สรุปประเด็นข่าว ที่ดินเขากระโดง เท็จจริงคืออะไร?
15
Dec 24

>>>สำหรับใครที่ติดตามข่าวเกี่ยวกับที่ดินเขากระโดงอยู่ ว่า… สรุปแล้ว จะถูกเวียนคืนหรือไม่? วันนี้ Property4Cash มาสรุปให้แล้วค่ะ

ก่อนอื่น ขอเล่าย้อนความเกี่ยวกับประเด็นร้อนของที่ดินเขากระโดง กันนิดนึงนะคะ ที่ดินเขากระโดง ตั้งอยู่ที่จังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีการถกเถียงเวียนคืนที่ดิน ให้กลับมาเป็นของกรมที่ดิน แต่เอกสารหลายอย่างก็ยืนยันว่าที่ดินแห่งนี้ จะไม่ถูกเวียนคืน และยังคงสามารถใช้ประโยชน์ต่อไปได้!

โดย Property4Cash ได้สรุปออกมาเป็น 4 ประเด็นหลักๆ ดังนี้

  • ประเด็นที่ 1 คือ คำอ้างที่ว่า… คำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับที่ดินเขากระโดง ผูกพันเฉพาะคู่ความ หรือคู่พิพาทในคดี ระหว่างการรถไฟฯ กับเอกชนรายที่ยื่นฟ้องเพียงเท่านั้น! ซึ่งคำอ้างนี้… ไม่เป็นความจริง เพราะคำพิพากษาจากศาลปกครองกลาง ก็รับรองเอาไว้แล้วว่า “คำพิพากษาของศาลฎีกาดังกล่าว ได้วินิจฉัยอย่างชัดแจ้งถึงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดี (การรถไฟฯ) ผู้ฟ้องคดีจึงสามารถใช้ยันกับบุคคลภายนอกได้ หาใช่มีผลผูกพันเฉพาะคู่ความในคดี ตามมาตรา 145 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตามที่ผู้ถูกฟ้องคดี (กรมที่ดิน) กล่าวอ้างแต่อย่างใดไม่”
    • คำพิพากษานี้ เป็นของศาลปกครองกลาง เป็นคำพิพากษาที่ 582/2566 หน้าที่ 27 ในคดีที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ฟ้องกรมที่ดิน กรณีไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ออกทับที่ดินของการรถไฟฯ บริเวณเขากระโดง
    • นอกจากนั้น หากเปิดดูประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตราา 145 ยังมีข้อความในวรรค 2 อนุมาตรา 2 บัญญัติว่า… “คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินใดๆ เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ เว้นแต่บุคคลภายนอกนั้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่า”

 

  • ประเด็นที่ 2 คือ นายอนุทิน ยกตัวอย่างคดีที่มีการฟ้องร้องกัน 35 ราย และทั้ง 35 รายแพ้คดีการรถไฟ แต่นายอนุทินยังอ้างว่า… บังคับเฉพาะคู่ความเท่านั้น! ซึ่งผู้รู้ทางกฎหมายแย้งแล้วว่าไม่จริง แต่นายอนุทินยังบอกต่อด้วยว่า ที่ดินในเขากระโดงมี 900 กว่าแปลง ถ้าเอาให้ชัด ก็ให้ฟ้องทีละแปลงไปเลยก็ได้
    • เรื่องนี้มีข้อน่าสังเกต คือ ในรัฐบาลชุดที่แล้ว พรรคภูมิใจไทย โดย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กำกับดูแลการรถไฟแห่งประเทศไทย ฝ่ายค้านในยุคนั้นอภิปรายไม่ไว้วางใจกรณีเขากระโดง และเรียกร้องให้การรถไฟ ฟ้องขับไล่ผู้ครอบครองที่ดินแปลงอื่นๆ หลังศาลมีคำพิพากษายืนยันว่า… ที่ดินเขากระโดง เป็นที่ดินของการรถไฟ แต่การรถไฟในยุคนั้น กลับไม่ยอมฟ้องขับไล่ อ้างว่า… การรถไฟไม่ฟ้องร้องประชาชน
    • แต่ในรัฐบาลปัจจุบัน พรรคภูมิใจไทยไม่ได้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมแล้ว มาเป็นรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยแทน กลับไปเรียกร้องให้มีการฟ้องรายแปลง ทั้งที่ในอดีตไม่ยอมฟ้อง 
    • สิ่งที่น่าสนใจก็ คือ เป็นการเรียกร้องให้ฟ้อง เมื่อกรมที่ดินมีมติไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ดินในเขากระโดง ซึ่งเท่ากับเป็น “คำสั่งทางปกครองใหม่” ของกรมที่ดิน ซึ่งมีสถานะ “เป็นที่สุด” เช่นกันหากจะโต้แย้ง การรถไฟ ต้องไปยื่นฟ้องศาลใหม่ ส่วนจะเป็นศาลไหนยังไม่มีความขัดเจน และก่อนจะไปฟ้อง ก็ต้องอุทธรณ์มติของกรมที่ดินภายใน 60 วันอีก ทำให้เสียเวลาไปอีกหลายเดือน เพราะน่าจะสามารถขอขยายเวลาอุทธรณ์ และเวลาวินิจฉัยอุทธรณ์ได้ด้วย

