มาตรการ LTV
15
May 25

          ในปี 2568 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยยังคงเผชิญกับแรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และกำลังซื้อที่ลดลง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงมีการปรับมาตรการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือที่รู้จักกันในชื่อ มาตรการ LTV  (Loan-to-Value) เพื่อกระตุ้นการซื้อ-ขายในตลาดบ้านและคอนโด

 

          ผู้สนใจลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ บ้านมือ 1 หรือบ้านมือ 2 ต้องรู้บ้าง? ว่าในปีนี้มีมาตรการที่เป็นประโยชน์ต่อคุณเยอะมาก เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในการซื้อขายที่อยู่อาศัย โดยจะมี 2 มาตรการที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อทุกคน ได้แก่ “การผ่อนปรนมาตรการ LTV” และ “มาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนบ้านและจดจำนองที่ดิน” ที่คุณมีแต่ได้กับได้ทั้งนั้น

 

ทำความรู้จักกับ LTV

          LTV (Loan-to-Value Ratio) คือ อัตราส่วนระหว่างวงเงินที่ธนาคารอนุมัติให้กู้ กับมูลค่าหลักทรัพย์ที่นำมาจำนอง (เช่น บ้านหรือคอนโด) โดยทั่วไป LTV ใช้ในการควบคุมความเสี่ยงของสถาบันการเงิน และเป็นเครื่องมือหนึ่งในการควบคุมความร้อนแรงของตลาดอสังหาริมทรัพย์

🔍 ตัวอย่าง: ถ้าคุณต้องการซื้อคอนโดราคา 3 ล้านบาท แล้วธนาคารให้กู้ 2.7 ล้านบาท เท่ากับว่า LTV = 90%

 

เทียบการผ่อนปรนมาตรการ LTV กับแบบเดิมมีผลอย่างไร?

          เกณฑ์ในการกู้ของมาตรการ LTV แต่เดิมจะแตกต่างกันกับหลังจากผ่อนปรนมาตรการ LTV ที่มีเกณฑ์การกู้ของแต่ละสัญญาไม่เท่ากัน โดยมีรายละเอียดดังนี้

LTV แบบเดิม

  • เกณฑ์ของบ้านที่มีมูลค่าน้อยกว่า 10 ล้านบาท
    • สัญญาหลังที่ 1 หรือการกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยหลังแรก จะสามารถกู้ได้เต็ม 100% และยังสามารถกู้ค่าตกแต่งบ้านได้อีก 10%
    • สัญญาหลังที่ 2 หรือการกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่สอง จะสามารถกู้ได้ 90% หลังจากผ่อนสัญญาที่ 1 มากกว่า 2 ปี และไม่สามารถขอกู้ค่าตกแต่งบ้านได้
    • สัญญาหลังที่ 3 ขึ้นไป หรือการกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่สามขึ้นไป จะสามารถกู้ได้ 80% หลังจากผ่อนสัญญาที่ 1 ไม่เกิน 2 ปี และไม่สามารถขอกู้ค่าตกแต่งบ้านได้
  • เกณฑ์ของบ้านที่มีมูลค่ามากกว่า 10 ล้านบาท
    • สัญญาหลังที่ 1 หรือการกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยหลังแรก จะสามารถกู้ได้ 90% และไม่สามารถขอกู้ค่าตกแต่งบ้านได้
    • สัญญาหลังที่ 2 หรือการกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่สอง จะสามารถกู้ได้ 80% และไม่สามารถขอกู้ค่าตกแต่งบ้านได้
    • สัญญาหลังที่ 3 ขึ้นไป หรือการกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่สามขึ้นไป จะสามารถกู้ได้ 70% และไม่สามารถขอกู้ค่าตกแต่งบ้านได้

 

LTV แบบอัปเดตใหม่

          รายละเอียดการผ่อนปรนมาตรการ LTV แบบล่าสุดปี 2568 จะแตกต่างจากแบบเดิม “ทุกสัญญาจะสามารถกู้ได้ 100% ไม่จำกัดมูลค่าบ้าน” ซึ่งสัญญาหลังที่ 1 ของบ้านที่มีมูลค่าน้อยกว่า 10 ล้านบาท จะพิเศษกว่าสัญญาอื่น ๆ ที่นอกจากจะสามารถกู้เต็มได้ 100% แล้ว ยังสามารถกู้ค่าตกแต่งบ้านเพิ่มได้อีก 10% ทำให้ผู้ที่สนใจจะซื้อไม่ว่าจะเป็นบ้านมือ 1 หรือบ้านมือ 2 “ไม่ต้องวางเงินดาวน์ในการซื้อบ้าน” โดยมาตรการ LTV แบบใหม่นี้จะเริ่มในวันที่ 1 พฤษภาคม 2568 – 30 มิถุนายน 2569

การผ่อนปรนมาตรการ LTV ดีต่อใครบ้าง?

