ค่าโอน
30
Dec 22

ถึงกับต้องร้องเสียงหลงกันว่า ไอ้หยา~ เมื่อ ค่าโอน อสังหาฯ ปีหน้า แพงขึ้นถึง 100 เท่า!! หลังมีมิติ ครม. ออกมาว่า ในปี 2566 นี้ จะมีมาตรการช่วยเหลือลดค่าโอนให้เพียง 1% เท่านั้น เทียบจากปี 2565 ที่ผ่านมาคนไทยได้รับการช่วยเหลือตรงนี้ เสียค่าโอนกันเพียงแค่ 0.01% จากปกติ 2% เท่านั้นเอง

จากข่าวที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 เห็นชอบมอบของขวัญปีใหม่ให้แก่ประชาชน ด้วยมาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัยปี 2566 โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. ลดค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์จาก 2% เหลือ 1% 
  2. ลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์จากเดิม 1% เหลือ 0.01% 

สำหรับการซื้อขายที่อยู่อาศัย ได้แก่ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว อาคารพาณิชย์ และห้องชุด (คอนโด) ทั้งบ้านมือ 1 และมือ 2 เฉพาะที่มีราคาซื้อขายและราคาประเมินทุนทรัพย์ไม่เกิน 3 ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 3 ล้านบาท ต่อสัญญา (แหล่งที่มาข่าว https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62863)

หมายความว่า.. หากเราจะซื้อบ้านราคา 3 ล้านบาท 

จากเดิมปี 2565 เราจะเสียค่าโอน 0.01% หรือ 300 บาท เพียงเท่านั้น แต่ในปี 2566 ที่จะถึงนี้จะถูกปรับขึ้นเป็น 1% หรือเท่ากับเราต้องเสียค่าโอนเพิ่มเป็น 30,000 บาททันที ส่วนค่าจดจำนองสำหรับคนที่ยื่นกู้กับธนาคารนั้น ยังคงได้ส่วนลด 0.01% เทียบเท่าปี 2565 นี้ตามเดิม 

ซึ่งหากเทียบกับปี 2564 แล้ว ต้องถือว่าเรายังคงได้รับส่วนลดค่าโอนถูกลงอยู่จริงๆ นั่นแหละ เพียงแต่ว่าในสภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวดีแบบนี้ การปรับค่าโอนเพิ่มขึ้นเป็น 1% นั้นดูจะใจร้ายกับเราไปหน่อย T^T  

นอกจากนี้แล้ว อีกหนึ่งปัจจัยที่จะทำให้ค่าโอนสูงขึ้นนั้นยังมีเรื่องของ ราคาประเมินที่ดินรอบใหม่ (2566-2569) 

เมื่อกรมธนารักษ์ปรับขึ้นราคาประเมินที่ดินใหม่รอบปี 2566-2569 โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ซึ่งราคาเฉลี่ยจะสูงขึ้นถึง 7-8% ส่วนพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ราคาจะปรับเพิ่มขึ้น 20-30% กันเลยแม่เจ้า!!!!!

 

มาตรการลดค่าโอน เกี่ยวกับ จำนอง และ ขายฝาก ไหม ? 

เป็นคำถามที่สงสัยและถามเข้ามากันเยอะมาก แต่ต้องบอกเลยว่า “ไม่เกี่ยวจ้าาาา” ค่าจดทะเบียน การโอนนั้น เขาช่วยเหลือเฉพาะนิติกรรม “ซื้อขาย” เท่านั้น ส่วน ค่าจดจำนอง ก็เป็นค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ที่ยื่นของสินเชื่อกับธนาคารหรือกู้แบงค์เพื่อซื้ออสังหาฯ เป็นคนละส่วนกันกับ “จำนอง” นั่นเอง

แต่จะมีผลกับนิติกรรม “ขายฝาก” ตรงที่ ราคาประเมินที่ดิน รอบใหม่นี่แหละ! เพราะว่าการทำขายฝากนั้นมี ค่าโอน ค่าธรรมเนียมที่อ้างอิงกับราคาประเมินที่ดินอยู่ด้วย ทำให้ค่าใช้จ่ายตรงนี้สูงขึ้นตามไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

ลำพังการขายฝากทั่วไปอาจจะไม่ได้เดือดร้อนมากนัก แต่สำหรับคนที่ทำขายฝากไว้อยู่แล้ว ต้องการเปลี่ยนมือหานายทุนใหม่มารับ บอกเลยว่าหนัก!! เพราะนอกจากจะต้องเสียค่าธรรมเนียมไถ่ถอนขายฝากแล้ว ยังต้องเสียค่าธรรมเนียมขายฝากใหม่อีกครั้งในราคาประเมินที่สูงขึ้นตามไปอีกด้วย 

——————————————————-

สนใจ จำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง 

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

 