 

  • ประเด็นที่ 3 คือ การดำเนินการของการรถไฟ ที่ดำเนินการกับที่ดินรถไฟ ซึ่งมีคำพิพากษาศาลยืนยันแล้ว ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ การรถไฟ ใช้วิธีฟ้องขับไล่ ไม่เคยมีกรณีไหนที่ไปร้องให้กรมที่ดินเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ หรือฟ้องศาลปกครองให้สั่งให้กรมที่ดินเพิกถอนโฉนด โดยกรณีเขากระโดง เป็นกรณีแรกในประวัติศาสตร์ ทำให้เกิดคำถามว่าต้องการเอื้อใครหรือไม่ เพราะเป็นการดำเนินการในยุคที่พรรคภูมิใจไทยคุมกระทรวงคมนาคม ต้นสังกัดของการรถไฟ

สรุปประเด็นข่าว ที่ดินเขากระโดง เท็จจริงคืออะไร?

  • ทั้งนี้ เราได้สรุปรายงานคำพิพากษาการฟ้องร้องขับไล่ที่ดิน ของการรถไฟ ดังนี้
    • 1. คำพิพากษาศาลแพ่ง คดีการรถไฟฟ้องขับไล่ประชาชน ที่รุกที่รถไฟ ย่านมักกะสัน กรุงเทพ
    • 2. คำพิพากษาศาลแพ่ง คดีการรถไฟฟ้องขับไล่ประชาชนรุกที่รถไฟ ย่านพระราม 6 กรุงเทพ
    • 3. คดีที่จังหวัดอุบลราชธานี ฟ้องขับไล่นายทหารยศพลโท ก็ยังเคยฟ้องชนะมาแล้ว แถมทุกคดีต้องจ่ายค่าขนย้ายทรัพย์สินให้การรถไฟ

 

อย่างไรก็ตาม นักกฎหมายที่มีความเชี่ยวชาญในคดีแพ่ง ให้ข้อมูลว่า…  คดีเขากระโดง การรถไฟ สามารถใช้คำพิพากษาศาลฎีกา และศาลปกครอง ฟ้องขับไล่ผู้ครอบครองที่ดินทุกแปลง กว่า 900 แปลงในบริเวณเขากระโดงได้เลย โดยสามารถฟ้องแบบกลุ่ม เพื่อป้องกันข้อครหาการเลือกปฏิบัติ ฟ้องแปลงไหนก่อน แปลงไหนทีหลัง

 

  • ประเด็นที่ 4 คือ แหล่งข่าวจากหน่วยงานรัฐในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ให้ข้อมูลว่า… ข้ออ้างของนายอนุทิน และบุคคลที่เกี่ยวข้องที่ว่า… ที่ดินเขากระโดง 5,083 ไร่ มีที่ดินของตระกูลการเมืองเพียง 200 กว่าไร่ ส่วนบริเวณอื่นๆ ส่วนใหญ่เป็นของประชาชนทั่วไปจำนวนมากนั้น ข้อมูลนี้ไม่เป็นความจริง เพราะที่ดินเขากระโดงทั้งผืน 5,083 ไร่ กรมทางหลวงและหน่วยราชการต่างๆ ได้ขออนุญาตใช้ประโยชน์สาธารณะจากการถไฟ ทั้งสร้างถนน สร้างโรงพยาบาล จำนวนหลายร้อยไร่

 

  • ส่วนที่ดินในความครอบครองของเอกชน เป็นของตระกูลใหญ่ 2 ตระกูล เกือบ 1,000 ไร่ หากรวมกับที่ดินที่หน่วยราชการขอใช้ อาจกินพื้นที่ถึง 1 ใน 3 หรือเกือบครึ่งหนึ่งของเขากระโดง

 

ดังนั้น การที่อ้างว่า… ตระกูลบางตระกูลครอบครองที่ดินไม่มาก ไม่เป็นความจริง ส่วนกรณีที่อ้างว่าประชาชนทั่วไปจะเดือดร้อนมาก ถ้าฟ้องขับไล่ เพราะมีประชาชนทั่วไปครอบครองอยู่มาก ก็ไม่เป็นความจริงเช่นกัน! 

