23
Sep 23

“ความน่าเชื่อถือ” มักเป็นสิ่งแรกที่เรามองหาเมื่อต้องการจะซื้อสินค้าหรือบริการอะไรสักอย่าง
ตั้งแต่เรื่องเล็ก ๆ อย่างการซื้ออาหาร ไปจนถึงการลงทุนในระดับที่สูงขึ้น
เพราะมันเป็นเครื่องการันตีว่าการตัดสินใจของเรานั้นเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องและคุ้มค่ากับราคาเสียไป

สำหรับการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ก็เช่นเดียวกัน เนื่องจากเป็นการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับเงินจำนวนมาก
บางครั้งอาศัยความรู้อย่างเดียวอาจไม่พอ ยังต้องอาศัย “ประสบการณ์” และ “ความเชี่ยวชาญ” อีกด้วย
และนั่นเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้หลายต่อหลายคน มองหาบริการจากตัวแทน ก่อนตัดสินใจลงทุนอสังหาริมทรัพย์
เพราะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มากกว่า ซึ่งตัวแทนอสังหาฯ ที่ “น่าเชื่อถือ”
นั้นควรจะมีจะมีลักษณะอย่างไรบ้าง ตามมาดูกันเลยค่ะ

.

การตรงต่อเวลา
ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก เราคงจะประทับใจกับตัวแทนที่มาตรงเวลานัดหมาย หรือ มาก่อนเวลามากกว่า
เพราะนั่นเท่ากับว่าเขาให้ความสำคัญกับเรา เราคงจะรู้สึกไม่ดีใช่ไหมล่ะคะ ถ้าสมมติว่าเราฝากเช่าห้องกับเอเจนซีหนึ่ง
แต่ตัวแทนกลับมาช้า หากเหตุการณ์นี้เกิดกับผู้ที่สนใจเช่าห้องของเราคงไม่ดีแน่

นอกจากนี้ การแต่งกายที่สุภาพและการเตรียมพร้อมด้านเอกสารก็เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ
รวมทั้ง การสร้างความเป็นมิตร ผ่านรอยยิ้ม ผ่านการพูดจาที่นุ่มนวลไพเราะ ก็เป็นอีกหนึ่งคุณสมบัติที่ควรมองหาจากตัวแทน
เพราะเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่จะช่วยสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้ด้วยเช่นเดียวกัน

.

ตัวแทนอสังหาฯ ที่ดีต้องสามารถให้คำปรึกษากับเราได้รอบด้าน รู้ลึก รู้จริง และมีข้อมูลที่ทันสมัย
เพราะการลงทุนนั้นเป็นเรื่องใหญ่ หากขาดข้อมูลที่สำคัญเรื่องอะไรไป อาจทำให้การดำเนินการทั้งหมดของเราสะดุดลง
ตัวอย่างง่ายๆ เช่น หากจะปล่อยเช่าให้ชาวญี่ปุ่น ตัวแทนก็ควรจะแนะนำได้ว่า ชาวญี่ปุ่นนั้นชอบห้องสไตล์ไหน
ควรมีสิ่งอำนวยความสะดวกอะไรบ้างที่จำเป็นสำหรับคนญี่ปุ่นโดยเฉพาะ

.

ตัวแทนที่มีเครือข่ายกับพาร์ทเนอร์ และฐานลูกค้าในมือพร้อมทั้งในและต่างประเทศ จะช่วยจับคู่ผู้ซื้อ-ผู้ขาย ได้รวดเร็วกว่า
อีกทั้งยังได้ราคาดีกว่า นอกจากนี้ยังช่วยให้เรามั่นใจได้อีกด้วยว่าตัวแทนนี้
มีประสบการณ์และมีมาตรฐานการทำงานที่ดี เป็นที่ยอมรับจากคนในวงกว้าง

 

.

 

 

 

ความเป็นมืออาชีพ คือผลรวมของ การตรงต่อเวลา ประสบการณ์ และ ความเชี่ยวชาญ ทุกสิ่งเหล่านี้
จะทำให้บริษัทหนึ่งมีความน่าเชื่อถือ เป็นที่ยอมรับและเป็นที่ไว้วางใจต่อทั้งลูกค้าและพาร์ทเนอร์
ในขณะเดียวกัน ลูกค้าที่กำลังมองหาความน่าเชื่อถือจากตัวแทน ก็ควรที่จะใช้คุณสมบัติเหล่านี้
เป็นตัวพิจารณา เพื่อให้ตัดสินใจได้ดีกว่า อย่างมั่นใจ

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน กับ เจ้าของบ้าน แตกต่างกันอย่างไร?
24
Oct 23
เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน กับ เจ้าของบ้าน แตกต่างกันอย่างไร?

