ถึงเวลาไถ่ถอนแต่ยังไม่พร้อม ขยายสัญญาขายฝาก ได้ไหม ?
9
Aug 23

อย่างที่เพื่อนๆ รู้กันว่าการ ขายฝาก คือ การนำทรัพย์หรืออสังหาไปขายให้กับผู้รับซื้อทรัพย์
โดยกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์นั้นจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันที
แต่ผู้ขายฝากยังสามารถซื้อทรัพย์สินของตนเองคืนได้ตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัญญา
แต่สิ่งที่พบเจอได้บ่อยครั้ง คือเมื่อพอถึงเวลาไถ่ถอนแล้วแต่ผู้ขายฝากยังไม่พร้อมที่จะนำเงินมาไถ่ถอน
แล้วทีนี้เราควรจะทำอย่างไรต่อดี จะ ขยายสัญญาขายฝาก ได้ไหม ? วันนี้เราจะพาไปหาคำตอบกัน

เงื่อนไข เกี่ยวกับการขายฝาก

  1. กำหนดเวลาไถ่ ห้ามต่ำกว่า 1 ปี หรือ เกิน 10 ปี

ขายฝากจะกำหนดเวลาไถ่ถอนห้ามต่ำกว่า 1 ปีหรือไม่เกิน 10 ปี
ทั้งนี้เพื่อป้องกันผู้ซื้อฝากกำหนดเวลาไถ่คืนทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นระยะเวลาสั้น
จนทำให้ผู้ขายฝากไม่สามารถไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากได้ทันกำหนดเวลาไถ่
และเพื่อป้องกันผู้ซื้อฝากกำหนดเวลาไถ่คืนทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเกิน 10 ปี

  1. เมื่อรวมดอกเบี้ย ต้องไม่เกิน 15% ต่อปี

ยอดเงินที่ต้องมาชำระคืนแก่ทุนเพื่อไถ่ทรัพย์สิน
โดยจำนวนสินไถ่จะกำหนดไว้สูงกว่าราคาขายฝากก็ได้
แต่เมื่อคำนวณเป็นดอกเบี้ยแล้ว ต้องไม่เกิน 15% ต่อปี

3.ทรัพย์สินที่ขายฝากเจ้าของยังใช้งานได้ปกติ

ผู้ขายฝากมีสิทธิและสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งอยู่อาศัยหรือประกอบกิจการต่างๆ
ในระหว่างขายฝาก ไปจนถึงวันที่หมดสิทธิในการไถ่ ตามที่ตกลงกันในสัญญาขายฝาก

ถึงเวลาไถ่ถอนแต่ยังไม่พร้อม จะขยายสัญญาขายฝากได้ไหม ?

ถ้าตามกฎหมาย มาตรา 494 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โดยบอกว่า ท่านห้ามมิให้ใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝากเมื่อพ้นเวลาดังจะกล่าวต่อไปนี้

  1. ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ กำหนดสิบปีนับแต่เวลาซื้อขาย
  2. ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ กำหนดสามปีนับแต่เวลาซื้อขาย

จึงสามารถทำสัญญาขยายกำหนดเวลาไถ่ได้ ตามมาตรา 496 ของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การขยายกำหนดเวลาไถ่ถอนควรต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับไถ่
ถ้าเป็นทรัพย์สินซึ่งการซื้อขายกันจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ห้ามมิให้ยกการขยายเวลาขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต
และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว เว้นแต่จะได้นำหนังสือหรือหลักฐานเป็นหนังสือดังกล่าวไปจดทะเบียนหรือจดแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

 

โดยสรุปแบบเข้าใจง่ายๆ ก็คือ สามารถ ขยายสัญญาขายฝาก ได้  แต่ก็ต้องไม่เกินระยะเวลา 10 ปี
ตามที่มาครา 494 ได้กำหนดไว้ โดยทุกขั้นตอนในการขยายระยะเวลาในการไถ่สินทรัพย์นั้น
จะต้องทำต่อหน้าเจ้าพนักงานที่สำนักงานที่ดินเท่านั้นด้วย

ถึงเวลาไถ่ถอนแต่ยังไม่พร้อม ขยายสัญญาขายฝาก ได้ไหม ?

ถึงเวลาไถ่ถอนแต่ยังไม่พร้อม ขยายสัญญาขายฝาก ได้ไหม ?

 

—————————————————–

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 096-812-5689

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

ทรัพย์หลุด ฝากขาย ควรทำอย่างไรดี?
12
Dec 23
ทรัพย์หลุดฝากขาย ควรทำอย่างไรดี?

หลายๆ คนที่นำอสังหาริมทรัพย์มาขายฝากครั้งแรกก็มักมีคำถามกังวลใจตลอดเวลา ถ้าขายฝากอสังหาริมทรัพย์ไปแล้วจะมีโอกาสหลุดไปหรือไม่ หากขายฝากแล้ว ทรัพย์หลุด เราควรทำอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะได้ทรัพย์สินนั้นคือมา จริงๆ การขายฝากก็คล้ายกับการจำนองนั้นเอง เราสามารถไถ่ถอนทรัพย์คืนได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา และเสียค่าดอกเบี้ยตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ เมื่อมีการจะถอนไถ่ทรัพย์จะต้องมีเงินต้นไปไถ่ถอนคืนภายใน 1 ปี กรณีเลยกำหนดไถ่ถอน หรือ ทรัพย์หลุด ขายฝาก อาจมี 2 สาเหตุ เกิดจากติดต่อผู้ซื้อฝากไม่ได้ หรือผู้ซื้อฝากเบี้ยวนัด ในกรณีนี้ หากผู้ขายฝากพร้อมจะชำระหนี้ไถ่ถอนตามสัญญา แต่ผู้ซื้อฝากบ่ายเบี่ยงไม่ยอมรับชำระหนี้ หรือติดต่อเท่าไหร่ก็ติดต่อไม่ได้เลย อย่าปล่อยเวลาผ่านไปเฉยๆ เพราะคิดว่าติดต่อผู้ซื้อฝากไม่ได้คงไม่เป็นอะไร เพราะมันมีผลทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่ขายฝากไปนั้นตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อฝากทันที ปัญหาตรงนี้แหละที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้จะทำอย่างไรดี? ถ้าเกิดกรณีกับคุณ หรือเกิดกับญาติพี่น้อง ให้แก้ด้วยวิธีการนำเงินสินไถ่ไปวางที่ สำนักงานวางทรัพย์ กรมบังคับคดี ภายในกำหนดสัญญา จะทำให้ผู้ขายฝากหลุดจากหน […]

