เตรียมเอกสารก่อนโอน ที่ดิน มีขั้นตอนอะไรบ้าง อัปเดตปี 2568
11
Feb 25

ชวนมาเตรียมความพร้อม เตรียมเอกสารก่อนโอน ที่ดิน มีเอกสารและขั้นตอนอะไรบ้าง?


สำหรับใครที่กำลังวางแผนจะซื้อขายที่ดิน หรือกำลังจะโอนที่ดินให้ลูกหรือคนในครอบครัว แต่ยังไม่มั่นใจว่าต้องทำอย่างไร? Property4Cash ได้รวบรวมข้อมูลมาให้แล้ว… ว่าการโอนที่ดินต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง มีขั้นตอนอย่างไร ต้องยื่นเรื่องที่ไหน และมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง เพราะการเตรียมตัวที่ดีจะทำให้ไม่เสียเวลาและสามารถยื่นเรื่องโอนที่ดินให้จบอย่างรวดเร็วในวันเดียว มาดูกันว่าวิธีการโอนที่ดินนั้นเป็นอย่างไรบ้าง?

เอกสารที่ใช้ในการโอนที่ดินให้กับผู้อื่น

สิ่งแรกที่ต้องเตรียมสำหรับการโอนที่ดิน คือ การเตรียมเอกสารโอนที่ดินให้พร้อม ซึ่งแบ่งออกเป็นกรณีบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล โดยทั้งสองแบบต้องเตรียมเอกสารแตกต่างกัน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • กรณีบุคคลธรรมดา สำหรับบุคคลธรรมดาที่ทำการซื้อ-ขายที่ดิน ต้องเตรียมเอกสารต่อไปนี้
  • เอกสารการโอนที่ดินผู้ซื้อ
  • บัตรประชาชน พร้อมสำเนาที่เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง
  • ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนาที่เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง
  • หนังสือเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล พร้อมสำเนาที่เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง (ถ้ามี)

 

  • ในกรณีที่ให้ผู้อื่นมาทำเรื่องแทน ให้เตรียมเอกสารดังนี้
    • หนังสือมอบอำนาจ (ทด.21)
    • สำเนาบัตรประชาชนของผู้ได้รับมอบอำนาจ
    • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ได้รับมอบอำนาจ

เอกสารการโอนที่ดินผู้ขาย

  • โฉนดที่ดินฉบับจริง
  • บัตรประชาชน พร้อมสำเนาที่เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง
  • ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนาที่เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง
  • หนังสือเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล พร้อมสำเนาที่เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง (ถ้ามี)
  • ในกรณีที่มีคู่สมรส ให้เตรียมเอกสารดังนี้
    • สำเนาบัตรประชาชนของคู่สมรส
    • สำเนาทะเบียนบ้านของคู่สมรส
    • สำเนาทะเบียนสมรส
    • หนังสือยินยอมให้ขายที่ดินของคู่สมรส
  • ในกรณีที่หย่า ให้เตรียมสำเนาทะเบียนหย่า
  • ในกรณีที่ให้ผู้อื่นมาทำเรื่องแทน ให้เตรียมเอกสารดังนี้
    • หนังสือมอบอำนาจ (ทด.21)
    • สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
    • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ
  • กรณีนิติบุคคล
  • หนังสือรับรองนิติบุคคลที่มีอายุไม่เกิน 1 เดือน
  • บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีอายุไม่เกิน 1 เดือน พร้อมรายละเอียดในบัญชีรายชื่อของนิติบุคคลที่สามารถซื้อที่ดินหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างได้ โดยไม่ต้องขออนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หากผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลต่างด้าว ต้องมีหุ้นไม่ถึง 40% ของผู้ถือหุ้นทั้งหมด
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
  • สำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
  • หนังสือตัวอย่างลายมือชื่อกรรมการ
  • รายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัท ที่ระบุวัตถุประสงค์การซื้อขายและแหล่งที่มาของเงินที่ใช้ในการซื้อ
  • ในกรณีที่ให้ผู้อื่นมาทำเรื่องแทน ให้เตรียมเอกสารดังนี้
  • หนังสือมอบอำนาจ (ทด.21)
  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ


เอกสารที่ใช้ในการโอนที่ดินให้ลูก

สำหรับพ่อและแม่ที่ต้องการโอนที่ดินให้ลูก แต่กลัวว่าจะใช้เอกสารมากมายและยุ่งยากในการทำเรื่อง อันที่จริงแล้วการโอนที่ดินให้ลูกนั้นไม่ยุ่งยากเลย เพียงแค่เตรียมเอกสารเพื่อนำไปยื่นที่สำนักงานที่ดินดังต่อไปนี้

