไร รู้ไว้ก่อนซื้อขายบ้าน-คอนโด

เชื่อว่าเพื่อนๆ หลายคนไม่คุ้นชินกับคำนี้แน่ๆ “ใบปลอดหนี้”  และเพื่อนๆ ก็คงไม่รู้ว่า อะไรคือใบปลอดหนี้ วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับเอกสารนี้กัน เพราะว่าใบปลอดหนี้ นั้น มีความสำคัญมากสำหรับคนที่อยากจะซื้อ ขาย’ บ้านและคอนโด ใบปลอดหนี้ คือ หนังสือเอกสารที่ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการชำระเงินค่าส่วนกลางในการอยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมและหมู่บ้านจัดสรร ซึ่งถ้าขาดเอกสารตัวนี้ไป จะทำให้เราไม่สามารถทำธุรกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ที่กรมที่ดินได้ หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ไม่สามารถซื้อขายได้นั่นเอง ใครต้องเป็นคนขอและต้องขออย่างไร ผู้ขายจะต้องเป็นผู้ดำเนินการขอเอกสารที่สำนักงานนิติบุคคลนั้นๆ เพื่อจัดการค่าใช้จ่ายค้างชำระ (ถ้ายังไม่จ่ายค่าชำระ) หากมีการค้างค่าชำระบางประการ อาจจะต้องมีระยะเวลาในการออกเอกสารที่ยาวนานกว่า ขึ้นอยู่แต่ละกรณีที่แตกต่างกันไป เอกสารที่ต้องเตรียม สำเนาทะเบียนบ้านผู้ซื้อ-ผู้ขาย อย่างละ 1 ชุด สำเนาบัตรประชาชนผู้ซื้อ-ผู้ขาย อย่างละ 1 ชุด สำเนาโฉนดหน้า-หลัง สัญญาซื้อขาย ที่มีการระบุชื่อผู้ซื้อและผู้ขายชัดเจน หากชื่อหรือนามสกุลของผู้ซื้อหรือผู้ขายไม่ตรงกัน ให้นำใบเปลี่ยนชื่อหรือใบเปลี่ย […]

อ่านเพิ่มเติม
ที่ดินตาบอด จำนอง - ขายฝาก ได้ไหม ?
11
Apr 23
ที่ดินตาบอด จำนอง – ขายฝาก ได้ไหม ?

หลายๆ ครั้ง มักจะมีเพื่อนๆ ถามเข้ามาว่า ที่ดินตาบอด สามารถนำมา จำนอง หรือ ขายฝาก ได้หรือเปล่า บางคนก็ไม่แน่ใจว่าที่ดินที่ตัวเองถือครองอยู่นั้น เป็นที่ดินตาบอดหรือไม่ ก่อนอื่นเลยอยากจะชวนเพื่อนๆ มารู้จักที่ดินตาบอดกันเสียก่อน ว่าหมายถึงที่ดินแบบไหนกัน ที่ดินตาบอด หมายถึง ที่ดินที่ถูกแปลงอื่นล้อมรอบ ทำให้ไม่มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะประโยชน์ ที่เป็นทางที่ใช้สำหรับสัญจรทั้งทางบกและทางน้ำ จำเป็นต้องขอใช้ทางจากที่ดินคนอื่น โดยการขอแบ่งใช้ทางบนที่ดินคนอื่นนั้น เรามีอยู่ 2 วิธีหลักๆ คือ “ทางจำเป็น” และ “ภาระจำยอม” ทางจำเป็น ตามกฎหมายนั้น ให้สิทธิเจ้าของที่ดินในการขอ “ทางจำเป็น” จากที่ดินที่ล้อมรอบอยู่แปลงใดแปลงหนึ่ง เพื่อใช้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะได้ โดยจะเลือกได้เพียงทางเดียวเท่านั้น โดยผู้ที่มีสิทธิฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็น ต้องเป็น “เจ้าของที่ดิน” ซึ่งถูกปิดล้อมเท่านั้น ผู้เช่าหรือบุคคลอื่นไม่มีสิทธิ ทางภาระจำยอม หากมองด้วยตาเปล่า ก็ดูเหมือนจะคล้ายๆ กับทางจำเป็น เพราะว่าเป็นการขอใช้ทางชาวบ้านเขาเหมือนกัน แต่ ทางภาระจำยอม ก็มีข้อแตกต่างจาก ทางจำเป็น อยู่พอสมควร โดยการได้มาซึ่ง “สิทธิ” ในการใช้ท […]

อ่านเพิ่มเติม
9
Jan 23
รับจำนอง ต้องเสีย “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” หรือไม่

หากเราทำการรับจำนอง จะต้องเสียภาษีหรือไม่? และถ้าจะต้องเสีย จะต้องชำระภาษีอย่างไร? เป็นคำถามที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ที่เป็นมือใหม่ในวงการนี้ เรื่องภาษี เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวทุกคนมากๆ แต่บางทีก็เป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ยากสำหรับหลายๆ คน แต่ไม่ต้องห่วงไปค่ะ วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยให้กับทุกคนได้ทราบ และจะได้จัดการกับเงินได้ ที่เราได้มาจากการรับจำนองได้อย่างถูกต้องกันค่ะ จะเป็นอย่างไรไปดูกันเลยค่ะ กรณีหากรับจำนอง รายได้ของท่านคือรายได้จาก ดอกเบี้ยรับ ซึ่งมีภาระภาษีดังนี้ กรณีผู้จ่ายเงิน หักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้อัตรา 15 % สามารถเลือกไม่นำเงินได้มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีประจำปีได้ กรณี ไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย อัตรา 15% จะต้องนำมารวมเป็นเงินได้ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีต้องเสียภาษีประจำปี ไม่สามารถหักรายจ่ายได้ เท่ากับว่าต้องนำรายได้ดอกเบี้ย มาหักค่าลดหย่อน และคำนวณภาษีเงินได้เลย แต่ถ้าเป็นกรณีการขาย รายได้ของท่านคือ รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะมีภาระภาษีดังนี้ ต้องนำรายได้จากการขายทั้งหมดในปีมารวมเป็นเงินได้ในการคำนวณภาษี ต้องหักรายจ่ายตามความจำเป็นและสมควร เช่น ต้นทุนในการซื้อที่ด […]

อ่านเพิ่มเติม