3
May 23

https://www.isranews.org/article/isranews-news/110435-Court-of-Appeal-Prime-nature-villa-common-property-news.html

 

จากเหตุการณ์ตามข่าวนี้ แสดงให้เห็นว่า การซื้อขายที่ดินในหมู่บ้านจัดสรร พื้นที่ที่เป็นส่วนกลางของหมู่บ้าน
(โดยทั่วไปคือ พื้นที่ที่เจ้าของกรรมสิทธิทุกคนในหมู่บ้านหรือคอนโดมิเนียม มีสิทธิใช้ร่วมกัน
โดยมีการเสียค่าใช้จ่าย ที่เรียกว่าค่าส่วนกลางให้กับนิติบุคคลหมู่บ้านหรือคอนโดฯ
เช่น สนามหญ้า สระว่ายน้ำ lake ลิฟต์ส่วนกลาง สโมสร คลับเฮ้าส์ ฟิตเนส พื้นที่ทิ้งขยะ เป็นต้น)
พื้นที่ส่วนกลางในหมู่บ้าน มีทั้งส่วนที่เป็นที่ดินเปล่า และที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง
ทีนี้เราจะทราบได้อย่างไร ว่าที่ดินที่เราต้องการจะซื้อในหมู่บ้านจัดสรรนั้นๆ
เป็นที่ดินที่เราสามารถเอามาสร้างบ้านอยู่อาศัยได้ ไม่โดนหลอกเอาที่ดิน ที่เป็น พื้นที่ส่วนกลาง มาขาย
วันนี้ Property4Cash มีคำตอบค่ะ

1.  ดูง่ายๆ เบื้องต้น ตามผังพื้นที่ขายที่มีการโฆษณาในสื่อ หรือที่เซลล์โฆษณาขาย ว่าพื้นที่ที่เราต้องการอยู่ตรงไหนของโครงการ
เข้าข่ายว่าจะเป็นพื้นที่ส่วนกลางหรือไม่ (ในผังพื้นที่ขายส่วนใหญ่ จะระบุว่าพื้นที่ตรงไหน คือ พื้นที่ส่วนกลาง)

ตัวอย่าง ผังพื้นที่ขาย

 

จะรู้ได้อย่างไร ว่าที่ที่เราจะซื้อเป็น พื้นที่ส่วนกลาง

 

  1. เช็คให้ละเอียด โดยการเช็คหลังโฉนด จากกรมที่ดิน สาขาที่ดูแลพื้นที่โครงการนั้นๆ
    หลังโฉนด จะระบุว่า พื้นที่จัดสรรของหมู่บ้านโครงการนั้นๆ เป็นพื้นที่เพื่อการสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ของหมู่บ้านหรือไม่
    ** พื้นที่ส่วนกลางของโครงการหมู่บ้านจัดสรร หรือคอนโดมิเนียม ไม่สามารถโอนขายให้คนอื่นได้โฉนดที่ดินที่ถูกต้องจะปรากฏข้อความด้านหลังสารบัญพบข้อความ
    “โฉนดที่ดินแปลงนี้ อยู่ภายใต้การจัดสรรที่ดิน ตามใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน เลขที่ …. / ปี พ.ศ. …. ”
    ลงลายมือชื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และวัน เดือน ปี กำกับ ชัดเจนถ้าไม่มี หรือไม่พบข้อความดังกล่าว แสดงว่าโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวไม่อยู่ในแผนผังการจัดสรรที่ดิน
    ย่อมไม่ได้รับการรับรองคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินแต่อย่างใด แนะนำให้เลี่ยง ไม่ซื้อขอดู ขอตรวจสอบ แผนผังการจัดสรรที่ดินตามที่ได้รับอนุญาต และใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน
    แผนผังโครงการจัดสรรที่ดิน จะปรากฏรายละเอียดทั้งระบบสาธารณูปโภค ทรัพย์สินส่วนกลางและทรัพย์สินส่วนบุคคล
    หรือแปลงจำหน่าย อยู่ในแผนผังการจัดสรรที่ดินของโครงการนั้นๆ
    โครงการหมู่บ้านที่ทำการจัดสรรขายอย่างถูกกฎหมาย ต้องมีใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน
    ขอตรวจสอบได้กับโครงการโดยตรง

