25
Apr 24

ธุรกิจ SMEs ในปัจจุบัน พบกับปัญหาอย่างหนึ่ง “การไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน” ฝันร้ายของธุรกิจ SMEs เพราะเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง และไม่มีหลักทรัพย์สำหรับค้ำประกันจะขอสินเชื่อที่ไหนก็ไม่ผ่าน
เชื่อเลยว่ายังมีหลายคนอาจยังไม่รู้ว่ามีหน่วยงานจากภาครัฐที่คอยให้ความช่วยเหลือธุรกิจ SMEs เพื่อให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น นั่นก็คือ “ บสย. คือ บริษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม”  

บสย.คือใคร มีหน้าที่อะไรบ้าง Property4Cash มีคำตอบ !

บสย. คือ ใคร  

บสย.คือ สถาบันการเงินของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ภายใต้การกำกับของกระทรวงการคลัง โดยมีหน้าที่ค้ำประกันสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ที่ไม่มีหลักทรัพย์ และมีหลักทรัพย์ค้ำประกันไม่เพียงพอในการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน  เพื่อให้ได้วงเงินสินเชื่อตามที่ต้องการ

หน้าที่หลักของบสย. 

บสย.มีนโยบายค้ำประกันสินเชื่อให้กับธุรกิจ SMEs ทุกประเภท ที่ต้องการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน เพื่อช่วยลดภาระหลักทรัพย์ และช่วยให้มีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน นอกจากนี้ยังพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ SMEs ผ่านกิจกรรมต่างๆ และเป็นตัวกลางข้อมูลเพื่อดำเนินการระหว่าง SMEs กับหน่วยงานภาครัฐ 

คุณสมบัติธุรกิจ SMEs ที่บสย. ค้ำประกัน 

บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคลที่มีสัญชาติไทย ที่มีคนไทยถือหุ้นมากกว่า 50% และมีทรัพย์สินถาวรสุทธิ (ไม่รวมที่ดิน) ตามเกณฑ์ที่บสย. กำหนดตามแต่ละประเภทการค้ำประกันสินเชื่อ  

ทำความรู้จัก บสย. ตัวช่วยของผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs

อ่านมาถึงตรงนี้ทุกคนก็พอจะรู้จักกับบสย. กันบ้างแล้ว ต่อไปเรามาดูกันว่า บสย. นั้นข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง ?   

 

ข้อดี 

SMEs สามารถเข้าถึงแหล่งกู้ยืมเงินได้มากขึ้น : ปัญหาที่ธุรกิจ SMEs ส่วนใหญ่ต้องพบเจอ เนื่องจากขาดหลักประกันที่เพียงพอบสย. จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาตรงจุดนี้ โดยการค้ำประกันสินเชื่อให้กับธุรกิจ SMEs เพื่อโอกาสในการได้รับสินเชื่อที่มากขึ้น 

ลดภาระในการหาหลักประกัน : SMEs สามารถใช้หลักประกันที่มีอยู่แค่บางส่วน ประกอบกับการค้ำประกันจากบสย. แค่นี้ก็เพียงพอที่จะได้สินเชื่อจากธนาคาร 

เพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จ : SMEs ถ้ามีแหล่งเงินทุนเพียงพอ ก็มีโอกาสเติบโตและประสบความสำเร็จได้มากขึ้น 

 

ข้อเสีย 

กระบวนการขอสินเชื่อ : กระบวนการขอสินเชื่อจากบสย. ใช้เวลานาน SMEs อาจต้องเจอกับอุปสรรคสำหรับขั้นตอนนี้ 

หลักเกณฑ์การพิจารณา : บสย.มีหลักเกณฑ์การพิจารณา ที่เข้มงวด นั่นทำอาจทำให้ SMEs บางรายไม่ผ่านเกณฑ์พิจารณา 

