จํานํา กับ จํานอง ต่างกันอย่างไร
30
Mar 23

ช่วงนี้หลายคนอาจได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจเพราะโควิดไม่มากก็น้อย หนึ่งในทางออกที่ใช้คือการนำทรัพย์สินที่มีออกมาขาย
หรือนำทรัพย์สินที่มีค่าไป จำนำ หรือ จำนอง  หลายคนก็ยังสงสัยว่า จํานํา กับ จํานอง ต่างกันอย่างไร วันนี้เราจะพาทุกคนไปไข้ข้อสงสัยนี้กัน มาดูกัน

จำนอง จำนำ แตกต่างกันอย่างไร

การจำนอง

การที่ผู้จำนองนำทรัพย์สินที่มีค่านำมาประกันเพื่อกู้เงินมาใช้  โดยใช้เป็นหลักประกันคือ อสังหาริมทรัพย์  คือ ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้
เช่น คอนโด โฉนดที่ดิน บ้าน อาคารพาณิชย์ โดยการจำนอง ผู้จำนองต้องนำสินทรัพย์ไปจดทะเบียนไว้กับผู้รับจำนอง
ซึ่งต้องกระทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่กรมที่ดินเท่านั้น ทั้งนี้ไม่ต้องโอนที่ดินหรือทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้รับจำนอง

สาระสำคัญ

  1. ทรัพย์สินที่นำมาจำนองจะต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์
  2. ผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบสินทรัพย์ให้แก่ผู้รับจำนอง โดยกรรมสิทธิ์ยังเป็นของผู้จำนองอยู่
  3. ผู้จำนองเป็นลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกก็ได้
  4. มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร
  5. ต้องจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที ณ กรมที่ดิน

ในกรณีที่ผู้จำนองไม่สามารถชำระหนี้ได้

เจ้าหนี้ต้องทำการฟ้องร้องเพื่อบังคับจำนองโดยการที่จะนำทรัพย์สินไปขายทอดตลาด ยึดสินทรัพย์เป็นของผู้รับจำนอง
แล้วนำเงินมาจ่ายคือให้กับผู้รับจำนองตามวงเงินที่รับจำนองมา

การจำนำ

การที่ผู้จำนำ นำทรัพย์สินที่มีค่านำมาประกันเพื่อกู้เงินมาใช้   โดยใช้เป็นหลักประกันคือ สังหาริมทรัพย์ส่งมอบให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเป็นผู้ครอบครองเรียกว่า
ผู้รับจำนำ เพื่อประกันการชำระหนี้ ทรัพย์สินที่จำนำได้คือ ทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนที่ ได้ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ทองรูปพรรณ สร้อย แหวน เพชร

สาระสำคัญ

  1. ทรัพย์สินที่นำมาจำนำเป็นสังหาริมทรัพย์
  2. ผู้จำนำต้องมอบสินทรัพย์ให้แก่ผู้รับจำนำ
  3. ผู้จำนำเป็นลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกก็ได้
  4. มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร
  5. ไม่ต้องจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่

ในกรณีที่ผู้จำนองไม่สามารถชำระหนี้ได้

สามารถนำสิ่งที่ผู้จำนำมอบให้ บังคับจำนำและไปขายทอดตลาดได้เลยโดยไม่ต้องอาศัยคำสั่งของศาล

 

เพื่อนๆคงได้เห็นแล้วว่า จํานํา กับ จํานอง มีข้อที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของทรัพย์สินที่นำมาใช้เป็นหลักประกัน
การส่งมอบทรัพย์สิน สถานะการเป็นลูกหนี้ การฟ้องร้อง การจดทะเบียน และการบังคับขายในกรณีที่ผู้จำนองและจำนำไม่สามารถชำระหนี้ได้
และหวังว่าเพื่อน ๆ จะเข้าใจกันแล้วนะคะว่าการจำนองและการจำนำต่างกันอย่างไร

แต่หากใครกำลังจะสนใจต้องใช้เงินด่วนและต้องการจำนอง อสังหาริมทรัพย์ สามารถจำนองกับเราได้ สามารถเข้าไปปรึกษาให้ฟรีได้ที่ https://property4cash.co/

จํานํา กับ จํานอง ต่างกันอย่างไร

——————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

ไถ่ถอนขายฝาก
10
Jan 23
เฮ้ย! ไถ่ถอนขายฝาก ต้องเสียค่าธรรมเนียมด้วยหรอ!!!

