28
Mar 23

หากเอ่ยถึงการนำทรัพย์สิน ประเภทอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน คอนโด  ที่ดิน หรือ รถ
ไปเป็นหลักทรัพย์เพื่อแลกกับเงินก้อน การขายฝากก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ
สำหรับผู้ที่ต้องการใช้เงินด่วน แต่ก่อนจะนำที่ดินหรือทรัพย์สินไปทำการขายฝาก
เราจะพาทุกท่านไปดูส่วนสำคัญที่จำเป็นต้องรู้ ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการขายฝากกันค่ะ

  1. ในการขายฝากต้องส่งมอบทรัพย์สินและกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้ผู้รับซื้อฝาก
    ผู้ขายฝากจึงไม่สามารถใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินต่อไป ไม่ว่าบ้าน คอนโด ที่ดิน
    จนกว่าจะมีการไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากคืน แต่ในทางปฏิบัติแล้ว
    ผู้รับซื้อฝาก มักจะยินยอมให้ผู้ขายฝากใช้ประโยชน์ต่อไปได้ ตามแต่ตกลงกัน
  2. ผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินคืนตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กำหนดในสัญญาขายฝาก
    โดยกรณีอสังหาริมทรัพย์ กำหนดเวลาไถ่ทรัพย์สินคืนได้ไม่เกิน 10 ปี นับแต่เวลาขายฝาก

หากผู้ขายฝากไม่มาไถ่ทรัพย์สินคืนตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กำหนด
ผู้ขายฝากจะหมดสิทธิในการไถ่ทรัพย์สินคืนทันที โดยไม่ต้องชำระเงินเพิ่มเติมให้ผู้รับซื้อฝากอีก

  1. การขายฝากส่วนใหญ่ผู้ขายฝากจะได้วงเงินประมาณ 40-70% ของราคาประเมิน
  2. ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนขายฝาก ในอัตรา 2% ของราคาประเมิน
    ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ (กรณีถือครองอสังหาริมทรัพย์ยังไม่เกิน 5 ปี) ในอัตรา 3% หรือ
    ค่าอากรแสตมป์ ในอัตรา 0.5% ของราคาประเมิน หรือราคาขายฝาก แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่า
    (ถ้าเสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว ไม่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์อีก)

ค่าภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย คำนวณจากราคาประเมิน ตามอัตราที่กรมสรรพากรกำหนด

  1. กรณีทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นอสังหาริมทรัพย์ คู่สัญญาจะต้องนำสัญญาขายฝากไปจดทะเบียน
    ณ สำนักงานที่ดินที่มีเขตอำนาจเท่านั้น การขายฝากจึงจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อแตกต่างระหว่างการขายฝากไปแล้ว หากใครต้องการเงินด่วน
และสนใจการขายฝาก แต่ยังไม่แน่ใจในข้อกฎหมายหรือกระบวนการ สามารถติดต่อ
Property4Cash มาได้เลยนะคะ เราพร้อมให้คำปรึกษาและดูแลทุกขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบเลยค่ะ

——————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

การลงทุนและขายฝาก ทำไมถึงแตกต่างกัน
23
Aug 24
ความแตกต่างระหว่างการขายฝากกับการลงทุนประเภทอื่น: ทำไมการขายฝากอาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า”

การลงทุนและขายฝาก แตกต่างกันอย่างไร? การขายฝากเป็นรูปแบบการลงทุนที่มีลักษณะเฉพาะและอาจมีข้อได้เปรียบเมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนประเภทอื่น เช่น การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือหุ้น มาดูกันว่าการขายฝากแตกต่างจากการลงทุนประเภทอื่นอย่างไร และทำไมการขายฝากอาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่าในบางกรณี: การขายฝาก (Sale and Leaseback) ลักษณะ: การขายฝากผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนจากดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น การขายฝากคือการที่เจ้าของทรัพย์สินฝากและขายทรัพย์สินให้กับผู้ลงทุนไปในตัว ซึ่งการทำการฝากจะมีระยะเวลากำหนดตามสัญญา เช่น ทำสัญญาขายฝาก 1 ปี ถ้าครบกำหนดสัญญา 1 ปีแล้วเจ้าของไม่มาไถ่ถอนตามระยะเวลา 1 ปี ทรัพย์นั้นจะตกเป็นของผู้ลงทุนโดยอัตโนมัติ ข้อดี: ความมั่นคงในการรับรายได้: ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ยที่มีสัญญาผูกพัน ซึ่งมักจะมีความมั่นคงและต่อเนื่อง ทรัพย์สินเป็นหลักประกัน: ทรัพย์สินที่ถูกขายฝากเป็นหลักประกันที่ช่วยลดความเสี่ยงในกรณีที่ผู้ขายไม่สามารถชำระค่าดอกเบี้ยได้ ข้อเสีย: ข้อจำกัดในการเพิ่มมูลค่า: การลงทุนในขายฝากอาจไม่สามารถเพิ่มมูลค่าของทรัพย์สินได้เท่าการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่สามารถพัฒนาแล […]

อ่านเพิ่มเติม
ไม่มีใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน ซื้อขายได้ไหม?
6
Jun 25
ไม่มีใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน ซื้อขายได้ไหม?

