5 เรื่องไม่ลับ ที่คุณไม่รู้เกี่ยวกับการเป็น นายหน้าอสังหา
22
Feb 23

นายหน้าอสังหา เป็นอาชีพหนึ่งที่สร้างรายได้ดีมาก
และมีความอิสระในการทำงานค่อนข้างสูง หลายคนมองว่าอาชีพนี้เป็นอาชีพที่หาเงินได้ง่าย
และหาเงินได้ครั้งละเยอะๆ

แค่ทำหน้าที่เป็นคนกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ไม่ได้ใช้พลังงานในการทำงานมากเท่าไหร่
เพราะผู้ซื้อและผู้ขายมีความต้องการในการซื้อและขายอยู่แล้ว แต่คุณรู้หรือไม่ว่าจริงๆ
แล้ว นายหน้าอสังหา อย่างเราต้องเจอกับอะไรบ้างที่คนนอก “คาดไม่ถึง”

#ต้องเรียนรู้ตลอดเวลา ใช้ความรู้ในหลายๆ ศาสตร์
อาชีพนายหน้าอสังหาฯ เป็นงานขาย เราก็ต้องใช้ทักษะในการขายในการทำงานเหมือนเซลล์สินค้าประเภทอื่นๆ
ซึ่งทักษะในการขายก็ต้องถูกพัฒนาไปตามการเปลี่ยนแปลงของตลาดเช่นเดียวกัน
นอกจากทักษะการขายที่ต้องพัฒนาตลอดเวลาแล้ว เรายังต้องมีทักษะทางด้านการตลาดอีกด้วย
เพื่อเป็นส่วนช่วยในการขายและการเข้าถึงลูกค้าให้ได้มากขึ้น

การแข่งขันที่สูงขึ้นทุกวัน อย่างที่ทุกคนรู้ว่าอาชีพนายหน้าอสังหาฯ เป็นอาชีพที่เริ่มต้นได้ง่าย
ใครก็สามารถเข้ามาทำอาชีพนี้ได้ทั้งนั้น นายหน้าที่จะอยู่รอดและประสบความสำเร็จ
จะต้องเป็นนายหน้าที่พัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา อัพเดตและรอบรู้เรื่องราวในตลาดอสังหาฯ เป็นอย่างดี

#รายได้ไม่แน่นอน
แม้ว่ารายได้ของนายหน้าจะได้เป็นก้อน โดยเฉพาะรายได้ของนายหน้าขายอสังหาฯ
ที่บางครั้งอาจจะได้ถึงหลักแสนเลยทีเดียว หรือแม้แต่นายหน้าเช่าคอนโดที่จะได้ครั้งละหลักหมื่นหรือแสนต้นๆ
แต่ถ้าช่วงไหนมีลูกค้าเยอะ ก็สามารถหารายได้เดือนละหลายแสนเลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าเราจะรายได้ดีสม่ำเสมอ บางช่วงที่ลูกค้าเงียบ หรือมีสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง
อย่างเช่นสถานการณ์โควิด-19 ที่เราเจอกันมาเกือบ 2 ปี ก็ต้องยอมรับว่า รายได้ของนายหน้าอสังหาฯ
ได้รับผลกระทบมากพอสมควร

อีกสิ่งหนึ่งคือ รายได้ของเราไม่ใช่รายได้ประจำ ไม่มีความมั่นคงขึ้นอยู่กับความขยันและความพยายามของเราล้วนๆ
ถ้าช่วงไหนที่เราไม่ได้ปิดดีล หรือไม่ได้ทำงาน เราก็จะต้องขาดรายได้ ไปเลย ไม่เหมือนกับพนักงานประจำ ที่มีความมั่นคง

#เครียดและผิดหวังบ่อย
การที่เราจะปิดดีลได้ซักดีลหนึ่ง ไม่ใช่เรื่องง่าย เราต้องผ่านทั้งความเครียดและความผิดหวัง
เครียดจากการทำงาน การมีปัญหากับโคเอเจ้นท์ มีปัญหากับพาร์ทเนอร์ มีลูกค้าแต่หาทรัพย์ไม่ได้ มีทรัพย์แต่ไม่มีลูกค้า
ลูกค้าใช้เวลาตัดสินใจนาน ลูกค้าต่อราคาหนัก ผิดหวังกับการโดนเอาเปรียบ โคเอเจ้นท์ไม่ช่วยทำงาน
ลูกค้านัดแล้วไม่มา ลูกค้าเท และอีกร้อยแปดพันเก้าปัญหาที่พวกเราจะต้องเจอ