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การทำขายฝากนั้น ต้องเสียค่าธรรมเนียมที่สำนักงานที่ดิน เสมือนว่าเป็นการซื้อขายกันปกติ แต่ผู้ขายฝากหลายๆ คนนั้นไม่รู้ และนายทุนผู้รับขายฝากหรือนายหน้าก็ไม่ได้บอกเราไว้ ทำให้เจ้าของทรัพย์ที่มาทราบทีหลัง ตกใจกับค่าใช้จ่ายที่งอกขึ้นมาแบบไม่ทันตั้งตัว ไม่ทันได้เตรียมใจมาก่อน เรามาดูกันดีกว่าว่า ค่าใช้จ่ายในการ ไถ่ถอนขายฝาก นั้น มีอะไรบ้าง..? การไถ่ถอนขายฝาก เปรียบเสมือน “การซื้อกลับ” แต่เป็นการซื้อกลับภายในระยะเวลาสัญญาที่ตกลงกันไว้ โดยมีค่าใช้จ่ายในการไถ่ถอนเหมือนกับการซื้อขายโดยทั่วไปตามปกติเช่นกัน ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สำนักงานที่ดินอีกครั้ง ทั้งในกรณีบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล  ค่าใช้จ่ายการ ไถ่ถอนขายฝาก ค่าธรรมเนียม – แปลงละ 50 บาท ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย – คำนวณตามระยะเวลาถือครอง ตามเกณฑ์ของกรมสรรพากร นับตั้งแต่วันที่ได้ทำสัญญาขายฝากจนถึงวันที่จดทะเบียนไถ่ถอนขายฝาก อากรแสตมป์ – ร้อยละ 50 สตางค์ (0.50%) โดยคำนวณจากราคาที่จดทะเบียนขายฝาก หรือ ราคาประเมินจากกรมที่ดินในขณะนั้น แล้วแต่ว่าราคาใดมากกว่า  **หมายเหตุ การไถ่ถอนขายฝาก โดยหลักการแล้ว […]

อ่านเพิ่มเติม
25
Apr 24
ทำความรู้จัก บสย. ตัวช่วยของผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs

ธุรกิจ SMEs ในปัจจุบัน พบกับปัญหาอย่างหนึ่ง “การไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน” ฝันร้ายของธุรกิจ SMEs เพราะเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง และไม่มีหลักทรัพย์สำหรับค้ำประกันจะขอสินเชื่อที่ไหนก็ไม่ผ่าน เชื่อเลยว่ายังมีหลายคนอาจยังไม่รู้ว่ามีหน่วยงานจากภาครัฐที่คอยให้ความช่วยเหลือธุรกิจ SMEs เพื่อให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น นั่นก็คือ “ บสย. คือ บริษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม”   บสย.คือใคร มีหน้าที่อะไรบ้าง Property4Cash มีคำตอบ ! บสย. คือ ใคร   บสย.คือ สถาบันการเงินของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ภายใต้การกำกับของกระทรวงการคลัง โดยมีหน้าที่ค้ำประกันสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ที่ไม่มีหลักทรัพย์ และมีหลักทรัพย์ค้ำประกันไม่เพียงพอในการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน  เพื่อให้ได้วงเงินสินเชื่อตามที่ต้องการ หน้าที่หลักของบสย.  บสย.มีนโยบายค้ำประกันสินเชื่อให้กับธุรกิจ SMEs ทุกประเภท ที่ต้องการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน เพื่อช่วยลดภาระหลักทรัพย์ และช่วยให้มีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน นอกจากนี้ยังพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ SMEs ผ่านกิจกรรมต่างๆ และเป็นตัวกลางข้อมูลเพื่อดำเนินการระหว่ […]

อ่านเพิ่มเติม
ลงทุนขายฝาก ดีกว่าซื้อไว้ปล่อยเช่ายังไง
3
Mar 23
ลงทุนขายฝาก ดีกว่าซื้อไว้ปล่อยเช่ายังไง

ลงทุนขายฝาก รับจำนอง เป็นการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ประเภทหนึ่ง ที่ให้ผลตอบแทนสูงถึง 15% ต่อปีได้ แต่เป็นการลงทุนที่หลายๆ คนอาจจะไม่คุ้นหูนัก เพราะเมื่อนึกถึงการลงทุนอสังหาฯ แล้ว มันคุ้นชินกับการซื้อมาเก็บไว้เก็งกำไร หรือซื้อมาเพื่อปล่อยเช่าเสียมากกว่า วันนี้เราลองมาดูกันว่า การลงทุนในอสังหาฯ อย่างการซื้อมาปล่อยเช่า และ ลงทุนรับจำนอง-ขายฝาก  แตกต่างกันอย่างไรบ้าง และอะไรดีกว่ากัน ? ลงทุนขายฝาก vs ซื้อไว้ปล่อยเช่า การลงทุนขายฝาก รับจำนอง และ การซื้อไว้ปล่อยเช่า ต่างก็เป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนเป็นกระแสเงินสดเข้าบัญชีเราทุกเดือนได้เหมือนกัน แต่มีความแตกต่างกันในรายละเอียดอยู่มาก ผลตอบแทนต่อปี ซื้อไว้ปล่อยเช่า : มีผลตอบแทนอยู่ที่ 6-8% ต่อปี ลงทุนขายฝาก – จำนอง : มีผลตอบแทนอยู่ที่ 15% ต่อปี การลงทุน ซื้อไว้ปล่อยเช่า ไม่ว่าจะเป็นคอนโด บ้าน หรือว่าที่ดินนั้น โดยเฉลี่ยแล้ว จะมีผลตอบแทนอยู่ที่ประมาณ 5-8% ต่อปี กล่าวคือหากเราซื้อคอนโดมาราคา 2,000,000 บาท แล้วปล่อยเช่าได้ในราคาประมาณ 8,000 – 13,000 บาท / เดือน เท่ากับว่าเราจะได้ค่าเช่าปีละประมาณ 100,000 – 160,000 บาท ส่วนการลงทุน ร […]

อ่านเพิ่มเติม