วงเงินค้ำประกันที่มีจำกัด : วงเงินค้ำประกันสำหรับธุรกิจ SMEs ไม่เกิน 40 ล้านบาท ต่อรายรวมทุกสถาบันการเงิน นั่นทำให้ SMEs อาจไม่ได้รับวงเงินสินเชื่อตามที่ต้องการ 

 

ตอนนี้ทุกคนน่าจะเข้าใจและได้รู้จักบสย. มากขึ้นแล้ว โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs  หากวันนึงต้องการเงินทุนหมุนเวียน หรือต้องการต่อยอดธุรกิจบสย. ก็คงจะเป็นอีกทางเลือกที่ดีที่สำหรับผู้ประกอบทุกท่าน

 

สำหรับใครที่มีโฉนด ไม่ต้องกังวลกับปัญหาใดๆ เพียงนำโฉนดที่ดินมาที่ Property4Cash  รับจำนอง-ขายฝาก  

 

–  ดอกเบี้ยเริ่มต้น 0.75% ต่อเดือน 

– ทำสัญญาถูกต้องตามกฎหมาย 

– ไม่ต้องมีคนค้ำ

– ไม่เช็คประวัติ

– ไม่มีนโยบายยึดทรัพย์

—————————————————–

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash

โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash

ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficia

#property4cash #เงินด่วนทันใจ #จำนอง #ขายฝาก #เงินด่วนอสังหาฯ #เคียงข้างทุกปัญหาการเงิน  #รู้ผลไว #ได้เงินจริง

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

มีที่อยู่แล้ว อยาก กู้เงิน สร้างบ้าน
29
Apr 25
มีที่ดินอยู่แล้ว อยาก กู้เงิน ทำบ้านต้องเริ่มยังไง?

สำหรับใครที่ ต้องการ กู้เงิน สร้างบ้าน และมีที่ดินเป็นของตัวเองอยู่แล้ว อยากมีบ้านในฝันเป็นของตัวเอง หลายคนอาจยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มจากตรงไหน โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงการ กู้เงินสร้างบ้าน ซึ่งมีรายละเอียดที่แตกต่างจากการกู้ซื้อบ้านจัดสรรหรือคอนโดในโครงการ บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับขั้นตอนการขอกู้สร้างบ้านบนที่ดินของตัวเอง อย่างเป็นระบบ เพื่อให้การสร้างบ้านเป็นเรื่องง่ายและไม่สะดุดระหว่างทาง ขั้นตอนการกู้เงินสร้างบ้านบนที่ดินของตัวเอง 1. ตรวจสอบเอกสารสิทธิ์ในที่ดิน  ก่อนจะ กู้เงิน ธนาคารจะตรวจสอบว่า… คุณมีสิทธิ์ในที่ดินอย่างถูกต้องหรือไม่ ที่ดินควรมี โฉนดที่ดินประเภท น.ส.4 จ. เท่านั้นถึงจะสามารถนำมากู้ได้ ข้อควรระวัง: ถ้าที่ดินยังมีการจำนอง หรือเป็นของพ่อแม่ ต้องมีการโอนหรือทำหนังสือยินยอมให้ใช้เป็นหลักประกัน   2. ประเมินงบประมาณและขอแบบบ้าน คุณต้องมีแบบแปลนบ้านพร้อม BOQ (Bill of Quantity) หรือรายการวัสดุก่อสร้าง เพื่อใช้เป็นเอกสารยื่นขอสินเชื่อ แบบบ้านสามารถขอจากสถาปนิกหรือบริษัทรับสร้างบ้าน โดยควรสอดคล้องกับงบประมาณที่ตั้งไว้ เช่น 1.5 – 3 ล้านบาท   3. เลือกธนาคารและเช็กเงื่อ […]

อ่านเพิ่มเติม
13
May 24
เปิด 5 สิ่งที่คุณจะได้รับจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญของ Property4Cash