 

สรุป จากคำพิพากษาทั้งหมด เกี่ยวกับ ที่ดินเขากระโดง กรมที่ดินยืนยันว่า… ได้ดำเนินการตามคำพิพากษา ครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว และการดำเนินการรับฟังพยานหลักฐานของคณะกรรมการสอบสวน ทุกอย่างเป็นไปด้วยความรอบคอบ และเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย โดยรับฟังทั้งพยานหลักฐานที่ปรากฏในการพิจารณาคดีของศาลยุติธรรม พยานหลักฐานของการรถไฟ และพยานหลักฐานที่คณะกรรมการสอบสวน แสวงหามาประกอบเพื่อการพิจารณา อธิบดีกรมที่ดิน จึงได้เห็นชอบตามที่คณะกรรมการ เสนอยุติเรื่อง ตามความความเห็นของคณะกรรมการ ที่ได้เสนอมา ว่ายังไม่มีพยานหลักฐานปรากฏชัดแจ้งเพียงพอให้รับฟังได้ว่า… ได้มีการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์โปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายจะพิจารณาเพิกถอนหรือแก้ไขตามนัยข้อ 12 ของกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการสอบสวนและการพิจารณาเพิกถอนหรือแก้ไขการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม หรือการจดแจ้งเอกสารรายการจดทะเบียนโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย พ.ศ. 2553 พร้อมทั้งแจ้งให้การรถไฟทราบว่า หากการรถไฟฯ เห็นว่าตนมีสิทธิในที่ดินดีกว่าก็เป็นเรื่องที่ผู้มีสิทธิในที่ดินจะต้องไปดำเนินการ เพื่อพิสูจน์สิทธิในกระบวนการยุติธรรมทางศาลต่อไป… 

 

และบทความครั้งหน้า Property4Cash จะเอาข่าวสารเกี่ยวกับประเด็นร้อนไหนมาเล่าให้ฟัง ก็อย่าลืมติดตามกันนะคะ 

 

หากต้องการเงินด่วน แล้วมีอสังหาอยู่ในมือ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโด ที่ดิน อาคารพาณิชณ์ โรงแรม โรงงาน โกดัง เราก็พร้อมบริการปล่อยสินเชื่อ อสังหาแลกเงิน เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงเงินทุนอย่างเป็นธรรม ดอกเบี้ยเริ่มต้นเพียง 0.75% ไม่ใช้คนค้ำ ไม่เช็คเครดิตบูโร ไม่มีนโยบายยึดทรัพย์ อาชีพไหนก็กู้ได้!!

 


Property4Cash ยินดีให้คำปรึกษาและช่วยเพิ่มทุนให้กับทุกคนที่ต้องการเงินด่วน และต้องการเงินเพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจ ไม่เช็คแบล็คลิส ไม่เช็คเครดิตบูโร

อนุมัติรวดเร็วทันใจ นึกถึง ขายฝากจำนอง นึกถึง Property4Cash

Line: @Property4Cash

โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash

ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

One bangkok แลนด์มาร์คใหม่ ใจกลางเมือง
7
Nov 24
One bangkok แลนด์มาร์คใหม่ ใจกลางเมือง

วินาทีนี้ คงไม่มีใครไม่รู้ One Bangkok แลนด์มาร์คใหม่ ใจกลางเมืองที่มีการเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา เป็นที่สนใจของผู้คนมากมาย ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุน พ่อค้า แม่ค้า ประชาชนคนทั่วไป ก็ต่างตื่นเต้น และพากันเข้าไปเยี่ยมชม  ตั้งแต่วันที่มีการเปิดโมเดลโครงการ วัน แบงค็อก ก็นับเป็นโครงการอภิมหาอสังหาริมทรัพย์ ที่ทำเลทอง เดินทางสะดวก ติดรถไฟฟ้า ติดทางด่วน ติดถนนพระราม 4 ไม่ว่าจะเดินทางยังไงก็สะดวกกับทุกเพศทุกวัยอย่างแน่นอน   โครงการนี้ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพ มูลค่าการลงทุนกว่าแสนล้านบาท พรั่งพร้อมไปด้วยอาคารสำนักงานเกรดเอ ที่พักอาศัยระดับลักชัวรี่ พื้นที่ร้านค้าปลีก โรงแรมหรู และพื้นที่ศูนย์กลางสำหรับกิจกรรมทางศิลปะและวัฒนธรรม รวมถึง Signature Tower สูง 430 เมตร ซึ่งจะกลายเป็น 1 ใน 10 ตึก ที่สูงที่สุดในอาเซียน แนวคิดของโครงการ วัน แบงค็อก คือ ต้องการเป็นศูนย์กลางไลฟ์สไตล์ แบบครบวงจรระดับโลก (Global Integrated Lifestyle Hub) มีการให้ความสำคัญกับผู้คน ชุมชน สังคม ตลอดจนความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ใช้เวลานานนับทศวรรษกว่าจะสร้างสำเร็จ เป็น “โครงการใจกลางเมือง” ที่ใส่ใจสร้าง […]

อ่านเพิ่มเติม
ไม่มีใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน ซื้อขายได้ไหม?
6
Jun 25
ไม่มีใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน ซื้อขายได้ไหม?

