25
Aug 23

#โฉนดที่ดิน อาจจะเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับหลายๆ คน เพราะเมื่อได้มาเราก็จะเก็บมันไว้เพราะเป็นเอกสารสำคัญของบ้าน
และไม่ใช่เอกสารที่จะพกพาติดตัว เนื่องจากมีขนาดที่ใหญ่ แต่หากวันไหนที่ต้องใช้และพบว่า โฉนดที่ดินหาย
หรือเกิดชำรุดขึ้นมาล่ะ จะทำยังไง? ก่อนอื่นไม่ต้องตกใจไปนะคะ เราสามารถยื่นขอโฉนดที่ดินใหม่ได้
ส่วนขั้นตอนจะเป็นอย่างไร วันนี้เราจะมาบอกทุกคนเองค่ะ

  1. แจ้งความต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
    อันดับแรกเลยก็คือต้องไป แจ้งความต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เพื่อลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน
    เพื่อยืนยันว่าเจ้าของที่ดินนั้นไม่ได้นำโฉนดที่ดินไปจำหน่าย #จำนอง หรือแลกเปลี่ยนเป็นของผู้อื่น
  2. ติดต่อกับสำนักงานที่ดิน
    เมื่อได้ใบบันทึกประจำวันมาเรียบร้อยแล้ว ให้นำเอกสารมาติดต่อที่สำนักงานที่ดิน
    เพื่อขอโฉนดที่ดินใหม่ โดยเอกสารที่ต้องเตรียมไปด้วยมีดังนี้
    – บัตรประชาชนตัวจริงของผู้ที่ยื่นขอโฉนดที่ดินใหม่
    – ทะเบียนบ้านตัวจริงของผู้ที่ยื่นขอโฉนดที่ดินใหม่
    – ใบแจ้งความ / บันทึกประจำวัน
    – พยานบุคคล 2 คน พร้อมบัตรประชาชนตัวจริง ซึ่งหากเกิดปัญหาในภายหลัง
    พยานทั้ง 2 คนนี้ จะต้องเป็นพยานในชั้นศาลด้วย

เมื่อเตรียมเอกสารทุกอย่างครบแล้วจะต้องกรอกเอกสารรับรองและลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าพนักงาน
เพื่อรองรับว่าเจ้าของที่ดินได้ดำเนินการขอออกโฉนดที่ดินใหม่จริงๆ

.

โดยในขั้นตอนการออกโฉนดที่ดินใหม่ทั้งหมดนี้ จะมีค่าธรรมเนียมประมาณ 75 บาททั้งนี้โฉนดที่ดินใหม่ หรือ ใบแทน
จะมีประทับตราบนเอกสารว่า “ใบแทน” เพื่อแจ้งให้ทราบว่าเอกสารฉบับนี้สามารถใช้แทนโฉนดที่ดินฉบับจริงได้ 100%
เมื่อเกิดการทำนิติกรรมหรือมีการแลกเปลี่ยนซื้อขายที่ดิน ใบแทนนี้จะมีผลทางกฎหมายไม่ต่างกับโฉนดตัวจริง

.

เป็นอย่างไรบ้างคะ ไม่ยากและไม่วุ่นวายอย่างที่คิดใช่ไหม แต่อย่างไรก็ตามเอกสารสำคัญแบบนี้
ควรเก็บไว้ให้ดีและไม่ทำหายจะดีที่สุดนะคะ เพราะเมื่อจะทำการขายต่อหรือนำไปทำธุรกรรมอื่นๆ เนี่ย
ทั้งนักลงทุน นายหน้าอสังหา หรือบุคคลที่เราทำธุรกรรมด้วยก็จะต้องขอดูโฉนดกันอย่างแน่นอนค่ะ

โฉนดที่ดินหาย ! ทำยังไงดี

—————————————————–

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

24
Nov 23
ข้อควรรู้ก่อนตกลงทำสัญญาขายฝาก

หากใครต้องการใช้เงินด่วน แต่ไม่อยากนำทรัพย์สินไปขายขาด สำหรับคนที่มีที่ดินและบ้านไว้ครอบครอง “การขายฝาก” จึงเป็นทางเลือกที่ดี วิธีนี้สามารถทำได้ง่ายๆ ไม่ตรวจสอบเครดิตบูโร หรือรายการเคลื่อนไหวของบัญชีธนาคาร (Statement) สามารถไถ่คืนที่ดินได้ และยังใช้ประโยชน์ในที่ดินต่อไปได้อีกด้วย “การขายฝาก” เป็นการทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินประเภทหนึ่ง โดยกรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้รับซื้อทันทีเมื่อมีการทำสัญญาเกิดขึ้น ซึ่งมีข้อตกลงกันว่า ผู้ขายฝากสามารถไถ่ทรัพย์สินนั้นคืนได้ในเวลาที่ตกลงกันตามกฎหมาย เพราะฉะนั้นในการทำสัญญาทุกครั้ง จะต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียดเกี่ยวกับสิ่งที่ระบุในสัญญา ข้อควรระวังต่างๆ ต้องทำความเข้าใจให้ตรงกัน จะได้ไม่มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นภายหลังกันค่ะ ข้อควรรู้ก่อนตกลงทำสัญญาขายฝาก มีดังนี้ ผู้ขายฝากจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ซื้อฝากทันทีในวันที่ทำสัญญา เมื่อขายฝากไปแล้วกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้ซื้อฝาก โดยมีข้อตกลงกันว่า ผู้ขายฝากสามารถไถ่ทรัพย์สินนั้นคืนได้ในเวลาที่ตกลงกันตามกฎหมาย การทำสัญญาจะต้องทำต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ดิน ณ กรมที่ดินเท่านั้น ในการทำสัญญาขายฝากที่ดินจะต้องทำเป็นหน […]

