ทรัพย์หลุด ฝากขาย ควรทำอย่างไรดี?
12
Dec 23

หลายๆ คนที่นำอสังหาริมทรัพย์มาขายฝากครั้งแรกก็มักมีคำถามกังวลใจตลอดเวลา
ถ้าขายฝากอสังหาริมทรัพย์ไปแล้วจะมีโอกาสหลุดไปหรือไม่
หากขายฝากแล้ว ทรัพย์หลุด เราควรทำอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะได้ทรัพย์สินนั้นคือมา

จริงๆ การขายฝากก็คล้ายกับการจำนองนั้นเอง
เราสามารถไถ่ถอนทรัพย์คืนได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา
และเสียค่าดอกเบี้ยตามจำนวนที่ตกลงกันไว้
เมื่อมีการจะถอนไถ่ทรัพย์จะต้องมีเงินต้นไปไถ่ถอนคืนภายใน 1 ปี

กรณีเลยกำหนดไถ่ถอน หรือ ทรัพย์หลุด ขายฝาก อาจมี 2 สาเหตุ

  1. เกิดจากติดต่อผู้ซื้อฝากไม่ได้ หรือผู้ซื้อฝากเบี้ยวนัด

ในกรณีนี้ หากผู้ขายฝากพร้อมจะชำระหนี้ไถ่ถอนตามสัญญา
แต่ผู้ซื้อฝากบ่ายเบี่ยงไม่ยอมรับชำระหนี้ หรือติดต่อเท่าไหร่ก็ติดต่อไม่ได้เลย
อย่าปล่อยเวลาผ่านไปเฉยๆ เพราะคิดว่าติดต่อผู้ซื้อฝากไม่ได้คงไม่เป็นอะไร
เพราะมันมีผลทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่ขายฝากไปนั้นตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อฝากทันที
ปัญหาตรงนี้แหละที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้จะทำอย่างไรดี?

ถ้าเกิดกรณีกับคุณ หรือเกิดกับญาติพี่น้อง
ให้แก้ด้วยวิธีการนำเงินสินไถ่ไปวางที่ สำนักงานวางทรัพย์ กรมบังคับคดี ภายในกำหนดสัญญา
จะทำให้ผู้ขายฝากหลุดจากหนี้ที่จะต้องชำระ
และอสังหาริมทรัพย์ของเราก็จะไม่ตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น

  1. เกิดจากตัวเองไม่มีเงินต้นมาไถ่ถอนตามเวลาที่กำหนด

หากรู้ตัวเองยังไม่มีเงินต้นไปไถ่ถอนตามเวลาที่กำหนดในสัญญาได้หรือเตรียมเงินแล้วแต่ยังไม่พอ
ควรแจ้งความประสงค์และข้อขัดข้องให้กับผู้ซื้อฝาก และขอเจรจาขยายสัญญากับผู้ซื้อฝากโดยตรง
อย่ารอจนจะครบกำหนดแล้วแจ้ง เพราะยิ่งเวลาเหลือน้อยหรือเลยกำหนดเวลาในสัญญาไปแล้ว
อาจทำให้ผู้ขายฝากเสียทรัพย์ไปได้เลย

วิธีป้องกันการหลุดขายฝาก

วิธีป้องกันที่ดีสุด คืออย่าขาดการติดต่อกับผู้ซื้อฝากเด็ดขาด
หากเกิดปัญหาหรือไม่มีเงินในการชำระ
ต้องติดต่อผู้ซื้อฝากเพื่อเจรจาและหาทางออกร่วมกัน
เมื่อถึงเวลาไถ่ถอนระยะเวลากำหนด
ควรนัดมาทำธุรกรรมทุกอย่างที่สำนักงานที่ดินในช่วงเช้า
เพราะหากผู้ซื้อฝากไม่สามารถมาตามนัดได้
ผู้ขายฝากจะได้นำเงินไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์ได้ทัน

อย่างไรก็ตาม ก่อนทำสัญญาขายฝาก
ควรทบทวนความสามารถในการชำระหนี้ของตนเอง
รวมทั้งความน่าเชื่อของบริษัทนายหน้าหรือเจ้าหน้าที่ด้วย
กรณีที่เป็นบริษัท จะมีความน่าเชื่อได้มากกว่าบุคคล
เพราะมีที่ตั้ง มีที่ทำการได้อย่างชัดเจน สามารถติดตามผลงาน
ให้คำแนะนำได้ตลอด และให้บริการดูแลตลอดสัญญา

ทรัพย์หลุด ฝากขาย ควรทำอย่างไรดี?

