24
Nov 23

หากใครต้องการใช้เงินด่วน แต่ไม่อยากนำทรัพย์สินไปขายขาด
สำหรับคนที่มีที่ดินและบ้านไว้ครอบครอง “การขายฝาก” จึงเป็นทางเลือกที่ดี
วิธีนี้สามารถทำได้ง่ายๆ ไม่ตรวจสอบเครดิตบูโร หรือรายการเคลื่อนไหวของบัญชีธนาคาร (Statement)
สามารถไถ่คืนที่ดินได้ และยังใช้ประโยชน์ในที่ดินต่อไปได้อีกด้วย

“การขายฝาก” เป็นการทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินประเภทหนึ่ง
โดยกรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้รับซื้อทันทีเมื่อมีการทำสัญญาเกิดขึ้น
ซึ่งมีข้อตกลงกันว่า ผู้ขายฝากสามารถไถ่ทรัพย์สินนั้นคืนได้ในเวลาที่ตกลงกันตามกฎหมาย

เพราะฉะนั้นในการทำสัญญาทุกครั้ง จะต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียดเกี่ยวกับสิ่งที่ระบุในสัญญา
ข้อควรระวังต่างๆ ต้องทำความเข้าใจให้ตรงกัน จะได้ไม่มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นภายหลังกันค่ะ

ข้อควรรู้ก่อนตกลงทำสัญญาขายฝาก มีดังนี้

  1. ผู้ขายฝากจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ซื้อฝากทันทีในวันที่ทำสัญญา

เมื่อขายฝากไปแล้วกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้ซื้อฝาก
โดยมีข้อตกลงกันว่า ผู้ขายฝากสามารถไถ่ทรัพย์สินนั้นคืนได้ในเวลาที่ตกลงกันตามกฎหมาย

  1. การทำสัญญาจะต้องทำต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ดิน ณ กรมที่ดินเท่านั้น

ในการทำสัญญาขายฝากที่ดินจะต้องทำเป็นหนังสือ
และมีการจดทะเบียนต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินเท่านั้น
โดยจะต้องระบุว่าเป็นการขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือการขายฝากที่อยู่อาศัย

  1. อัตราดอกเบี้ยหรือค่าตอบแทนสูงสุดไม่เกิน 15% ต่อปี

ผู้ซื้อฝากจะได้รับประโยชน์เป็นค่าตอบแทนในรูปแบบดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 15% ต่อปี
และจะได้รับเงินต้นคืนทันทีเมื่อมีการไถ่ถอน

 

  1. ผู้ขายฝากสามารถไถ่ที่ดินคืนได้ตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา

ผู้ขายฝากจะต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับผู้ซื้อฝาก จนกว่าผู้ขายฝากจะมีเงินต้นมาไถ่ถอนที่ดินคืนได้
ตามระยะเวลากำหนดภายในสัญญา เช่น
Ex. นาย ก. ตัดสินใจไปขายฝากที่ดินกับผู้ซื้อฝาก โดยมีข้อตกลงในสัญญาขายฝากที่ดิน
ให้นาย ก. จะต้องจ่ายดอกเบี้ยกับผู้ซื้อฝาก จนกว่านาย ก. จะสามารถมาไถ่คืนที่ดินแปลงนี้
ได้ในระยะเวลากำหนดภายใน 1 ปี นับตั้งแต่ทำสัญญาขายฝาก

  1. หากครบสัญญาแล้วผู้ขายฝากยังไม่พร้อมไถ่คืน
    สามารถขอต่อสัญญาได้จนกว่าจะครบตามที่กฎหมายกำหนด

โดยส่วนใหญ่ในสัญญาจะกำหนดไม่เกิน 1 ปี
หากครบกำหนดสัญญาแล้ว ผู้ขายฝากยังไม่สามารถไถ่ถอนที่ดินได้
ตามกฎหมายระยะเวลาในการไถ่ถอนสูงสุดไม่เกิน 10 ปี
สามารถขอเจรจาขยายเวลาออกไปเพื่อต่อสัญญาได้จนกว่าจะครบตามที่กฎหมายกำหนด

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีการเซ็นสัญญา จะต้องมีการศึกษาข้อมูลให้ละเอียดถี่ถ้วน
ยิ่งเป็นเรื่องของกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นยิ่งต้องมีการตรวจสอบรายละเอียดอย่างแม่นยำ
โดยสามารถปรึกษาเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการขายฝากโดยตรง
และต้องเลือกบริษัทขายฝากที่มีความน่าเชื่อมากๆ ที่มีการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย
มีที่ตั้งสำนักงานชัดเจนตรวจสอบได้ และบริหารจัดการอย่างมืออาชีพมาดูแลตลอดจนครบกำหนดสัญญาด้วยนะคะ

 

—————————————————–

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน กับ เจ้าของบ้าน แตกต่างกันอย่างไร?
24
Oct 23
เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน กับ เจ้าของบ้าน แตกต่างกันอย่างไร?

