วิธีคำนวนค่าโอน ค่าธรรมเนียม ณ กรมที่ดิน ด้วยตัวเอง แบบง่ายๆ
25
Jan 23

วิธีคำนวณค่าโอน ค่าธรรมเนียม ณ กรมที่ดิน ด้วยตัวเอง แบบง่ายๆ

ได้รู้จักกันไปแล้วว่าการจำนอง-ขายฝาก คือการทำนิติกรรมอะไร มีเงื่อนไข
มีขั้นตอน มีผลตอบแทนที่จะได้รับเท่าไหร่บ้าง แต่นอกเหนือจากสิ่งที่กล่าวไปในข้างต้นนั้น
ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่เราควรรู้นั่นก็คือ “ค่าใช้จ่าย” ทั้งหลาย โดยเฉพาะในส่วนของ
ค่าธรรมเนียมในการทำจำนอง และ ค่าธรรมเนียม ขายฝาก ณ สำนักงานที่ดิน

วิธีคำนวณค่าโอน ค่าธรรมเนียมสำหรับการจำนอง

  1. ค่าธรรมเนียมคำขอจดจำนอง แปลงละ 5 บาท
  2. ค่าจดจำนอง 1% ของวงเงินจำนอง (แต่ต้องไม่เกิน 200,000 บาท)
  3. ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินจำนอง (แต่ต้องไม่เกิน 10,000 บาท)


ตัวอย่าง : วิธีการคำนวณค่าธรรมเนียม จำนองที่ดิน ยอดจำนอง 3,000,000 บาท

ประเภทค่าธรรมเนียมวิธีคำนวณมูลค่า
ค่าคำขอแปลงละ 5 บาท5 บาท
ค่าจดจำนอง3,000,000 x 1%30,000 บาท
ค่าอากรแสตมป์3,000,000 x 0.05%1,500 บาท
รวม31,500 บาท

หมายเหตุ: ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าพยาน, ค่ามอบอำนาจ(กรณีมอบอำนาจ) ฯลฯ

ค่าธรรมเนียมสำหรับการขายฝาก

1. ค่าธรรมเนียม 2% จากราคาประเมินกรมที่ดิน

2. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คำนวณจากราคาประเมินกรมที่ดิน

  • ต้องทราบจำนวนปีที่ถือครอง และราคาประเมินจากกรมที่ดินเสียก่อน จึงจะคำนวณภาษีได้
    ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานถือดินเป็นผู้คำนวณให้ได้ โดยเฉลี่ยจะตกอยู่ที่ประมาณ 1-3%

3. ภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาประเมินกรมที่ดิน หรือราคาขายฝาก ขึ้นอยู่ว่าราคาใดสูงกว่า

  • ในข้อนี้จะเป็นค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ที่ถือครองอสังหาริมทรัพย์นั้นๆ มาน้อยกว่า 5 ปี
    โดยดูจากวันที่รับโอนหลังโฉนด หรือ หากเจ้าของบ้านย้ายทะเบียนบ้านมาเข้าอยู่มากกว่า 1 ปี
    จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ)

4. ค่าอากรแสตมป์ 0.5% จากราคาประเมินกรมที่ดินหรือราคาขายฝาก ขึ้นอยู่ว่าราคาใดสูงกว่า

  • โดยในข้อนี้ หากใครเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์

ตัวอย่าง : วิธีการคำนวณ ค่าธรรมเนียม ขายฝาก

กรณีที่ 1 – เจ้าของซื้อที่ดินนี้มาเป็นระยะเวลา 3 ปี ต้องการนำที่ดินมาขายฝาก
ในราคา 3,000,000 บาท โดยที่ราคาประเมินของกรมที่ดินอยู่ที่ 2,000,000 บาท

ประเภทค่าธรรมเนียมวิธีคำนวณมูลค่า
ค่าธรรมเนียม2,000,000 x 2%40,000 บาท
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ประมาณ)2,000,000 x 1%20,000 บาท
ภาษีธุรกิจเฉพาะ3,000,000 x 3.3%99,000 บาท
ค่าอากรแสตมป์ไม่เสีย0 บาท
รวม159,000 บาท

