ที่ดิน ส.ป.ก.
7
Feb 23

ที่ดิน สปก ซื้อขาย จำนองได้หรือไม่

เรื่องมีอยู่ว่าทีมงานได้รับการติดต่อจากคนที่สนใจ จะนำที่ดินมาจำนอง ขายฝาก โดยที่หลายท่านนั้น นำที่ดิน
ส.ป.ก. มาให้ทางเราช่วยประเมินวงเงิน เพราะมีผู้คนจำนวนมากที่อาจจะยังไม่เข้าใจถึงสิทธิใน ที่ดิน ส.ป.ก.
ว่าสามารถซื้อขาย จำนองได้หรือไม่ วันนี้เลยอยากจะพาเพื่อนๆ ไปรู้จักกับที่ดิน ส.ป.ก. ให้มากขึ้นกัน

ที่ดิน ส.ป.ก. คืออะไร           

ที่ดิน ส.ป.ก. หรือที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 คือ เป็นเอกสารสิทธิที่ภาครัฐให้ประชาชนเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน
เอกสารแสดงการครอบครองที่ดินที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ออกให้กับประชาชนเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน เกิดขึ้นเมื่อมีพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518
โดยมีหลักว่า ที่ดินในเขตปฏิรูปนั้นใช้ทำเกษตรกรรมได้อย่างเดียวเท่านั้น ทำประโยชน์อย่างอื่นไม่ได้ และผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดิน
ส.ป.ก. 4-01 จะต้องมีฐานะยากจน

ใครบ้างที่มีสิทธิครอบครองที่ดิน ส...

  1. เกษตรกร

เป็นผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักอยู่แล้ว โดยใช้เวลาส่วนใหญ่ในรอบปี เพื่อประกอบเกษตรกรรมแห่งท้องถิ่นนั้น

  1. ผู้ประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก

– ผู้ยากจน มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท/คน/ปี

– จบการศึกษาทางเกษตรกรรม ไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบเท่า

– เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม

  1. สถาบันเกษตรกร

– กลุ่มเกษตรกร

– สหกรณ์การเกษตร

– ชุมชนสหกรณ์การเกษตรตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์

สามารถโอนกรรมสิทธิ์ให้ใครได้บ้าง

  1. สามี ภรรยา
  2. บุตร
  3. บิดามารดาของเกษตรกร
  4. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันของเกษตรกร
  5. พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกันของเกษตรกร
  6. หลานของเกษตรกร

– การโอนสิทธิที่ดิน ส.ป.ก. ของเกษตรกรที่ยังมีชีวิตอยู่ สามารถโอนสิทธิให้ทายาทได้ต่อเมื่อมีเหตุผลและความจำเป็น เช่น แก่ชรา

เจ็บป่วย เป็นต้น

– หากเกษตรกรที่ได้รับที่ดิน ส.ป.ก. เสียชีวิต ทายาทสามารถยื่นคำร้องขอรับมรดกสิทธิได้

ที่ดิน ส.ป.ก. ซื้อขายจำนองได้หรือไม่

จากที่อธิบายข้างตนเพื่อนๆ คงเข้าใจกันแล้วนะคะว่า ที่ดิน ส.ป.ก. ไม่สามารถซื้อขายจำนองได้ ตามมาตรา 39 ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
พ.ศ. 2518 ที่ระบุว่า  ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยก หรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้
เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม หรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกร หรือ ส.ป.ก. เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

สรุป.. ที่ดิน สปก คือที่ดินที่ทางภาครัฐอนุญาตให้ประชาชนใช้ที่ดินทำการเกษตร ไม่ได้หมายความว่าเราเป็นเจ้าของที่ดินนั้นๆ
จึงไม่สามารถนำที่ดินประเภทนี้มาทำธุรกรรมใดๆ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขาย หรือจำนอง ขายฝากได้นั่นเอง

 

หากสนใจลงทุนจำนอง ขายฝาก Property4cash ยินดีให้คำปรึกษา

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ที่ดิน ส.ป.ก.

 

 

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

ปลูกบ้าน บนที่ดินให้เช่า ทำจำนอง ขายฝากได้ไหม?
3
Jan 25
ปลูกบ้าน บนที่ดินให้เช่า ทำจำนอง ขายฝากได้ไหม?

