โฉนดที่ดิน แต่ละประเภทให้สิทธิ์ในที่ดินต่างกัน
7
Feb 24

ก่อนที่เราจะตัดสินใจซื้อบ้านหรือที่ดิน เราต้องศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนว่า โฉนดที่ดิน มีกี่ประเภท
ซึ่งในปัจจุบันที่ดินถูกแบ่งออกเป็นหลายประเภทมากๆ
มีทั้งแบบเป็นกรรมสิทธิ์ที่ดินและเอกสารสิทธิที่ดิน
หรือแบบที่คนทั่วไปอย่างเราๆ สามารถซื้อขายกันได้ตามกฎหมาย
และแบบที่รัฐออกสิทธิ์ให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินตรงนั้น แต่ไม่อนุญาตให้ครอบครองซื้อขายกันได้
ซึ่งความแตกต่างของสิทธิ์นี้จะระบุในโฉนดที่ดินทั้งหมด
บางคนอาจไม่ได้สังเกตุจึงทำให้เข้าใจผิดเกิดเป็นข้อพิพาทฟ้องร้องกันได้
เพื่อความชัดเจนว่าโฉนดที่ดินแบบไหนสามารถซื้อขายกันได้
เราจะรวบรวมข้อมูลโฉนดที่ดินและเอกสารสิทธิ์ที่ดินต่างๆ กัน

ทำความรู้จักโฉนดที่ดิน

โฉนดที่ดินที่เราเรียกกันบ่อยๆ คือ หนังสือสำคัญที่มีไว้แสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินออกให้โดยกรมที่ดิน
ผู้ที่มีโฉนดที่ดินจะถือว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ระบุไว้ในเอกสาร
และมีอำนาจในการใช้ประโยชน์จากที่ดินตามพื้นที่ ที่ระบุในโฉนดที่ดินนั้น
ซึ่งโฉนดที่ดินมีหลายประเภทและมีกรรมสิทธิ์ที่แตกต่างกันไป
เช่น บางชนิดสามารถซื้อขายได้ บางชนิดไม่สามารถซื้อขายได้
โดยสังเกตได้จากสีของตราครุฑ และรหัสเอกสารด้านบนขวา

โฉนดที่ดิน สามารถแบ่งเป็น 7 ประเภท

  1. โฉนดที่ดิน นส.4 หรือตราครุฑสีแดง

โฉนดที่ดินแบบนี้ ผู้ครอบครองมีกรรมสิทธิ์เต็มที่ในการใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
เป็นโฉนดที่ดินที่แสดงกรรมสิทธิ์ชัดเจน ทำให้โฉนดที่ดินประเภทนี้เป็นที่นิยมในการซื้อขายมากที่สุด

  1. เอกสารสิทธิ์ น.ส.3 ก. หรือตราครุฑเขียว

เป็นเอกสารที่แสดงสิทธิในการทำประโยชน์ในพื้นที่ดินนั้นๆ แต่ไม่มีกรรมสิทธิครอบครอง
จะต้องมีการทำระวางรูปถ่ายทางอากาศและต้องมีการรังวัดจัดทำแผนที่แล้วเท่านั้น สามารถซื้อขาย จดจำนองได้
แต่ผู้ครอบครองโฉนดนี้สามารถยื่นขอเปลี่ยนโฉนดตราครุฑเขียวเป็นโฉนดนส.4 ได้เลย
โดยไม่ต้องไม่ต้องรองรังวัดและติดประกาศ 30 วัน

  1. เอกสารสิทธิ์ น.ส.3 ข. หรือตราครุฑดำ

เป็นเอกสารที่แสดงสิทธิการใช้ประโยชน์พื้นที่ดินนั้นๆ แต่ไม่มีสิทธิครอบครอง
โฉนดนี้จะไม่มีรูปถ่ายทางอากาศ ไม่มีการวัดพื้นที่ละเอียด
หรือเรียกง่ายๆ คือโฉนดประเภทนี้ขาดความถูกต้องของขอบเขตที่ดินสามารถซื้อขายได้เลย
ผู้ครอบครองโฉนดนี้สามารถยื่นขอเปลี่ยนโฉนดตราครุฑดำเป็นโฉนดนส.4 ได้
แต่ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ดินเข้ามาทำการรังวัดและติดประกาศเป็นระยะเวลา 30 วัน
ถ้าไม่มีใครยื่นเรื่องขอคัดค้าน จึงจะสามารถทำเรื่องขอออกโฉนดได้