 

.#โดนโกง
อีกหนึ่งเรื่องที่พวกเราก็ต้องเจอเหมือนกัน กลโกงในวงการอสังหาฯก็มีอยู่หลายรูปแบบ
เช่น โคเอเจ้นท์ไม่จ่ายค่าคอมที่ต้องแชร์กันหลังจากการปิดดีล โคเอเจ้นท์เอาข้อมูลจากเราแล้วแอบไปปิดดีลเอง
เจ้าของที่ดินผิดนัดเราแล้วแอบไปปิดดีลกับลูกค้าโดยตรงเพราะไม่อยากจ่ายค่าคอม ฯลฯ

นายหน้าอย่างเราก็ต้องระมัดระวังตัว และมีความรอบคอยในการทำงานเช่นเดียวกัน
เพื่อให้เราได้รับค่าตอบแทนให้คุ้มค่ากับการทำงานของเรา

#เป็นทุกอย่างให้เธอแล้ว
นายหน้าอสังหาฯ อย่างพวกเราโดยเฉพาะนายหน้าฟรีแลนซ์ เราต้องเป็นทุกอย่างในตัวเอง
ทำทุกอย่างด้วยตัวเอง เป็นนักขาย เป็นนักการตลาด เป็นนักกฎหมายเป็นนักบัญชี เป็นนักเจรจา
เป็นผู้ประสานงาน เป็นทีมดูแลหลังการขายเป็นช่าง ฯลฯ เป็นทุกอย่างสารพัดกว่าจะปิดดีลได้ซักดีลหนึ่ง
และงานของเราไม่ได้จบแค่การปิดดีล การเป็นนายหน้าที่ดี เราจะต้องดูแลลูกค้าจนจบสัญญา
เพื่อสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าของเรา

เห็นมั้ยละคะ กว่าเราจะได้คอมมิชชั่นซักก้อนหนึ่งเราจะต้องพบเจอกับอะไรบ้าง
นอกจาก 5 ข้อนี้ยังมีอีกเยอะแยะมากมาย ดูจากในรูปสิคะ แล้วคุณจะรู้จัก และเข้าใจเรามากขึ้น

 5 เรื่องไม่ลับ ที่คุณไม่รู้เกี่ยวกับการเป็น นายหน้าอสังหา

หากสนใจลงทุนจำนอง ขายฝาก Property4cash ยินดีให้คำปรึกษา

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

ที่ดิน กรรมสิทธิ์รวม ซื้อขาย ขายฝากหรือจำนองได้หรือไม่?
23
Dec 23
ที่ดิน กรรมสิทธิ์รวม ซื้อขาย ขายฝากหรือจำนองได้หรือไม่?

ในการ ซื้อขายที่ดิน หรือมีการ ขายฝากจำนองที่ดิน เกิดขึ้น หากเราเป็นเจ้าของคนเดียวก็คงไม่ยากที่จะนำที่ดินแปลงนั้นออกมาจำหน่ายหรือทำธุรกรรมได้ แต่ถ้าที่ดินนั้นเป็นมรดกตกทอดที่มีเจ้าของ 2 – 3 คนขึ้นไป หรือเรียกได้ง่ายๆ ว่าที่ดินตรงนั้นมีเจ้าของ กรรมสิทธิ์รวม กรรมสิทธิ์รวม คืออะไร กรรมสิทธิ์รวมหมายถึง การที่มีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปหรือมากกว่านั้นเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกัน โดยในโฉนดที่ดินไม่ได้ระบุว่าเจ้าของรวมคนใดเป็นเจ้าของส่วนไหนบ้าง ตามกฎหมายแล้วสันนิษฐานว่าเจ้าของรวมแต่ละคนจะต้องมีสัดส่วนที่ดินเท่าๆ กัน และมีสิทธิ์ในการจัดการทรัพย์สินร่วมกัน การซื้อขาย ขายฝากหรือจำนองที่ดินกรรมสิทธิ์รวม ทำได้หรือไม่? ถ้าเจ้าของที่ดินกรรมสิทธิ์รวม ไม่ได้มีการตกลงแบ่งสัดส่วนที่ดินอย่างชัดเจน เมื่อมีเจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งต้องการซื้อขายหรือมีการขายฝากจำนองที่ดินเกิดขึ้น ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทุกๆ คนก่อน ไม่เช่นนั้นจะถือว่าไม่สมบูรณ์ กลายเป็นความยุ่งยากที่ก่อให้เกิดภาระติดพันในส่วนของความเป็นเจ้าที่ดินของตนเอง แต่หากเจ้าของที่ดินกรรมสิทธิ์รวม มีการตกลงแบ่งที่ดินเป็นสัดส่วนชัดเจนแล้ว มีการระบุในโฉนด […]

