ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ถัาไม่จ่ายจะ ขายฝาก-จำนองได้ไหม?
8
Mar 24

รู้ไหมคะว่าคนที่มีที่ดินเป็นของตัวเองนั้นต่างก็ต้องเสียภาษีด้วยกันทั้งสิ้น
ภาษีที่ว่าก็คือ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่ไม่ได้จำกัดเพียงแค่คนทำธุรกิจ
แต่ยังรวมถึงพวกเราคนธรรมดาที่ครอบครองที่ดิน ไม่ว่าจะเพื่อใช้ หรือทิ้งไว้รกร้างค่ะ

ก่อนอื่นมาทำความรู้จัก ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง กันก่อนเลยค่ะ
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรืออาจเรียกสั้นๆ ว่าภาษีที่ดิน
จะเป็นรูปแบบของภาษีรายปีที่คำนวณจากมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีไว้ในครอบครอง
ซึ่งจะมีเทศบาล อบต. เป็นผู้เรียกเก็บ สำหรับที่กทม. จะต้องชำระที่สำนักงานเขต
ส่วนเมืองพัทยาจะต้องชำระที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา

ทั้งนี้จากการประกาศรายละเอียดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2567 จากเดิมที่ต้องเสียภาษีในเดือนกุมภาพันธ์ 2567
ถูกเลื่อนออกไปเป็นเดือนเมษายน 2567 แทน

ผู้ที่ต้องเสียภาษีที่ดินต้องมีเงื่อนไขดังนี้
1. เจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ (ดูตามโฉนด ไม่ใช่ทะเบียนบ้าน)

  1. ผู้ครอบครอง/ทำประโยชน์ในที่ดินนั้น จะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้

ประเภทของภาษีที่ดิน 2566 แบ่งประเภทที่ดินที่ต้องเสียภาษีไว้ 4 รายการ
1. ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม  เพดานภาษีสูงสุด 0.15%
2. ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย เพดานภาษีสูงสุด 0.30%
3. ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม เพดานภาษีสูงสุด 1.20%
4. ที่ดินรกร้างว่างเปล่า เพดานสูงสุด 3%

ทั้งนี้กรณีที่คุณเป็นเจ้าของบ้านราคาไม่เกิน 50 ล้านบาท ก็จะไม่ต้องชำระภาษีที่ดินนะคะ

 

และถ้าไม่ชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะมีผลอย่างไรบ้าง?
สำหรับผู้ที่เลี่ยงการเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรือเพิกเฉยไม่สนใจที่จะชำระภาษีถือว่าเป็นผู้ที่มีความผิด
และจำเป็นต้องได้รับโทษทางกฎหมาย โดยแบ่งออกได้ 3 ระดับ ดังนี้

  • โทษปรับ เป็นบทลงโทษในระดับเบื้องต้น สำหรับผู้ที่เสียภาษีที่ดินไม่ครบตามจำนวนภายในเวลาที่กำหนด
    จะต้องถูกปรับตามเกณฑ์ที่ระบุเอาไว้

    • เสียเบี้ยปรับ 10% ของภาษีที่ค้างชำระ ในกรณีที่ล่าช้า แต่ชำระก่อนได้รับหนังสือแจ้งเตือน
    • เสียเบี้ยปรับ 20% ของภาษีที่ค้างชำระ ในกรณีที่ล่าช้า แต่ชำระในระยะที่หนังสือแจ้งเตือนระบุเอาไว้
    • เสียเบี้ยปรับ 40% ของภาษีที่ค้างชำระ ในกรณีที่ล่าช้าเกินระยะที่หนังสือแจ้งเตือนระบุเอาไว้
  • ดอกเบี้ยเงินเพิ่ม
    เป็นบทลงโทษเพิ่มเติมในกรณีชำระภาษีล่าช้าโดยนับตั้งแต่วันที่การชำระภาษีเลยเวลา
    ด้วยการคิดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 1% ต่อเดือนของเงินที่ค้างชำระ
  • โทษทางอาญา โดยมีการกำหนดโทษจำคุกสูงสุด 2 ปี และปรับสูงสุดไมเกิน 40,000 บาท
  • หากไม่ชำระภาษีภายในระยะเวลาที่กำหนด จะถูกระงับการทำธุรกรรมซื้อขายที่ดินกับสำนักงานที่ดินฯ

จากที่เรากล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จำเป็นอย่างมากที่จะต้องชำระให้ครบและตรงระยะเวลาที่กำหนด ไม่อย่างนั้นจะมีเบี้ยปรับและโทษที่ตามมาอีกมากมาย

และจะไม่สามารถทำธุรกรรมกับกรมที่ดินได้ ไม่ว่าจะเป็น ขายฝาก จำนอง ก็จะไม่สามารถกระทำการได้นะคะ

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ถัาไม่จ่ายจะ ขายฝาก-จำนองได้ไหม?

