ขอรังวัดที่ดิน ต้องทำอย่างไรบ้าง?
8
Dec 23

เมื่อเจ้าของที่ดินมีความจำเป็นต้องยื่นเรื่อง ขอรังวัดที่ดิน กับเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน
ไม่ว่าจะเป็น ต้องการทราบขนาดแปลงที่ดิน เขตแดนอยู่ตรงบริเวณไหน?
มีปัญหาที่ดินทับซ้อนกับที่ดินของใครหรือไม่ อย่างไร? ราคารังวัดที่ดินต้องจ่ายกี่บาท?
รวมถึงมีหลักเกณฑ์คิดค่าบริการรังวัดอย่างไร? ยึดจากขนาดพื้นที่หรืออื่นๆ?
วันนี้เรามีคำตอบมาให้ทุกคนแล้วค่ะ

ในการ ขอรังวัดที่ดิน กับทางรัฐ  สามารถเดินทางไปยังสำนักงานที่ดินแห่งนั้นกันได้เลยค่ะ
เมื่อเดินทางไปถึงแล้วสามารถทำตามขั้นตอนดังนี้ได้เลยค่ะ

  1. ให้เจ้าของที่ดินรอรับบัตรคิวจากเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน
  2. เตรียมชำระเงินค่าธรรมเนียม “การขอ” หลังจากแจ้งรับคำขอสอบสวน
  3. เจ้าหน้าที่จะดำเนินการส่งฝ่ายรังวัดเข้ามาดำเนินการ
    จากนั้นจะแจ้งนัดวันทำการรังวัดพร้อมกำหนดตัวช่างรังวัดและเงินมัด
    จำสำหรับรังวัดที่ดินซึ่งทางผู้ร้องขอต้องเตรียมความพร้อมเอาไว้เสมอ
  4. ทางกรมที่ดินจะเริ่มต้นค้นหารายชื่อผู้มีกรรมสิทธิ์ในการครอบครองที่ดินข้างเคียง
    จากนั้นพิมพ์หนังสือเพื่อแจ้งให้ผู้ร้องขอรังวัดขนาดที่ดินทราบ
  5. เจ้าของที่ดินที่เป็นผู้ดำเนินเรื่องร้องขอรังวัดที่ดินจะได้รับหนังสือแจ้งข้างเคียงจากกรมที่ดิน
    จากนั้นให้ผู้ร้องขอเข้าไปดำเนินการวางเงินมัดจำรังวัดพร้อมรับหลักเขตที่ดิน
  6. เมื่อครบตามกำหนด ช่างรังวัดจะออกไปทำการรังวัดขนาดที่ดิน
    ซึ่งจะมีการคำนวณพื้นที่พร้อมเขียนรูปแผนที่ลงบนโฉนดที่ดินของผู้แจ้ง
  7. ช่างรังวัดจะส่งเรื่องรังวัดคืนฝ่ายทะเบียนหลังเสร็จภารกิจ
    จากนั้นทางเจ้าหน้าที่จะเรียกผู้ร้องขอเข้ามาจดทะเบียน
  8. ในขั้นตอนนี้จะมีการสอบสวนจดทะเบียนแบ่งแยก
    และจะมีการตรวจอายัดต่อไป
  9. ผู้ร้องขอสามารถเดินทางเข้ามาชำระเงินค่าธรรมเนียม
    การจดทะเบียนรวมถึงค่าโฉนดได้ที่สำนักงานที่ดินจังหวัด
  10. ทางกรมที่ดินจะแก้รายการทะเบียนให้ถูกต้อง ในขณะเดียวกัน
    มีหน้าที่ดำเนินเรื่องจดทะเบียนแบ่งแยก
  11. เจ้าหน้าที่ทำเรื่องสร้างโฉนดที่ดินแปลงแบ่งแยก
  12. รอลงนามประทับตราจากเจ้าหน้าที่พนักงานระดับสูง
  13. เมื่อครบตามขั้นตอน จะดำเนินเรื่องแจกที่ดินแปลงแบ่งแยกให้กับผู้ร้องขอ

ค่าใช้จ่ายสำหรับ รังวัดที่ดิน
ในส่วนของค่าใช้จ่ายราคารังวัดที่ดิน เป็นเรื่องที่ทางเจ้าของที่ดินต้องดำเนินการชำระตามกฎหมาย
ด้วยตัวเองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากผู้ร้องขอละเว้นไม่ปฏิบัติตาม จะโดนค่าปรับเป็นรอบๆ ไป
ในส่วนของค่าธรรมเนียมรังวัดที่ดินจะมีดังนี้ค่ะ