 

สำหรับคอนโดมิเนียม
อ้างอิงจาก
“คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13896/2558 ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 4 บัญญัติว่า “ทรัพย์ส่วนกลาง” หมายความว่าส่วนของอาคารที่มีใช่ห้องชุด
ที่ดินที่ตั้งอาคารชุด และที่ดินหรือทรัพย์อื่นที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อนประโยชน์ร่วมกัน สำหรับเจ้าของร่วม และมาตรา 15 บัญญัติว่าทรัพย์สินต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นทรัพย์ส่วนกลาง

1.ที่ดินที่ตั้งอาคารชุด
2.ที่ดินที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกัน
3.โครงสร้างและสิ่งก่อสร้างเพื่อความมั่นคงและเพื่อการป้องกันความเสียหายต่อตัวอาคารชุด
4.อาคารหรือส่วนของอาคารและเครื่องอุปกรณ์ที่มีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน
5.เครื่องมือและเครื่องใช้ที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกัน
6.สถานที่ที่มีไว้เพื่อบริการส่วนร่วมแก่อาคารชุด
7.ทรัพย์สินอื่นที่มีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน

นำไปขาย หรือ นำไปจำนอง ไม่ได้เช่นกัน

——————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

โฉนดหาย ใช้ใบแทนจำนองได้ไหม?
12
Nov 24
โฉนดหาย ใช้ใบแทนจำนองได้ไหม?

วันนี้ Property4Cash จะมาตอบคำถามที่ลูกค้าได้สอบถามกันเข้ามาว่า… “ โฉนดหาย ใช้ใบแทนจำนอง หรือขายฝาก แทนโฉนดตัวจริงได้ไหม? ” ้เดี๋ยวเราจะอธิบายขยายความ ให้ทุกคนได้เข้าใจกันเองค่ะ   ใบแทนโฉนดที่ดิน คืออะไร  เอกสารที่ออกโดยสำนักงานที่ดิน เพื่อใช้แทนโฉนดที่ดินฉบับเดิมที่สูญหาย ชำรุด หรือเสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้ ซึ่งใบแทนนี้จะมีข้อมูลและสถานะทางกฎหมายเหมือนกับโฉนดที่ดินฉบับเดิมทุกประการ เช่น ขนาดและตำแหน่งของที่ดิน เลขที่ดิน ผู้ถือกรรมสิทธิ์ และสิทธิที่จดทะเบียนไว้   >>> โฉนด เปรียบเสมือนหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินสิ่งปลูกสร้างที่สำคัญที่สุด หลายคนคงเคยกังวลหาก โฉนดหาย ขาด หรือชำรุด แล้วเป็นเอกสารสำคัญแบบนี้ จะสร้างปัญหาในการทำธุรกรรมจำนอง ขายฝากหรือไม่? เพราะการจำนอง ขายฝาก จำเป็นต้นใช้งานโฉนดตัวจริง แต่หากโฉนดหาย ขาด หรือชำรุดสามารถใช้ใบแทนในการทำธุรกรรมได้ค่ะ    โฉนดใบแทนสามารถนำไปจำนอง ขายฝากได้เช่นเดียวกับโฉนดที่ดินทั่วไป โดยที่มีข้อกำหนดและเงื่อนไขบางประการที่ธนาคาร สินเชื่อ อาจกำหนดเพิ่มเติม เพื่อความปลอดภัย ซึ่งโฉนดใบแทนจะเป็นโฉนดที่ออกมาทดแทนใบเดิมที่สู […]

อ่านเพิ่มเติม
เงินไม่พอไถ่ถอน
25
Jul 24
เงินไม่ไถ่! ขยายสัญญา ขายฝาก ได้หรือไม่?

