การครอบครองปรปักษ์ เจ้าของที่ดินต้องดูแลก่อนโดนแย่งครอบครอง
17
Jan 23

การครอบครองปรปักษ์ คือ การแย่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง มีได้ทั้งอสังหาริมทรัพย์ และสังหาริมทรัพย์
ในที่นี้ property4cash จะนำเสนอเกร็ดความรู้ในเรื่องของ การเฝ้าระวังการโดนแย่งครอบครองปรปักษ์ ในเรื่องของที่ดิน (อสังหาริมทรัพย์)

เจตนารมณ์ของข้อกฎหมาย การครอบครองปรปักษ์ คือ ต้องการให้เจ้าของที่ดินใช้ประโยชน์ของที่ดินของตัวเองให้คุ้มค่า
ไม่ปล่อยปละละเลยในเรื่องการทำประโยชน์ในที่ดิน และหน้าที่ของการเสียภาษี เพื่อเป็นหน่วยเล็กๆ ในการเสริมกำลังพัฒนาประเทศให้เจริญยิ่งขึ้นไป
จึงต้องมีบทลงโทษเจ้าของที่ดินที่ไม่ใส่ใจที่ดินของตนเอง ปล่อยให้คนอื่นเข้ามาครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ดินของตนอย่างเปิดเผย
เป็นระยะเวลารวมตามที่กฎหมายกำหนด ตามหลักเกณฑ์ จนที่ดินตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของคนอื่น
(ผู้ครอบครองตามหลักเกณฑ์ และตามระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ มีสิทธิ์ร้องขอต่อศาลได้) และเจ้าของที่ดินก็มีสิทธิ์ต่อสู้ในชั้นศาลเช่นกัน

หลักเกณฑ์ในการได้การครอบครองปรปักษ์ มียิบย่อยมากมาย ในที่นี้จะพูดถึงประเด็นใหญ่ๆ เช่น

–              ที่ดินที่จะครอบครองต้องเป็นทรัพย์ที่มีกรรมสิทธิ์ ที่ดินก็ต้องเป็นที่ดินมีโฉนดเท่านั้น ต้องครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี
ส่วนที่ดินมือเปล่า ได้แก่ ที่ดิน ส.ค.1 หรือ น.ส.3 หรือ น.ส. 3 ก. ภบท.5 ไม่สามารถครอบครองปรปักษ์ได้ แต่แย่งสิทธิการครอบครองกันได้ตามข้อกฎหมายอื่น

–              ต้องเป็นการครอบครองโดยความสงบ คือ ครอบครองอยู่ในที่ดินนั้นๆ โดยไม่ได้มีคดีความฟ้องร้องกับเจ้าของที่ดิน
อาศัยอยู่อย่างเปิดเผย ไม่มีการปิดบัง ซ่อนเร้น กระทำการสุจริตในพื้นที่ครอบครอง

–              ใช้สอยที่ดิน และทรัพย์สินในที่นั้น โดยเจตนาเป็นเจ้าของ เช่น ใช้สอยที่ดินนั้นแบบเดียวกับการเป็นเจ้าของ
มีการปกป้องที่ดินนั้น มีการขัดขวางไม่ให้ผู้อื่นเข้ามาบุกรุก เป็นต้น

ทีนี้เรามาดูกันบ้างดีกว่า ถ้าในฐานะที่เราเป็นเจ้าของที่ดิน เราจะป้องกันที่ดินเราไม่ให้โดนแย่งครอบครองปรปักษ์ได้อย่างไรบ้าง กันไว้ดีกว่าแก้แน่นอน
1.เข้าไปสำรวจตรวจตราที่ดินของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง

2.เสียภาษีตามหน้าที่ในทุกๆปี เจ้าของที่ดินมีหน้าที่เสียภาษี ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มากน้อยตามแต่ละประเภทที่ดินที่ทำประโยชน์อยู่

3.ผูกมิตรกับเพื่อนบ้าน ชาวบ้านรั้วติดกัน ไว้คอยตรวจตรา ถามไถ่ การเข้าออกของที่ดินว่ามีคนอื่นเข้ามาแวะเวียน อยู่อาศัย บ้างหรือไม่