หมายเหตุ: ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าพยาน, ค่ามอบอำนาจ(กรณีมอบอำนาจ) ฯลฯ

กรณีที่ 2 – เจ้าของซื้อที่ดินนี้มาเป็นระยะเวลา 6 ปี ต้องการนำที่ดินมาขายฝาก
ในราคา 3,000,000 บาท โดยที่ราคาประเมินของกรมที่ดินอยู่ที่ 2,000,000 บาท

ประเภทค่าธรรมเนียมวิธีคำนวณมูลค่า
ค่าธรรมเนียม2,000,000 x 2%40,000 บาท
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ประมาณ)2,000,000 x 3%60,000 บาท
ภาษีธุรกิจเฉพาะไม่เสีย0 บาท
ค่าอากรแสตมป์3,000,000 x 0.515,000 บาท
รวม115,000 บาท

หมายเหตุ: ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าพยาน, ค่ามอบอำนาจ(กรณีมอบอำนาจ) ฯลฯ

นอกจากค่าใช้จ่ายวันทำนิติกรรมที่สำนักงานที่ดินในครั้งแรกแล้ว
ยังมีจุดที่นายทุนหลายๆ เจ้ามักไม่ได้แจ้งให้เจ้าของทรัพย์ทราบคือ
การทำจำนอง-ขายฝากยังมีค่าใช้จ่ายในวัน “ไถ่ถอน” ด้วยเช่นกัน
ทำให้เจ้าของทรัพย์ไม่ได้เตรียมการ ไม่ได้ตั้งตัวในการบริหารเงินเพื่อรองรับค่าใช่จ่ายนี้มาก่อน

ค่าธรรมเนียมไถ่ถอนจำนอง

  1. ค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท
  2. ค่าจดทะเบียนประเภทไม่มีทุนทรัพย์ แปลงละ 50 บาท

ตัวอย่าง : วิธีการคำนวณค่าธรรมเนียมไถ่ถอนจำนองที่ดิน ยอดจำนอง 3,000,000 บาท

ประเภทค่าธรรมเนียมวิธีคำนวณมูลค่า
ค่าคำขอแปลงละ 5 บาท5 บาท
ค่าจดทะเบียนประเภทไม่มีทุนแปลงละ 50 บาท50 บาท
รวม55 บาท

หมายเหตุ: ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าพยาน, ค่ามอบอำนาจ(กรณีมอบอำนาจ) ฯลฯ

 

ค่าธรรมเนียมไถ่ถอนขายฝาก

  1. ค่าธรรมเนียมแปลงละ 50 บาท
  2. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่่จ่าย- คำนวณตามระยะเวลาถือครองตั้งแต่วันที่ได้มีการทำขายฝากถึงวันที่จดทะเบียนไถ่ถอน
    โดยเฉลี่ยจะตกอยู่ที่ประมาณ 2-3% ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานที่ดินเป็นผู้คำนวณให้ได้
  3. อากรแสตมป์ 0.5% จากราคาประเมินกรมที่ดิน หรือค่าสินไถ่ ขึ้นอยู่ว่าราคาใดสูงกว่า

ตัวอย่าง : วิธีการคำนวณค่าธรรมเนียม ขายฝากที่ดินราคา  3,000,000 บาท
มีราคาประเมินจากกรมที่ดินอยู๋ที่ 2,000,000 บาท โดยมีกำหนดค่าสินไถ่ในสัญญาไว้ที่ 3,450,000 บาท

ประเภทค่าธรรมเนียมวิธีคำนวณมูลค่า
ค่าธรรมเนียมแปลงละ 50 บาท50 บาท
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ประมาณ)2,000,000 x 2%40,000 บาท
ภาษีธุรกิจเฉพาะไม่เสีย0 บาท
ค่าอากรแสตมป์3,450,000 x 0.5%17,250 บาท
รวม55,300 บาท

หมายเหตุ
: ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าพยาน, ค่ามอบอำนาจ(กรณีมอบอำนาจ) ฯลฯ
: ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นการคำนวณแบบประมาณการเท่านั้น

 

