ที่ดินมรดก สามารถทำขายฝากได้หรือไม่?
19
Nov 24

ที่ดินมรดก สามารถทำขายฝากได้หรือไม่? วันนี้ Property4Cash มาไขคำตอบแล้วค่ะ 

ที่ดินทำกิน ที่ดินเปล่า นับเป็นสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าสูง เปรียบเสมือนมรดกที่ส่งต่อความมั่นคงจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลานในอนาคต เพื่อพัฒนาและทำประโยชน์ให้งอกเงย เลี้ยงดูชีวิต หรือต่อยอดจากแนวคิดของบรรพบุรุษ 

และเมื่อทรัพย์สินดังกล่าว เป็นมรดก และผู้รับมรดกมีความจำเป็นต้องใช้เงินก้อนเร่งด่วน ผู้รับมรดกสามารถใช้ที่ดิน อสังหาที่ได้รับมรดกมาจากบรรพบุรุษ ไม่ว่าจะเป็น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ฯลฯ มาเป็นหลักทรัพย์ทำธุรกรรมขายฝากได้หรือไม่? 

 

โดย ที่ดินมรดก สามารถทำขายฝากที่ดินได้ 

ผู้รับมรดกที่มีชื่อระบุในพินัยกรรม หรือเป็นทายาทโดยธรรมของผู้เสียชีวิต หลังจากดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หลังโฉนดที่ดิน น.ส. 4 มาเป็นชื่อของตัวเองเรียบร้อยแล้ว สามารถนำโฉนดที่ดิน น.ส. 4 มาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันทำสัญญาขายฝาก ณ สำนักงานที่ดิน ได้ตามปกติ 

การขายฝากที่ดิน กับ Property4Cash อนุมัติไว ได้รับเงินก้อนทันที ดอกเบี้ยต่ำเริ่มต้นเพียง 0.75% ต่อเดือน

ที่ดินมรดก ทำขายฝากได้ไหม?

ขั้นตอนดำเนินการ เกี่ยวกับกรณีการจัดการที่ดินมรดก เป็นอย่างไรบ้าง? ตามเราไปอัพเดตกันเลยค่ะ

กรณีที่ดินเปล่าที่มีเอกสารสิทธิ์ เป็นโฉนดที่ดิน น.ส. 4 เมื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์เสียชีวิตลง สมาชิกในครอบครัว ญาติพี่น้อง หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง สามารถดำเนินการได้ 2 กรณีหลัก ดังนี้

  1. กรณีเจ้าของที่ดินเสียชีวิต และทำพินัยกรรมระบุชื่อผู้รับมรดก

บุคคลที่มีชื่อเป็นผู้รับมรดกในพินัยกรรม สามารถยื่นเรื่องขออำนาจศาล เพื่อรับมรดก และหลังจากได้รับใบคำสั่งศาลเรียบร้อยแล้ว สามารถดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดิน น.ส. 4 มาเป็นชื่อของผู้รับมรดกที่ระบุในพินัยกรรม ณ สำนักงานที่ดิน ที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่ เช่น คุณพ่อโชคชัย เป็นเจ้าของที่ดินเปล่า 20 ไร่ ทำพินัยกรรมยกที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นมรดกให้กับลูกสาว คือ นางสาวมีทรัพย์ ดังนั้นเมื่อคุณพ่อโชคชัยเสียชีวิต นางสาวมีทรัพย์จะต้องยื่นเรื่องต่อศาล เพื่อขอรับมรดก และหลังจากได้รับใบคำสั่งศาล นายมีเงินสามารถติดต่อสำนักงานที่ดิน ณ ที่ที่ดินนั้นอยู่ เพื่อจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หลังโฉนดที่ดิน น.ส. 4 มาเป็นชื่อของนายมีเงิน

 

  1. กรณีเจ้าของที่ดินเสียชีวิต แต่ไม่ได้ทำพินัยกรรม

สมาชิกในครอบครัว ญาติ พี่น้อง หรือบุคคลที่ได้รับความยินยอมจากครอบครัวของผู้เสียชีวิต ต้องยื่นเรื่องขออำนาจศาล เพื่อแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก และหลังจากได้รับใบคำสั่งศาลให้เป็นผู้จัดการมรดก จึงจะสามารถดำเนินการจดทะเบียนทำธุรกรรมต่างๆ ณ สำนักงานที่ดิน ที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่ได้

ลำดับทายาท ที่สามารถรับมรดกที่ดิน มีดังนี้ สิทธิตามกฏหมายมี 6 ลำดับ แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลัง ดังต่อไปนี้

ผู้สืบสันดาน ได้แก่ บุตร หลาน เหลน ลื้อ บิดา มารดา พี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน พี่น้องร่วมบิดา หรือ ร่วมมารดาเดียวกัน ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา

สำหรับคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสและยังมีชีวิตอยู่ ถือเป็นทายาทโดยธรรมและมีสิทธิรับมรดกร่วมกับทายาทโดยธรรมทั้ง 6 ลำดับ

