16
Feb 23

ถนน ทางสัญจร ที่เราใช้สัญจร อย่างเป็นปกติตลอดการอยู่อาศัยของเรานั้น บางที่บางแห่ง แท้จริงแล้ว
อาจจะไม่ใช่ถนนสาธารณะ ที่ทุกคนมีสิทธิ์ในการใช้ หรือเป็นเจ้าของร่วมกัน อย่างที่เราเข้าใจก็ได้นะ
ทีนี้เราจะรู้ได้อย่างไร ทีม Landthaimart เราจะพาไปรู้จักวิธีตามหาความจริงกันค่ะ

ก่อนอื่น ในบทความนี้ จะขออนุญาตแบ่งกรรมสิทธิของถนนเป็น 2 ประเภทก่อน เพื่อความเข้าใจง่ายๆ
1.ถนนสาธารณะ

ชื่อก็บ่งบอกอยู่แล้ว ว่าสาธารณะ ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ มีงบประมาณของแผ่นดิน จากภาษีของประชาชนเข้ามาบำรุงดูแลรักษา
ทุกคนมีสิทธิ์ใช้ ดูแล ปกป้อง ถนนสาธารณะร่วมกัน การเช็คว่าเป็นสาธารณะหรือไม่ จะกล่าวถึงละเอียดต่อไป
บางครั้งเราจะเห็นป้ายหน้าปากซอย ที่เป็นงบประมาณของเขต ติดตั้งอยู่ ก็ไม่ได้แสดงว่า ถนน ซอย นี้ เป็นสาธารณะเสมอไป
บางครั้ง มีไว้เพื่อเป็น landmark เพื่ออำนวยความสะดวก ต่อการเดินทาง การบอกจุดหมาย การขนส่ง เท่านั้น
หากในอนาคตถนนนี้ (ส่วนบุคคล) ที่มีป้ายถนนติดชื่อยู่ มีการซื้อไปเพื่อพัฒนาเป็นโครงการอื่นๆ มีการพิสูจน์สิทธิ์แล้วว่า
เป็นที่ดินส่วนบุคคลจริง ป้ายซอย หรือป้ายชื่อถนนแบบนี้ ก็สามารถที่จะถูกรื้อถอนโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไปได้ ถ้าเจ้าของกรรมสิทธิ์มีการเดินเรื่องให้รื้อถอน

 

2.ถนนส่วนบุคคล

คือ ถนนที่มีเจ้าของ มีชื่อตามกรรมสิทธิ์อยู่หลังโฉนด เป็นเจ้าของได้ในรูปแบบนิติบุคคล บริษัท หรือ บุคคลธรรมดาก็ได้ทั้งหมด
ถนนส่วนบุคคลบางแห่งก็เปิดเผยให้คนอื่นๆ ที่ไม่ใช่เจ้าของใช้สัญจรได้ตามปกติ หรือบางแห่งมีการเก็บค่าผ่านทางแสดงความมีเจ้าของอย่างชัดเจน
มีชื่อซอยที่แสดงว่าเป็นส่วนบุคคลอย่างชัดเจน บางแห่งให้ใช้ได้เลยฟรีๆ เหมือนของสาธารณะ ทั้งๆ ที่ถนนเส้นนี้เป็นโฉนด มีชื่อแสดงความเป็นเจ้าของอยู่หลังโฉนด
ถนนส่วนบุคคลบางแห่งก็มีสภาพตามงบประมาณของเจ้าของ บางแห่งก็มีสภาพทางกายภาพ มีการบำรุงรักษาอย่างดี เทคอนกรีต มีฟุตบาท มีท่อระบายน้ำ
ไม่สามารถตัดสินได้ด้วยลักษณะกายภาพได้เลย ว่าเป็นสาธารณะหรือส่วนบุคคลกันแน่

 

