ทรัพย์ติดจำนองขายได้ไหม ?
16
Oct 24

เมื่อคุณเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ทำขายฝากหรือจำนองไว้ สิ่งหนึ่งที่หลายคนอาจสงสัย คือ ทรัพย์ติดจำนองขายได้ไหม ? เพราะการจัดการ ทรัพย์ขายฝาก ในสถานะนี้เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายหลายด้าน การเข้าใจเงื่อนไขและข้อจำกัดในการขายทรัพย์สินที่อยู่ภายใต้การขายฝากหรือจำนองจึงเป็นสิ่งสำคัญ มาดูกันว่ามีข้อควรรู้หรือเงื่อนไขอะไรบ้างที่คุณควรพิจารณาก่อนตัดสินใจประกาศขาย

การทำขายฝากหรือจำนองเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการให้สินเชื่อหรือการตั้งหลักประกันเพื่อกู้เงินกับทรัพย์สิน เช่น บ้าน ที่ดิน คอนโด ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการขายทรัพย์สินนั้นดังนี้

ขายฝาก: เมื่อคุณทำขายฝาก ทรัพย์ขายฝาก จะยังคงเป็นของคุณในทางกฎหมาย แต่เจ้าของที่ได้ทำขายฝากจะมีสิทธิ์ในการไถ่ทรัพย์สินกลับในอนาคตโดยการชำระเงินตามที่ตกลงไว้ (ปกติจะมีระยะเวลาและอัตราดอกเบี้ยที่ตกลงกัน) หากไม่ไถ่กลับภายในระยะเวลาที่กำหนด เจ้าของทรัพย์สินจะสูญเสียสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นไปและผู้ที่รับขายฝากจะได้ทรัพย์สินไป แต่เจ้าของทรัพย์เดิมสามารถประกาศขายบ้านได้ หากมีผู้ซื้อ ทรัพย์ก็นำเงินที่ประกาศขายได้ไปชำระเงินแก่ผู้รับซื้อฝากเพื่อไถ่ทรัพย์สินกลับและปลดการขายฝากก่อนการโอนกรรมสิทธิ์บ้านให้กับผู้ซื้อนั่นเอง

จำนอง: ในกรณีของการจำนอง, ทรัพย์สิน บ้าน คอนโด ที่ดิน จะยังคงอยู่ในชื่อของคุณ, แต่จะมีการจดจำนองไว้เป็นหลักประกันการชำระหนี้กับเจ้าหนี้ หากคุณไม่สามารถชำระหนี้ได้ เจ้าหนี้สามารถนำบ้านไปขายเพื่อชำระหนี้ได้ การขายทรัพย์สินในกรณีนี้คุณสามารถขายบ้านได้ แต่ต้องปิดหนี้จำนองให้เรียบร้อย หรือได้รับการยินยอมจากเจ้าหนี้เพื่อปลดจำนองก่อนการโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ซื้อ

การขายบ้านที่มีสัญญาขายฝาก จำนองเดิมอยู่นั้น ถ้าคุณทำการขายฝากบ้านแล้ว เจ้าของบ้านยังสามารถขายบ้านนั้นได้ เจ้าของเดิมมีสิทธิ์ในการไถ่ถอนบ้านภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าหากทำขายฝากแล้วมีผู้สนใจจะซื้อบ้านหลังที่เราประกาศขายและติดสัญญาขายฝากอยู่ เจ้าของทรัพย์ก็เพียงแค่นำเงินที่ขายได้ส่วนนึงมาชำระหนี้คืนให้แก่ผู้รับซื้อฝาก หรือที่เรียกกันว่า ค่าไถ่ถอน ตามตัวเลขที่ตกลงกันในสัญญา และเจ้าของทรัพย์ก็รับส่วนต่างจากการชำระหนี้สินทั้งหมดกลับไป

ทรัพย์ติดจำนองขายได้ไหม ? ; ทรัพย์ขายฝาก

การไถ่ถอนขายฝาก คือ การที่ผู้ขาย (เจ้าของทรัพย์) ชำระหนี้หรือเงินที่ตกลงกับเจ้าหนี้ในสัญญาขายฝากเพื่อคืนกรรมสิทธิ์ (หรือสิทธิ์ในการครอบครอง) กลับมายังเจ้าของทรัพย์ หลังจากที่เจ้าของทรัพย์ได้ขายทรัพย์ให้กับเจ้าหนี้โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ขายสามารถไถ่คืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดในสัญญาขายฝาก

ขั้นตอนการไถ่ถอนขายฝากไม่ยุ่งยากเลย ทรัพย์ต้องตรวจสอบยอดเงินที่ต้องไถ่ถอน เมื่อต้องการไถ่ถอนบ้านจากการขายฝากทรัพย์ต้องตรวจสอบยอดเงินที่ต้องชำระกับเจ้าหนี้ ซึ่งรวมถึง เงินต้น (ที่ขายฝาก) และ ดอกเบี้ย ตามที่ได้ตกลงในสัญญา เช่น เงินต้น 1,000,000 บาท ดอกเบี้ย 15% ต่อปี เท่ากับว่า ค่าไถ่ถอนขายฝากจะเป็นเงิน 1,150,000 บาท เมื่อชำระหนี้สินเรียบร้อยแล้ว ทรัพย์จะมีการลงนาม หรือเซ็นต์ในเอกสารปลอดขายฝาก หลังจากที่ชำระหนี้เรียบร้อย เจ้าหนี้จะต้องลงนามในเอกสาร “ปลอดขายฝาก” หรือ “ปลดการขายฝาก” เพื่อยืนยันว่าเจ้าหนี้ได้ปลดสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นคืนให้แก่เจ้าของทรัพย์ เจ้าของทรัพย์ก็สามารถนำเอกสารไปยื่นให้กับ สำนักงานที่ดินเพื่อทำการยกเลิกการจดขายฝาก

ในส่วนของการดำเนินการขอปลดการขายฝากที่สำนักงานที่ดิน เมื่อมีเอกสารปลอดขายฝากแล้ว เจ้าของบ้านสามารถนำเอกสารนี้ไปยื่นที่ สำนักงานที่ดิน เพื่อขอให้ทำการยกเลิกการจดขายฝากในทะเบียนที่ดิน และให้โอนกรรมสิทธิ์กลับเป็นของเจ้าของเดิม เมื่อขั้นตอนการไถ่ถอนขายฝากเสร็จสมบูรณ์  เจ้าของทรัพย์จะได้รับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นคืน และทรัพย์สินนั้นจะกลับมาเป็นของเจ้าของเดิมโดยสมบูรณ์ถูกต้องตามกฎหมาย

ในส่วนการโอนขายบ้านเป็นกระบวนการที่เจ้าของบ้าน (ผู้ขาย) และผู้ซื้อบ้านต้องทำการโอนกรรมสิทธิ์บ้านจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อ โดยผ่านขั้นตอนทางกฎหมายที่สำนักงานที่ดิน เพื่อให้การโอนกรรมสิทธิ์นั้นสมบูรณ์และถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งขั้นตอนการโอนบ้านมีรายละเอียดดังนี้

เตรียมเอกสาร ก่อนที่จะไปโอนที่สำนักงานที่ดิน ผู้ขายและผู้ซื้อจำเป็นต้องเตรียมเอกสารให้พร้อม ซึ่งเอกสารที่ต้องใช้มีดังนี้ โฉนดที่ดิน , ทะเบียนบ้าน , บัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ , สัญญาซื้อขาย , เอกสารการชำระหนี้ (ถ้ามีการจำนองหรือขายฝาก) หากบ้านมีการจำนองหรือขายฝากอยู่ ผู้ขายต้องทำการปลดจำนองหรือไถ่ขายฝากให้เสร็จก่อน เพื่อให้สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้อย่างสมบูรณ์

ตรวจสอบสถานะบ้านและที่ดิน ก่อนการโอนกรรมสิทธิ์ ควรตรวจสอบสถานะของบ้านและที่ดินว่าไม่มีภาระผูกพันหรือข้อพิพาท เช่น ไม่มีการจำนองขายฝาก หรือมีการไถ่ถอนจำนองขายฝากเรียบร้อยแล้ว ผู้ขายเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง

ตกลงราคาและวิธีการชำระเงิน ก่อนที่จะไปโอนกรรมสิทธิ์กันที่สำนักงานที่ดิน, ผู้ขายและผู้ซื้อจะต้องตกลงเรื่องราคาขายและวิธีการชำระเงิน เช่น ชำระทั้งหมดในครั้งเดียว หรือชำระตามงวดที่ตกลงกัน (โดยมักจะชำระก่อนโอนกรรมสิทธิ์เพื่อความปลอดภัย)

ไปที่สำนักงานที่ดินเพื่อทำการโอน เมื่อทั้งผู้ขายและผู้ซื้อเตรียมเอกสารทั้งหมดพร้อมแล้ว ให้ไปที่ สำนักงานที่ดิน ที่ตั้งของบ้านเพื่อทำการโอนกรรมสิทธิ์ โดยจะมีขั้นตอนดังนี้:

