TM30 ปล่อยเช่าชาวต่างชาติต้องรู้ ฉบับอัปเดต ถ้าไม่อยากเสียค่าปรับ!!
22
Feb 24

ทันทีที่ผู้เช่าชาวต่างชาติเข้าห้องพักที่คุณปล่อยเช่า คุณอาจคิดว่าหน้าที่ในฐานะของเจ้าบ้านได้เสร็จสิ้นลงแล้ว แต่ไม่ใช่เช่นนั้นค่ะ เพราะสิ่งที่ต้องทำในขั้นตอนต่อไปก็คือการแจ้ง ‘ TM30 ’ หรือ การแจ้งข้อมูลของลูกค้าชาวต่างชาติที่เข้ามาพักในห้องของเรา ให้กับที่ทำการตรวจคนเข้าเมือง หรือสถานีตำรวจในท้องที่ ได้รับทราบ ตามพระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522

 

การแจ้ง TM30 หรือ ตม. 30 นี้ ไม่ว่าใครที่ประกอบกิจการโรงแรม เกสเฮ้าส์ แมนชั่น อพาร์ตเม้นท์ สถานประกอบการ หรือบ้านเช่า ก็ต้องทำการแจ้งว่ามีชาวต่างชาติเข้าพักอาศัย ‘ภายใน 24 ชั่วโมง’ นับจากเวลาเข้าพัก และที่สำคัญก็คือ ชาวต่างชาติผู้นั้นต้องได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ต้องผ่านการตรวจเข้าเมืองตามกฎหมาย ต้องเข้ามาประกอบอาชีพ หรือทำธุรกิจที่ถูกกฎหมาย ซึ่งหากเจ้าของห้องท่านใดไม่ปฎิบัติตาม จะมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท นั่นเองค่ะ

 

สำหรับในส่วนของวิธีการแจ้ง ตม. 30 นั้น สามารถทำได้ 3 วิธี คือ
•  นำเอกสารมาแจ้งด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้ผุ้อื่นนำเอกสารมาแจ้ง

  • แจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
  • แจ้งทางระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต(Internet)

วันนี้เราจะมาแนะนำช่องทางที่ง่ายและสะดวกที่สุดสำหรับทุกคน นั่นก็คือ “แจ้งทางระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต(Internet)”

ขั้นตอนแรกสำหรับการยื่น ตม. 30 ผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ต ก็คือการเตรียมเอกสารให้พร้อม
สำหรับเจ้าของบ้าน

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน

สำหรับผู้เช่า

  • สำเนาหนังสือเดินทาง ( Passport )
  • หน้า Visa ที่ระบุไว้ว่า ผู้เช่าเข้ามาช่องทางไหน วันไหนและ Visa ประเภทไหน

เอกสารข้างต้นเป็นเอกสารสำคัญต้องเตรียมให้พร้อมนะคะ ไม่งั้นจะลงทะเบียนไม่ได้นะคะ

 

ขั้นตอนที่ 2 เนื่องจากระบบการแจ้ง TM30 มีการปรับระบบใหม่ทั้งหมด เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน
ทุกคนสามารถกดเข้าไปที่ลิ้งค์ >> https://tm30.immigration.go.th/tm30/#/login<<
สามารถเข้าใข้งานได้ทั้งบนคอมพิวเตอร์และโทรศัพย์มือถือเลยนะคะ

ขั้นตอนที่ 3
ตอนนี้ทุกคนจะเริ่มจากจุดเริ่มต้นใหม่ทั้งหมดนะคะ เนื่องจากการปรับระบบ
ส่งผลให้ Account เดิมที่เคยมีไม่สามารถใช้งานได้แล้วค่ะ

ก่อนที่จะลงทะเบียนให้ทุกคนกดไปที่หัวข้อ Register ก่อนเลยค่ะ
เพื่อทำการลงทะเบียนใหม่

ระบบใหม่ที่ทำขึ้นมานี้จะอ้างอิงจาก Email เท่านั้น สำหรับการแจ้งที่พักอาศัย
สามารถลงทะเบียนได้มากกว่า 1 รายการที่พักอาศัย / 1 User นะคะ
เช่นถ้ามีคอนโด 3 ห้อง ก็เพิ่มเข้ามาในระบบได้ทั้ง 3 ห้องใน User เดิมเลยค่ะ

ขั้นตอนที่ 4
หลังจากลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว จะเป็นขั้นตอนของการลงทะเบียนที่พัก

ก่อนอื่นเราจะต้องเลือกประเภทที่พักอาศัย
หลังจากนั้นจะเป็นการกรอกรายละเอียดส่วนตัวของเจ้าของห้องจนครบถ้วน
ในส่วนนี้จะมีช่องที่ให้กรอก “เลขรหัสประจำบ้าน” ตรงนี้สามารถดูได้ที่เล่มทะเบียนบ้านนะคะ