เงินไม่พอไถ่! ขยายสัญญา ขายฝาก ได้หรือไม่? ในภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน หลายคนอาจเผชิญปัญหาด้านการเงิน  รายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย  ส่งผลต่อการผ่อนชำระหนี้สิน โดยเฉพาะหนี้จำนองหรือขายฝากที่ผูกพันกับที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์   วันเราจะมาไขของสงสัยกันว่า “กรณีเงินไม่พอไถ่  เราสามารถขยายสัญญาจำนอง  ขายฝาก หรือหาทางออกอื่นได้หรือไม่ การขยายสัญญา ทำได้หรือไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 504   ผู้ขายฝากและผู้ซื้อฝากสามารถตกลงกันเพื่อขยายระยะเวลาไถ่ถอนได้ แต่ต้องไม่เกิน 10 ปี   นับตั้งแต่วันทำสัญญาขายฝากครั้งแรก รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขยายสัญญาขายฝาก: เงื่อนไข: – ผู้ขายฝากและผู้ซื้อฝาก ตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษร – ระยะเวลาไถ่ถอนรวม ไม่เกิน 10 ปี นับตั้งแต่วันทำสัญญาขายฝากครั้งแรก – ไม่มีการจำกัดจำนวนครั้ง ในการขยายระยะเวลาไถ่ถอน แต่ละครั้งต้องไม่เกิน 10 ปี ขั้นตอน: – ผู้ขายฝากติดต่อผู้ซื้อฝาก เพื่อแจ้งความประสงค์ขอขยายสัญญา – ตกลงกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนใหม่ เป็นลายลักษณ์อักษร – ทำสัญญาขยายระยะเวลาไถ่ถอน เป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่าย […]

อ่านเพิ่มเติม
การครอบครองปรปักษ์ เจ้าของที่ดินต้องดูแลก่อนโดนแย่งครอบครอง
17
Jan 23
การครอบครองปรปักษ์ เจ้าของที่ดินต้องดูแลก่อนโดนแย่งครอบครอง

การครอบครองปรปักษ์ คือ การแย่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง มีได้ทั้งอสังหาริมทรัพย์ และสังหาริมทรัพย์ ในที่นี้ property4cash จะนำเสนอเกร็ดความรู้ในเรื่องของ การเฝ้าระวังการโดนแย่งครอบครองปรปักษ์ ในเรื่องของที่ดิน (อสังหาริมทรัพย์) เจตนารมณ์ของข้อกฎหมาย การครอบครองปรปักษ์ คือ ต้องการให้เจ้าของที่ดินใช้ประโยชน์ของที่ดินของตัวเองให้คุ้มค่า ไม่ปล่อยปละละเลยในเรื่องการทำประโยชน์ในที่ดิน และหน้าที่ของการเสียภาษี เพื่อเป็นหน่วยเล็กๆ ในการเสริมกำลังพัฒนาประเทศให้เจริญยิ่งขึ้นไป จึงต้องมีบทลงโทษเจ้าของที่ดินที่ไม่ใส่ใจที่ดินของตนเอง ปล่อยให้คนอื่นเข้ามาครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ดินของตนอย่างเปิดเผย เป็นระยะเวลารวมตามที่กฎหมายกำหนด ตามหลักเกณฑ์ จนที่ดินตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของคนอื่น (ผู้ครอบครองตามหลักเกณฑ์ และตามระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ มีสิทธิ์ร้องขอต่อศาลได้) และเจ้าของที่ดินก็มีสิทธิ์ต่อสู้ในชั้นศาลเช่นกัน หลักเกณฑ์ในการได้การครอบครองปรปักษ์ มียิบย่อยมากมาย ในที่นี้จะพูดถึงประเด็นใหญ่ๆ เช่น –              ที่ดินที่จะครอบครองต้องเป็นทรัพย์ที่มีกรรมสิทธิ์ ที่ดินก็ต้องเป็นที่ดินมีโฉนดเท่านั้น ต้ […]

อ่านเพิ่มเติม