อัปเดต! การชำระ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2568
18
Jan 25

เปิดศักราชใหม่ กับเรื่องควรรู้ เกี่ยวกับ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2568 วันนี้ Property4Cash ได้รวมข้อมูลต่างๆ มาไว้ให้แล้วค่ะ

โดยการจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ในปี 2568 มีการขยายระยะเวลาชำระภาษี จากเดิมเดือนเมษายน เลื่อนเป็นมิถุนายน เพื่อลดภาระและบรรเทาความเดือดร้อนจากสถานการณ์น้ำท่วมให้กับประชาชน ดังนั้น Property4Cash สรุปมาให้เช็ก ว่า… ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแต่ละประเภท ต้องเสียภาษีเท่าไร? เพื่อเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้า เพราะหากชำระล่าช้า ต้องจ่ายค่าปรับสูงสุดถึง 40% ของภาษีที่ค้างชำระเลยนะ

ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ประเภทไหน ต้องเสียภาษีที่ดิน 2568

ประเภทที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่ต้องเสียภาษีมี 4 ประเภท แบ่งตามรูปแบบการใช้งาน คือ ที่ดินเกษตรกรรม ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม และที่ดินที่ทิ้งไว้ว่างเปล่า ซึ่งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแต่ละประเภท มีอัตราการเสียภาษีที่แตกต่างกัน ดังนี้

 

1. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างเพื่อการเกษตรกรรม

  • มูลค่าไม่เกิน 75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.01% (บุคคลธรรมดายกเว้น 50 ล้านแรก)
  • มูลค่า 75 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03%
  • มูลค่า 100 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 500 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05%
  • มูลค่า 500 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 1,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.07%
  • มูลค่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.1%

 

2. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อการอยู่อาศัย แยกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

  • เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (บ้านหลังหลัก)
    • มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี
    • มูลค่า 50 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03%
    • มูลค่า 75 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05%
    • มูลค่า 100 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.1%
  • เจ้าของเฉพาะสิ่งปลูกสร้าง (บ้านหลังหลัก)
    • มูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี
    • มูลค่า 10 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.02%
    • มูลค่า 50 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03%
    • มูลค่า 75 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05%
    • มูลค่า 100 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.1%
  • เจ้าของที่ดิน หรือ สิ่งปลูกสร้าง หลังอื่นๆ
    • มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.02%
    • มูลค่า 50 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03%
    • มูลค่า 75 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05%
    • มูลค่า 100 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.1%

 

3. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง เพื่อประโยชน์อื่นๆ เช่น พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม ฯลฯ

  • มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.3%
  • มูลค่า 50 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 200 ล้านบาท อัตราภาษี 0.4%
  • มูลค่า 200 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 1,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.5%
  • มูลค่า 1,000 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 5,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.6%
  • มูลค่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.7%

4. ที่ดิน ที่ทิ้งไว้ว่างเปล่า หรือไม่ได้ทำประโยชน์

  • มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.3%
  • มูลค่า 50 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 200 ล้านบาท อัตราภาษี 0.4%
  • มูลค่า 200 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 1,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.5%
  • มูลค่า 1,000 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 5,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.6%
  • มูลค่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.7%

 

สำหรับที่ดินที่ปล่อยทิ้งไว้ว่างเปล่า ไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ 3 ปีติดต่อกัน ในปีที่ 4 จะต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีก 0.3% และเก็บเพิ่มอีก 0.3% ทุกๆ 3 ปี แต่อัตราภาษีรวมไม่เกิน 3%

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2568 ขยายเวลาชำระออกไปอีก 2 เดือน เนื่องด้วย สถานการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัด ทำให้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้รับความเสียหาย ดังนั้น เพื่อลดภาระและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ราชกิจจานุเบกษา ได้ประกาศขยายกำหนดเวลาการชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2568 โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

งวดที่ 1 จากเดิมชําระ ภายในเดือนเมษายน 2568 เป็นชําระภายใน เดือนมิถุนายน 2568

งวดที่ 2 จากเดิมชําระ ภายในเดือนพฤษภาคม 2568 เป็นชําระภายใน เดือนกรกฎาคม 2568

งวดที่ 3 จากเดิมชําระ ภายในเดือนมิถุนายน 2568 เป็นชําระภายใน เดือนสิงหาคม 2568

 

หมายเหตุ : สามารถผ่อนชำระได้ 3 งวด กรณีภาษีเกิน 3,000 บาท

 

โดยมีการปรับลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2568 สำหรับโรงผลิตน้ำประปา พื้นที่สีเขียว และ ทางรถไฟฟ้า

โรงผลิตน้ำประปา : ปรับลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ร้อยละ 50 ให้แก่ที่ดินที่เป็นที่ตั้งของโรงผลิตน้ำประปา รวมถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ที่ใช้ประโยชน์เกี่ยวเนื่องกับการผลิตน้ำประปา

พื้นที่สีเขียว : ยกเว้นภาษีให้แก่พื้นที่สีเขียว โดยต้องเป็นที่ดินซึ่งปกคลุมด้วยพืชพรรณเป็นองค์ประกอบหลักและมีประโยชน์เพื่อสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศการดำรงชีวิต หรือคุณภาพชีวิตของประชาชน

