ไถ่ถอนขายฝาก
10
Jan 23

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การทำขายฝากนั้น ต้องเสียค่าธรรมเนียมที่สำนักงานที่ดิน เสมือนว่าเป็นการซื้อขายกันปกติ แต่ผู้ขายฝากหลายๆ คนนั้นไม่รู้ และนายทุนผู้รับขายฝากหรือนายหน้าก็ไม่ได้บอกเราไว้ ทำให้เจ้าของทรัพย์ที่มาทราบทีหลัง ตกใจกับค่าใช้จ่ายที่งอกขึ้นมาแบบไม่ทันตั้งตัว ไม่ทันได้เตรียมใจมาก่อน เรามาดูกันดีกว่าว่า ค่าใช้จ่ายในการ ไถ่ถอนขายฝาก นั้น มีอะไรบ้าง..?

การไถ่ถอนขายฝาก เปรียบเสมือน “การซื้อกลับ” แต่เป็นการซื้อกลับภายในระยะเวลาสัญญาที่ตกลงกันไว้ โดยมีค่าใช้จ่ายในการไถ่ถอนเหมือนกับการซื้อขายโดยทั่วไปตามปกติเช่นกัน ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สำนักงานที่ดินอีกครั้ง ทั้งในกรณีบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล 

ค่าใช้จ่ายการ ไถ่ถอนขายฝาก

  1. ค่าธรรมเนียม – แปลงละ 50 บาท
  2. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย – คำนวณตามระยะเวลาถือครอง ตามเกณฑ์ของกรมสรรพากร นับตั้งแต่วันที่ได้ทำสัญญาขายฝากจนถึงวันที่จดทะเบียนไถ่ถอนขายฝาก
  3. อากรแสตมป์ – ร้อยละ 50 สตางค์ (0.50%) โดยคำนวณจากราคาที่จดทะเบียนขายฝาก หรือ ราคาประเมินจากกรมที่ดินในขณะนั้น แล้วแต่ว่าราคาใดมากกว่า 

**หมายเหตุ การไถ่ถอนขายฝาก โดยหลักการแล้วการไถ่อสังหาริมทรัพย์จากการขายฝากภายใน 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ทำขายฝากกัน จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะด้วย แต่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสีย ตามมาตรา 3(15)(ก) 

อ้างอิง : หนังสือจากทางส่วนมาตรฐานการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม สำนักมาตรฐานการทะเบียนที่ดิน การเรียกเก็บค่าธรรมเนียม และภาษีอากร การจดทะเบียนไถ่ถอนจากการขายฝาก

 

พูดถึงการไถ่ถอนขายฝากแล้ว คงจะไม่พูดถึงการไถ่ถอนจำนองไม่ได้ เพราะก็มีค่าธรรมเนียมในการไถ่ถอนเช่นกัน แต่เป็นจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้

ค่าใช้จ่ายการ ไถ่ถอนจำนอง

  1. ค่าคำขอจดทะเบียน – แปลงละ 5 บาท
  2. ค่าจดทะเบียนประเภทไม่มีทุนทรัพย์ – แปลงละ 50 บาท

**หมายเหตุ ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าพยาน, ค่ามอบอำนาจ(กรณีมอบอำนาจ) ฯลฯ

เท่ากับว่าโดยเบ็ดเสร็จเสร็จ การไถ่ถอนจำนองจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 55-100 บาทเพียงเท่านั้นเอง

 

สรุป.. ค่าธรรมเนียมการไถ่ถอนขายฝากจะมากหรือน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับมูลค่าของทรัพย์สินที่ทำขายฝากไว้ และขึ้นอยู่กับระยะเวลานับตั้งแต่วันแรกที่จดทะเบียนขายฝากกัน ถ้าถือครองระยะเวลาสั้นๆ ก็จะเสียภาษีน้อย ถ้าถือครองเป็นระยะเวลานาน ก็จะเสียภาษีแพงขึ้น แต่โดยรวมแล้วไม่ได้มีมูลค่าสูงมากเท่าไหร่ เมื่อเทียบกับการจดทะเบียนซื้อขายทั่วไป เพราะได้รับการยกเว้นในส่วนของภาษีธุรกิจเฉพาะ และได้รับการลดหย่อนค่าธรรมเนียมเหลือเพียงแปลงละ 50 บาทเท่านั้น 