4.ตรวจเช็คหมุดหลักฐานที่ดินให้ครบ หากพบว่ามีการถูกเคลื่อนย้าย หรือสูญหาย ให้ดำเนินคดี แล้วรังวัดตรวจสอบแนวเขตใหม่ ต่อไป

5.ติดป้าย ล้อมรั้ว แสดงแนวเขต และการเป็นเจ้าของให้ชัดเจน

6.ถ้าพบอื่น บุกรุก รุกล้ำ ในที่ดิน ต้องเจรจา ไกล่เกลี่ย ขับไล่ โต้แย้ง หรือทำสัญญาเช่า สัญญาจะซื้อจะขาย ยื่นโนติทให้ออก โดยทันที

 

เพียงเท่านี้ เจ้าของที่ดิน  ก็จะสามารถป้องกัน และลดความเสี่ยงในการถูกแย่งสิทธิครอบครองปรปักษ์ที่ดินจากบุคคลอื่นได้ ถ้ามีที่ดิน ต้องการเงินด่วน
ไม่ต้องเสี่ยงโดนแย่งครอบครองปรปักษ์ ก็เอามาจำนอง ขายฝาก กับเรา .Property4cash ได้เหมือนกันค่ะ

การครอบครองปรปักษ์ เจ้าของที่ดินต้องดูแลก่อนโดนแย่งครอบครอง

——————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง 

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

วิธีคำนวนค่าโอน ค่าธรรมเนียม ณ กรมที่ดิน ด้วยตัวเอง แบบง่ายๆ
25
Jan 23
วิธีคำนวณค่าโอน ค่าธรรมเนียม ณ กรมที่ดิน ด้วยตัวเอง แบบง่ายๆ

วิธีคำนวณค่าโอน ค่าธรรมเนียม ณ กรมที่ดิน ด้วยตัวเอง แบบง่ายๆ ได้รู้จักกันไปแล้วว่าการจำนอง-ขายฝาก คือการทำนิติกรรมอะไร มีเงื่อนไข มีขั้นตอน มีผลตอบแทนที่จะได้รับเท่าไหร่บ้าง แต่นอกเหนือจากสิ่งที่กล่าวไปในข้างต้นนั้น ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่เราควรรู้นั่นก็คือ “ค่าใช้จ่าย” ทั้งหลาย โดยเฉพาะในส่วนของ ค่าธรรมเนียมในการทำจำนอง และ ค่าธรรมเนียม ขายฝาก ณ สำนักงานที่ดิน วิธีคำนวณค่าโอน ค่าธรรมเนียมสำหรับการจำนอง ค่าธรรมเนียมคำขอจดจำนอง แปลงละ 5 บาท ค่าจดจำนอง 1% ของวงเงินจำนอง (แต่ต้องไม่เกิน 200,000 บาท) ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินจำนอง (แต่ต้องไม่เกิน 10,000 บาท) ตัวอย่าง : วิธีการคำนวณค่าธรรมเนียม จำนองที่ดิน ยอดจำนอง 3,000,000 บาท ประเภทค่าธรรมเนียม วิธีคำนวณ มูลค่า ค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท 5 บาท ค่าจดจำนอง 3,000,000 x 1% 30,000 บาท ค่าอากรแสตมป์ 3,000,000 x 0.05% 1,500 บาท รวม 31,500 บาท หมายเหตุ: ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าพยาน, ค่ามอบอำนาจ(กรณีมอบอำนาจ) ฯลฯ ค่าธรรมเนียมสำหรับการขายฝาก 1. ค่าธรรมเนียม 2% จากราคาประเมินกรมที่ดิน 2. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คำนวณจากราคาประเมินกรมที่ดิน ต้อ […]