กรอกแบบฟอร์มโอนกรรมสิทธิ์ ทั้งผู้ขายและผู้ซื้อจะต้องกรอกเอกสารที่สำนักงานที่ดินเตรียมไว้สำหรับการโอน

จ่ายค่าธรรมเนียมการโอน และภาษี ค่าธรรมเนียมโอนกรรมสิทธิ์บ้านจะคิดตามราคาประเมินที่ดินหรือราคาขายที่สูงกว่า ซึ่งตามกฎหมายจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 2% ของราคาซื้อขายบ้าน และค่าภาษีต่างๆสามารถสอบถามเจ้าหน้าที่กรมที่ดินได้เลย

สำนักงานที่ดินออกเอกสารโอน เมื่อกระบวนการโอนเสร็จสิ้น สำนักงานที่ดินจะทำการออกเอกสารเพื่อยืนยันการโอนกรรมสิทธิ์ และทั้งผู้ขายและผู้ซื้อจะได้รับ โฉนดที่ดิน (หรือหนังสือกรรมสิทธิ์) ที่ใหม่ โดยระบุชื่อของผู้ซื้อใหม่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แทนผู้ขายใบเสร็จรับเงิน หรือ เอกสารที่แสดงการชำระเงินค่าธรรมเนียมต่างๆ ทั้งนี้เมื่อการโอนเสร็จสมบูรณ์แล้ว, ผู้ซื้อจะเป็นเจ้าของบ้านและที่ดินอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และสามารถนำเอกสารโอนกรรมสิทธิ์ไปใช้อ้างอิงในการทำธุรกรรมอื่นๆ ได้

 

สรุปแล้ว สำหรับข้อสงสัยที่ถามว่า… ทรัพย์ติดจำนองขายได้ไหม คำตอบคือ สามารถทำได้!! แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขและข้อกำหนดตามกฎหมาย หากคุณเป็นเจ้าของทรัพย์ที่อยู่ในสถานะนี้ ควรตรวจสอบสัญญาและข้อกฎหมายอย่างรอบคอบ รวมถึงปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์หรือทนายความก่อนที่จะดำเนินการใด ๆ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องจะช่วยให้คุณสามารถจัดการทรัพย์สินของคุณได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

 

—————————————————–

Property4Cash ยินดีให้คำปรึกษาและช่วยเพิ่มทุนให้กับทุกคนที่ต้องการเงินด่วน และต้องการเงินเพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจ ไม่เช็คแบล็คลิส ไม่เช็คเครดิตบูโร

อนุมัติรวดเร็วทันใจ นึกถึง ขายฝากจำนอง นึกถึง Property4Cash

Line: @Property4Cash

โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash

ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

ทรัพย์สินหลุดจำนอง จาก กรมบังคับคดี คืออะไร?
23
Jan 25
ทรัพย์สินหลุดจำนอง จาก กรมบังคับคดี คืออะไร?

ทรัพย์สินหลุดจำนอง จาก กรมบังคับคดี คืออะไร? ทรัพย์สินหลุดจำนอง จาก กรมบังคับคดี คือ ทรัพย์สินที่เจ้าของเดิมได้นำไปจำนองกับสถาบันการเงินหรือผู้ให้กู้เงิน แต่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามเงื่อนไขในสัญญา เมื่อผู้กู้ผิดนัดชำระ เจ้าหนี้จึงดำเนินการทางกฎหมายเพื่อบังคับคดีและนำทรัพย์สินที่จำนองไว้เข้าสู่กระบวนการขายทอดตลาด โดยกรมบังคับคดีเป็นหน่วยงานหลักที่จัดการในกระบวนการดังกล่าว   กระบวนการทรัพย์สินหลุดจำนอง การแจ้งเตือนและฟ้องร้อง เมื่อผู้กู้ผิดนัดชำระ เจ้าหนี้จะส่งหนังสือแจ้งเตือนให้ชำระหนี้ หากยังไม่ดำเนินการ เจ้าหนี้สามารถฟ้องร้องต่อศาลเพื่อเรียกคืนทรัพย์สิน การบังคับคดี หากศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าหนี้สามารถบังคับคดีได้ กรมบังคับคดีจะเริ่มกระบวนการตรวจสอบและยึดทรัพย์สินที่จำนองไว้ การขายทอดตลาด ทรัพย์สินที่ถูกยึดจะถูกนำเข้าสู่กระบวนการขายทอดตลาด เพื่อชำระหนี้ที่ค้างอยู่ โดยรายได้จากการขายจะถูกนำไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ก่อน หากมีเงินเหลือจะคืนให้เจ้าของเดิม   ข้อดีของการซื้อทรัพย์สินหลุดจำนอง ราคาถูกกว่าในตลาด: ทรัพย์สินหลุดจำนองมักมีราคาต่ำกว่าราคาประเมินหรือราคาตลาด เนื่องจากเป็นการ […]

อ่านเพิ่มเติม
ไถ่ถอนจำนอง-ขายฝาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ?
22
Mar 23
ไถ่ถอนจำนอง-ขายฝาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ?