เมื่อใส่ข้อมูลจนครบถ้วนแล้ว ระบบจะตัวเลือกให้เราอัตโนมัติ คือช่อง เอกสารสำเนาทะเบียนบ้าน
และเอกสารสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของบ้าน ให้เราอัปโหลดเอกสารที่เตรียมไว้
เข้าไปในระบบได้เลยค่ะ โดยไฟล์จะต้องเป็น .jpeg ขนาดไม่เกิน 2 mb

หลังจากอัปโหลดเรียบร้อยแล้วให้เรากดตัวษรตามภาพที่ขึ้น เพื่อยืนยันว่าไม่ใช่บอท
เสร็จแล้วกดลงทะเบียนได้เลยค่ะ
เมื่อกดลงทะเบียนแล้ว ระบบจะส่งลิงค์สำหรับ Activated Account เข้าไปที่ email ที่ลงทะเบียนไว้
เราต้องกดปุ่มคลิ้ก เพื่อยืนยัน Email
หลังจากเรากด Activated Link แล้วเราจะได้ email ใหม่อีกฉบับ เพื่อรับ Username กับ Password
เพื่อเข้าไปเริ่มมลงทะเบียน TM30
หลังจากกดไปหน้า Log In ครั้งแรก ระบบจะแจ้งให้เปลี่ยน Password เพื่อความปลอดภัยนะคะ
ระบบจะขึ้นข้อความ แจ้งเรื่องข้อกฏหมายว่าเจ้าของที่พัก จำเป็นต้องแจ้งรับคนต่างด้าวเข้าที่พักภายใน 24 ชั่วโมง
ให้กดติ้กถูกที่ช่อง  “I have read and agreed to the terms and conditions”  หลังจากนั้นกดปุ่ม Accept

ขั้นตอนที่ 5
หลังจากเราเข้ามาในระบบเรียบร้อยแล้ว เราจำเป็นจะต้องเพิ่มที่พัก
โดยการกดเข้าไปที่ Profile ของเรา
เลือกลงทะเบียนที่พัก โดยต้องเพิ่มในส่วนของ ที่อยู่ที่รับคนต่างด้าวเข้าพัก
ระบบจะมีให้กรอกและรหัสประจำบ้าน ที่อยู่โดยละเอียด ละติจูดและลองติจูด
หลังจากเพิ่มที่อยู่เข้าไปแล้ว ระบบจะให้เราใส่ชื่อบุคคลต่างด้าวเข้าไปในที่อยู่ได้

สิ่งที่เราต้องใส่ในขั้นตอนนี้คือ Passport + Visa + ระยะเวลาการเช่าของลูกค้า
ซึ่งเมื่อกรอกตามช่องครบแล้ว ให้กดปุ่มบันทึกได้เลย และกด Confirm อีกรอบ
เพียงเท่านี้ก็เสร็จขั้นตอนการลงทะเบียน TM30 แล้วค่ะ

TM30 ปล่อยเช่าชาวต่างชาติต้องรู้ ฉบับอัปเดต ถ้าไม่อยากเสียค่าปรับ!!

—————————————————–

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficia

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

การ จำนอง บ้านระหว่าง ธนาคาร กับ บุคคล ต่างกันอย่างไร
1
Mar 23
การจำนองบ้านระหว่าง ธนาคาร กับ บุคคล ต่างกันอย่างไร

คนส่วนใหญ่คนคิดว่า ถ้าจะขอสินเชื่ออสังหา มักจะนึกถึงธนาคารเป็นที่แรก แต่จริงๆ ยังมีแหล่งขอสินเชื่ออีกหลากหลายช่องทาง อาทิเช่น บุคคลธรรมดา และบริษัท ที่สามารถปล่อยสินเชื่อได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายด้วยเหมือนกัน วันนี้เราจะพาไปดูข้อแตกต่างระหว่าง การ จำนอง บ้านกับธนาคาร และ กับบุคคล ว่าต่างกันอย่างไร ไปดูกันเลยค่ะ การจำนองบ้านกับธนาคาร ข้อดีของการ จำนองบ้านกับธนาคาร ธนาคารจะให้วงเงินในของอนุมัติขอสินเชื่ออยู่ที่ 80%- 100% ของราคาประเมิน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแต่ละสถาบัน ระยะเวลาการกู้สามารถกู้ได้นานกว่า 10 ปี ดอกเบี้ยจะขึ้นอยู่กับนโยบายดอกเบี้ยแต่ละช่วงเวลานั้น โดยจะอยู่ที่ 5% แต่จะไม่เกิน 10% ต่อปี ข้อเสียของการ จำนองบ้านกับธนาคาร การจำนองบ้านกับธนาคารมักใช้เวลานานในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ ใช้เอกสารประกอบการพิจารณาอนุมัติเยอะ และมีการตรวจสอบเอกสารทางการเงิน อายุของผู้กู้ต้องอายุไม่เกิน 55 – 60 ปี ต้องตรวจสอบเครดิตบูโร ธนาคารอาจต้องมีผู้ค้ำประกัน ที่ดินเปล่าส่วนใหญ่ธนาคารจะไม่อนุมัติ การจำนองบ้านกับบริษัทเอกชน หรือ บุคคล ข้อดีของการจำนองบ้าน กับบริษัทเอกชน หรือ บุคคล ใช้เวลาในกา […]

อ่านเพิ่มเติม
บังคับจำนอง
3
Jan 23
การบังคับจำนอง คืออะไร ?