ทางรถไฟฟ้า : ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็น ทางรถไฟ หรือ ทางรถไฟฟ้า จากเดิมถูกกำหนดให้ได้รับการยกเว้นภาษี แต่เพื่อให้ครอบคลุมการดำเนินงานมากขึ้น จึงปรับเพิ่มเติมสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้ได้รับยกเว้นการจัดเก็บภาษีที่ดิน ได้แก่ ห้องอุปกรณ์อาณัติสัญญาณภายในสถานี, ห้องควบคุมระบบบังคับสัมพันธ์ภายในสถานี, ห้องอุปกรณ์สื่อสารภายในสถานี, ชานชาลาสถานีเฉพาะพื้นที่ที่ผู้โดยสารรอขึ้น-ลงรถไฟฟ้า

 

ไม่ว่าจะทำธุรกรรมประเภทไหน จำนอง ขายฝากที่ดิน ก็อย่าลืม! จ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตามที่รัฐบาลกำหนดด้วยนะ!

 

ผู้ขายฝากที่นำโฉนดที่ดิน น.ส. 4 ที่ตัวเองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์มาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันทำสัญญาขายฝาก ยังคงต้องจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2568 ในอัตราที่กำหนดตามปกติ ซึ่งหากดำเนินการจ่ายภาษีล่าช้า หรือเลี่ยงจ่ายภาษี จะต้องเสียค่าปรับ ดังนี้

  • 10% ของภาษีที่ค้างชำระ : กรณีไม่มาจ่ายภาษีภายในเวลาที่กำหนด แต่ภายหลังได้มาจ่ายภาษีก่อนได้รับหนังสือแจ้งเตือน
  • 20% ของภาษีที่ค้างชำระ : กรณีไม่มาจ่ายภาษีภายในเวลาที่กำหนด แต่ได้มาชำระในระยะที่หนังสือแจ้งเตือนระบุเอาไว้
  • 40% ของภาษีที่ค้างชำระ : กรณีไม่มาจ่ายภาษีภายในเวลาที่กำหนด และมาจ่ายช้าเกินระยะที่หนังสือแจ้งเตือนระบุเอาไว้

ดอกเบี้ยเงินเพิ่ม : กรณีชำระภาษีล่าช้าให้เสียเงินเพิ่มอีก 1% ต่อเดือนของจำนวนภาษีค้างชำระ เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน

อัปเดต! การชำระ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2568

นอกจากนี้ หากผู้ขายฝากไม่ชำระ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2568 หรือค้างชำระค่าส่วนกลางนิติฯ (กรณีเป็นบ้านเดี่ยวในหมู่บ้าน หรือคอนโด) จะมีผลต่อการทำธุรกรรมขายฝากและขยายสัญญาอีกด้วย

 

ส่วนใครที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินก้อน ในปี 2568 ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ ขยายธุรกิจ รวมหนี้ที่มีหลายก้อน เพื่อลดภาระดอกเบี้ย หรือใช้จ่ายในสถานการณ์ที่ฉุกเฉิน ก็สามารถจำนอง ขายฝากบ้าน คอนโด ที่ดิน อาคารพาณิชณ์ ตึดแถว โรงงาน โกดัง หรืออสังหาฯ อื่นๆ กับ Property4Cash ได้เลย

Property4Cash เงินด่วนอสังหา รับจำนอง ขายฝาก ทรัพย์ทุกประเภท มีทีมงานมืออาชีพพร้อมให้คำปรึกษา ผลักดันทุกเคสให้เข้าถึงเงินทุน

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : ฐานเศรษฐกิจ และรัฐบาลไทย

 

 


Property4Cash ยินดีให้คำปรึกษาและช่วยเพิ่มทุนให้กับทุกคนที่ต้องการเงินด่วน และต้องการเงินเพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจ ไม่เช็คแบล็คลิส ไม่เช็คเครดิตบูโร

อนุมัติรวดเร็วทันใจ นึกถึง ขายฝากจำนอง นึกถึง Property4Cash

Line: @Property4Cash

โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash

ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

25
Apr 24
ทำความรู้จัก บสย. ตัวช่วยของผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs

ธุรกิจ SMEs ในปัจจุบัน พบกับปัญหาอย่างหนึ่ง “การไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน” ฝันร้ายของธุรกิจ SMEs เพราะเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง และไม่มีหลักทรัพย์สำหรับค้ำประกันจะขอสินเชื่อที่ไหนก็ไม่ผ่าน เชื่อเลยว่ายังมีหลายคนอาจยังไม่รู้ว่ามีหน่วยงานจากภาครัฐที่คอยให้ความช่วยเหลือธุรกิจ SMEs เพื่อให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น นั่นก็คือ “ บสย. คือ บริษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม”   บสย.คือใคร มีหน้าที่อะไรบ้าง Property4Cash มีคำตอบ ! บสย. คือ ใคร   บสย.คือ สถาบันการเงินของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ภายใต้การกำกับของกระทรวงการคลัง โดยมีหน้าที่ค้ำประกันสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ที่ไม่มีหลักทรัพย์ และมีหลักทรัพย์ค้ำประกันไม่เพียงพอในการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน  เพื่อให้ได้วงเงินสินเชื่อตามที่ต้องการ หน้าที่หลักของบสย.  บสย.มีนโยบายค้ำประกันสินเชื่อให้กับธุรกิจ SMEs ทุกประเภท ที่ต้องการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน เพื่อช่วยลดภาระหลักทรัพย์ และช่วยให้มีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน นอกจากนี้ยังพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ SMEs ผ่านกิจกรรมต่างๆ และเป็นตัวกลางข้อมูลเพื่อดำเนินการระหว่ […]