         หลายคนที่กำลังมองหาที่ดินเพื่อปลูกบ้าน หรือเพื่อการลงทุน อาจเคยเจอประกาศขายที่ดินย่อยแปลงยาว ๆ หรือเป็นแปลงย่อยขนาดเล็ก แล้วเกิดคำถามว่า “ที่ดินแปลงนี้ ไม่มีใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน จะซื้อขายได้ไหม?” คำถามนี้ไม่เพียงแต่สำคัญต่อผู้ซื้อเท่านั้น! แต่ยังสำคัญต่อเจ้าของที่ดินด้วย เพราะหากไม่มีความเข้าใจเรื่อง “ใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน” อาจนำไปสู่ปัญหาทางกฎหมายในภายหลังได้ ใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน คืออะไร?          ใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน คือ เอกสารที่ทางเจ้าของที่ดินต้องขออนุญาตจาก กรมที่ดิน หรือ สำนักงานที่ดินจังหวัด ก่อนจะสามารถแบ่งแปลงย่อยที่ดินออกขายให้บุคคลอื่นได้ หากการแบ่งที่ดินนั้นเข้าข่ายการ “จัดสรร”          ตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 การแบ่งที่ดินเกิน 9 แปลง หรือมีทางสาธารณะ มีสิ่งอำนวยความสะดวก และมีเจตนาขายแก่ประชาชนทั่วไป จะเข้าข่ายต้องขอใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน ถ้า ไม่มีใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน จะสามารถซื้อขายได้ไหม?          ซื้อขายได้ บางกรณี หากการแบ่งแปลง ไม่เข้าข่ายการจัดสรร ตามกฎหมาย เช่น แบ่งไม่เกิน 9 แปลง, ขายให้ญาติ หรือไม่มีถนนสาธารณะ อาจไม่ต้องขอใบอนุญาตจัดสรร และ […]

อ่านเพิ่มเติม
ความจริงที่เจอของลูก หนี้นอกระบบ
26
Jun 25
ดอกโหด-ทวงโหด : ความจริงที่ลูก หนี้นอกระบบ ต้องเผชิญ เมื่อเงินด่วน…กลายเป็นฝันร้าย

         เงินด่วนที่คิดว่าแก้ปัญหา… กลับกลายเป็นต้นเหตุของฝันร้าย ใครจะไปคิดว่า หนี้นอกระบบ ที่หยิบยืมมาจะทำให้ต้องแบกรับภาระดอกโหด!          ในช่วงที่เศรษฐกิจฝืด รายได้ไม่พอรายจ่าย หลายคนเลือกหันไปพึ่ง “เงินด่วน” จากแหล่งที่เข้าถึงง่าย ไม่ต้องใช้เอกสารเยอะ หรือไม่ต้องรอผลอนุมัตินาน แต่สิ่งที่ตามมา คือ “ดอกโหด” และ “ทวงโหด” ที่ทำให้หนี้ที่เคยคิดว่าเล็ก กลายเป็น หลุมดำดูดชีวิต ที่ไม่มีวันหลุดพ้นง่ายๆ 📌 ภาพสะท้อนของหนี้นอกระบบ ที่ไม่ใช่แค่ตัวเลข ดอกเบี้ยสูงถึง 10-20% ต่อเดือน (ผิดกฎหมายชัดเจน) โดนทวงหนี้แบบข่มขู่ โทรศัพท์ถี่ยิบ อับอาย ขาดความมั่นใจ ถูกประจานในที่ทำงาน/บ้าน ผ่อนเท่าไหร่ หนี้ก็ไม่ลด เพราะเงินต้นแทบไม่ถูกแตะ เสี่ยงโดนยึดทรัพย์แม้ไม่มีเอกสารสัญญาใดๆ อย่าปล่อยให้ หนี้นอกระบบ ทำลายชีวิตคุณ          ถ้าคุณมี บ้าน คอนโด อาคารพาณิชย์ หรือที่ดิน อยู่ในมือ ต่อให้ยังผ่อนไม่หมด ก็สามารถเปลี่ยนเป็นทุนใหม่ที่ถูกกฎหมายได้ Property4Cash เงินด่วนอสังหา พร้อมเป็น “ทางรอด” ของคนที่อยากหลุดพ้นจากหนี้โหด ด้วยบริการเงินด่วนที่โปร่งใส และอยู่ภายใต้กฎหมายกำหนด       […]

อ่านเพิ่มเติม