อ่านเพิ่มเติม
ไถ่ถอนขายฝาก
10
Jan 23
เฮ้ย! ไถ่ถอนขายฝาก ต้องเสียค่าธรรมเนียมด้วยหรอ!!!

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การทำขายฝากนั้น ต้องเสียค่าธรรมเนียมที่สำนักงานที่ดิน เสมือนว่าเป็นการซื้อขายกันปกติ แต่ผู้ขายฝากหลายๆ คนนั้นไม่รู้ และนายทุนผู้รับขายฝากหรือนายหน้าก็ไม่ได้บอกเราไว้ ทำให้เจ้าของทรัพย์ที่มาทราบทีหลัง ตกใจกับค่าใช้จ่ายที่งอกขึ้นมาแบบไม่ทันตั้งตัว ไม่ทันได้เตรียมใจมาก่อน เรามาดูกันดีกว่าว่า ค่าใช้จ่ายในการ ไถ่ถอนขายฝาก นั้น มีอะไรบ้าง..? การไถ่ถอนขายฝาก เปรียบเสมือน “การซื้อกลับ” แต่เป็นการซื้อกลับภายในระยะเวลาสัญญาที่ตกลงกันไว้ โดยมีค่าใช้จ่ายในการไถ่ถอนเหมือนกับการซื้อขายโดยทั่วไปตามปกติเช่นกัน ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สำนักงานที่ดินอีกครั้ง ทั้งในกรณีบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล  ค่าใช้จ่ายการ ไถ่ถอนขายฝาก ค่าธรรมเนียม – แปลงละ 50 บาท ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย – คำนวณตามระยะเวลาถือครอง ตามเกณฑ์ของกรมสรรพากร นับตั้งแต่วันที่ได้ทำสัญญาขายฝากจนถึงวันที่จดทะเบียนไถ่ถอนขายฝาก อากรแสตมป์ – ร้อยละ 50 สตางค์ (0.50%) โดยคำนวณจากราคาที่จดทะเบียนขายฝาก หรือ ราคาประเมินจากกรมที่ดินในขณะนั้น แล้วแต่ว่าราคาใดมากกว่า  **หมายเหตุ การไถ่ถอนขายฝาก โดยหลักการแล้ว […]

อ่านเพิ่มเติม
จัดการสินสมรส ในรูปแบบอสังหา แบ่งอย่างไรให้ลงตัว
1
Dec 23
วิธีจัดการสินสมรสในรูปแบบอสังหา แบ่งอย่างไรให้ลงตัว

ปัญหาการหย่าร้างมีมากกว่าขึ้นทุกปี ซึ่งสาเหตุของการหย่าร้างมาจากทั้ง 2 ฝ่าย เกิดจากถูกกดดันจากครอบครัวและความไม่เข้าใจกัน ทำให้เกิดครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวมากขึ้น และสิ่งที่ตามมาหลังจากการหย่าร้างกันนั้นคือ “จัดการสินสมรส” ที่อาจทำให้เกิดความขัดแย้งต่อกันมากที่สุด ยิ่งสินสมรสนั้นเป็น อสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน บ้าน คอนโดมิเนียม ที่ซื้อมาร่วมกันโดยไม่ใช่การรับมรดก ถือว่าเป็นทรัพย์สินที่มักมีราคาค่างวดมาก การจะทำอะไรที่เป็นการทำให้สิทธิที่มีอยู่อาจเสียไปอย่าง เช่น การขาย จะต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่าย กฎหมายจึงเปิดโอกาสให้คู่สมรสสามารถตกลงวิธีการ เงื่อนไข และข้อจำกัดเกี่ยวกับสินสมรสกันๆ ได้เห็นสมควร ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476 กำหนดวิธี จัดการสินสมรส ไว้ เรื่อง คู่สมรสต้องจัดการสินสมรสร่วมกันได้ จัดการอสังหาริมทรัพย์ร่วมกัน ในส่วนของอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะบ้านหรือที่ดิน จะทำการขาย แลกเปลี่ยน ขายฝากให้เช่าชื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง ต้องได้รับการยินยอมร่วมกัน ให้ผู้อื่นเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี เมื่อมีการปล่อยให้เช่าในระยะเวลาเกิน 3 ปี สามีและภรรยาต้องตกลงและทำธ […]

อ่านเพิ่มเติม