กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน มีแบบไหนบ้างนะ?
21
Nov 23

เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย
ของ กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน กันว่าคืออะไร?
เพื่อที่ว่าเราจะเข้าใจบทบาทรวมถึงบริบทกันได้มากขึ้น
สำหรับคนที่กำลังมีปัญหาว่าจะแบ่งสิทธิ์การถือครองร่วมในที่ดินอย่างไร?
ซึ่งก็จะมีหลายรูปแบบด้วยกันค่ะ

กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน

หมายถีง นิติกรรมการซื้อการขายหรือเป็นการให้ในที่ดินซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้
นั่นก็คือ เป็นการขายหรือให้ในบางส่วนโดยให้สังเกตดูตรงรายชื่อในหนังสือแสดงสิทธิ์ที่ดิน
ว่าจะมีชื่อเจ้าของที่ดินร่วมมากกว่า 1 คนขึ้นไป เช่น ที่ดิน 100 ไร่ มีผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันหลายคน

.

การถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน แบบต่างๆ มีแบบไหนบ้าง ?

  1. การแบ่งที่ดินในแบบรวมๆ
    ผู้ร่วมจะไม่สามารถนำที่ดินผืนดังกล่าวไปขายได้จนกว่าได้รับอนุญาติจากผู้ร่วมคนอื่นๆ
    ลักษณะการแบ่ง โดยการแบ่งชัดเจนด้วยสัดส่วนคิดเป็น %
    เช่น มีบุตร 3 คน นั่นก็คือ นางสาวเอ นายบี นายซี
    แต่ในขณะนั้น บิดายังมีชีวิตอยู่และยังไม่ได้ทำเรื่องโอนที่ดินเป็นเรื่องเป็นราว
    ดังนั้น ความต้องการที่จะให้มีการถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินถึงเกิดขึ้น
    โดยมีรูปแบบง่ายๆ นั่นก็คือ
    สมาชิกที่ต้องการจะมีกรรมสิทธิ์มาตกลงและ
    คุยกันก่อนว่ารู้สึกพอใจกับการแบ่งรูปแบบนี้หรือไม่?
    ยกตัวอย่าง ที่ดินมีพื้นที่ทั้งหมด 100 ไร่
    เราจะแบ่งกันถือครองที่ดินร่วมในแต่ละคนๆ ละกี่เปอร์เซ็นต์กันดี?
    เช่น แบ่งกันคนละ 25% เป็นต้น
  2. แบ่งด้วยการบอกขนาดการถือครอง เช่น คนละกี่ตารางวา / คนละกี่ไร่
    การให้เป็นเปอร์เซ็น บางครั้งอาจดูไม่ชัดเจนและคลุมเครือ
    หลายคนถึงเลือกที่จะแบ่งเป็นขนาดการถือครองแทน เช่น ในที่ดิน 100 ไร่ มีบุตร 4 คน
    อาจจะให้ถือครองกันคนละ 25 ไร่ เป็นต้น ซึ่งการบอกเป็นขนาดที่ดินจะค่อนข้างมีความชัดเจน
    ในระหว่างที่ยังไม่ได้มีการนำที่ดินไปขาย ผู้ครอบครองสามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินที่ตัวเองถือครองได้
    เช่น การเกษตร ปล่อยเช่าที่ดิน ทำสิ่งปลูกสร้างหรืออื่นๆ
    โดยไม่ส่งผลกระทบต่อที่ดินด้านข้างๆ ที่มีกรรมสิทธิ์ร่วม
    ซึ่งโดยปกติจะมีการคุยกันอยู่ก่อนแล้วว่าสมควรนำที่ดินร่วมแปลงนั้นไปทำอะไรบ้าง
  3. แบ่งชัดเจนด้วยขอบเขต ไม่ระบุหารตามจำนวนผู้ถือร่วม การแบ่ง คือหารเท่า ๆ กัน
    ก็นับว่าเป็นการแบ่งชัดเจนด้วยขอบเขตก็เป็นอีกหนึ่งรูปแบบในการบริหารที่ดิน
    ที่น่าสนใจพอๆ กับการแบ่งที่ดินเป็นเปอร์เซ็นหรือแบ่งตามสัดส่วน
    ซึ่งความแตกต่างในกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน มีเพียงแค่จะไม่มีการกำหนดว่า
    ใครได้พื้นที่การถือครองไปเท่าไหร่? หากเป็นการใช้ขอบเขตที่ดินทั้งหมดใน 1 แปลง
    ให้มาถือครองร่วมๆ กัน
    เช่น ที่ดิน 1 แปลงมาพร้อมสวนยางพารา ถ้าต้องการจะใช้กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน
    ก็สามารถไปดำเนินเรื่อง ณ กรมที่ดินได้โดยต้องมีโฉนดที่ดินตัวจริง
    สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และเอกสารจำเป็นอื่น ๆ ไปยื่นต่อเจ้าหน้าที่ได้

กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน มีแบบไหนบ้างนะ?

—————————————————–

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

ไถ่ถอนขายฝาก
10
Jan 23
เฮ้ย! ไถ่ถอนขายฝาก ต้องเสียค่าธรรมเนียมด้วยหรอ!!!

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การทำขายฝากนั้น ต้องเสียค่าธรรมเนียมที่สำนักงานที่ดิน เสมือนว่าเป็นการซื้อขายกันปกติ แต่ผู้ขายฝากหลายๆ คนนั้นไม่รู้ และนายทุนผู้รับขายฝากหรือนายหน้าก็ไม่ได้บอกเราไว้ ทำให้เจ้าของทรัพย์ที่มาทราบทีหลัง ตกใจกับค่าใช้จ่ายที่งอกขึ้นมาแบบไม่ทันตั้งตัว ไม่ทันได้เตรียมใจมาก่อน เรามาดูกันดีกว่าว่า ค่าใช้จ่ายในการ ไถ่ถอนขายฝาก นั้น มีอะไรบ้าง..? การไถ่ถอนขายฝาก เปรียบเสมือน “การซื้อกลับ” แต่เป็นการซื้อกลับภายในระยะเวลาสัญญาที่ตกลงกันไว้ โดยมีค่าใช้จ่ายในการไถ่ถอนเหมือนกับการซื้อขายโดยทั่วไปตามปกติเช่นกัน ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สำนักงานที่ดินอีกครั้ง ทั้งในกรณีบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล  ค่าใช้จ่ายการ ไถ่ถอนขายฝาก ค่าธรรมเนียม – แปลงละ 50 บาท ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย – คำนวณตามระยะเวลาถือครอง ตามเกณฑ์ของกรมสรรพากร นับตั้งแต่วันที่ได้ทำสัญญาขายฝากจนถึงวันที่จดทะเบียนไถ่ถอนขายฝาก อากรแสตมป์ – ร้อยละ 50 สตางค์ (0.50%) โดยคำนวณจากราคาที่จดทะเบียนขายฝาก หรือ ราคาประเมินจากกรมที่ดินในขณะนั้น แล้วแต่ว่าราคาใดมากกว่า  **หมายเหตุ การไถ่ถอนขายฝาก โดยหลักการแล้ว […]

อ่านเพิ่มเติม
เลือกซื้อที่ดิน สร้างบ้าน ต้องเลือกอย่างไร
14
Jul 23
เลือกซื้อที่ดินสร้างบ้าน ต้องเลือกอย่างไร