เราเลยจะมาบอกวิธีเช็คให้รู้ความจริงกันไปเลย

  1. เริ่มจาก ดูหน้าโฉนด ของแปลงที่ดินของเราเองก่อน ว่าหน้าแผนที่ติดถนนสาธารณประโยชน์หรือไม่
  2. ตรวจจากระวางกรมที่ดิน
    ในระวางที่ดิน สามารถระบุสเตตัสถนนได้ว่า ถนนนั้นมีเลขที่ดิน กำกับอยู่ แสดงว่าเป็นส่วนบุคคล หรือ ระบุชัดๆ ไปเลยว่าเป็นถนนสาธารณประโยชน์
    หรือ เป็นคลองสาธารณประโยชน์ (ถนนบางเส้นในอดีตเป็นคลอง สภาพปัจจุบัน แปรเปลี่ยนเป็นถนน) บุคคลทั่วไปสามารถยื่นคำร้องขอตรวจสอบระวาง
    ในฐานะที่เป็นเจ้าของที่ดินเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในที่ดินนั้นๆ เพื่อขอทราบสเตตัสของถนนได้ ที่สำนักงานที่ดิน มีค่าธรรมเนียมคำร้อง และค่าคัดถ่ายเอกสาร

แถมต่อให้อีกนิด การที่เราอยากจะทราบขนาดถนนอย่างเป็นทางการ ตามขนาดที่ระบุในระวางนั้น สามารถวัดสเกลได้จากระวางมาตฐาน แล้วเทียบมาตราส่วน
การดึงสายวัดเอง จากหน้าที่ดิน สามารถระบุขนาดของเขตทางและผิวจราจร ได้อย่างคร่าวๆ เท่านั้น  ไม่สามารถใช้อ้างอิงอย่างทางการได้
การจะใช้เอกสารความกว้างถนนเพื่ออ้างอิงทางการนั้น ต้องรังวัดโดยช่างรังวัดของกรมที่ดิน และต้องยื่นการรังวัดสอบเขตตามกระบวนการของรัฐเท่านั้น

หากสนใจลงทุนจำนอง ขายฝาก Property4cash ยินดีให้คำปรึกษา

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

 

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

9
Jan 23
รับจำนอง ต้องเสีย “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” หรือไม่

หากเราทำการรับจำนอง จะต้องเสียภาษีหรือไม่? และถ้าจะต้องเสีย จะต้องชำระภาษีอย่างไร? เป็นคำถามที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ที่เป็นมือใหม่ในวงการนี้ เรื่องภาษี เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวทุกคนมากๆ แต่บางทีก็เป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ยากสำหรับหลายๆ คน แต่ไม่ต้องห่วงไปค่ะ วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยให้กับทุกคนได้ทราบ และจะได้จัดการกับเงินได้ ที่เราได้มาจากการรับจำนองได้อย่างถูกต้องกันค่ะ จะเป็นอย่างไรไปดูกันเลยค่ะ กรณีหากรับจำนอง รายได้ของท่านคือรายได้จาก ดอกเบี้ยรับ ซึ่งมีภาระภาษีดังนี้ กรณีผู้จ่ายเงิน หักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้อัตรา 15 % สามารถเลือกไม่นำเงินได้มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีประจำปีได้ กรณี ไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย อัตรา 15% จะต้องนำมารวมเป็นเงินได้ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีต้องเสียภาษีประจำปี ไม่สามารถหักรายจ่ายได้ เท่ากับว่าต้องนำรายได้ดอกเบี้ย มาหักค่าลดหย่อน และคำนวณภาษีเงินได้เลย แต่ถ้าเป็นกรณีการขาย รายได้ของท่านคือ รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะมีภาระภาษีดังนี้ ต้องนำรายได้จากการขายทั้งหมดในปีมารวมเป็นเงินได้ในการคำนวณภาษี ต้องหักรายจ่ายตามความจำเป็นและสมควร เช่น ต้นทุนในการซื้อที่ด […]

อ่านเพิ่มเติม
ก่อนลงทุนต้องรู้จักกับ อัตราการดูดซับ
19
Dec 22
ก่อนลงทุนต้องรู้จักกับ ‘อัตราการดูดซับ’