อย่างไรก็ตาม ย่อมเป็นเรื่องที่ดีกว่า หากเรารู้ก่อนล่วงหน้าว่าจะมีค่าใช้จ่ายในวันไถ่ถอนที่สำนักงานที่ดินเท่าไหร่ จะไม่ได้ไม่มาตกใจ และมาผิดใจกันทีหลังนั่นเอง

——————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง 

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

 

ไถ่ถอนขายฝาก

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

10
May 24
5 ธุรกิจแฟรนไชส์ น่าลงทุนประจำปี 2567

เบื่องานประจำ อยากมีธุรกิจส่วนตัว แต่ยังคิดไม่ออกจะขายอะไร ไม่รู้จะเริ่มยังไง การลงทุนทำ ธุรกิจแฟรนไชส์ จึงกลายเป็นคำตอบ เพราะสามารถสร้างรายได้ง่าย มาพร้อมกับระบบการทำงาน มีฐานลูกค้าเดิมแถมมีที่ปรึกษาให้  ปัจจุบันมี ธุรกิจแฟรนไชส์ เกิดขึ้นมากมาย แต่จะมีธุรกิจอะไรบ้างที่น่าสนใจ ไปดูกันเลย   แฟรนไชส์ธุรกิจกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม  เป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง เพราะปัจจัยหลักในการใช้ชีวิตของทุกคนที่ต้องกิน ดื่ม ในทุกวัน ธุรกิจแฟรนไชส์กลุ่มนี้เลยเป็นกลุ่มที่น่าลงทุนอย่างมาก โดยธุรกิจแฟรนไชส์นี้มีตั้งแต่ร้านอาหารสตรีทฟู้ด ร้านอาหารจานด่วน ร้านกาแฟ และร้านเบเกอรี่  ซึ่งเป็นธุรกิจที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี โดยแฟรนไชส์อาหารและเครื่องดื่ม ที่น่าสนใจ ยกตัวอย่างเช่น ไก่ย่างห้าดาว, ก๋วยเตี๋ยวเรือ ป.ประทีป, MIXUE, ชาตรามือ เป็นต้น   แฟรนไชส์ธุรกิจค้าปลีก  ธุรกิจค้าปลีกยังเป็นธุรกิจที่น่าสนใจอีกเช่นเคย ผู้บริโภคยังมีความต้องการซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกในชีวิตประจำวัน  สำหรับกลุ่มนี้ประกอบไปด้วย ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายยา ร้านอุปกรณ์ก่อสร้าง หรือร้านเครื่องเขีย […]

