เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน กับ เจ้าของบ้าน แตกต่างกันอย่างไร?
24
Oct 23

หลายท่านคงสงสัย? ว่าเจ้าบ้านคือใคร!! หรือบางท่านอาจจะคิดไปถึงผีบ้านผีเรือน
แต่ที่จริงแล้วตามหลักกฎหมาย ว่าด้วยเรื่องการดูแลบ้าน บ้านทุกหลังต้องมี เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน
เพื่อระบุว่าบุคคลที่เป็นเจ้าบ้านนั้น ผู้เป็นหัวหน้าซึ่งครอบครองบ้าน
ในฐานะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือในฐานะอื่น เช่น ผู้ดูแลบ้าน
แล้วแตกต่างยังไงกับเจ้าของบ้านละ วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยกันค่ะก่อนอื่นเรามาดูความหมายของทั้งสองคำนี้กันก่อนเลยค่ะ

เจ้าบ้าน หมายถึง ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะที่เป็นเจ้าของ ผู้เช่า และอื่นๆ
โดยหากในทะเบียนบ้านไม่มีชื่อเจ้าบ้าน หรือผู้ที่ถูกแต่งตั้งเป็นเจ้าบ้าน เกิดเสียชีวิต
ผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านสามารถมาเป็นเจ้าบ้านแทนได้

เจ้าของบ้าน หมายถึง เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อในโฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขาย
มีสิทธิใช้สอย หวงกัน ติดตามเอาทรัพย์คืน. ใช้ยันต่อบุคคลทั่วไป มีกฎหมายรองรับ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336

โดยจากความหมายด้านบน เจ้าบ้านหรือเจ้าของบ้าน
อาจจะเป็นคนเดียวกัน หรือ ไม่ใช่คนเดียวกันก็ได้ค่ะ

หน้าที่เจ้าบ้าน VS เจ้าของบ้าน

เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน มีหน้าที่ตาม พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 อาทิ แจ้งเกิด-ตาย
ย้ายที่อยู่ ขอเลขที่บ้าน หรือเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับบ้าน
ซึ่งสามารถสรุปหน้าที่ของเจ้าบ้านได้ดังต่อไปนี้

  • แจ้งคนเกิดในบ้าน
  • แจ้งคนตายในบ้าน
  • แจ้งคนย้ายเข้า-ย้ายออก
  • สร้างบ้านใหม่หรือรื้อถอน
  • ขอเลขที่บ้าน

เจ้าของบ้าน มีหน้าที่ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นผู้มีสิทธิ์ในการขาย โอน บ้านและที่ดินหลังนั้น
ทั้งนี้สามารถโอนถ่ายให้ลูกหลานเป็นเจ้าของบ้านได้

ยังมีความเข้าใจที่บอกว่า เจ้าบ้านก็คือเจ้าของบ้าน มีกรรมสิทธิ์ทุกอย่าง
จะไล่ใครออกจากบ้านจะทำอะไรกับบ้านก็ได้ คือไม่ใช่นะคะ
เจ้าบ้านไม่มีกรรมสิทธิ์อะไรเลย นอกจากว่าเจ้าของบ้านและเจ้าบ้านจะเป็นคนๆ เดียวกัน จึงจะทำได้เท่านั้น
ยกเว้นกรณีที่บุคคลที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ไม่ได้อาศัยอยู่ในบ้านแล้วจริง
และไม่สามารถติดต่อบุคคลนั้นได้พ้น 180 วัน เจ้าบ้านมีสิทธิขอคัดชื่อคนออกจากทะเบียนบ้านได้

เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน กับ เจ้าของบ้าน แตกต่างกันอย่างไร?

—————————————————–

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

17
Aug 24
รายละเอียดสัญญาขายฝากที่ดินที่ควรรู้ก่อนทำธุรกรรม สำหรับผู้รับขายฝาก และผู้ขายฝาก

รายละเอียด สัญญาขายฝากที่ดิน ที่ควรรู้ก่อนทำธุรกรรม สัญญาขายฝากที่ดิน เป็นสัญญาที่มีความสำคัญทางกฎหมายและเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินที่มีมูลค่า การทำความเข้าใจรายละเอียดต่างๆ ก่อนลงนามจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งผู้รับซื้อฝากและผู้ขายฝากควรศึกษาข้อมูลเหล่านี้ให้ละเอียดก่อนตัดสินใจ สิ่งที่ผู้รับซื้อฝากควรทราบ กรรมสิทธิ์ในที่ดิน: แม้ว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันทีที่ทำสัญญา แต่ผู้ขายฝากยังมีสิทธิไถ่ถอนที่ดินคืนได้ตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญา ระยะเวลาไถ่ถอน: กำหนดระยะเวลาไถ่ถอนให้ชัดเจน โดยทั่วไปจะไม่น้อยกว่า 1 ปี และไม่เกิน 10 ปี จำนวนสินไถ่: คือจำนวนเงินที่ผู้ขายฝากต้องชำระเพื่อไถ่ถอนที่ดินคืน โดยจำนวนสินไถ่จะต้องไม่น้อยกว่าราคาที่ซื้อฝาก และดอกเบี้ยที่คิดจากราคาซื้อฝากตามอัตราที่กฎหมายกำหนด (ปัจจุบันไม่เกิน 15% ต่อปี) ค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียน: ผู้รับซื้อฝากเป็นผู้ชำระค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนสัญญาขายฝากที่ดิน ณ สำนักงานที่ดิน ภาษีที่เกี่ยวข้อง: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ชำระภาษีที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมนี้ครบถ้วนแล้ว การตรวจสอบเอกสาร: ต […]

อ่านเพิ่มเติม
ขอรังวัดที่ดิน ต้องทำอย่างไรบ้าง?
8
Dec 23
ขอรังวัดที่ดิน ต้องทำอย่างไรบ้าง?