หลายต่อหลายครั้งเราเห็นคำว่า อัตราการดูดซับ ปรากฏบนข่าว ซึ่งบางทีก็อาจสร้างความสงสัยให้กับผู้ที่เพิ่งเริ่มศึกษาเรื่องอสังหาริมทรัพย์ ว่ามันคืออะไร วันนี้เราจะมาไขข้องสงสัยกันค่ะ อัตราการดูดซับ หรือ Absorption Rate คือ ดัชนีชี้วัด ‘ความต้องการ’ หรือ ‘อุปสงค์’ ของตลาดอสังหาริมทรัพย์ ว่าในทำเลนั้นๆ หรือ ตลาดของอสังหาฯ แต่ละประเภท เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมากน้อยเพียงใด ซึ่งสามารถคำนวณได้โดยการนำหน่วยที่ขายได้ หารด้วยจำนวนยูนิตทั้งหมดที่โครงการมี ยิ่งค่าสูง แสดงว่ายังเป็นที่ต้องการมาก อัตราการดูดซับนี้ เป็นหนึ่งในดัชนีที่ใช้คาดการณ์ภาวะธุรกิจ (Business Expectation Index) ซึ่งโดยส่วนมากทางภาครัฐจะเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลตัวเลขเพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูล เพื่อให้เห็นถึงจุดสูงสุดและต่ำสุดของเศรษฐกิจในประเทศ และติดตามสภาวะเศรษฐกิจ แต่ในบางครั้ง ทางผู้พัฒนาอสังริมทรัพย์เองก็มีการเก็บรวมรวบข้อมูลตัวเลขเกี่ยวกับโครงการของตน เพื่อคำนวณออกมาเป็นอัตราการดูดซับเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ครึ่งแรกของปี 2565 อัตราการดูดซับของที่อยู่อาศัยทุกประเภท ต่ำสุดในรอบ 5 ปี สำหรับบ้านเดี่ยวและบ้านแฝด อัตราการดูดซับอยู่ท […]

อ่านเพิ่มเติม
ไม่ได้แจ้ง บอกดิน มีโอกาสจะได้โฉนดไหม?
10
Dec 24
ไม่ได้แจ้ง บอกดิน มีโอกาสจะได้โฉนดไหม?

โครงการ บอกดิน คือ โครงการที่เปิดโอกาสให้ประชาชนผู้ที่มีที่ดิน แต่ไม่มีเอกสารสิทธิ หรือมีที่ดิน ส.ค. 1 น.ส.3 น.ส.3 ก แจ้งบอกข้อมูลตำแหน่งที่ดินทุกประเภท ที่ยังไม่มีโฉนดที่ดิน  โดยโครงการมุ่งเน้นการให้บริการ ในรูปแบบการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยการนำข้อมูลที่ได้ มาตรวจสอบเบื้องต้นแล้ว นำไปใช้สำหรับการจัดทำแผนงาน ด้านการบริหารจัดการที่ดินของรัฐบาล เพื่อให้ประชาชน สามารถเข้าถึงสิทธิในที่ดินได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย   ทำไมต้องมีการบอกดิน เพื่อรับแจ้งตำแหน่งที่ดิน ที่ราษฎรมีความประสงค์ให้รัฐเข้าไปดำเนินการระหว่างเจ้าหน้าที่กับราษฎรเป็นไปด้วยความยากลำบาก ล่าช้า และมีหลายรูปแบบ เพื่อรวบรวมข้อมูล ภายหลังจากมีการรับแจ้งแล้ว ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจน หรือเป็นแนวทางขั้นตอนตามระบบราชการ ถามไปถามมาเพื่อให้ได้ข้อมูลที่นำมาดำเนินการต่อได้ สิ้นเปลืองทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย การแจ้งผลไม่เป็นไปในรูปแบบบริการเบ็ดเตล็ด เช่น พื้นที่ยังไม่ประกาศเดินสำรวจในปีนี้ แต่จะทำเมื่อใดกำหนดไม่ได้ พื้นที่อยู่ของรัฐทำไม่ได้ไม่มีคำแนะนำเพิ่มเติมให้นอกจากขอให้ติดต่อหน่วยงานที่ดูแลพื้นที่ให้ถอนสภาพก่อน การบอกดิน ใช้การสื่ […]

อ่านเพิ่มเติม