         หลายคนที่กำลังมองหาที่ดินเพื่อปลูกบ้าน หรือเพื่อการลงทุน อาจเคยเจอประกาศขายที่ดินย่อยแปลงยาว ๆ หรือเป็นแปลงย่อยขนาดเล็ก แล้วเกิดคำถามว่า “ที่ดินแปลงนี้ ไม่มีใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน จะซื้อขายได้ไหม?” คำถามนี้ไม่เพียงแต่สำคัญต่อผู้ซื้อเท่านั้น! แต่ยังสำคัญต่อเจ้าของที่ดินด้วย เพราะหากไม่มีความเข้าใจเรื่อง “ใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน” อาจนำไปสู่ปัญหาทางกฎหมายในภายหลังได้ ใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน คืออะไร?          ใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน คือ เอกสารที่ทางเจ้าของที่ดินต้องขออนุญาตจาก กรมที่ดิน หรือ สำนักงานที่ดินจังหวัด ก่อนจะสามารถแบ่งแปลงย่อยที่ดินออกขายให้บุคคลอื่นได้ หากการแบ่งที่ดินนั้นเข้าข่ายการ “จัดสรร”          ตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 การแบ่งที่ดินเกิน 9 แปลง หรือมีทางสาธารณะ มีสิ่งอำนวยความสะดวก และมีเจตนาขายแก่ประชาชนทั่วไป จะเข้าข่ายต้องขอใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน ถ้า ไม่มีใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน จะสามารถซื้อขายได้ไหม?          ซื้อขายได้ บางกรณี หากการแบ่งแปลง ไม่เข้าข่ายการจัดสรร ตามกฎหมาย เช่น แบ่งไม่เกิน 9 แปลง, ขายให้ญาติ หรือไม่มีถนนสาธารณะ อาจไม่ต้องขอใบอนุญาตจัดสรร และ […]

อ่านเพิ่มเติม
โฉนดติดกรมบังคับคดี ทำจำนอง ขายฝากได้ไหม?
9
Oct 24
โฉนดติดกรมบังคับคดี ทำจำนอง ขายฝากได้ไหม?

การที่ โฉนดติดกรมบังคับคดี นั้นหมายความว่า โฉนดนั้นถูกนำไปใช้เป็นหลักประกันในการชำระหนี้หรือมีการฟ้องร้อง ซึ่งอาจทำให้มีข้อจำกัดในการทำธุรกรรม เช่น การจำนองหรือการขายฝาก โดยทั่วไปแล้ว หากโฉนดติดกรมบังคับคดี คุณอาจจะไม่สามารถจำนองหรือขายฝากได้โดยตรง เนื่องจากมีการจำกัดสิทธิในทรัพย์สินนั้นๆ การมีโฉนดที่ติดกรมบังคับคดีเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ก่อนที่จะดำเนินการทำจำนองหรือขายฝาก โดยทั่วไปแล้ว โฉนดที่ติดกรมบังคับคดีหมายถึงว่าทรัพย์สินนั้นถูกใช้เป็นหลักประกันในการชำระหนี้หรือมีการฟ้องร้อง ซึ่งทำให้สิทธิในการทำธุรกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นมีข้อจำกัด การจำนอง: การจำนองคือการทำสัญญาเพื่อให้ผู้กู้สามารถนำทรัพย์สินมาเป็นหลักประกันในการกู้เงิน ในกรณีที่โฉนดติดกรมบังคับคดี มักจะไม่สามารถจำนองได้ เนื่องจากธนาคารหรือสถาบันการเงินส่วนใหญ่จะไม่อนุมัติการจำนองในกรณีที่ทรัพย์สินมีปัญหาทางกฎหมายหรือถูกฟ้องร้อง เพราะอาจมีผลกระทบต่อสิทธิในการเรียกร้องหนี้ในอนาคต นอกจากนี้ การจำนองทรัพย์สินที่ติดคดีอาจทำให้เจ้าหนี้เดิมไม่พอใจและอาจดำเนินการทางกฎหมายต่อไปได้ เมื่อโฉนดติดกรมบังคับคดี เจ้าข […]

อ่านเพิ่มเติม