เมื่อเจ้าของที่ดินมีความจำเป็นต้องยื่นเรื่อง ขอรังวัดที่ดิน กับเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน ไม่ว่าจะเป็น ต้องการทราบขนาดแปลงที่ดิน เขตแดนอยู่ตรงบริเวณไหน? มีปัญหาที่ดินทับซ้อนกับที่ดินของใครหรือไม่ อย่างไร? ราคารังวัดที่ดินต้องจ่ายกี่บาท? รวมถึงมีหลักเกณฑ์คิดค่าบริการรังวัดอย่างไร? ยึดจากขนาดพื้นที่หรืออื่นๆ? วันนี้เรามีคำตอบมาให้ทุกคนแล้วค่ะ ในการ ขอรังวัดที่ดิน กับทางรัฐ  สามารถเดินทางไปยังสำนักงานที่ดินแห่งนั้นกันได้เลยค่ะ เมื่อเดินทางไปถึงแล้วสามารถทำตามขั้นตอนดังนี้ได้เลยค่ะ ให้เจ้าของที่ดินรอรับบัตรคิวจากเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน เตรียมชำระเงินค่าธรรมเนียม “การขอ” หลังจากแจ้งรับคำขอสอบสวน เจ้าหน้าที่จะดำเนินการส่งฝ่ายรังวัดเข้ามาดำเนินการ จากนั้นจะแจ้งนัดวันทำการรังวัดพร้อมกำหนดตัวช่างรังวัดและเงินมัด จำสำหรับรังวัดที่ดินซึ่งทางผู้ร้องขอต้องเตรียมความพร้อมเอาไว้เสมอ ทางกรมที่ดินจะเริ่มต้นค้นหารายชื่อผู้มีกรรมสิทธิ์ในการครอบครองที่ดินข้างเคียง จากนั้นพิมพ์หนังสือเพื่อแจ้งให้ผู้ร้องขอรังวัดขนาดที่ดินทราบ เจ้าของที่ดินที่เป็นผู้ดำเนินเรื่องร้องขอรังวัดที่ดินจะได้รับหนังสือแจ้งข้างเคียงจากกรมที่ด […]

อ่านเพิ่มเติม
สมรสเท่าเทียม สำคัญแค่ไหนในวงการอสังหาฯ
30
Jun 23
สมรสเท่าเทียม สำคัญแค่ไหนในวงการอสังหาฯ

พูดถึงประเด็นที่ตอนนี้สังคมไทยเรากำลังให้ความสำคัญอย่าง สมรสเท่าเทียม เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการผลักดันกฎหมาย สมรสเท่าเทียม ให้มีผลทางกฎหมายนั้น มีความสำคัญในแง่ของความเท่าเทียมทางสิทธิต่างๆ ในสังคมของคู่รักเพศเดียวกัน หรือที่ปัจจุบันนิยมเรียกกันว่าคู่รัก LGBTQ+  วันนี้เราจึงจะอยากจะพาเพื่อนๆ ไปพบกับแง่มุมต่างๆ กันว่าสมรสเท่าเทียมนั้น มีส่วนสำคัญแค่ในกับวงการอสังหาริมทรัพย์ และจะส่งผลดีในแง่มุมใดบ้าง  สมรสเท่าเทียม กับวงการอสังหาฯ การกู้ร่วม  บ้านเป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิต และเป็นปัจจัยหนึ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นครอบครัวได้อย่างเป็นรูปธรรม ทำให้คู่รักส่วนใหญ่มักจะเริ่มต้นชีวิตคู่ด้วยการซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัยด้วยกัน และการกู้ก็เป็นหนึ่งในช่องทางที่ทำให้เราสามารถมีบ้านเป็นพยานรักของกันและกันได้ ซึ่งโดยปกติทั่วไปแล้ว หากคนใดคนหนึ่งไม่สามารถกู้ซื้อบ้านโดยเพียงลำพังได้ เนื่องจากรายได้ไม่เพียงพอกับวงเงินที่ต้องการจะซื้อบ้าน เราสามารถนำรายได้ของคู่สมรสมาร่วมกันกู้ได้อีกแรง แต่.. มีคนกลุ่มหนึ่งที่แม้พวกเขาจะรักกันมากเพียงใด คบหาดูใจกันนานเป็นสิบปี ก็ไม่อาจจะใช้ความเป็นคู่รักในการกู้ร่วมกัน […]

อ่านเพิ่มเติม