>>> ปลูกบ้าน บนที่ดินให้เช่า สามารถนำบ้านมาทำจำนอง ขายฝากได้ไหม?  เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา มีลูกค้าสอบถามกับแอดมินเข้ามาว่า… หากนำบ้านมาขายฝาก โดนบ้านที่สร้างหลังนี้ สร้างบนที่ดินให้เช่า แบบนี้สามารถทำธุรกรรมจำนอง ขายฝากได้ไหมคะ?… คำตอบคือ ไม่ได้นะคะ! เนื่องจากบ้านที่สร้าง ดำเนินการสร้างบนที่ดินให้เช่า แม้จะมีใบอนุญาตสิ่งปลูกสร้างแต่ไม่มีโฉนด ก็ไม่สามารถทำธุรกรรมได้ค่ะ!   การทำธุรกรรมจำนอง ขายฝาก คือ การขอสินเชื่อโดนนำโฉนดมาเป็นตัวค้ำประกัน เมื่อครบกำหนดสัญญา หรือมีความพร้อมก็สามารถมาไถ่ถอนคืนได้ตามสัญญาที่ทำกับนายทุน ขายฝาก หมายถึง การทำสัญญาซื้อขายทรัพย์สินที่ผู้ขายตกลงขายทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อ โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ขายมีสิทธิที่จะไถ่ทรัพย์สินนั้นคืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา การขายฝาก จะมีการโอนกรรมสิทธิ์ทันที : เมื่อทำสัญญาขายฝาก กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะถูกโอนให้ผู้ซื้อทันที แต่มีเงื่อนไขว่าผู้ขายสามารถไถ่คืนได้ โดยสิทธิไถ่คืน ผู้ขายมีสิทธิไถ่ทรัพย์คืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งต้องไม่เกิน 10 ปี สำหรับอสังหาริมทรัพย์ (ที่ดิน บ้าน อาคาร) 3 ป […]

อ่านเพิ่มเติม
ทำไมคนถึงเลือกขายฝากมากขึ้น?
18
Oct 24
ทำไมคนถึงเลือกขายฝากมากขึ้น?

ในปัจจุบัน หลายคนเริ่มหันมาสนใจการขายฝากมากขึ้น แล้ว ทำไมต้องขายฝาก ก็เพราะว่าขายฝาก สามารถแก้ไขปัญหาทางการเงิน หรือเป็นวิธีการเข้าถึงเงินทุนได้อย่างรวดเร็วและยืดหยุ่น การขายฝากจึงกลายเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่เพราะอะไรที่ทำให้คนหันมาใช้วิธีนี้มากขึ้น? มาดูกันว่าประโยชน์ของการขายฝากมีอะไรบ้างและทำไมถึงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง มาดูการวิเคราะห์แนวโน้มการขายฝากที่เพิ่มขึ้นอย่างละเอียดมากขึ้น พร้อมข้อมูลและสถิติที่สนับสนุน ความต้องการเงินด่วน สถิติ: จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า 62% ของประชาชนที่เคยใช้บริการขายฝากกล่าวว่าพวกเขาใช้เงินเพื่อค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน เช่น ค่ารักษาพยาบาลหรือซ่อมแซมบ้าน วิเคราะห์: ความต้องการเข้าถึงเงินสดอย่างรวดเร็วในช่วงเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนทำให้ผู้คนต้องหาทางเลือกที่เร็วและสะดวก การขายฝากตอบโจทย์นี้ได้โดยไม่ต้องรออนุมัติจากธนาคาร อัตราดอกเบี้ยที่สูง ข้อมูล: การเปรียบเทียบดอกเบี้ยแสดงให้เห็นว่าการกู้เงินผ่านธนาคารมักมีอัตราดอกเบี้ยตั้งแต่ 15% ถึง 25% ขึ้นอยู่กับประเภทของสินเชื่อ ในขณะที่การขายฝากอาจมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 5% ถึง 10% วิเคร […]

อ่านเพิ่มเติม
5 ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจจำนองบ้าน
7
Sep 24
5 ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจจำนองบ้าน

การตัดสินใจจำนองบ้านเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องวางแผนอย่างรอบคอบ เพราะเกี่ยวข้องกับภาระทางการเงินระยะยาว ดังนั้นก่อนตัดสินใจ ควรทำความเข้าใจใน 5 ข้อสำคัญต่อไปนี้ ความสามารถในการผ่อนชำระ รายได้: ประเมินรายได้ประจำและรายได้อื่นๆ ที่มั่นคง ค่าใช้จ่าย: รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าสาธารณูปโภค ค่าเล่าเรียนบุตร หนี้สินอื่น: หนี้บัตรเครดิต หนี้สินส่วนบุคคลอื่นๆ อัตราส่วนหนี้สินต่อรายได้ (Debt Service Ratio หรือ DSR): ควรคำนวณ DSR เพื่อประเมินว่าภาระหนี้ใหม่จะส่งผลกระทบต่อการเงินส่วนตัวมากน้อยแค่ไหน อัตราดอกเบี้ยและระยะเวลาผ่อนชำระ อัตราดอกเบี้ย: เปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยของแต่ละธนาคารหรือสถาบันการเงิน ระยะเวลาผ่อนชำระ: เลือกระยะเวลาผ่อนชำระที่เหมาะสมกับกำลังทรัพย์ อัตราดอกเบี้ยลอยตัวหรืออัตราดอกเบี้ยคงที่: เลือกประเภทอัตราดอกเบี้ยให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ นอกเหนือจากเงินต้นและดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม: ค่าประเมินราคาทรัพย์สิน ค่าจดทะเบียนจำนอง ค่าประกันภัย ค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์: ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการโอน ค่าใช้จ่ายในการตกแต่ง: หากบ้านต้องการการ […]

อ่านเพิ่มเติม