บังคับจำนอง ไม่ได้หมายความว่าเรามีทรัพย์สินอยู่แล้วถูกบังคับให้เอาไปจำนองแต่อย่างใด แต่หมายถึงการที่เราได้ทำสัญญาจำนองไว้เรียบร้อยแล้ว แต่ผิดสัญญา ไม่จ่ายดอกเบี้ย ไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงกันไว้ ทำให้ถูกฟ้องร้องต่อศาล โดยการบังคับจำนอง นั้นทำได้ 2 วิธีคือ ประเภทของ บังคับจำนอง ขายทอดตลาด คือการยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่ง “ยึด” ทรัพย์สินที่จำนองไว้ขายทอดตลาด และนำเงินมาใช้หนี้แก่ผู้รับจำนอง โดยจำเป็นต้องส่งหนังสือแจ้งลูกหนี้ก่อนล่วงหน้า 1 เดือน ถึงจะสามารถฟ้องร้องได้ การบังคับจำนองขายทอดตลาดนั้น หากตัวทรัพย์สินที่จำนองไว้มูลค่าต่ำกว่าหนี้ที่มีอยู่ ลูกหนี้ไม่จำเป็นต้องเสียค่าส่วนต่างแต่อย่างใด (แต่เสียที่ดิน เสียบ้านนะจ๊ะ!) และหากสามารถขายทรัพย์สินในราคาที่สูงกว่าหนี้ที่คงค้างได้ เจ้าหนี้จำเป็นต้องนำเงินส่วนที่เกินมาคืนให้แก่ลูกหนี้ไป จะเห็นได้ว่าการจำนองนั้น “เจ้าหนี้” ค่อนข้างเสียเปรียบในการทำสัญญาไม่น้อย เพราะฉะนั้น จะรับจำนองทรัพย์สินอะไร ให้ประเมินราคา ประเมินมูลค่าที่แท้จริงให้ดีเสียก่อน ก่อนที่จะเสียทั้งเงินและเวลาไปโดยใช่เหตุ ยึดทรัพย์สินให้เป็นของเจ้าหนี้ กรณีนี้สา […]

อ่านเพิ่มเติม
3
May 23
จะรู้ได้อย่างไร ว่าที่ที่เราจะซื้อเป็นพื้นที่ส่วนกลาง

https://www.isranews.org/article/isranews-news/110435-Court-of-Appeal-Prime-nature-villa-common-property-news.html   จากเหตุการณ์ตามข่าวนี้ แสดงให้เห็นว่า การซื้อขายที่ดินในหมู่บ้านจัดสรร พื้นที่ที่เป็นส่วนกลางของหมู่บ้าน (โดยทั่วไปคือ พื้นที่ที่เจ้าของกรรมสิทธิทุกคนในหมู่บ้านหรือคอนโดมิเนียม มีสิทธิใช้ร่วมกัน โดยมีการเสียค่าใช้จ่าย ที่เรียกว่าค่าส่วนกลางให้กับนิติบุคคลหมู่บ้านหรือคอนโดฯ เช่น สนามหญ้า สระว่ายน้ำ lake ลิฟต์ส่วนกลาง สโมสร คลับเฮ้าส์ ฟิตเนส พื้นที่ทิ้งขยะ เป็นต้น) พื้นที่ส่วนกลางในหมู่บ้าน มีทั้งส่วนที่เป็นที่ดินเปล่า และที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ทีนี้เราจะทราบได้อย่างไร ว่าที่ดินที่เราต้องการจะซื้อในหมู่บ้านจัดสรรนั้นๆ เป็นที่ดินที่เราสามารถเอามาสร้างบ้านอยู่อาศัยได้ ไม่โดนหลอกเอาที่ดิน ที่เป็น พื้นที่ส่วนกลาง มาขาย วันนี้ Property4Cash มีคำตอบค่ะ 1.  ดูง่ายๆ เบื้องต้น ตามผังพื้นที่ขายที่มีการโฆษณาในสื่อ หรือที่เซลล์โฆษณาขาย ว่าพื้นที่ที่เราต้องการอยู่ตรงไหนของโครงการ เข้าข่ายว่าจะเป็นพื้นที่ส่วนกลางหรือไม่ (ในผังพื้นที่ขายส่วนใหญ่ จะระบุว่าพื้นที่ตรงไหน คือ พื้นที่ส […]

อ่านเพิ่มเติม