หลายท่านคงสงสัย? ว่าเจ้าบ้านคือใคร!! หรือบางท่านอาจจะคิดไปถึงผีบ้านผีเรือน แต่ที่จริงแล้วตามหลักกฎหมาย ว่าด้วยเรื่องการดูแลบ้าน บ้านทุกหลังต้องมี เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน เพื่อระบุว่าบุคคลที่เป็นเจ้าบ้านนั้น ผู้เป็นหัวหน้าซึ่งครอบครองบ้าน ในฐานะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือในฐานะอื่น เช่น ผู้ดูแลบ้าน แล้วแตกต่างยังไงกับเจ้าของบ้านละ วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยกันค่ะก่อนอื่นเรามาดูความหมายของทั้งสองคำนี้กันก่อนเลยค่ะ เจ้าบ้าน หมายถึง ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะที่เป็นเจ้าของ ผู้เช่า และอื่นๆ โดยหากในทะเบียนบ้านไม่มีชื่อเจ้าบ้าน หรือผู้ที่ถูกแต่งตั้งเป็นเจ้าบ้าน เกิดเสียชีวิต ผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านสามารถมาเป็นเจ้าบ้านแทนได้ เจ้าของบ้าน หมายถึง เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อในโฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขาย มีสิทธิใช้สอย หวงกัน ติดตามเอาทรัพย์คืน. ใช้ยันต่อบุคคลทั่วไป มีกฎหมายรองรับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 โดยจากความหมายด้านบน เจ้าบ้านหรือเจ้าของบ้าน อาจจะเป็นคนเดียวกัน หรือ ไม่ใช่คนเดียวกันก็ได้ค่ะ หน้าที่เจ้าบ้าน VS เจ้าของบ้าน เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน มีหน้าที่ตาม พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร […]

อ่านเพิ่มเติม
5 เรื่องไม่ลับ ที่คุณไม่รู้เกี่ยวกับการเป็น นายหน้าอสังหา
22
Feb 23
5 เรื่องไม่ลับ ที่คุณไม่รู้เกี่ยวกับการเป็นนายหน้าอสังหาฯ

นายหน้าอสังหา เป็นอาชีพหนึ่งที่สร้างรายได้ดีมาก และมีความอิสระในการทำงานค่อนข้างสูง หลายคนมองว่าอาชีพนี้เป็นอาชีพที่หาเงินได้ง่าย และหาเงินได้ครั้งละเยอะๆ แค่ทำหน้าที่เป็นคนกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ไม่ได้ใช้พลังงานในการทำงานมากเท่าไหร่ เพราะผู้ซื้อและผู้ขายมีความต้องการในการซื้อและขายอยู่แล้ว แต่คุณรู้หรือไม่ว่าจริงๆ แล้ว นายหน้าอสังหา อย่างเราต้องเจอกับอะไรบ้างที่คนนอก “คาดไม่ถึง” #ต้องเรียนรู้ตลอดเวลา ใช้ความรู้ในหลายๆ ศาสตร์ อาชีพนายหน้าอสังหาฯ เป็นงานขาย เราก็ต้องใช้ทักษะในการขายในการทำงานเหมือนเซลล์สินค้าประเภทอื่นๆ ซึ่งทักษะในการขายก็ต้องถูกพัฒนาไปตามการเปลี่ยนแปลงของตลาดเช่นเดียวกัน นอกจากทักษะการขายที่ต้องพัฒนาตลอดเวลาแล้ว เรายังต้องมีทักษะทางด้านการตลาดอีกด้วย เพื่อเป็นส่วนช่วยในการขายและการเข้าถึงลูกค้าให้ได้มากขึ้น การแข่งขันที่สูงขึ้นทุกวัน อย่างที่ทุกคนรู้ว่าอาชีพนายหน้าอสังหาฯ เป็นอาชีพที่เริ่มต้นได้ง่าย ใครก็สามารถเข้ามาทำอาชีพนี้ได้ทั้งนั้น นายหน้าที่จะอยู่รอดและประสบความสำเร็จ จะต้องเป็นนายหน้าที่พัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา อัพเดตและรอบรู้เรื่องราวในตลาดอสังหาฯ เป็นอย่า […]

อ่านเพิ่มเติม
3 วิธี กู้ร่วม ซื้ออสังหาฯ แบบง่ายๆ ของชาว LGBTQ
15
Jun 23
3 วิธีกู้ร่วมซื้ออสังหาฯ แบบง่ายๆ ของชาว LGBTQ

ถึงแม้ว่าทางเลือกในการมีบ้านสักหลังของคู่รัก LGBTQ จะยังมีไม่มากนัก โดยเฉพาะการกู้ร่วมซื้อบ้าน แต่ใช่ว่าจะไม่มีทางเลือกเลยเพราะปัจจุบัน มีหลายธนาคารที่เปิดโอกาสให้กลุ่ม LGBTQ กู้ร่วม ซื้อบ้านได้ ลองมาดูรายละเอียดว่าคู่รัก LGBTQ จะต้องทำอย่างไรถึงกู้ร่วมซื้อบ้านได้ #เช็คธนาคารอนุมัติสินเชื่อบ้าน กรณีกู้ร่วมเพศเดียวกัน ปัจจุบันกลุ่ม LGTBQ ถือเป็นผู้บริโภคที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงมีหลายธนาคารที่สามารถอนุมัติการ กู้ร่วม ของคนกลุ่มนี้ได้ นั่นคือ – ธนาคารกสิกร – ธนาคารออมสิน – ธนาคารธนชาติ – ธนาคารยูโอบี – ธนาคารกรุงเทพ – ธนาคารทหารไทย – ธนาคารไทยพาณิชย์ – ธนาคารกรุงศรีฯ – ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด โดยแต่ละธนาคารจะมีเงื่อนไขแตกต่างกันไป แต่คุณสมบัติพื้นฐานของที่ผู้ยื่นกู้ร่วมที่เหมือนกันมีดังนี้ – ผู้กู้เป็นบุคคลธรรมดา สัญชาติไทย – ผู้กู้อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 65 ปี – ไม่เคยเป็นลูกหนี้ปรับโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน – หลักฐานว่าคู่ของเราอยู่ร่วมกันจริง เช่น บัญชีเงินฝากที่เปิดร่วมกัน #ตรวจเอกส […]

อ่านเพิ่มเติม