อ่านเพิ่มเติม
2
Jun 23
วิธีเช็คเครดิตบูโรออนไลน์แบบง่ายๆ ผ่าน 3 แอปธนาคาร

อากาศข้างนอกก็เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวฝน แต่ก็อยากเช็ค เครดิตบูโร ด้วย แล้วจะทำยังไงดี? นี่คงเป็นอีกหนึ่งปัญหาในช่วงนี้ที่หลายคนไม่อยากเสี่ยงเดินทางออกจากบ้าน หรือไปยังสถานที่ต่างๆ เนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่คงที่เดี๋ยวร้อน เดี่ยวฝน ตามกันไม่ทัน วันนี้เราจะมาแนะนำการเช็ค เครดิตบูโร ง่ายๆ ผ่าน 3 แอพธนาคารกันค่ะ ทำได้ง่ายๆ ตลอด 24 ชั่วโมง และไม่ต้องออกไปเสี่ยงกับสภาพอากาศกันด้วยค่ะ แอปเป๋าตัง ขั้นตอนการดำเนินการ – เข้าสู่แอป เป๋าตัง คลิกที่ “เป๋าตังเปย์” – เลือก “ตรวจเครดิตบูโร” – ประชาชนสามารถเลือกรายงานข้อมูลได้ 2 ประเภท คือ ข้อมูลเครดิต ข้อมูลเครดิตและคะแนนเครดิต (เครดิตสกอริ่ง) ผู้ใช้บริการสามารถตรวจข้อมูลเครดิตและเครดิตสกอริ่ง ผ่านเป๋าตังเปย์ บนแอปเป๋าตัง – รับรายงานรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (NCB e-Credit Report) ทางอีเมลได้ภายใน 24 ชั่วโมง – รับรายงานทางไปรษณีย์ลงทะเบียน (ภายใน 7 วันทำการ) แอป “TTB TOUCH” เข้าแอป ttb touch – กดเมนู บริการ กดเมนู ขอตรวจเครดิตบูโร – เลือกรูปแบบขอรับข้อมูลเครดิตบูโร และ กด “ถัดไป” – ตรวจสอบข้อมูลแล้วกดยืนยัน – ชำระธรรมเนียมจ […]

อ่านเพิ่มเติม
ขายฝาก-จำนอง มอบอำนาจ ได้ไหม ? เตรียมเอกสารยังไง ไม่ให้โมฆะ
11
Apr 23
ขายฝาก-จำนอง มอบอำนาจ ได้ไหม ? เตรียมเอกสารยังไง ไม่ให้โมฆะ

การ มอบอำนาจ ให้ผู้อื่นไปทำนิติกรรมที่สำนักงานที่ดินแทนเจ้าของ เป็นเรื่องปกติที่มักจะทำกัน โดยจะเห็นได้บ่อยเป็นพิเศษเวลาเราไปทำนิติกรรมซื้อ-ขาย ไม่ว่าจะเป็นบ้าน ที่ดิน หรือคอนโดก็ตาม เพราะหลายๆ คนก็ไม่มีเวลา หรือไม่เชี่ยวชาญในการทำเรื่องเอกสาร การมอบอำนาจให้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ไปทำเรื่องให้ นอกจากจะประหยัดเวลาแล้ว ยังหมดห่วงเรื่องโดนเจ้าหน้าที่ปฏิเสธเพราะเอกสารไม่ครบหรือไม่ถูกต้องด้วย แล้วการทำนิติกรรมอย่าง ขายฝาก และ จำนอง ล่ะ สามารถมอบอำนาจไปทำเรื่องแทนได้ไหมนะ ? ถ้าไม่อยากมีปัญหาเรื่องเอกสารต้องทำอย่างไร มาหาคำตอบกัน. ขายฝาก-จำนอง มอบอำนาจได้ไหม ? การทำขายฝาก หรือ จำนองนั้น ก็ไม่ต่างอะไรกับการซื้อ-ขาย อสังหาริมทรัพย์ในแง่ของการ มอบอำนาจ ให้ผู้อื่นทำแทน สามารถทำได้ไม่ว่าจะเป็น ผู้ขายฝาก (เจ้าของทรัพย์) หรือ ผู้รับซื้อฝาก (เจ้าของเงิน) เองก็ตาม หรือในกรณีที่ทั้งสองฝ่ายต้องการมอบอำนาจให้บุคคลเดียว เป็นผู้ไปทำสัญญาขายแทนก็ทำได้เช่นกัน เอกสารสำหรับการมอบอำนาจมีอะไรบ้าง ? สิ่งแรกที่จำเป็นต้องมี สำหรับการในการมอบอำนาจนั้นคือ “หนังสือมอบอำนาจ” โดยสามารถใช้แบบฟอร์มของสำนักงานที่ดินที่เรี […]

อ่านเพิ่มเติม