—————————————————–

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

ที่ดิน ส.ป.ก.
7
Feb 23
ที่ดิน ส.ป.ก. ซื้อขาย จำนองได้หรือไม่

ที่ดิน สปก ซื้อขาย จำนองได้หรือไม่ เรื่องมีอยู่ว่าทีมงานได้รับการติดต่อจากคนที่สนใจ จะนำที่ดินมาจำนอง ขายฝาก โดยที่หลายท่านนั้น นำที่ดิน ส.ป.ก. มาให้ทางเราช่วยประเมินวงเงิน เพราะมีผู้คนจำนวนมากที่อาจจะยังไม่เข้าใจถึงสิทธิใน ที่ดิน ส.ป.ก. ว่าสามารถซื้อขาย จำนองได้หรือไม่ วันนี้เลยอยากจะพาเพื่อนๆ ไปรู้จักกับที่ดิน ส.ป.ก. ให้มากขึ้นกัน ที่ดิน ส.ป.ก. คืออะไร            ที่ดิน ส.ป.ก. หรือที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 คือ เป็นเอกสารสิทธิที่ภาครัฐให้ประชาชนเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน เอกสารแสดงการครอบครองที่ดินที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกให้กับประชาชนเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน เกิดขึ้นเมื่อมีพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 โดยมีหลักว่า ที่ดินในเขตปฏิรูปนั้นใช้ทำเกษตรกรรมได้อย่างเดียวเท่านั้น ทำประโยชน์อย่างอื่นไม่ได้ และผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 จะต้องมีฐานะยากจน ใครบ้างที่มีสิทธิครอบครองที่ดิน ส.ป.ก. เกษตรกร เป็นผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักอยู่แล้ว โดยใช้เวลาส่วนใหญ่ในรอบปี เพื่อประกอบเกษตรกรรมแห่งท้องถิ่นนั้น […]

อ่านเพิ่มเติม
มาตรการ LTV
15
May 25
สรุป! มาตราการลดค่าโอน และ มาตราการ LTV

          ในปี 2568 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยยังคงเผชิญกับแรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และกำลังซื้อที่ลดลง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงมีการปรับมาตรการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือที่รู้จักกันในชื่อ มาตรการ LTV  (Loan-to-Value) เพื่อกระตุ้นการซื้อ-ขายในตลาดบ้านและคอนโด             ผู้สนใจลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ บ้านมือ 1 หรือบ้านมือ 2 ต้องรู้บ้าง? ว่าในปีนี้มีมาตรการที่เป็นประโยชน์ต่อคุณเยอะมาก เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในการซื้อขายที่อยู่อาศัย โดยจะมี 2 มาตรการที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อทุกคน ได้แก่ “การผ่อนปรนมาตรการ LTV” และ “มาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนบ้านและจดจำนองที่ดิน” ที่คุณมีแต่ได้กับได้ทั้งนั้น   ทำความรู้จักกับ LTV           LTV (Loan-to-Value Ratio) คือ อัตราส่วนระหว่างวงเงินที่ธนาคารอนุมัติให้กู้ กับมูลค่าหลักทรัพย์ที่นำมาจำนอง (เช่น บ้านหรือคอนโด) โดยทั่วไป LTV ใช้ในการควบคุมความเสี่ยงของสถาบันการเงิน และเป็นเครื่องมือหนึ่งในการควบคุมความร้อนแรงของตลาดอสังหาริมทรัพย์ 🔍 ตัวอย่าง: ถ้าคุณต้องการซื้อคอนโดราคา 3 ล้านบาท แล้วธนาคารให้กู้ 2.7 […]

อ่านเพิ่มเติม
3
May 23
จะรู้ได้อย่างไร ว่าที่ที่เราจะซื้อเป็นพื้นที่ส่วนกลาง

https://www.isranews.org/article/isranews-news/110435-Court-of-Appeal-Prime-nature-villa-common-property-news.html   จากเหตุการณ์ตามข่าวนี้ แสดงให้เห็นว่า การซื้อขายที่ดินในหมู่บ้านจัดสรร พื้นที่ที่เป็นส่วนกลางของหมู่บ้าน (โดยทั่วไปคือ พื้นที่ที่เจ้าของกรรมสิทธิทุกคนในหมู่บ้านหรือคอนโดมิเนียม มีสิทธิใช้ร่วมกัน โดยมีการเสียค่าใช้จ่าย ที่เรียกว่าค่าส่วนกลางให้กับนิติบุคคลหมู่บ้านหรือคอนโดฯ เช่น สนามหญ้า สระว่ายน้ำ lake ลิฟต์ส่วนกลาง สโมสร คลับเฮ้าส์ ฟิตเนส พื้นที่ทิ้งขยะ เป็นต้น) พื้นที่ส่วนกลางในหมู่บ้าน มีทั้งส่วนที่เป็นที่ดินเปล่า และที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ทีนี้เราจะทราบได้อย่างไร ว่าที่ดินที่เราต้องการจะซื้อในหมู่บ้านจัดสรรนั้นๆ เป็นที่ดินที่เราสามารถเอามาสร้างบ้านอยู่อาศัยได้ ไม่โดนหลอกเอาที่ดิน ที่เป็น พื้นที่ส่วนกลาง มาขาย วันนี้ Property4Cash มีคำตอบค่ะ 1.  ดูง่ายๆ เบื้องต้น ตามผังพื้นที่ขายที่มีการโฆษณาในสื่อ หรือที่เซลล์โฆษณาขาย ว่าพื้นที่ที่เราต้องการอยู่ตรงไหนของโครงการ เข้าข่ายว่าจะเป็นพื้นที่ส่วนกลางหรือไม่ (ในผังพื้นที่ขายส่วนใหญ่ จะระบุว่าพื้นที่ตรงไหน คือ พื้นที่ส […]

อ่านเพิ่มเติม