          จากการที่ทุกสัญญาสามารถขอกู้ได้ 100% ในการผ่อนปรนมาตรการ LTV ดีต่อผู้ที่มีแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 ขึ้นไป ไม่จำกัดว่าจะเป็นบ้านมือ 1 หรือบ้านมือ 2 เนื่องจากไม่ต้องวางเงินดาวน์ให้เป็นอุปสรรคในการซื้อบ้าน หรือผู้ที่ต้องการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ ซื้อบ้านมือ 2 เพื่อนำมาทำบ้านเช่า

 

มาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนอง

          นอกจากจะมีการผ่อนปรนมาตรการ LTV แล้ว วันที่ 1 พฤษภาคม 2568 นี้ ยังมีอีกหนึ่งมาตรการที่เอื้อประโยชน์แก่ผู้ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยอีกด้วย คือ “ลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนอง  0.01% สำหรับที่อยู่อาศัยมูลค่าไม่เกิน 7 ล้านบาท ทั้งบ้านมือ 1 และบ้านมือ 2 โดยมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองจะสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2569 ทั้งนี้จะต้องติดตามการอัปเดตรายละเอียดอย่างใกล้ชิดเพิ่มเติมอีกครั้ง

          หากคุณสนใจในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในช่วงนี้ ไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์รูปแบบใดก็ตาม บ้านมือ 1 บ้านมือ 2 คอนโดมิเนียม หรือซื้อเพื่อการลงทุน เช่น การทำบ้านเช่า ควรทำการซื้อ-ขายในช่วงวันที่ 1 พฤษภาคม 2568 เป็นต้นไปแต่ต้องไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2569 เพื่อให้อยู่ในช่วงระยะเวลาของการผ่อนปรนมาตรการ LTV ไม่ต้องวางเงินดาวน์ และได้ลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนอง ทั้งนี้อาจต้องติดตามรายละเอียดหรืออัปเดตมาตรการอย่างใกล้ชิดอีกครั้ง

สรุปส่งท้าย มาตรการ LTV ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ ธปท. ใช้ควบคุมทั้งภาวะหนี้และความร้อนแรงของภาคอสังหาฯ แม้ว่า… การผ่อนคลายจะช่วยกระตุ้นตลาดในช่วงสั้น แต่การกลับไปใช้มาตรการตามปกติ ก็ช่วยสร้างเสถียรภาพทางการเงินในระยะยาว ผู้ที่สนใจซื้อบ้านควรเตรียมความพร้อมด้านการเงินและศึกษาข้อมูลก่อนการจดจำนองอย่างละเอียด

 


Property4Cash ยินดีให้คำปรึกษาและช่วยเพิ่มทุนให้กับทุกคนที่ต้องการเงินด่วน และต้องการเงินเพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจ ไม่เช็คแบล็คลิส ไม่เช็คเครดิตบูโร

อนุมัติรวดเร็วทันใจ นึกถึง ขายฝากจำนอง นึกถึง Property4Cash

Line: @Property4Cash

โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash

ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

รีไฟแนนซ์คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง ?
7
Apr 23
รีไฟแนนซ์คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง ?

มนุษย์เงินเดือนแบบเรามักได้ยินคำว่า “รีไฟแนนซ์” อยู่บ่อยๆ แต่เชื่อว่ามีเพื่อนๆ จำนวนไม่น้อยไม่เข้าใจว่าคืออะไร หากเพื่อนๆยังสงสัย ไม่เข้าใจว่าการรีไฟแนนซ์บ้านคืออะไร? มีขั้นตอน ข้อดีและประโยชน์อย่างไรบ้าง บทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจเรื่องรีไฟแนนซ์บ้านให้มากขึ้น รีไฟแนนซ์ คือ การเปลี่ยนเจ้าหนี้ เป็นการที่เราไปขอกู้เงินใหม่อีกก้อนหนึ่งเพื่อนำมาชำระหนี้ก้อนเดิม ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมักจะทำกับการกู้ซื้อบ้าน คอนโดและรถยนต์เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่าย ในการผ่อนชำระหนี้สินเชื่อก้อนเดิม และจ่ายส่วนของดอกเบี้ยลดลงเพราะได้รับการลดอัตราดอกเบี้ย ที่สำคัญคือในการทำเรื่องขอรีไฟแนนซ์ครั้งใหม่นี้ จะได้รับข้อเสนอในการผ่อนชำระที่ดีกว่าสินเชื่อเดิม และอาจจะได้ระยะเวลาในการผ่อนที่ยาวขึ้นโดยคนส่วนใหญ่มักจะไปขอรีไฟแนนซ์หลังจากได้ผ่อนชำระครบ 3 ปี วิธีขอรีไฟแนนซ์บ้าน ตรวจสอบสัญญากู้เดิม ก่อนการยื่นเรื่องรีไฟแนนซ์บ้าน ต้องทำการติดต่อขอเอกสารสรุปยอดหนี้ทั้งหมดจากธนาคารเก่า เพื่อเป็นการสรุปรายละเอียด เช่น จำนวนเงินที่กู้ ระยะเวลาที่ชำระไปแล้ว เหลือเวลาที่ต้องผ่อนชำระอีกกี่ปี หลังจากนั้นให้นำเอกสารนี้ไปยื่นที่ธนาคารใหม่ท […]

อ่านเพิ่มเติม
TM30 ปล่อยเช่าชาวต่างชาติต้องรู้ ฉบับอัปเดต ถ้าไม่อยากเสียค่าปรับ!!
22
Feb 24
อัพเดทการยื่น TM30 ปล่อยเช่าชาวต่างชาติต้องรู้ ถ้าไม่อยากเสียค่าปรับ!!