อ่านเพิ่มเติม
28
May 24
อันตราย ! หากทำผิดสัญญาขายฝาก

อันตราย ! หากทำผิด สัญญาขายฝาก  ควรศึกษาให้ดี ก่อนเริ่มทำสัญญาขายฝาก  ผู้ขายฝากควรปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา ในกรณีผู้ขายฝากทำผิดสัญญาหรือฝ่าฝืนเงื่อนไขที่ระบุไว้ ผู้รับซื้อฝากสามารถดำเนินการเอาผิดทางกฎหมายได้  ผู้รับซื้อฝากฟ้องร้องให้ผู้ขายฝากปฏิบัติตามสัญญา  หากผู้ขายฝากไม่ชำระเงินตามสัญญา หรือ ไม่ส่งมอบทรัพย์ที่ขายฝาก ผู้รับซื้อฝากสามารถฟ้องร้องเพื่อบังคับให้ผู้ขายฝากปฏิบัติตามสัญญาขายฝาก  ผู้รับซื้อฝากฟ้องร้องให้ผู้ขายฝากชดใช้ค่าเสียหาย กรณีที่ผู้ขายฝากทำผิดสัญญาจนก่อให้เกิดความเสียหาย ผู้รับซื้อฝากสามารถฟ้องร้องให้ผู้ขายฝากชดใช้ค่าเสียหายได้  ผู้รับซื้อฝากฟ้องร้องเพิกถอนสัญญาขายฝาก สำหรับบางกรณี ผู้ขายฝากทำผิดสัญญา หรือ ทำการฉ่อโกง ผู้รับซื้อฝากสามารถฟ้องร้องต่อศาลให้เพิกถอนสัญญาได้ ผู้ขายฝากอาจต้องคืนทรัพย์ให้แก่ผู้รับซื้อฝาก และอาจต้องชดใช้ค่าเสียหายเพิ่มอีกด้วย  ขายฝากกับ Property4Cash ไม่ต้องกลัวทำผิดสัญญา เรามีทีมผู้เชี่ยวชาญคอยให้ปรึกษาและแก้ไขปัญหาไปด้วยกันค่ะ  สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง Line: @Property4Cash โทร : 096-812-5689 หรือส่งรายละเอีย […]

อ่านเพิ่มเติม
ทรัพย์หลุด ฝากขาย ควรทำอย่างไรดี?
12
Dec 23
ทรัพย์หลุดฝากขาย ควรทำอย่างไรดี?

หลายๆ คนที่นำอสังหาริมทรัพย์มาขายฝากครั้งแรกก็มักมีคำถามกังวลใจตลอดเวลา ถ้าขายฝากอสังหาริมทรัพย์ไปแล้วจะมีโอกาสหลุดไปหรือไม่ หากขายฝากแล้ว ทรัพย์หลุด เราควรทำอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะได้ทรัพย์สินนั้นคือมา จริงๆ การขายฝากก็คล้ายกับการจำนองนั้นเอง เราสามารถไถ่ถอนทรัพย์คืนได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา และเสียค่าดอกเบี้ยตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ เมื่อมีการจะถอนไถ่ทรัพย์จะต้องมีเงินต้นไปไถ่ถอนคืนภายใน 1 ปี กรณีเลยกำหนดไถ่ถอน หรือ ทรัพย์หลุด ขายฝาก อาจมี 2 สาเหตุ เกิดจากติดต่อผู้ซื้อฝากไม่ได้ หรือผู้ซื้อฝากเบี้ยวนัด ในกรณีนี้ หากผู้ขายฝากพร้อมจะชำระหนี้ไถ่ถอนตามสัญญา แต่ผู้ซื้อฝากบ่ายเบี่ยงไม่ยอมรับชำระหนี้ หรือติดต่อเท่าไหร่ก็ติดต่อไม่ได้เลย อย่าปล่อยเวลาผ่านไปเฉยๆ เพราะคิดว่าติดต่อผู้ซื้อฝากไม่ได้คงไม่เป็นอะไร เพราะมันมีผลทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่ขายฝากไปนั้นตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อฝากทันที ปัญหาตรงนี้แหละที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้จะทำอย่างไรดี? ถ้าเกิดกรณีกับคุณ หรือเกิดกับญาติพี่น้อง ให้แก้ด้วยวิธีการนำเงินสินไถ่ไปวางที่ สำนักงานวางทรัพย์ กรมบังคับคดี ภายในกำหนดสัญญา จะทำให้ผู้ขายฝากหลุดจากหน […]

อ่านเพิ่มเติม