 

หลักฐานที่ประกอบการขอรับมรดก โดยผู้มีสิทธิได้รับมรดกที่ดิน จะต้องเตรียมเอกสารและหลักฐานไปขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดิน ณ สำนักงานที่ดิน ที่ที่ดินแปลงนั้นตั้งอยู่ ดังนี้

👉 โฉนดที่ดิน น.ส. 4

👉 บัตรประจำตัว

👉 ทะเบียนบ้าน

👉 หลักฐานการตายของเจ้ามรดก เช่น ใบมรณบัตร

👉 พินัยกรรม (ถ้ามี)

 

ถ้าขอรับมรดกในฐานะเป็นคู่สมรส ต้องมีหลักฐานการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย ถ้าผู้ขอรับมรดก เป็นบิดาเจ้ามรดก ต้องมีทะเบียนสมรสกับมารดาของเจ้ามรดก หรือหลักฐานการรับรองบุตร กรณีบุตรบุญธรรม เป็นผู้ขอรับมรดก ต้องแสดงหลักฐานการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ถ้ามีกรณีพิพาทเกี่ยวกับมรดก ต้องนำสัญญาประนีประนอมยอมความ หรือคำพิพากษาอันถึงที่สุดไปแสดง ถ้ามีผู้มีสิทธิรับมรดกร่วมกันหลายคน บางคนได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว ต้องมีหลักฐานการตายของทายาทนั้นๆ

 

กรณีมีผู้จัดการมรดก ต้องใช้หลักฐานดังนี้

👉 คำสั่งศาลหรือคำพิพากษาของศาล หรือพินัยกรรมซึ่งตั้งให้ผู้ขอเป็นผู้จัดการมรดก

👉 หลักฐานการตายของเจ้ามรดก

👉 ทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวของผู้จัดการมรดก

👉 โฉนดที่ดิน น.ส. 4

 

Property4Cash ผู้ให้บริการจำนอง ขายฝากอสังหาริมทรัพย์อย่างมืออาชีพมากว่า 440 เคส อนุมัติวงเงินไปกว่า 770 ล้านบาท มีการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ปลอดภัย 100%

เลือกใช้บริการขายฝากกับ Property4Cash แม้เป็น ที่ดินมรดก ก็สามารถทำขายฝากได้! ช่วยสร้างโอกาสทางการเงินให้กับผู้ที่ต้องการเงินด่วน ไม่ว่าจะประกอบอาชีพอะไรก็สามารถเข้าถึงเงินทุนที่ถูกกฎหมายได้อย่างปลอดภัย โดยใช้โฉนดเป็นหลักประกัน ในการขอสินเชื่อเงินด่วน บริการรวดเร็วทันใจ ดอกเบี้ยเริ่มต้นเพียง 0.75% ต่อเดือน ไม่ใช้คนค้ำ ไม่เช็คเครดิตบูโร ไม่มีนโยบายยึดทรัพย์ ต้องการเงินด่วนนึกถึง Property4Cash เงินด่วนอสังหา จำนอง ขายฝาก 

 

—————————————————–

Property4Cash ยินดีให้คำปรึกษาและช่วยเพิ่มทุนให้กับทุกคนที่ต้องการเงินด่วน และต้องการเงินเพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจ ไม่เช็คแบล็คลิส ไม่เช็คเครดิตบูโร

อนุมัติรวดเร็วทันใจ นึกถึง ขายฝากจำนอง นึกถึง Property4Cash

Line: @Property4Cash

โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash

ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

โฉนดที่ดิน แต่ละประเภทให้สิทธิ์ในที่ดินต่างกัน
7
Feb 24
รู้หรือไม่? โฉนดที่ดินแต่ละประเภทให้สิทธิ์ในที่ดินต่างกัน

ก่อนที่เราจะตัดสินใจซื้อบ้านหรือที่ดิน เราต้องศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนว่า โฉนดที่ดิน มีกี่ประเภท ซึ่งในปัจจุบันที่ดินถูกแบ่งออกเป็นหลายประเภทมากๆ มีทั้งแบบเป็นกรรมสิทธิ์ที่ดินและเอกสารสิทธิที่ดิน หรือแบบที่คนทั่วไปอย่างเราๆ สามารถซื้อขายกันได้ตามกฎหมาย และแบบที่รัฐออกสิทธิ์ให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินตรงนั้น แต่ไม่อนุญาตให้ครอบครองซื้อขายกันได้ ซึ่งความแตกต่างของสิทธิ์นี้จะระบุในโฉนดที่ดินทั้งหมด บางคนอาจไม่ได้สังเกตุจึงทำให้เข้าใจผิดเกิดเป็นข้อพิพาทฟ้องร้องกันได้ เพื่อความชัดเจนว่าโฉนดที่ดินแบบไหนสามารถซื้อขายกันได้ เราจะรวบรวมข้อมูลโฉนดที่ดินและเอกสารสิทธิ์ที่ดินต่างๆ กัน ทำความรู้จักโฉนดที่ดิน โฉนดที่ดินที่เราเรียกกันบ่อยๆ คือ หนังสือสำคัญที่มีไว้แสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินออกให้โดยกรมที่ดิน ผู้ที่มีโฉนดที่ดินจะถือว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ระบุไว้ในเอกสาร และมีอำนาจในการใช้ประโยชน์จากที่ดินตามพื้นที่ ที่ระบุในโฉนดที่ดินนั้น ซึ่งโฉนดที่ดินมีหลายประเภทและมีกรรมสิทธิ์ที่แตกต่างกันไป เช่น บางชนิดสามารถซื้อขายได้ บางชนิดไม่สามารถซื้อขายได้ โดยสังเกตได้จากสีของตราครุฑ และรหัสเอกสารด้านบนขวา โฉนดท […]