อ่านเพิ่มเติม
25
Aug 23
โฉนดที่ดินหาย! ทำยังไงดี

#โฉนดที่ดิน อาจจะเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับหลายๆ คน เพราะเมื่อได้มาเราก็จะเก็บมันไว้เพราะเป็นเอกสารสำคัญของบ้าน และไม่ใช่เอกสารที่จะพกพาติดตัว เนื่องจากมีขนาดที่ใหญ่ แต่หากวันไหนที่ต้องใช้และพบว่า โฉนดที่ดินหาย หรือเกิดชำรุดขึ้นมาล่ะ จะทำยังไง? ก่อนอื่นไม่ต้องตกใจไปนะคะ เราสามารถยื่นขอโฉนดที่ดินใหม่ได้ ส่วนขั้นตอนจะเป็นอย่างไร วันนี้เราจะมาบอกทุกคนเองค่ะ แจ้งความต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น อันดับแรกเลยก็คือต้องไป แจ้งความต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เพื่อลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน เพื่อยืนยันว่าเจ้าของที่ดินนั้นไม่ได้นำโฉนดที่ดินไปจำหน่าย #จำนอง หรือแลกเปลี่ยนเป็นของผู้อื่น ติดต่อกับสำนักงานที่ดิน เมื่อได้ใบบันทึกประจำวันมาเรียบร้อยแล้ว ให้นำเอกสารมาติดต่อที่สำนักงานที่ดิน เพื่อขอโฉนดที่ดินใหม่ โดยเอกสารที่ต้องเตรียมไปด้วยมีดังนี้ – บัตรประชาชนตัวจริงของผู้ที่ยื่นขอโฉนดที่ดินใหม่ – ทะเบียนบ้านตัวจริงของผู้ที่ยื่นขอโฉนดที่ดินใหม่ – ใบแจ้งความ / บันทึกประจำวัน – พยานบุคคล 2 คน พร้อมบัตรประชาชนตัวจริง ซึ่งหากเกิดปัญหาในภายหลัง พยานทั้ง 2 คนนี้ จะต้องเป็นพยานในชั้นศาลด้วย เมื่ […]

อ่านเพิ่มเติม
3 วิธี กู้ร่วม ซื้ออสังหาฯ แบบง่ายๆ ของชาว LGBTQ
15
Jun 23
3 วิธีกู้ร่วมซื้ออสังหาฯ แบบง่ายๆ ของชาว LGBTQ

ถึงแม้ว่าทางเลือกในการมีบ้านสักหลังของคู่รัก LGBTQ จะยังมีไม่มากนัก โดยเฉพาะการกู้ร่วมซื้อบ้าน แต่ใช่ว่าจะไม่มีทางเลือกเลยเพราะปัจจุบัน มีหลายธนาคารที่เปิดโอกาสให้กลุ่ม LGBTQ กู้ร่วม ซื้อบ้านได้ ลองมาดูรายละเอียดว่าคู่รัก LGBTQ จะต้องทำอย่างไรถึงกู้ร่วมซื้อบ้านได้ #เช็คธนาคารอนุมัติสินเชื่อบ้าน กรณีกู้ร่วมเพศเดียวกัน ปัจจุบันกลุ่ม LGTBQ ถือเป็นผู้บริโภคที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงมีหลายธนาคารที่สามารถอนุมัติการ กู้ร่วม ของคนกลุ่มนี้ได้ นั่นคือ – ธนาคารกสิกร – ธนาคารออมสิน – ธนาคารธนชาติ – ธนาคารยูโอบี – ธนาคารกรุงเทพ – ธนาคารทหารไทย – ธนาคารไทยพาณิชย์ – ธนาคารกรุงศรีฯ – ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด โดยแต่ละธนาคารจะมีเงื่อนไขแตกต่างกันไป แต่คุณสมบัติพื้นฐานของที่ผู้ยื่นกู้ร่วมที่เหมือนกันมีดังนี้ – ผู้กู้เป็นบุคคลธรรมดา สัญชาติไทย – ผู้กู้อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 65 ปี – ไม่เคยเป็นลูกหนี้ปรับโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน – หลักฐานว่าคู่ของเราอยู่ร่วมกันจริง เช่น บัญชีเงินฝากที่เปิดร่วมกัน #ตรวจเอกส […]

อ่านเพิ่มเติม