  1. เอกสารสิทธิ์ ส.ป.ก.4-01 หรือตราครุฑสีน้ำเงิน

เป็นเอกสารที่ออกให้เจ้าของมีสิทธิในการทำ “เกษตรกรรม” บนที่ดินนั้น ไม่สามารถซื้อขายได้
แต่สามารถแบ่งตกทอดเป็นมรดกสู่ทายากต่อไปได้และทายาทก็จะต้องทำเกษตรกรรมบนที่ดินนั้นเท่านั้น
สามารถจำนองได้เฉพาะที่เป็นโครงการของรัฐ หากผู้ครอบครองทำผิดเงื่อนไข รัฐสามารถยืดคืนได้

  1. ใบจอง หรือ นส. 2

เป็นเอกสารสิทธิ์ที่ทางราชการออกให้แก่ประชาชนแบบชั่วคราวเป็นระยะเวลา 3 ปี
ซึ่งผู้ที่มีใบจองจะสามารถทำประโยชน์ในที่ดินได้เกิน 75% ของที่ดิน
ก่อนจะครบกำหนดส่งคืน ไม่สามารถซื้อขาย โอน จดจำนองได้ ยกเว้นยกมอบเป็นมรดกแก่ทายากโดยตรง

  1. ที่ดิน ภ...5 หรือบำรุงภาษีท้องที่

เป็นใบชำระภาษีบำรุงภาษีท้องที่ของผู้อยู่อาศัยหรือใช้ประโยชน์ในพื้นที่มาแต่เดิม
ซึ่งที่ดินนี้เป็นของรัฐ ผู้ที่ใช้ประโยชน์ในที่ดินนี้จะต้องชำระภาษีให้กับภาครัฐ
ไม่มีสิทธิครอบครอง ไม่สามารถซื้อ ขาย หรือโอนให้กันได้
แต่สามารถตกทอดเป็นมรดกให้กับทายาทได้

  1. สิทธิที่ดินทำกิน หรือ สทก.

เป็นหนังสือที่กรมป่าไม้ออกให้ประชาชนมีสิทธิ์ในการทำกินบนพื้นที่ป่าไม้
ไม่สามารถซื้อขายหรือโอนให้กันได้ แต่สามารถตกทอดเป็นมรดกให้แก่ทายากได้
หากเจ้าของสิทธิปล่อยที่ดินรกร้างติดต่อกันเกิน 2 ปี อาจถูกยึดคืนได้

สรุปแล้ว การจะซื้อขายที่ดินจะต้องดูว่าโฉนดที่เรามีอยู่ เป็นโฉนดประเภทไหน มีไว้เพื่ออะไร
เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องกรรมสิทธิและนำไปสู่การฟ้องร้องที่หลังมาได้ค่ะ

โฉนดที่ดิน แต่ละประเภทให้สิทธิ์ในที่ดินต่างกัน

—————————————————–

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficia

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

17
Aug 24
รายละเอียดสัญญาขายฝากที่ดินที่ควรรู้ก่อนทำธุรกรรม สำหรับผู้รับขายฝาก และผู้ขายฝาก

รายละเอียด สัญญาขายฝากที่ดิน ที่ควรรู้ก่อนทำธุรกรรม สัญญาขายฝากที่ดิน เป็นสัญญาที่มีความสำคัญทางกฎหมายและเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินที่มีมูลค่า การทำความเข้าใจรายละเอียดต่างๆ ก่อนลงนามจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งผู้รับซื้อฝากและผู้ขายฝากควรศึกษาข้อมูลเหล่านี้ให้ละเอียดก่อนตัดสินใจ สิ่งที่ผู้รับซื้อฝากควรทราบ กรรมสิทธิ์ในที่ดิน: แม้ว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันทีที่ทำสัญญา แต่ผู้ขายฝากยังมีสิทธิไถ่ถอนที่ดินคืนได้ตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญา ระยะเวลาไถ่ถอน: กำหนดระยะเวลาไถ่ถอนให้ชัดเจน โดยทั่วไปจะไม่น้อยกว่า 1 ปี และไม่เกิน 10 ปี จำนวนสินไถ่: คือจำนวนเงินที่ผู้ขายฝากต้องชำระเพื่อไถ่ถอนที่ดินคืน โดยจำนวนสินไถ่จะต้องไม่น้อยกว่าราคาที่ซื้อฝาก และดอกเบี้ยที่คิดจากราคาซื้อฝากตามอัตราที่กฎหมายกำหนด (ปัจจุบันไม่เกิน 15% ต่อปี) ค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียน: ผู้รับซื้อฝากเป็นผู้ชำระค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนสัญญาขายฝากที่ดิน ณ สำนักงานที่ดิน ภาษีที่เกี่ยวข้อง: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ชำระภาษีที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมนี้ครบถ้วนแล้ว การตรวจสอบเอกสาร: ต […]