อ่านเพิ่มเติม
6 วิธี เดินบัญชีให้ กู้เงิน ผ่านแบบชิวๆ
28
Apr 23
6 วิธี เดินบัญชีให้กู้ผ่านแบบชิวๆ

สำหรับคนที่วางแผนจะซื้อบ้าน ซื้อที่ดิน และต้องยื่นขอสินเชื่อ กู้เงิน กับทางธนาคาร หากไม่อยากเสียเวลาในการขอสินเชื่อเราต้องหันมาใส่ใจกับการเดินบัญชีของเรากันได้แล้วค่ะ เพราะการเดินบัญชีธนาคาร เป็นเรื่องสำคัญ ทั้งใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงเวลาตรวจสอบบัญชี ดูสภาพคล่องทางการเงินของกิจการ และ #การขอสินเชื่อ แล้วจะเดินบัญชียังไงล่ะ ธนาคารถึงจะอนุมัติการขอสินเชื่อของเรากันแบบง่ายๆ ? เรามีคำตอบให้ทุกคนแล้วค่ะ มาเริ่มกันเลย #เช็คเครดิตบูโร ก่อนเริ่มการเดินบัญชี เราต้องเช็คเครดิตบูโรของเราก่อน ว่ามีหนี้ค้างชำระหรือจ่ายเงินล่าช้า จนชื่อไปติดอยู่ในแบล็คลิสต์ของเครดิตบูโรหรือไม่ ? ถ้าพบว่ามีรายชื่อของคุณติดอยู่ให้รีบติดต่อกับบริษัทศูนย์ข้อมูลเครดิตแห่งชาติและเจ้าหนี้โดยทันที #รับเงินเดือนผ่านระบบpayrollของธนาคาร ถ้าบริษัทมีการจ่ายเงินเดือนด้วยระบบ Payroll ของธนาคารนั้น จะได้รับความน่าเชื่อถือจากธนาคารมากกว่า เนื่องจากธนาคารสามารถตรวจสอบที่มาของเงินได้อย่างง่ายดาย #ฝากเงินเข้าอย่างสม่ำเสมอ สถาบันการเงิน และผู้สอบบัญชีมักมุ่งเน้นรายละเอียดการนำเงินเข้าไปฝากในบัญชีเป็นหลัก ดังนั้น เมื่อมีรายได้ที่เป็นผลกำไ […]

อ่านเพิ่มเติม
คู่สมรสไม่มากรมที่ดิน ขายฝาก- จำนองได้หรือไม่
30
Sep 23
คู่สมรสไม่มากรมที่ดิน ขายฝาก- จำนองได้หรือไม่

หลายๆ คนอาจจะมีข้อสงสัยว่า ถ้าทำธุรกรรมขายฝาก จำนอง แล้วเกิดกรณีที่ คู่สมรสไม่มากรมที่ดิน จะสามารถทำขายฝาก จำนองได้หรือไม่ อย่างแรกเลย ถ้าทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างการสมรสแล้วนั้น ไม่ว่าจะใส่ชื่อใครเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ให้เรียกว่าเป็นสินสมรสก่อนได้เลย กรณีคู่สมรสไม่มากรมที่ดินจะไม่สามารถทำธุรกรรมจำนอง ขายฝากได้เลย เพราะเราต้องได้รับการยินยอมจากคู่สมรสด้วย ไม่ว่าจะทำจำนอง ขายฝาก หรือว่าซื้อขายเองก็ตาม ถ้าหากทั้งคู่เลิกกันแล้ว ก็ต้องทำเรื่องหย่าให้เรียบร้อยก่อน เพราะถ้าไม่หย่าตามกฎหมายแล้ว ยังถือว่ายังเป็นคู่สมรสกันอยู่นะคะ ในกรณีถ้าคู่สมรสไม่สะดวกมา จะต้องมีหนังสือลงลายเซ็นยินยอมของคู่สมรส ยืนยันว่ายินยอมให้ทำธุรกรรมขายฝากหรือจำนอง พร้อมสำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน และทะเบียนสมรสให้เรียบร้อย และอาจจะถ่ายวิดีโอไว้ด้วย เพื่อเป็นการยืนยันในการทำขายฝาก จำนอง ซึ่งหนังสือยินยอมคู่สมรสทางกรมที่ดินจะมีให้บริการทุกสาขาทั่วประเทศ เห็นไหมคะเพื่อนๆ เมื่อเราจดทะเบียนสมรสแล้ว เวลาที่เราอยากทำธุรกรรมต่างๆ จะต้องมีการดำเนินการตามขั้นตอน ซึ่งจะต้องผ่านการยินยอมจากคู่สมรสเสมอ ไม่ว่าจะเป็น การจดจำนอง ขายฝ […]

อ่านเพิ่มเติม