เพื่อนๆทุกคนอยากมีบ้านในฝันกันอยู่แล้ว โครงการบ้านหลายๆ โครงการดูสวย น่าอยู่ แต่ก็ไม่ตรงสิ่งที่อยากได้หรือฝันไว้ จะรื้อทำใหม่ก็ทำไม่ได้  ในเมื่อบ้านโครงการไม่ตอบโจทย์ ก็เลยอยากสร้างเอง เราสามารถควบคุมคุณภาพวัสดุ การออกแบบ การก่อสร้าง และที่สำคัญคือ งบประมาณ ได้ด้วยตนเอง รวมถึงการเลือกทำเลที่ดินสร้างบ้านด้วย ก่อนจะสร้างบ้านได้นั้นต้อง เลือกซื้อที่ดิน ก่อน วันนี้เราจะพาเพื่อนๆ ไปดูว่า การเลือกซื้อที่ดินสร้างบ้านนั้นต้องเลือกอย่างไร ไปดูกันเลยครับ  เลือกซื้อที่ดิน ไว้ปลูกสร้างบ้าน ต้องเลือกอย่างไร ทำเล ทำเลคือหัวใจสิ่งที่สำคัญที่สุด หากคุณเลือกทำเลไม่ดี ชีวิตคุณก็จะลำบาก เราต้องเลือกที่ดินที่มีสิ่งอำนวยความสะดวก  การเดินทางเป็นอย่างไร สิ่งแวดล้อมเหมาะสมกับชีวิตคุณในปัจจุบันและอนาคตหรือไม่ ก็คือเลือกตามการใช้ชีวิตของแต่ละครอบครัวให้ตอบโจทย์การใช้ชีวิตประจำวันของคุณให้ได้มากที่สุด ขนาดพื้นที่ ขนาดพื้นที่ดินก็สำคัญ เราต้องนึกถึงประโยชน์ใช้สอยให้คุ้มค่า เหมาะกับ ครอบครัวของคุณเป็นลักษณะไหน มีสมาชิกกี่คน มีสมาชิกในวัยไหนบ้าง และต้องศึกษาเรื่องกฎหมายก่อนก่อสร้างให้ดี แนะนำให้เลือกรูปร่างของที่ด […]

อ่านเพิ่มเติม
ขายฝากจำนอง ธุรกรรมหมุนเงินคล่องตัวสำหรับคนต้องการเงินก้อน
4
Sep 24
ขายฝากจำนอง ธุรกรรมหมุนเงินคล่องตัวสำหรับคนต้องการเงินก้อน

ขายฝากจำนอง คือสัญญาที่เจ้าของทรัพย์สิน นำทรัพย์สินไปค้ำเป็นหลักประกันทำขายฝากจำนองเพื่อขอสินเชื่อ โดยมีเงื่อนไขว่าเจ้าของทรัพย์สินจะต้องมาไถ่ทรัพย์สินคืนภายในระยะเวลาที่กำหนด และชำระเงินให้ครบตามจำนวนตามเงื่อนไขสัญญา ทำไมในปัจจุบันนี้คนที่ต้องการเงินก้อนต้องเลือกขายฝากจำนอง เพราะเป็นธุรกรรมที่ถูกกฎหมาย 100% -ได้เงินสดอย่างรวดเร็ว กระบวนการอนุมัติและโอนกรรมสิทธิ์รวดเร็วกว่าการกู้ธนาคาร -อัตราดอกเบี้ยอาจจะต่ำกว่าการกู้ธนาคารในบางกรณี เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยของธนาคารนั้นไม่คงที่ -สามารถรักษาทรัพย์สินไว้แม้จะโอนกรรมสิทธิ์ชั่วคราว แต่คุณยังอยู่อาศัยหรือใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินได้ -ไม่ต้องมีคนค้ำประกันและไม่เช็คเครดิตบูโรให้ยุ่งยากเหมือนการกู้ธนาคาร ผู้ที่ต้องการเงินด่วน เงินก้อนนั้นในปัจจุบันนี้ก็ต่างนำเอาทรัพย์สิน หรืออสังหาริมทรัพย์ของตนมาทำ ขายฝากจำนอง กันเป็นจำนวนมาก เพื่อทำไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว หรือเพื่อลงทุนประกอบในธุรกิจ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเงินทุนที่สามารถหมุนเวียนกับความต้องการของหลายๆคนเลยทีเดียว หรือใครที่อยากจะเริ่มทำธุรกิจ สร้างกิจการใหม่ๆแต่ยังไม่มีเงินก้อนตรงนี้ก็สามารถนำอสังหาร […]

อ่านเพิ่มเติม