สร้างความมั่นใจด้วยบริการที่ดีที่สุด 🧡💙 เปิด 5 สิ่งที่คุณจะได้รับจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญของ Property4Cash    ความคาดหวัง  การให้บริการของ Property4Cash ดำเนินการบนพื้นฐานของความซื่อสัตย์และความไว้วางใจ เพื่อให้ลูกค้าได้รับผลตอบที่เหมาะสมที่สุด พร้อมกับตอบสนองทุกความต้องการและสร้างความหวังของลูกค้าให้เป็นจริง    ความรวดเร็วในการบริการ  Property4Cash เรามุ่งเน้นการบริการที่รวดเร็ว สะดวก ไม่ต้องรอนาน และเรายังพัฒนากระบวนการดำเนินงานอยู่ตลอด เพื่อให้ได้บริการที่ถูกต้อง และรวดเร็ว ไปพร้อมกัน    ดูแลให้คำปรึกษาโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ  ดำเนินงานและบริการให้คำปรึกษา แนะนำ โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ด้าน การขายฝากและจำนอง ยาวนานกว่า 10ปี ที่พร้อมให้บริการสำหรับนักลงทุนและเจ้าของทรัพย์สิน ตั้งเริ่ม จนจบกระบวนการ  มั่นใจในความปลอดภัย  การบริการทั้งหมดของ Property4Cash  คุณสามารถมั่นใจได้เลยว่าทรัพย์สินของคุณจะได้รับการดูแลโดยมาตราฐานความปลอดภัยสูงสุด ในการทำธุรกรรมทุกรูปแบบ   ดูแลและให้คำปรึกษา เพื่อสิ่งที่ดีที่สุด  Property4Cash บริการด้วยความต้องการของลูกค้า พร้อมอยู่เข […]

อ่านเพิ่มเติม
ทรัพย์หลุด ฝากขาย ควรทำอย่างไรดี?
12
Dec 23
ทรัพย์หลุดฝากขาย ควรทำอย่างไรดี?

หลายๆ คนที่นำอสังหาริมทรัพย์มาขายฝากครั้งแรกก็มักมีคำถามกังวลใจตลอดเวลา ถ้าขายฝากอสังหาริมทรัพย์ไปแล้วจะมีโอกาสหลุดไปหรือไม่ หากขายฝากแล้ว ทรัพย์หลุด เราควรทำอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะได้ทรัพย์สินนั้นคือมา จริงๆ การขายฝากก็คล้ายกับการจำนองนั้นเอง เราสามารถไถ่ถอนทรัพย์คืนได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา และเสียค่าดอกเบี้ยตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ เมื่อมีการจะถอนไถ่ทรัพย์จะต้องมีเงินต้นไปไถ่ถอนคืนภายใน 1 ปี กรณีเลยกำหนดไถ่ถอน หรือ ทรัพย์หลุด ขายฝาก อาจมี 2 สาเหตุ เกิดจากติดต่อผู้ซื้อฝากไม่ได้ หรือผู้ซื้อฝากเบี้ยวนัด ในกรณีนี้ หากผู้ขายฝากพร้อมจะชำระหนี้ไถ่ถอนตามสัญญา แต่ผู้ซื้อฝากบ่ายเบี่ยงไม่ยอมรับชำระหนี้ หรือติดต่อเท่าไหร่ก็ติดต่อไม่ได้เลย อย่าปล่อยเวลาผ่านไปเฉยๆ เพราะคิดว่าติดต่อผู้ซื้อฝากไม่ได้คงไม่เป็นอะไร เพราะมันมีผลทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่ขายฝากไปนั้นตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อฝากทันที ปัญหาตรงนี้แหละที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้จะทำอย่างไรดี? ถ้าเกิดกรณีกับคุณ หรือเกิดกับญาติพี่น้อง ให้แก้ด้วยวิธีการนำเงินสินไถ่ไปวางที่ สำนักงานวางทรัพย์ กรมบังคับคดี ภายในกำหนดสัญญา จะทำให้ผู้ขายฝากหลุดจากหน […]

อ่านเพิ่มเติม