อ่านเพิ่มเติม
Blacklist และ เครดิตบูโรต่างกันอย่างไร
18
Apr 23
Blacklist และ เครดิตบูโรต่างกันอย่างไร

หลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินคำว่าเครดิตบูโรอยู่บ่อยๆ แต่หลายๆ อาจยังไม่เข้าใจ ว่าจริงๆ แล้วเครดิตบูโร มันคืออะไร และมันต่างจาก Blacklist ยังไงบ้าง มาค่ะ วันนี้เรามาทำความเข้าใจกัน ว่ามันมีความสำคัญอย่างไร และเอามาวัดเครดิตการเงินของเราอย่างไรบ้าง ข้อมูลเครดิตบูโร คือข้อมูลประวัติการชำระหนี้ของเรา ซึ่งมันจะถูกจัดเก็บไว้ในระบบฐานข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิต หรือเราเรียกสั้นๆว่า NCB  ปัจจุบันข้อมูลเครดิตประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1 ข้อมูลบ่งชี้ถึงตัวตนเรา เช่น ชื่อ ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด สถานภาพการสมรส อาชีพ เลขบัตรประชาชน 2 ข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติ และประวัติการชำระสินเชื่อ ราคาสินค้าหรือบริการโดยบัตรเครดิต รวมถึงสถานะบัญชีอีกด้วย สถานะบัญชี คือ รายงานที่จะบอกว่าคุณชำระสินเชื่อปกติ สินเชื่อที่ค้างชำระเกิน 90 วัน หรือ สินเชื่อที่ปิดบัญชีแล้ว * สินเชื่อที่อยู่ในกระบวนการทางกฎหมาย เป็นต้น ข้อมูลเครดิตมีความสำคัญอย่างไร ? ต้องบอกเลยค่ะว่ามันสำคัญมาก เพราะมันคือข้อมูลเครดิตที่จะแสดงถึงประวัติการชำระหนี้ ที่จะสะท้อนถึงพฤติกรรมและวินัยทางการเงินของเรา แสดงถึงความตั้งใจในการชำระหนี้ และความน่ […]

อ่านเพิ่มเติม
ยื่นสินเชื่อไม่ผ่าน ต้องการใช้เงินด่วน ทำยังไงดี???
25
Sep 24
ยื่นสินเชื่อธนาคารไม่ผ่าน ต้องการใช้เงินด่วน ทำยังไงดี???

ยื่นสินเชื่อไม่ผ่าน ทำให้หลายคนรู้สึกหมดหนทาง โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ต้องการเงินด่วนเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะยังมีหลากหลายทางเลือกที่สามารถช่วยให้คุณได้รับเงินที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย บทความนี้จะแนะนำวิธีการและแนวทางในการหาเงินด่วนเมื่อธนาคารปฏิเสธคำขอสินเชื่อของคุณ” ในปัจจุบันนี้หลายๆคนทั้ง บุคคลทั่วไป พนักงานบริษัท หรือเจ้าของกิจการ ก็เคยประสบปัญหาเงินทุนในชีวิตประจำวันไม่พอหมุนเวียน หรือประสบปัญหาเรื่องเศรษฐกิจต่างๆจึงทำให้ขาดรายได้ และต้องการใช้เงินก้อนหรือเงินเร่งด่วนเป็นจำนวนมาก เข้าใจเลยค่ะว่าสถานการณ์ที่ต้องการเงินด่วนเป็นเรื่องเร่งด่วนและสำคัญมากๆในชีวิตของเราทุกคน ซึ่งก่อนที่เราจะตัดสินใจทำอะไรต้องควรพิจารณาให้ดีก่อน เช่น คำนวณถึงจำนวนเงินที่ต้องการ ว่าเราต้องการมากน้อยเพียงใด หรือเงินก้อนจำนวนมากแค่ไหน และ คำนึงถึงระยะเวลาที่ต้องการใช้เงิน ช้าเร็วมากเพียงใด และความสามารถในการผ่อนชำระของตัวเราเอง แต่ไม่ต้องกังวลใจไปเลย เพราะปัญหาต้องการเงินด่วนนั้นมีทางออกให้หลายๆ คนอย่างแน่นอน ถ้าหากเรามีอสังหาริมทรัพย์ในมืออยู่แล้ว เช่น บ้าน คอนโด ที่ดิน […]

อ่านเพิ่มเติม