อ่านเพิ่มเติม
26
Jun 24
จะจำนอง หรือ ขายฝาก ดี? แบบไหนเหมาะกับเรา

สินเชื่อ จำนอง ขายฝาก เปรียบเสมือนมีดสองคมที่พร้อมตอบโจทย์ความต้องการทางการเงินที่แตกต่างกัน  การเลือกใช้เครื่องมือทางการเงินที่เหมาะสม เปรียบเสมือนการเลือกอาวุธให้เข้ากับสถานการณ์  เพื่อบรรลุเป้าหมายและลดความเสี่ยง ในบทความนี้ เราจะมาวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ อย่างเจาะลึก ว่า สินเชื่อ จำนอง ขายฝาก เหมาะกับสถานการณ์แบบไหน   ความต้องการเงินทุน ต้องการเงินทุนก้อนใหญ่:  ขายฝากเหมาะกับกรณีนี้มากกว่า เพราะขายฝากจะได้วงเงินสูงกว่า จำนองเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการนำเงินไปใช้จ่ายก้อนใหญ่ เช่น โปะหนี้ ลงทุน หรือขยายธุรกิจ ต้องการเงินทุนก้อนใหญ่ แต่ต้องการผ่อนชำระระยะยาว: จำนองเหมาะกับกรณีนี้มากกว่า เพราะสินเชื่อจำนองจะผ่อนชำระเป็นรายงวด ระยะเวลาผ่อนชำระยาวนาน เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้สม่ำเสมอ สามารถวางแผนการเงินระยะยาวได้ เป้าหมายการรักษาความเป็นเจ้าของ ต้องการรักษาความเป็นเจ้าของบ้าน: จำนองเหมาะกับกรณีนี้มากกว่า เพราะผู้กู้ยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้าน แม้จะนำบ้านไปจำนองไว้กับธนาคาร ต้องการขายบ้านในอนาคต: ขายฝากเหมาะกับกรณีนี้มากกว่า เพราะผู้ขายฝากสามารถไถ่ถอนทรัพย์สินคืนได้ภายในระยะเวลาที่ […]

อ่านเพิ่มเติม
ที่ดินตาบอด จำนอง - ขายฝาก ได้ไหม ?
11
Apr 23
ที่ดินตาบอด จำนอง – ขายฝาก ได้ไหม ?

หลายๆ ครั้ง มักจะมีเพื่อนๆ ถามเข้ามาว่า ที่ดินตาบอด สามารถนำมา จำนอง หรือ ขายฝาก ได้หรือเปล่า บางคนก็ไม่แน่ใจว่าที่ดินที่ตัวเองถือครองอยู่นั้น เป็นที่ดินตาบอดหรือไม่ ก่อนอื่นเลยอยากจะชวนเพื่อนๆ มารู้จักที่ดินตาบอดกันเสียก่อน ว่าหมายถึงที่ดินแบบไหนกัน ที่ดินตาบอด หมายถึง ที่ดินที่ถูกแปลงอื่นล้อมรอบ ทำให้ไม่มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะประโยชน์ ที่เป็นทางที่ใช้สำหรับสัญจรทั้งทางบกและทางน้ำ จำเป็นต้องขอใช้ทางจากที่ดินคนอื่น โดยการขอแบ่งใช้ทางบนที่ดินคนอื่นนั้น เรามีอยู่ 2 วิธีหลักๆ คือ “ทางจำเป็น” และ “ภาระจำยอม” ทางจำเป็น ตามกฎหมายนั้น ให้สิทธิเจ้าของที่ดินในการขอ “ทางจำเป็น” จากที่ดินที่ล้อมรอบอยู่แปลงใดแปลงหนึ่ง เพื่อใช้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะได้ โดยจะเลือกได้เพียงทางเดียวเท่านั้น โดยผู้ที่มีสิทธิฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็น ต้องเป็น “เจ้าของที่ดิน” ซึ่งถูกปิดล้อมเท่านั้น ผู้เช่าหรือบุคคลอื่นไม่มีสิทธิ ทางภาระจำยอม หากมองด้วยตาเปล่า ก็ดูเหมือนจะคล้ายๆ กับทางจำเป็น เพราะว่าเป็นการขอใช้ทางชาวบ้านเขาเหมือนกัน แต่ ทางภาระจำยอม ก็มีข้อแตกต่างจาก ทางจำเป็น อยู่พอสมควร โดยการได้มาซึ่ง “สิทธิ” ในการใช้ท […]

อ่านเพิ่มเติม