มาถึงบรรทัดนี้แล้ว หากคุณกำลังปวดหัวกับวิธีคำนวณ เห็นตัวเลขแล้วไมเกรนขึ้น ปกติถนัดแต่นับเงิน
เรามีอีกหนึ่งเครื่องมือที่จะทำให้การคำนวณค่าธรรมเนียมของคุณเป็นเรื่องง่ายขึ้นมาแนะนำ
นั่นคือ ระบบให้บริการประชาชนในการคำนวณภาษีอากร” ทางเว็บไซต์กรมที่ดิน
คุณสามารถเข้าไปกรอกข้อมูล ทาง http://lecs.dol.go.th/rcal และให้ระบบช่วยคำนวณได้เช่นกัน

ทั้งหมดนี้เป็นค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้น ณ สำนักงานที่ดิน
แต่ยังไม่ใช่ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ผู้จำนอง-ขายฝากต้องจ่าย ยังมีในส่วนของ “ค่าดำเนินการ”
ที่แล้วแต่ทางนายทุน ผู้รับจำนอง ผู้รับซื้อฝากจะเรียกเก็บแตกต่างกันไป
อาทิเช่น ค่าปากถุง หรือค่าใช้จ่ายในการหักดอกเบี้ยล่วงหน้า 2-3 เดือน

หากคุณตัดสินใจแล้วว่าจะทำจำนอง-ขายฝาก มีความจำเป็นต้องใช้เงินด่วนจริงๆ
ก็ขอให้เลือกนายทุนที่คิดค่าใช้จ่ายอย่างเป็นธรรม ถูกต้องตามกฎหมาย
จะได้ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยแบบขูดเลือดขูดเนื้อให้ช้ำอกช้ำใจ

วิธีคำนวนค่าโอน ค่าธรรมเนียม ณ กรมที่ดิน ด้วยตัวเอง แบบง่ายๆ

——————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง 

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

TM30 ปล่อยเช่าชาวต่างชาติต้องรู้ ฉบับอัปเดต ถ้าไม่อยากเสียค่าปรับ!!
22
Feb 24
อัพเดทการยื่น TM30 ปล่อยเช่าชาวต่างชาติต้องรู้ ถ้าไม่อยากเสียค่าปรับ!!

ทันทีที่ผู้เช่าชาวต่างชาติเข้าห้องพักที่คุณปล่อยเช่า คุณอาจคิดว่าหน้าที่ในฐานะของเจ้าบ้านได้เสร็จสิ้นลงแล้ว แต่ไม่ใช่เช่นนั้นค่ะ เพราะสิ่งที่ต้องทำในขั้นตอนต่อไปก็คือการแจ้ง ‘ TM30 ’ หรือ การแจ้งข้อมูลของลูกค้าชาวต่างชาติที่เข้ามาพักในห้องของเรา ให้กับที่ทำการตรวจคนเข้าเมือง หรือสถานีตำรวจในท้องที่ ได้รับทราบ ตามพระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522   การแจ้ง TM30 หรือ ตม. 30 นี้ ไม่ว่าใครที่ประกอบกิจการโรงแรม เกสเฮ้าส์ แมนชั่น อพาร์ตเม้นท์ สถานประกอบการ หรือบ้านเช่า ก็ต้องทำการแจ้งว่ามีชาวต่างชาติเข้าพักอาศัย ‘ภายใน 24 ชั่วโมง’ นับจากเวลาเข้าพัก และที่สำคัญก็คือ ชาวต่างชาติผู้นั้นต้องได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ต้องผ่านการตรวจเข้าเมืองตามกฎหมาย ต้องเข้ามาประกอบอาชีพ หรือทำธุรกิจที่ถูกกฎหมาย ซึ่งหากเจ้าของห้องท่านใดไม่ปฎิบัติตาม จะมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท นั่นเองค่ะ   สำหรับในส่วนของวิธีการแจ้ง ตม. 30 นั้น สามารถทำได้ 3 วิธี คือ •  นำเอกสารมาแจ้งด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้ผุ้อื่นนำเอกสารมาแจ้ง แจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน แจ้งทางระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต(Inte […]

อ่านเพิ่มเติม
บ้านหลุดจำนอง ดีจริงหรือ?
14
Nov 23
บ้านหลุดจำนอง ดีจริงหรือ?