  • โฉนดที่ดินตัวจริง
  • บัตรประชาชนของบิดา มารดา และบุตร
  • ทะเบียนบ้านของบิดา มารดา และบุตร
  • ใบจดทะเบียนสมรสของบิดา มารดา
  • ในกรณีที่บุตรให้ผู้อื่นมาทำเรื่องแทน ให้เตรียมเอกสารดังนี้
    • สำเนาบัตรประชาชนของบุตร พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง
    • สำเนาทะเบียนบ้านของบุตร พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง
    • บัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
    • ทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ
    • หนังสือมอบอำนาจ (ทด.21)

 

ขั้นตอนการโอนที่ดินที่สำนักงานที่ดิน

หลายๆ คนอาจจะเกิดข้อสงสัยว่าการโอนที่ดินใช้เวลากี่วัน ถ้าไปที่สำนักงานที่ดินนั้นก็กลัวว่าจะใช้เวลานาน แต่จริงๆ แล้วระยะเวลาในการยื่นเรื่องนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนคนที่ใช้บริการสำนักงานที่ดิน หากไปสำนักงานที่ดินในช่วงเช้าที่มีผู้มาใช้บริการยังไม่มากนัก ก็สามารถยื่นเรื่องเสร็จภายใน 1-2 ชั่วโมงได้ โดยขั้นตอนการโอนที่ดินนั้นมีดังนี้

  • กรอกคำขอ พร้อมแนบเอกสารที่ใช้ในการโอนที่ดินไปยื่นกับเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
  • เมื่อเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ตรวจสอบเอกสารแล้ว จะได้รับบัตรคิวเพื่อไปยื่นเรื่องโอนที่ดินกับเจ้าหน้าที่ชำนาญงาน
  • เมื่อถึงคิวแล้ว ให้ผู้โอนและผู้รับโอนลงลายเซ็นในเอกสารต่อหน้าเจ้าหน้าที่
  • จากนั้น เจ้าหน้าที่จะประเมินราคาที่ดินและคำนวณราคาค่าโอนที่ดินให้ พร้อมกับให้ใบคำนวณค่าใช้จ่ายเพื่อนำไปชำระเงินที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน
  • เมื่อนำใบคำนวณค่าใช้จ่ายไปชำระที่ฝ่ายการเงินจะได้รับใบเสร็จสีเหลืองและสีฟ้า โดยใบเสร็จสีเหลืองให้นำส่งกับเจ้าหน้าที่ชำนาญงาน ส่วนใบเสร็จสีฟ้าให้ถ่ายสำเนาเก็บไว้ที่ผู้ซื้อที่ดิน 1 ชุด และใบเสร็จสีฟ้าตัวจริงให้้เก็บไว้ที่ผู้ขายที่ดิน
  • เจ้าหน้าที่ชำนาญงานจะพิมพ์สลักหลังโฉนด จากนั้นจะส่งมอบให้ตรวจสอบ เมื่อโฉนดถูกต้องแล้ว ผู้ซื้อจะได้รับโฉนดพร้อมสัญญาซื้อขาย (ทด.13) เป็นอันสิ้นสุดการทำเรื่องโอนที่ดิน

เตรียมเอกสารก่อนโอน ที่ดิน มีขั้นตอนอะไรบ้าง อัปเดตปี 2568

สถานที่ในการดำเนินโอนที่ดิน

การโอนที่ดินสามารถยื่นเรื่องได้ 2 ช่องทาง คือ ที่สำนักงานที่ดิน และทางออนไลน์ ส่วนจะเลือกใช้ช่องทางไหนนั้นก็ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละคน ซึ่งรายละเอียดการดำเนินโอนที่ดินในแต่ละช่องทางมีดังนี้

 

สำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสาขา

สามารถไปทำเรื่องโอนที่ดินได้ที่สำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสาขาใกล้บ้านได้ด้วยตัวเอง หรือหากไม่สะดวกไปด้วยตัวเองก็สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำเรื่องแทนได้ แต่ที่สำคัญต้องไม่ลืมเตรียมเอกสารมอบอำนาจด้วย ซึ่งแบบฟอร์มหนังสือมอบอำนาจสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ของกรมที่ดิน

 

โอนที่ดินออนไลน์

กรมที่ดินได้พัฒนาแอปพลิเคชันที่มีชื่อว่า e-QLands ที่สามารถยื่นจองคิวทำเรื่องโอนที่ดินได้ โดยผู้โอนเตรียมเอกสารให้พร้อม จากนั้นเข้าแอป e-QLands เพื่อลงทะเบียนล่วงหน้าได้ตามขั้นตอนดังนี้