—————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficia

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

วิธีคำนวนค่าโอน ค่าธรรมเนียม ณ กรมที่ดิน ด้วยตัวเอง แบบง่ายๆ
25
Jan 23
วิธีคำนวณค่าโอน ค่าธรรมเนียม ณ กรมที่ดิน ด้วยตัวเอง แบบง่ายๆ

วิธีคำนวณค่าโอน ค่าธรรมเนียม ณ กรมที่ดิน ด้วยตัวเอง แบบง่ายๆ ได้รู้จักกันไปแล้วว่าการจำนอง-ขายฝาก คือการทำนิติกรรมอะไร มีเงื่อนไข มีขั้นตอน มีผลตอบแทนที่จะได้รับเท่าไหร่บ้าง แต่นอกเหนือจากสิ่งที่กล่าวไปในข้างต้นนั้น ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่เราควรรู้นั่นก็คือ “ค่าใช้จ่าย” ทั้งหลาย โดยเฉพาะในส่วนของ ค่าธรรมเนียมในการทำจำนอง และ ค่าธรรมเนียม ขายฝาก ณ สำนักงานที่ดิน วิธีคำนวณค่าโอน ค่าธรรมเนียมสำหรับการจำนอง ค่าธรรมเนียมคำขอจดจำนอง แปลงละ 5 บาท ค่าจดจำนอง 1% ของวงเงินจำนอง (แต่ต้องไม่เกิน 200,000 บาท) ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินจำนอง (แต่ต้องไม่เกิน 10,000 บาท) ตัวอย่าง : วิธีการคำนวณค่าธรรมเนียม จำนองที่ดิน ยอดจำนอง 3,000,000 บาท ประเภทค่าธรรมเนียม วิธีคำนวณ มูลค่า ค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท 5 บาท ค่าจดจำนอง 3,000,000 x 1% 30,000 บาท ค่าอากรแสตมป์ 3,000,000 x 0.05% 1,500 บาท รวม 31,500 บาท หมายเหตุ: ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าพยาน, ค่ามอบอำนาจ(กรณีมอบอำนาจ) ฯลฯ ค่าธรรมเนียมสำหรับการขายฝาก 1. ค่าธรรมเนียม 2% จากราคาประเมินกรมที่ดิน 2. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คำนวณจากราคาประเมินกรมที่ดิน ต้อ […]

อ่านเพิ่มเติม
3
May 23
จะรู้ได้อย่างไร ว่าที่ที่เราจะซื้อเป็นพื้นที่ส่วนกลาง

https://www.isranews.org/article/isranews-news/110435-Court-of-Appeal-Prime-nature-villa-common-property-news.html   จากเหตุการณ์ตามข่าวนี้ แสดงให้เห็นว่า การซื้อขายที่ดินในหมู่บ้านจัดสรร พื้นที่ที่เป็นส่วนกลางของหมู่บ้าน (โดยทั่วไปคือ พื้นที่ที่เจ้าของกรรมสิทธิทุกคนในหมู่บ้านหรือคอนโดมิเนียม มีสิทธิใช้ร่วมกัน โดยมีการเสียค่าใช้จ่าย ที่เรียกว่าค่าส่วนกลางให้กับนิติบุคคลหมู่บ้านหรือคอนโดฯ เช่น สนามหญ้า สระว่ายน้ำ lake ลิฟต์ส่วนกลาง สโมสร คลับเฮ้าส์ ฟิตเนส พื้นที่ทิ้งขยะ เป็นต้น) พื้นที่ส่วนกลางในหมู่บ้าน มีทั้งส่วนที่เป็นที่ดินเปล่า และที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ทีนี้เราจะทราบได้อย่างไร ว่าที่ดินที่เราต้องการจะซื้อในหมู่บ้านจัดสรรนั้นๆ เป็นที่ดินที่เราสามารถเอามาสร้างบ้านอยู่อาศัยได้ ไม่โดนหลอกเอาที่ดิน ที่เป็น พื้นที่ส่วนกลาง มาขาย วันนี้ Property4Cash มีคำตอบค่ะ 1.  ดูง่ายๆ เบื้องต้น ตามผังพื้นที่ขายที่มีการโฆษณาในสื่อ หรือที่เซลล์โฆษณาขาย ว่าพื้นที่ที่เราต้องการอยู่ตรงไหนของโครงการ เข้าข่ายว่าจะเป็นพื้นที่ส่วนกลางหรือไม่ (ในผังพื้นที่ขายส่วนใหญ่ จะระบุว่าพื้นที่ตรงไหน คือ พื้นที่ส […]

อ่านเพิ่มเติม
จํานํา กับ จํานอง ต่างกันอย่างไร
30
Mar 23
จํานํา กับ จํานอง ต่างกันอย่างไร

ช่วงนี้หลายคนอาจได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจเพราะโควิดไม่มากก็น้อย หนึ่งในทางออกที่ใช้คือการนำทรัพย์สินที่มีออกมาขาย หรือนำทรัพย์สินที่มีค่าไป จำนำ หรือ จำนอง  หลายคนก็ยังสงสัยว่า จํานํา กับ จํานอง ต่างกันอย่างไร วันนี้เราจะพาทุกคนไปไข้ข้อสงสัยนี้กัน มาดูกัน จำนอง จำนำ แตกต่างกันอย่างไร การจำนอง การที่ผู้จำนองนำทรัพย์สินที่มีค่านำมาประกันเพื่อกู้เงินมาใช้  โดยใช้เป็นหลักประกันคือ อสังหาริมทรัพย์  คือ ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่น คอนโด โฉนดที่ดิน บ้าน อาคารพาณิชย์ โดยการจำนอง ผู้จำนองต้องนำสินทรัพย์ไปจดทะเบียนไว้กับผู้รับจำนอง ซึ่งต้องกระทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่กรมที่ดินเท่านั้น ทั้งนี้ไม่ต้องโอนที่ดินหรือทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้รับจำนอง สาระสำคัญ ทรัพย์สินที่นำมาจำนองจะต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ ผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบสินทรัพย์ให้แก่ผู้รับจำนอง โดยกรรมสิทธิ์ยังเป็นของผู้จำนองอยู่ ผู้จำนองเป็นลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกก็ได้ มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร ต้องจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที ณ กรมที่ดิน ในกรณีที่ผู้จำนองไม่สามารถชำระหนี้ได้ เจ้าหนี้ต้องทำการฟ้องร้องเพื่อบังคับจำนองโดยการที่จะนำทรัพย์สินไปข […]

อ่านเพิ่มเติม