อ่านเพิ่มเติม
20
May 24
ไขข้อข้องใจ จำนอง ขายฝาก ต่างกันอย่างไร สัญญาแบบไหนได้เงินเยอะกว่า ?

ช่วงหลายปีที่ผ่านมาการขายฝาก จำนอง กลายเป็นทางเลือกหลักสำหรับผู้ที่มีทรัพย์สิน ที่ต้องการเงินด่วนเพื่อใช้จ่ายในธุรกิจหรือใช้จ่ายในครอบครัว เมื่อกระแสความต้องการที่มากขึ้น คำถามที่ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรา ได้รับกันมาเยอะมากคือ ขายฝาก กับ จำนอง สัญญาแบบไหนได้เงินเยอะกว่ากัน ?    วันนี้ Property4Cash จะมาตอบคำถามนี้ให้กับทุกคน เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจทำสัญญาขายฝาก – จำนอง ถ้าพร้อมไปกันเลยค่ะ     ขายฝาก จำนอง ต่างกันอย่างไร ? ก่อนที่จะพูดถึงจำนวนเงินกัน ขออธิบายสั้นๆเกี่ยวกับความต้องของการขายฝากและจำนองกันก่อน  การขายฝากนั้น ผู้ขายฝากต้องโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้ผู้รับซื้อฝาก โดยผู้ขายฝากสามารถไถ่ทรัพย์สินคืนได้ตามเงื่อนไขและเวลาที่กำหนด   ในส่วนของการจำนอง คือการนำทรัพย์สินมาเป็นหลักประกันเพื่อขอกู้และชำระหนี้  โดยผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินให้ผู้รับจำนอง โดยทรัพย์สินยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้จำนองอยู่        ขายฝาก กับ จำนอง สัญญาแบบไหนได้เงินเยอะกว่ากัน ? อ่านมาถึงตรงนี้คงจะเข้าความต่างกันมากขึ้นแล้ว สำหรับคำถามที่ว่าขายฝาก และ จำนอง แบบไหนที่ได้เงินมากกว่า คำตอบ […]

อ่านเพิ่มเติม
ข้อควรรู้ เกี่ยวกับ กฎหมายจัดสรรที่ดิน
6
Feb 25
ข้อควรรู้ เกี่ยวกับ กฎหมายจัดสรรที่ดิน

ข้อควรรู้ เกี่ยกับ กฎหมายจัดสรรที่ดิน มีหลักเกณฑ์และขั้นตอนตาม พ.ร.บ.จัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 อะไรบ้าง?… กฎหมายจัดสรรที่ดิน เป็นหนึ่งในข้อควรรู้ของผู้ที่เตรียมตัวซื้อบ้าน เพราะการที่ผู้ประกอบการจะพัฒนาโครงการออกมาขายได้นั้น ตามกฎหมายแล้วจะต้องได้รับการจัดสรรที่ดิน ตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาดูว่าการจัดสรรที่ดินคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร หลักเกณฑ์และรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวข้องอย่างไรต่อผู้ประกอบการ และผู้ซื้อ Property4Cash สรุปมาให้แล้ว… การจัดสรรที่ดิน คืออะไร? ตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 การจัดสรรที่ดิน คือ การจำหน่ายที่ดินที่ได้ แบ่งเป็นแปลงย่อยรวมกันตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งจากที่ดินแปลงเดียว หรือแบ่งจากที่ดินหลายแปลงที่มีพื้นที่ติดต่อกัน โดยได้รับทรัพย์สินหรือประโยชน์เป็นค่าตอบแทน และให้หมายความรวมถึงการดำเนินการดังกล่าวที่ได้มีการแบ่งที่ดินเป็นแปลงย่อยไว้ไม่ถึง 10 แปลง และต่อมาได้แบ่งที่ดินแปลงเดิมเพิ่มเติมภายใน 3 ปี เมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไปด้วย ในการจำหน่ายที่ดินที่แบ่งเป็นแปลงย่อยรวมกันตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไป ไม่ […]

อ่านเพิ่มเติม