  • โฉนดที่ดิน ค่าบริการ 40 บาทต่อแปลงต่อวัน
  • หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ค่าบริการ 30 บาทต่อแปลงต่อวัน
  • ค่าหลักที่ดิน คิดตามจริง ค่าบริการหลักละ 15 บาท

ค่าใช้จ่ายรังวัดที่ดิน คิดในลักษณะเหมาจ่าย มีดังต่อไปนี้

  • ค่าพาหนะของเจ้าหน้าที่รังวัดรวมถึงพนักงานที่เกี่ยวข้อง
    คิดค่าบริการ ตกวันละไม่เกิน 1,600 บาท
  • ค่าคนงานที่เข้าไปรังวัดที่ดิน คิดค่าบริการวันละ 420 บาทต่อคนต่อวัน
    (ตามเขตจังหวัดที่กระทรวงการคลังได้กำหนดไว้ ค่าใช้จ่ายอาจจะไม่เท่ากันในบางพื้นที่)
    โดยกำหนดตามพื้นที่ดังต่อไปนี้ค่ะ

    • เนื้อที่ไม่เกิน 5 ไร่ ให้ใช้เวลาดำเนินการ 1 วัน ค่าใช้จ่ายไม่เกิน 3,480 บาท
    • เนื้อที่ไม่เกิน 15 ไร่ ให้ใช้เวลาดำเนินการ 2 วัน ค่าใช้จ่ายไม่เกิน 6,760 บาท
    • เนื้อที่ไม่เกิน 30 ไร่ ให้ใช้เวลาดำเนินการ 3 วัน ค่าใช้จ่ายไม่เกิน 10,040 บาท
    • เนื้อที่ไม่เกิน 50 ไร่ ให้ใช้เวลาดำเนินการ 4 วัน ค่าใช้จ่ายไม่เกิน 13,320 บาท

การรังวัดในส่วนของหนังสือรับรองการทำประโยชน์

  • เนื้อที่ไม่เกิน 20 ไร่ ให้ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 1 วัน ค่าใช้จ่ายไม่เกิน 2,640 บาท
  • เนื้อที่ไม่เกิน 50 ไร่ ให้ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 2 วัน ค่าใช้จ่ายไม่เกิน 5,080 บาท

ค่าใช้จ่ายทั้งหมดจะมีประมาณนี้นะคะ แต่ทุกคนก็อย่าลืมเตรียมเงินเพื่อไว้นะคะ
ในกรณีฉุกเฉินจะได้มีสำรองจ่าย ยังไงเหลือก็ดีกว่าขาดใช่ไหมละคะ

ขั้นตอนอาจจะดูมีเยอะแต่ไม่ต้องกังวลใจไปนะคะ เมื่อไปถึงสำนักงานที่ดิน
จะมีพนักงาน เจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำตลอดเลยค่ะ

ขอรังวัดที่ดิน ต้องทำอย่างไรบ้าง?

—————————————————–

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

25
Apr 24
ทำความรู้จัก บสย. ตัวช่วยของผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs

ธุรกิจ SMEs ในปัจจุบัน พบกับปัญหาอย่างหนึ่ง “การไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน” ฝันร้ายของธุรกิจ SMEs เพราะเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง และไม่มีหลักทรัพย์สำหรับค้ำประกันจะขอสินเชื่อที่ไหนก็ไม่ผ่าน เชื่อเลยว่ายังมีหลายคนอาจยังไม่รู้ว่ามีหน่วยงานจากภาครัฐที่คอยให้ความช่วยเหลือธุรกิจ SMEs เพื่อให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น นั่นก็คือ “ บสย. คือ บริษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม”   บสย.คือใคร มีหน้าที่อะไรบ้าง Property4Cash มีคำตอบ ! บสย. คือ ใคร   บสย.คือ สถาบันการเงินของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ภายใต้การกำกับของกระทรวงการคลัง โดยมีหน้าที่ค้ำประกันสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ที่ไม่มีหลักทรัพย์ และมีหลักทรัพย์ค้ำประกันไม่เพียงพอในการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน  เพื่อให้ได้วงเงินสินเชื่อตามที่ต้องการ หน้าที่หลักของบสย.  บสย.มีนโยบายค้ำประกันสินเชื่อให้กับธุรกิจ SMEs ทุกประเภท ที่ต้องการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน เพื่อช่วยลดภาระหลักทรัพย์ และช่วยให้มีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน นอกจากนี้ยังพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ SMEs ผ่านกิจกรรมต่างๆ และเป็นตัวกลางข้อมูลเพื่อดำเนินการระหว่ […]

อ่านเพิ่มเติม
ไถ่ถอนขายฝาก
10
Jan 23
เฮ้ย! ไถ่ถอนขายฝาก ต้องเสียค่าธรรมเนียมด้วยหรอ!!!