  • กดไปที่ช่องลงทะเบียน
  • อ่านข้อตกลงและเงื่อนไขการบริการ เลือกยอมรับเงื่อนไข และกดถัดไป
  • แอปพลิเคชันจะให้กรอกข้อมูลส่วนตัว ประกอบด้วยชื่อ-นามสกุล, Email, Line, หมายเลขบัตรประชาชน 13 หลัก และเบอร์โทรศัพท์ เพื่อใช้เป็น Username และ Password ในการเข้าใช้งานครั้งถัดไป จากนั้นเลือกลงทะเบียน
  • เมื่อลงทะเบียนแล้ว ก็สามารถเลือกทำนิติกรรมยื่นจองคิวโอนที่ดินได้
  • ต่อไป ระบบจะให้แนบเอกสารประกอบการยื่นจองคิว โดยให้เตรียมเอกสารการโอนที่ดินให้พร้อม จากนั้นถ่ายรูปเอกสารและอัปโหลดลงในแอปพลิเคชัน
  • เมื่ออัปโหลดเอกสารเรียบร้อย ระบบจะให้เลือกวันเวลาที่ต้องการจองคิว เมื่อเลือกได้แล้วให้กดปุ่มถัดไป
  • ระบบจะให้ตรวจสอบข้อมูลการจองคิว หากถูกต้องครบถ้วนก็สามารถยืนยันการจองได้เลย
  • เมื่อยืนยันการจองแล้ว ระบบจะออกบัตรคิวออนไลน์ ซึ่งสามารถนำไปติดต่อได้ที่สำนักงานที่ดินตามวันและเวลาที่เลือกไว้ เมื่อไปที่สำนักงานที่ดินแล้วจะได้ไม่ต้องเสียเวลารอคิว และทำนิติกรรมให้เสร็จสมบูรณ์ได้อย่างรวดเร็ว

ปัจจุบัน e-QLands เปิดให้บริการเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร แต่กรมที่ดินมีเป้าหมายที่จะให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศและขยายการบริการทำนิติกรรมผ่านแอปพลิเคชันมากขึ้นในปีต่อๆ ไปอีกด้วย

ค่าใช้จ่ายในการโอนที่ดิน

ในส่วนของจ่ายใช้จ่ายในการโอนที่ดิน อาจให้ผู้ซื้อและผู้ขายออกค่าใช้จ่ายกันคนละครึ่ง หรือให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งในการโอนที่ดินจะมีค่าใช้จ่าย ดังนี้ 

  • ค่าคำขอโอนที่ดิน 5 บาท
  • ค่าอากร 5 บาท
  • ค่าพยาน 20 บาท
  • ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน 2% ของราคาประเมินหรือราคาขาย โดยใช้ราคาสูงสุดในการคำนวณ
    • เช่น เจ้าหน้าทีประเมินราคาที่ดิน 500,000 บาท แต่ราคาขายอยู่ที่ 550,000 บาท คำนวณราคาค่าโอนที่ดินโดย 550,000 x 2% = 11,000 บาท
  • ค่าจดจำนอง 1% ของมูลค่าที่จดจำนอง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท เฉพาะในกรณีที่กู้เงินจากสถาบันการเงินมาซื้อ
    • เช่น กู้เงิน 500,000 บาทเพื่อซื้อที่ดิน มูลค่าที่จดจำนองคือ 500,000 บาท คำนวณค่าจดจำนองโดย 500,000 x 1% = 5,000 บาท
  • ค่าอากรแสตมป์ 0.50% ของราคาซื้อขาย แต่หากต่ำกว่าราคาประเมิน ให้ใช้ราคาประเมินในการคำนวณ
    • เช่น เจ้าหน้าทีประเมินราคาที่ดิน 500,000 บาท แต่ราคาขายอยู่ที่ 550,000 บาท คำนวณค่าอากรแสตมป์โดย 550,000 x 0.50% = 2,750 บาท
  • ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% ของราคาซื้อขาย ซึ่งหากต่ำกว่าราคาประเมิน ให้ใช้ราคาประเมินในการคำนวณ หากเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว ไม่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์
  • เช่น เจ้าหน้าทีประเมินราคาที่ดิน 500,000 บาท แต่ราคาขายอยู่ที่ 550,000 บาท คำนวณค่าภาษีธุรกิจเฉพาะโดย 550,000 x 3.3% = 18,150 บาท

 

พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่ที่ควรรู้

สำหรับผู้ที่ต้องการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างนั้น เรื่องที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ต้องศึกษาไว้ คือ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อเตรียมพร้อมและจัดการชำระภาษี อีกทั้งพ.ร.บ.ฉบับใหม่นี้ก็มีการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีที่ต้องเสียอีกด้วย โดยมีรายละเอียด ดังนี้

เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2566 ราชกิจจานุเบกษา ประกาศพระราชกฤษฎีกาลดภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางประเภท (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2566 โดยสาระสำคัญของเนื้อหาคือให้ลดภาษีในอัตรา 15% ของจำนวนภาษีที่คำนวณได้ สิ่งปลูกสร้างที่สามารถลดภาษีได้นั้นมีด้วยกัน 4 ประเภท คือ

  1. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม
  2. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย
  3. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่นนอกจากข้อ 1 และ 2
  4. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ

เหตุผลที่มีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เป็นการลดภาษีต่อเนื่องจาก พ.ร.บ.ภาษีและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ที่สิ้นสุดระยะเวลาแล้ว เพื่อลดภาระและบรรเทาผลกระทบต่อประชาชน และสนับสนุนให้เกิดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 มาตราที่ 55 บัญญัติว่าการลดภาษีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างบางประเภท เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม เหตุการณ์ กิจการนั้นต้องกระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

สรุปส่งท้าย การ เตรียมเอกสารก่อนโอน ที่ดิน เตรียมเพื่อให้การยื่นเรื่องได้สะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาในการติดตามเอกสาร ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปยังสำนักงานที่ดินบ่อยๆ อีกด้วย ซึ่งเอกสารที่ต้องเตรียมนั้นแตกต่างกันไปตามกรณี หากเตรียมเอกสารพร้อมแล้วก็สามารถไปยื่นเรื่องโอนที่ดินได้ที่สำนักงานที่ดินใกล้บ้าน หรือจะจองคิวผ่านแอปพลิเคชันของกรมที่ดิน เพื่อให้ได้รับการบริการอย่างรวดเร็วที่สำนักงานที่ดินก็ได้เช่นกัน เพียงเท่านี้การโอนที่ดินก็จะกลายเป็นเรื่องที่ไม่ยุ่งยากอีกต่อไป 

สำหรับใครที่กำลังต้องการเงินด่วน สามารถจำนอง ขายฝากกับ Property4Cash เงินด่วนอสังหา เพื่อเข้าถึงเงินทุน เงินก้อนได้นะคะ เราพร้อมบริการค่ะ!

 


Property4Cash ยินดีให้คำปรึกษาและช่วยเพิ่มทุนให้กับทุกคนที่ต้องการเงินด่วน และต้องการเงินเพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจ ไม่เช็คแบล็คลิส ไม่เช็คเครดิตบูโร

อนุมัติรวดเร็วทันใจ นึกถึง ขายฝากจำนอง นึกถึง Property4Cash

Line: @Property4Cash

โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash

ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

ค่าโอน
30
Dec 22
ไอ้หยา~ ค่าโอนอสังหาฯ ปีหน้า แพงขึ้น 100 เท่า!!

ถึงกับต้องร้องเสียงหลงกันว่า ไอ้หยา~ เมื่อ ค่าโอน อสังหาฯ ปีหน้า แพงขึ้นถึง 100 เท่า!! หลังมีมิติ ครม. ออกมาว่า ในปี 2566 นี้ จะมีมาตรการช่วยเหลือลดค่าโอนให้เพียง 1% เท่านั้น เทียบจากปี 2565 ที่ผ่านมาคนไทยได้รับการช่วยเหลือตรงนี้ เสียค่าโอนกันเพียงแค่ 0.01% จากปกติ 2% เท่านั้นเอง จากข่าวที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 เห็นชอบมอบของขวัญปีใหม่ให้แก่ประชาชน ด้วยมาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัยปี 2566 โดยมีรายละเอียดดังนี้ ลดค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์จาก 2% เหลือ 1%  ลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์จากเดิม 1% เหลือ 0.01%  สำหรับการซื้อขายที่อยู่อาศัย ได้แก่ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว อาคารพาณิชย์ และห้องชุด (คอนโด) ทั้งบ้านมือ 1 และมือ 2 เฉพาะที่มีราคาซื้อขายและราคาประเมินทุนทรัพย์ไม่เกิน 3 ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 3 ล้านบาท ต่อสัญญา (แหล่งที่มาข่าว https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62863) หมายความว่า.. หากเราจะซื้อบ้านราคา 3 ล้านบาท  จากเดิมปี 2565 เราจะเสียค่าโอน 0.01% หรือ 300 บาท เพียงเท่านั้น แต่ในป […]