หลายๆ คนมักจะอคติกับ “บ้านหลุดจำนอง” จริงๆ แล้วรูปแบบอสังหาฯ ประเภทนี้ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด ถ้าได้มาจากแหล่งขายอันน่าเชื่อถือ รับรองว่าได้ราคาดี แถมยังสามารถเรียกกำไรงามได้อีกด้วย บ้านหลุดจำนอง เป็นรูปแบบอสังหาริมทรัพย์ที่ด้อยคุณภาพหรือรอการขาย โดยมักเรียกกันหมู่นักลงทุนว่า NPA ย่อมาจาก Non-Performing Asset เกิดจากทางสถาบันการเงินได้กรรมสิทธิ์เมื่อผู้กู้เกิดพฤติกรรมขาดผ่อนหรือผ่อนต่อไม่ไหว จึงยอมให้ธนาคารยึดบ้านเพื่อนำมาชำระหนี้ รวมไปถึงบ้านที่กรมบังคับคดีได้นำออกมาประมูล ในราคาที่ต่ำกว่าตลาดถึง 40-50% อีกด้วย สำหรับบ้านหลุดจำนอง อาจจะต้องเช็คประวัติย้อนหลังของบ้านให้มากขึ้น เพราะเราไม่รู้ว่าบ้านหลุดจำนองมีประวัติด้านลบมามากหรือน้อยแค่ไหน ถ้าหากไม่ตรวจสอบอย่างละเอียด อาจนำความเดือดร้อนมาภายหลังได้ แล้วบ้านหลุดจำนอง จะทำกำไรให้กับนักลงทุนได้ยังไง วันนี้เรามาเรียนรู้เทคนิคการเลือกซื้อบ้านหลุดจำนองกัน มี 5 ข้อดังต่อไป ต้องรู้ความต้องการของตัวเองก่อน เราต้องรู้ว่าซื้อบ้านหลุดจำนองนี้ไปเพื่ออะไร จะเป็นการลงทุนหรือเพื่ออยู่อาศัยเอง ถ้าเป็นการลงทุน ควรพิจารณาเรื่องแหล่งซื้อเป็นอันดับแรกก่อ […]

อ่านเพิ่มเติม
Blacklist และ เครดิตบูโรต่างกันอย่างไร
18
Apr 23
Blacklist และ เครดิตบูโรต่างกันอย่างไร

หลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินคำว่าเครดิตบูโรอยู่บ่อยๆ แต่หลายๆ อาจยังไม่เข้าใจ ว่าจริงๆ แล้วเครดิตบูโร มันคืออะไร และมันต่างจาก Blacklist ยังไงบ้าง มาค่ะ วันนี้เรามาทำความเข้าใจกัน ว่ามันมีความสำคัญอย่างไร และเอามาวัดเครดิตการเงินของเราอย่างไรบ้าง ข้อมูลเครดิตบูโร คือข้อมูลประวัติการชำระหนี้ของเรา ซึ่งมันจะถูกจัดเก็บไว้ในระบบฐานข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิต หรือเราเรียกสั้นๆว่า NCB  ปัจจุบันข้อมูลเครดิตประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1 ข้อมูลบ่งชี้ถึงตัวตนเรา เช่น ชื่อ ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด สถานภาพการสมรส อาชีพ เลขบัตรประชาชน 2 ข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติ และประวัติการชำระสินเชื่อ ราคาสินค้าหรือบริการโดยบัตรเครดิต รวมถึงสถานะบัญชีอีกด้วย สถานะบัญชี คือ รายงานที่จะบอกว่าคุณชำระสินเชื่อปกติ สินเชื่อที่ค้างชำระเกิน 90 วัน หรือ สินเชื่อที่ปิดบัญชีแล้ว * สินเชื่อที่อยู่ในกระบวนการทางกฎหมาย เป็นต้น ข้อมูลเครดิตมีความสำคัญอย่างไร ? ต้องบอกเลยค่ะว่ามันสำคัญมาก เพราะมันคือข้อมูลเครดิตที่จะแสดงถึงประวัติการชำระหนี้ ที่จะสะท้อนถึงพฤติกรรมและวินัยทางการเงินของเรา แสดงถึงความตั้งใจในการชำระหนี้ และความน่ […]

อ่านเพิ่มเติม