ค่าโอน

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

12
Jul 24
บ้านแลกเงิน VS รถแลกเงิน แบบไหนดีกว่ากัน

ในยุคเศรษฐกิจที่ผันผวน หลายคนมองหาวิธีปลดล็อกศักยภาพของสินทรัพย์ที่มีอยู่เพื่อนำมาใช้จ่ายยามจำเป็นต้องการ เงินด่วน  ” บ้านแลกเงิน ”  และ ” รถแลกเงิน ” กลายเป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยม  แต่ทางเลือกไหนดีกว่ากัน?  บทความนี้  จะพาทุกท่านมาวิเคราะห์เชิงลึก เปรียบเทียบข้อดี  ข้อเสีย  ของทั้งสองตัวเลือก  เผยให้เห็นภาพรวม  ช่วยให้คุณตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด บ้านแลกเงิน เปรียบเสมือนการปลดล็อกศักยภาพของบ้าน บ้านแลกเงินคือ สินเชื่อที่ธนาคารหรือบริษัทแหล่งเงินทุนเสนอให้กับเจ้าของบ้านหรือคอนโดที่ปลอดภาระ  โดยลูกค้าสามารถนำบ้านหรือคอนโดมาจำนองกับธนาคารเพื่อแลกกับเงินก้อนโต โดยที่ลูกค้ายังสามารถอาศัยอยู่ในบ้านหรือคอนโดนั้นต่อไปได้  เปรียบเสมือนการเปลี่ยนบ้านที่เป็นสินทรัพย์นิ่ง  กลายเป็นเงินทุนหมุนเวียน  ยามต้องการใช้จ่าย  หรือต่อยอดธุรกิจ ข้อดีของบ้านแลกเงิน: ได้วงเงินกู้มากกว่า: โดยทั่วไป บ้านแลกเงินให้วงเงินกู้สูงถึง 90% ของราคาประเมินหลักประกัน ในขณะที่รถแลกเงินให้วงเงินกู้สูงสุดประมาณ 70% ของราคาประเมินรถ ดอกเบี้ยถูกกว่า: อัตราดอกเบี้ยเงินกู้บ้านแลกเงินกับ Property4cash ต […]

อ่านเพิ่มเติม
12
Jul 23
ขายฝาก หรือจำนอง เปลี่ยนทรัพย์เป็นเงินวิธีไหนง่ายที่สุด

อีกหนึ่งช่องทางที่น่าสนใจ และกำลังเป็นที่นิยม ในตลาดอสังหาริมทรัพย์เลยก็คือการ “ขายฝาก” บางคนอาจจะคุ้นชินกับคำนี้มาก่อนหน้านี้แล้ว แต่บางคนอาจจะไม่รู้จัก เคยได้ยินเพียงแต่ คำว่า “จำนอง” เท่านั้น . แล้วถ้าเราอยากเปลี่ยนทรัพย์ให้เป็นเงินด่วนแบบนี้ การจำนองหรือขายฝาก จะตอบโจทย์เรามากกว่ากันล่ะ เรามาดูกันก่อนว่าสองอย่างนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร #จำนอง นั้นหมายถึง การทำนิติกรรมที่เรานำเอาทรัพย์ที่ครอบครองอยู่ ไปค้ำประกันกับผู้รับจำนอง เพื่อแลกกับเงินก้อนหนึ่งออกมา โดยที่ผู้รับจำนอง จะได้ดอกเบี้ยเป็นค่าตอบแทน ตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งหากเราไม่สามารถชำระหนี้ได้ ผู้รับจำนองมีสิทธิ์ยื่นฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้ ให้ศาลออกหมายบังคับคดี นำทรัพย์ออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาใช้หนี้ . ส่วน #ขายฝาก เป็นการทำนิติกรรมที่เรานำเอาอสังหาฯ ไปให้ผู้รับซื้อฝาก เพื่อแลกกับเงินก้อนหนึ่ง โดยที่ผู้รับฝากก็จะได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยเช่นกัน แต่ความแตกต่างระหว่างการขายฝาก กับการจำนอง ก็คือ กรรมสิทธิ์ของอสังหาฯ จะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันทีตั้งแต่วันแรกที่ทำสัญญาเสร็จสิ้น แต่ผู้ขายฝาก จะยังมีโอกาสไถ่ถอนคืนได้ ภายในร […]

อ่านเพิ่มเติม
การครอบครองปรปักษ์ เจ้าของที่ดินต้องดูแลก่อนโดนแย่งครอบครอง
17
Jan 23
การครอบครองปรปักษ์ เจ้าของที่ดินต้องดูแลก่อนโดนแย่งครอบครอง

การครอบครองปรปักษ์ คือ การแย่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง มีได้ทั้งอสังหาริมทรัพย์ และสังหาริมทรัพย์ ในที่นี้ property4cash จะนำเสนอเกร็ดความรู้ในเรื่องของ การเฝ้าระวังการโดนแย่งครอบครองปรปักษ์ ในเรื่องของที่ดิน (อสังหาริมทรัพย์) เจตนารมณ์ของข้อกฎหมาย การครอบครองปรปักษ์ คือ ต้องการให้เจ้าของที่ดินใช้ประโยชน์ของที่ดินของตัวเองให้คุ้มค่า ไม่ปล่อยปละละเลยในเรื่องการทำประโยชน์ในที่ดิน และหน้าที่ของการเสียภาษี เพื่อเป็นหน่วยเล็กๆ ในการเสริมกำลังพัฒนาประเทศให้เจริญยิ่งขึ้นไป จึงต้องมีบทลงโทษเจ้าของที่ดินที่ไม่ใส่ใจที่ดินของตนเอง ปล่อยให้คนอื่นเข้ามาครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ดินของตนอย่างเปิดเผย เป็นระยะเวลารวมตามที่กฎหมายกำหนด ตามหลักเกณฑ์ จนที่ดินตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของคนอื่น (ผู้ครอบครองตามหลักเกณฑ์ และตามระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ มีสิทธิ์ร้องขอต่อศาลได้) และเจ้าของที่ดินก็มีสิทธิ์ต่อสู้ในชั้นศาลเช่นกัน หลักเกณฑ์ในการได้การครอบครองปรปักษ์ มียิบย่อยมากมาย ในที่นี้จะพูดถึงประเด็นใหญ่ๆ เช่น –              ที่ดินที่จะครอบครองต้องเป็นทรัพย์ที่มีกรรมสิทธิ์ ที่ดินก็ต้องเป็นที่ดินมีโฉนดเท่านั้น ต้ […]

อ่านเพิ่มเติม