หลายท่านคงสงสัย? ว่าเจ้าบ้านคือใคร!! หรือบางท่านอาจจะคิดไปถึงผีบ้านผีเรือน แต่ที่จริงแล้วตามหลักกฎหมาย ว่าด้วยเรื่องการดูแลบ้าน บ้านทุกหลังต้องมี เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน เพื่อระบุว่าบุคคลที่เป็นเจ้าบ้านนั้น ผู้เป็นหัวหน้าซึ่งครอบครองบ้าน ในฐานะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือในฐานะอื่น เช่น ผู้ดูแลบ้าน แล้วแตกต่างยังไงกับเจ้าของบ้านละ วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยกันค่ะก่อนอื่นเรามาดูความหมายของทั้งสองคำนี้กันก่อนเลยค่ะ เจ้าบ้าน หมายถึง ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะที่เป็นเจ้าของ ผู้เช่า และอื่นๆ โดยหากในทะเบียนบ้านไม่มีชื่อเจ้าบ้าน หรือผู้ที่ถูกแต่งตั้งเป็นเจ้าบ้าน เกิดเสียชีวิต ผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านสามารถมาเป็นเจ้าบ้านแทนได้ เจ้าของบ้าน หมายถึง เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อในโฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขาย มีสิทธิใช้สอย หวงกัน ติดตามเอาทรัพย์คืน. ใช้ยันต่อบุคคลทั่วไป มีกฎหมายรองรับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 โดยจากความหมายด้านบน เจ้าบ้านหรือเจ้าของบ้าน อาจจะเป็นคนเดียวกัน หรือ ไม่ใช่คนเดียวกันก็ได้ค่ะ หน้าที่เจ้าบ้าน VS เจ้าของบ้าน เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน มีหน้าที่ตาม พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร […]

อ่านเพิ่มเติม
20
Sep 24
ทำสัญญาขายฝากไปแล้ว เจ้าของทรัพย์อยากจะเปลี่ยนชื่อ-นามสกุลได้ไหม

กรณีที่ทรัพย์ ทำสัญญาขายฝาก ไปแล้ว เจ้าของทรัพย์ต้องการเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล (เจ้าของคนเดิม แต่ต้องการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล) ที่สำนักงานเขต สามารถทำได้อย่างแน่นอน ไม่ได้ปิดกฎหมาย และในวันที่ไถ่ถอน เจ้าของทรัพย์จะต้องนำใบเปลี่ยนชื่อของตนเองมาด้วย  แต่ถ้าหากทรัพย์ไม่นำใบเปลี่ยนชื่อของตนเองมา ก็จะไม่สามารถทำธุรกรรมใดๆ ได้ การเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล สามารถทำได้ทั้งผู้ขายฝาก และผู้รับซื้อฝาก แต่ก็อย่างที่ได้บอกไปข้างต้น เมื่อวันที่ต้องทำธุรกรรมที่กรมที่ดิน เอกสารการเปลี่ยนชื่อนั้นต้องเตรียมมาทั้ง2ฝ่าย ในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนชื่อนามสกุลในระหว่างที่สัญญาขายฝาก (เปลี่ยนชื่อเป็นผู้ขายฝากคนใหม่) สัญญายังมีผลบังคับใช้อยู่นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่สามารถทำได้โดยพลการ เนื่องจากสัญญาขายฝากเป็นสัญญาที่มีผลทางกฎหมาย และการเปลี่ยนแปลงชื่อนามสกุลของบุคคลใดบุคคลหนึ่งในสัญญา จะส่งผลกระทบต่อสิทธิและหน้าที่ของทั้งผู้ซื้อฝากและผู้รับซื้อฝาก การที่ผู้ขายฝากเดิมจะเปลี่ยนชื่อเป็นผู้ขายฝากคนใหม่ ผู้ขายฝากคนเดิมจะต้องมาไถ่ถอนสัญญาขายฝากเดิมก่อน แล้วจึงจะ ทำสัญญาขายฝาก ใหม่และเปลี่ยนเป็นชื่อผู้ขายฝากคนใหม่ได้ เห […]

อ่านเพิ่มเติม
20
Jul 24
ผู้ขายฝากไม่มีเงินมาไถ่ถอน กรรมสิทธิ์ในที่ดินจะตกเป็นของใคร?

สัญญาขายฝาก เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ต้องการเงินทุน แต่ยังต้องการคงไว้ซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หลายคนอาจเข้าใจผิดคิดว่า สัญญาขายฝากนั้นเหมือนกับการจำนองที่ดิน แต่ความจริงแล้วมีความแตกต่างกันอยู่มาก โดยเฉพาะผลลัพธ์ที่ตามมาหากผู้ขายฝากไม่มีเงินมาไถ่ถอนที่ดินภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา วันนี้  เราจะมาไขข้อข้องใจ  “กรณีผู้ขายฝากไม่มีเงินมา ไถ่ถอน กรรมสิทธิ์ในที่ดินจะตกเป็นของใคร?”  พร้อมเจาะลึกประเด็นน่าสนใจ  “เกี่ยวกับสัญญาขายฝาก กันค่ะ   เมื่อผู้ขายฝากไม่มีเงินมาไถ่ถอนที่ดิน กรรมสิทธิ์ในที่ดินจะตกเป็นของ “ผู้รับขายฝาก” โดยไม่ต้องดำเนินการฟ้องร้องใดๆ เพิ่มเติม ต่างจากการจำนอง ที่ผู้รับจำนองจะต้องฟ้องร้องต่อศาล เพื่อบังคับคดีก่อน จึงจะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน ทั้งนี้ สิทธิ์ของผู้ขายฝากที่จะไถ่ถอนที่ดินนั้น  จะมีระยะเวลา “ไม่เกิน 10 ปี”  นับตั้งแต่วันทำสัญญาขายฝาก  ซึ่งระยะเวลานี้  สามารถตกลงกัน  “ให้สั้นลงหรือยาวนานขึ้นได้”  แต่ไม่เกิน 10 ปี อย่างไรก็ตาม กฎหมายยังมีช่องทางช่วยเหลือผู้ขายฝาก  “กรณีพิเศษ”  ดังนี้       R […]

อ่านเพิ่มเติม