เพื่อนๆ หลายคนที่มีข้อสงสัยว่าถ้าต้องการ “ไถ่ถอน” จำนองและขายฝากต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรไหม ? เพราะว่าบางคนอาจจะมีความสามารถชำระหนี้หมดก่อนเวลาที่กำหนดไว้  ซึ่งการ ไถ่ถอนจำนอง หรือขายฝากนั้น ก็มีความแตกต่างกันแล้วแต่กรณีตามประเภทของการไถ่ถอน วันนี้เราจะพาทุกคนไปหาคำตอบกันว่า การไถ่ถอนจำนอง และขายฝาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ? ไปดูกันเลย การ ไถ่ถอนจำนอง คืออะไร คือ เจ้าของที่ดิน หรือเจ้าของทรัพย์ ได้จดทะเบียนจำนองไว้เป็นหลักค้ำประกันในการชำระหนี้ ต่อมาได้ทำการชำระหนี้ที่จำนองไว้เสร็จสิ้นแล้ว เมื่อชำระหนี้หมดแล้ว ต้องไปจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองเพื่อแก้ไขเอกสารสิทธิว่าไม่มีการจำนอง หรือปลอดจำนองแล้วนั่นเอง วิธีการไถ่ถอนจำนอง มี 2 แบบ ผู้จำนอง และ ผู้รับจำนอง ไปที่สำนักงานที่ดิน เพื่อยื่นคำขอจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองต่อเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน พร้อมกัน ผู้ที่มีสิทธิในที่ดินหรือผู้มีสิทธิไถ่ถอนเพียงฝ่ายเดียว ไปที่สำนักงานที่ดิน นำหลักฐานที่ผู้รับจำนองได้ทำเป็นหนังสือหลังสัญญาจำนอง ฉบับผู้รับจำนองว่าได้มีการไถ่ถอนจากจำนองแล้ว มีการชำระหนี้ครบแล้ว ไปขอจดทะเบียนไถ่ถอน ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ณ […]

อ่านเพิ่มเติม
ไถ่ถอนขายฝาก
10
Jan 23
เฮ้ย! ไถ่ถอนขายฝาก ต้องเสียค่าธรรมเนียมด้วยหรอ!!!

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การทำขายฝากนั้น ต้องเสียค่าธรรมเนียมที่สำนักงานที่ดิน เสมือนว่าเป็นการซื้อขายกันปกติ แต่ผู้ขายฝากหลายๆ คนนั้นไม่รู้ และนายทุนผู้รับขายฝากหรือนายหน้าก็ไม่ได้บอกเราไว้ ทำให้เจ้าของทรัพย์ที่มาทราบทีหลัง ตกใจกับค่าใช้จ่ายที่งอกขึ้นมาแบบไม่ทันตั้งตัว ไม่ทันได้เตรียมใจมาก่อน เรามาดูกันดีกว่าว่า ค่าใช้จ่ายในการ ไถ่ถอนขายฝาก นั้น มีอะไรบ้าง..? การไถ่ถอนขายฝาก เปรียบเสมือน “การซื้อกลับ” แต่เป็นการซื้อกลับภายในระยะเวลาสัญญาที่ตกลงกันไว้ โดยมีค่าใช้จ่ายในการไถ่ถอนเหมือนกับการซื้อขายโดยทั่วไปตามปกติเช่นกัน ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สำนักงานที่ดินอีกครั้ง ทั้งในกรณีบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล  ค่าใช้จ่ายการ ไถ่ถอนขายฝาก ค่าธรรมเนียม – แปลงละ 50 บาท ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย – คำนวณตามระยะเวลาถือครอง ตามเกณฑ์ของกรมสรรพากร นับตั้งแต่วันที่ได้ทำสัญญาขายฝากจนถึงวันที่จดทะเบียนไถ่ถอนขายฝาก อากรแสตมป์ – ร้อยละ 50 สตางค์ (0.50%) โดยคำนวณจากราคาที่จดทะเบียนขายฝาก หรือ ราคาประเมินจากกรมที่ดินในขณะนั้น แล้วแต่ว่าราคาใดมากกว่า  **หมายเหตุ การไถ่ถอนขายฝาก โดยหลักการแล้ว […]

อ่านเพิ่มเติม