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การทำขายฝากนั้น ต้องเสียค่าธรรมเนียมที่สำนักงานที่ดิน เสมือนว่าเป็นการซื้อขายกันปกติ แต่ผู้ขายฝากหลายๆ คนนั้นไม่รู้ และนายทุนผู้รับขายฝากหรือนายหน้าก็ไม่ได้บอกเราไว้ ทำให้เจ้าของทรัพย์ที่มาทราบทีหลัง ตกใจกับค่าใช้จ่ายที่งอกขึ้นมาแบบไม่ทันตั้งตัว ไม่ทันได้เตรียมใจมาก่อน เรามาดูกันดีกว่าว่า ค่าใช้จ่ายในการ ไถ่ถอนขายฝาก นั้น มีอะไรบ้าง..? การไถ่ถอนขายฝาก เปรียบเสมือน “การซื้อกลับ” แต่เป็นการซื้อกลับภายในระยะเวลาสัญญาที่ตกลงกันไว้ โดยมีค่าใช้จ่ายในการไถ่ถอนเหมือนกับการซื้อขายโดยทั่วไปตามปกติเช่นกัน ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สำนักงานที่ดินอีกครั้ง ทั้งในกรณีบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล  ค่าใช้จ่ายการ ไถ่ถอนขายฝาก ค่าธรรมเนียม – แปลงละ 50 บาท ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย – คำนวณตามระยะเวลาถือครอง ตามเกณฑ์ของกรมสรรพากร นับตั้งแต่วันที่ได้ทำสัญญาขายฝากจนถึงวันที่จดทะเบียนไถ่ถอนขายฝาก อากรแสตมป์ – ร้อยละ 50 สตางค์ (0.50%) โดยคำนวณจากราคาที่จดทะเบียนขายฝาก หรือ ราคาประเมินจากกรมที่ดินในขณะนั้น แล้วแต่ว่าราคาใดมากกว่า  **หมายเหตุ การไถ่ถอนขายฝาก โดยหลักการแล้ว […]

อ่านเพิ่มเติม
Blacklist และ เครดิตบูโรต่างกันอย่างไร
18
Apr 23
Blacklist และ เครดิตบูโรต่างกันอย่างไร

หลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินคำว่าเครดิตบูโรอยู่บ่อยๆ แต่หลายๆ อาจยังไม่เข้าใจ ว่าจริงๆ แล้วเครดิตบูโร มันคืออะไร และมันต่างจาก Blacklist ยังไงบ้าง มาค่ะ วันนี้เรามาทำความเข้าใจกัน ว่ามันมีความสำคัญอย่างไร และเอามาวัดเครดิตการเงินของเราอย่างไรบ้าง ข้อมูลเครดิตบูโร คือข้อมูลประวัติการชำระหนี้ของเรา ซึ่งมันจะถูกจัดเก็บไว้ในระบบฐานข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิต หรือเราเรียกสั้นๆว่า NCB  ปัจจุบันข้อมูลเครดิตประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1 ข้อมูลบ่งชี้ถึงตัวตนเรา เช่น ชื่อ ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด สถานภาพการสมรส อาชีพ เลขบัตรประชาชน 2 ข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติ และประวัติการชำระสินเชื่อ ราคาสินค้าหรือบริการโดยบัตรเครดิต รวมถึงสถานะบัญชีอีกด้วย สถานะบัญชี คือ รายงานที่จะบอกว่าคุณชำระสินเชื่อปกติ สินเชื่อที่ค้างชำระเกิน 90 วัน หรือ สินเชื่อที่ปิดบัญชีแล้ว * สินเชื่อที่อยู่ในกระบวนการทางกฎหมาย เป็นต้น ข้อมูลเครดิตมีความสำคัญอย่างไร ? ต้องบอกเลยค่ะว่ามันสำคัญมาก เพราะมันคือข้อมูลเครดิตที่จะแสดงถึงประวัติการชำระหนี้ ที่จะสะท้อนถึงพฤติกรรมและวินัยทางการเงินของเรา แสดงถึงความตั้งใจในการชำระหนี้ และความน่ […]

อ่านเพิ่มเติม