ทันทีที่ผู้เช่าชาวต่างชาติเข้าห้องพักที่คุณปล่อยเช่า คุณอาจคิดว่าหน้าที่ในฐานะของเจ้าบ้านได้เสร็จสิ้นลงแล้ว แต่ไม่ใช่เช่นนั้นค่ะ เพราะสิ่งที่ต้องทำในขั้นตอนต่อไปก็คือการแจ้ง ‘ TM30 ’ หรือ การแจ้งข้อมูลของลูกค้าชาวต่างชาติที่เข้ามาพักในห้องของเรา ให้กับที่ทำการตรวจคนเข้าเมือง หรือสถานีตำรวจในท้องที่ ได้รับทราบ ตามพระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522   การแจ้ง TM30 หรือ ตม. 30 นี้ ไม่ว่าใครที่ประกอบกิจการโรงแรม เกสเฮ้าส์ แมนชั่น อพาร์ตเม้นท์ สถานประกอบการ หรือบ้านเช่า ก็ต้องทำการแจ้งว่ามีชาวต่างชาติเข้าพักอาศัย ‘ภายใน 24 ชั่วโมง’ นับจากเวลาเข้าพัก และที่สำคัญก็คือ ชาวต่างชาติผู้นั้นต้องได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ต้องผ่านการตรวจเข้าเมืองตามกฎหมาย ต้องเข้ามาประกอบอาชีพ หรือทำธุรกิจที่ถูกกฎหมาย ซึ่งหากเจ้าของห้องท่านใดไม่ปฎิบัติตาม จะมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท นั่นเองค่ะ   สำหรับในส่วนของวิธีการแจ้ง ตม. 30 นั้น สามารถทำได้ 3 วิธี คือ •  นำเอกสารมาแจ้งด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้ผุ้อื่นนำเอกสารมาแจ้ง แจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน แจ้งทางระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต(Inte […]

อ่านเพิ่มเติม
ต่ออายุสัญญาขายฝาก
29
Oct 24
ต่ออายุสัญญาขายฝาก มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?

รู้หรือยัง? เมื่อถึงระยะเวลาที่ต้องไถ่ถอนทรัพย์คืน แต่ยังไม่พร้อม!! สามารถ ต่ออายุสัญญาขายฝาก ได้นะ โดยการต่ออายุสัญญาขายฝาก คือ การขยายระยะเวลาในสัญญาขายฝาก เมื่อผู้ขายฝาก (เจ้าของทรัพย์สินเดิม) ยังไม่พร้อมหรือไม่สามารถไถ่ถอนทรัพย์สินคืนได้ภายในเวลาที่กำหนดเดิม จึงต้องทำการต่ออายุ เพื่อเพิ่มระยะเวลาในการไถ่ถอน โดยปกติการต่อสัญญาขายฝากนั้น ต้องทำเป็นหนังสือเพิ่มเติมและต้องระบุเงื่อนไขที่ชัดเจน เช่น ระยะเวลาต่ออายุ จำนวนเงินไถ่ถอน และดอกเบี้ย(ถ้ามี) ในทางกฎหมาย การต่ออายุสัญญาขายฝากสามารถกระทำได้ โดยระยะเวลาสูงสุดไม่ควรเกิน 10 ปีสำหรับอสังหาริมทรัพย์ การต่อสัญญาขายฝากมีข้อดี คือ ช่วยให้ผู้ขายฝากมีเวลามากขึ้นในการหาเงินมาไถ่ถอนทรัพย์สินคืน แต่ต้องทำการต่อสัญญาก่อนสัญญาเดิมจะหมดอายุ ไม่เช่นนั้นสัญญาจะสิ้นสุด และทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้รับฝากทันที!   การต่ออายุ หรือ ขยายสัญญาขายฝาก มีขั้นตอนดำเนินและเอกสารอะไรบ้าง? วันนี้ Property4Cash มีรายละเอียดมาฝาก เพื่อให้ผู้ขายฝาก ได้เตรียมตัวล่วงหน้าที่จะต่ออายุสัญญา   ต่ออายุสัญญาขายฝาก ต้องทำ ณ สำนักงานที่ดิน เท่านั้น!   ก่อนครบกำหน […]

อ่านเพิ่มเติม