อ่านเพิ่มเติม
จัดการสินสมรส ในรูปแบบอสังหา แบ่งอย่างไรให้ลงตัว
1
Dec 23
วิธีจัดการสินสมรสในรูปแบบอสังหา แบ่งอย่างไรให้ลงตัว

ปัญหาการหย่าร้างมีมากกว่าขึ้นทุกปี ซึ่งสาเหตุของการหย่าร้างมาจากทั้ง 2 ฝ่าย เกิดจากถูกกดดันจากครอบครัวและความไม่เข้าใจกัน ทำให้เกิดครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวมากขึ้น และสิ่งที่ตามมาหลังจากการหย่าร้างกันนั้นคือ “จัดการสินสมรส” ที่อาจทำให้เกิดความขัดแย้งต่อกันมากที่สุด ยิ่งสินสมรสนั้นเป็น อสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน บ้าน คอนโดมิเนียม ที่ซื้อมาร่วมกันโดยไม่ใช่การรับมรดก ถือว่าเป็นทรัพย์สินที่มักมีราคาค่างวดมาก การจะทำอะไรที่เป็นการทำให้สิทธิที่มีอยู่อาจเสียไปอย่าง เช่น การขาย จะต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่าย กฎหมายจึงเปิดโอกาสให้คู่สมรสสามารถตกลงวิธีการ เงื่อนไข และข้อจำกัดเกี่ยวกับสินสมรสกันๆ ได้เห็นสมควร ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476 กำหนดวิธี จัดการสินสมรส ไว้ เรื่อง คู่สมรสต้องจัดการสินสมรสร่วมกันได้ จัดการอสังหาริมทรัพย์ร่วมกัน ในส่วนของอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะบ้านหรือที่ดิน จะทำการขาย แลกเปลี่ยน ขายฝากให้เช่าชื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง ต้องได้รับการยินยอมร่วมกัน ให้ผู้อื่นเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี เมื่อมีการปล่อยให้เช่าในระยะเวลาเกิน 3 ปี สามีและภรรยาต้องตกลงและทำธ […]

อ่านเพิ่มเติม
ใบปลอดหนี้ คืออะไร รู้ไว้ก่อนซื้อขายบ้าน-คอนโด
9
Jun 23
ใบปลอดหนี้คืออะไร รู้ไว้ก่อนซื้อขายบ้าน-คอนโด

เชื่อว่าเพื่อนๆ หลายคนไม่คุ้นชินกับคำนี้แน่ๆ “ใบปลอดหนี้”  และเพื่อนๆ ก็คงไม่รู้ว่า อะไรคือใบปลอดหนี้ วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับเอกสารนี้กัน เพราะว่าใบปลอดหนี้ นั้น มีความสำคัญมากสำหรับคนที่อยากจะซื้อ ขาย’ บ้านและคอนโด ใบปลอดหนี้ คือ หนังสือเอกสารที่ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการชำระเงินค่าส่วนกลางในการอยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมและหมู่บ้านจัดสรร ซึ่งถ้าขาดเอกสารตัวนี้ไป จะทำให้เราไม่สามารถทำธุรกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ที่กรมที่ดินได้ หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ไม่สามารถซื้อขายได้นั่นเอง ใครต้องเป็นคนขอและต้องขออย่างไร ผู้ขายจะต้องเป็นผู้ดำเนินการขอเอกสารที่สำนักงานนิติบุคคลนั้นๆ เพื่อจัดการค่าใช้จ่ายค้างชำระ (ถ้ายังไม่จ่ายค่าชำระ) หากมีการค้างค่าชำระบางประการ อาจจะต้องมีระยะเวลาในการออกเอกสารที่ยาวนานกว่า ขึ้นอยู่แต่ละกรณีที่แตกต่างกันไป เอกสารที่ต้องเตรียม สำเนาทะเบียนบ้านผู้ซื้อ-ผู้ขาย อย่างละ 1 ชุด สำเนาบัตรประชาชนผู้ซื้อ-ผู้ขาย อย่างละ 1 ชุด สำเนาโฉนดหน้า-หลัง สัญญาซื้อขาย ที่มีการระบุชื่อผู้ซื้อและผู้ขายชัดเจน หากชื่อหรือนามสกุลของผู้ซื้อหรือผู้ขายไม่ตรงกัน ให้นำใบเปลี่ยนชื่อหรือใบเปลี่ย […]

อ่านเพิ่มเติม