ที่ดิน กรรมสิทธิ์รวม ซื้อขาย ขายฝากหรือจำนองได้หรือไม่?
23
Dec 23

ในการ ซื้อขายที่ดิน หรือมีการ ขายฝากจำนองที่ดิน เกิดขึ้น
หากเราเป็นเจ้าของคนเดียวก็คงไม่ยากที่จะนำที่ดินแปลงนั้นออกมาจำหน่ายหรือทำธุรกรรมได้
แต่ถ้าที่ดินนั้นเป็นมรดกตกทอดที่มีเจ้าของ 2 – 3 คนขึ้นไป
หรือเรียกได้ง่ายๆ ว่าที่ดินตรงนั้นมีเจ้าของ กรรมสิทธิ์รวม

กรรมสิทธิ์รวม คืออะไร

กรรมสิทธิ์รวมหมายถึง การที่มีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปหรือมากกว่านั้นเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกัน
โดยในโฉนดที่ดินไม่ได้ระบุว่าเจ้าของรวมคนใดเป็นเจ้าของส่วนไหนบ้าง
ตามกฎหมายแล้วสันนิษฐานว่าเจ้าของรวมแต่ละคนจะต้องมีสัดส่วนที่ดินเท่าๆ กัน
และมีสิทธิ์ในการจัดการทรัพย์สินร่วมกัน

การซื้อขาย ขายฝากหรือจำนองที่ดินกรรมสิทธิ์รวม ทำได้หรือไม่?

ถ้าเจ้าของที่ดินกรรมสิทธิ์รวม ไม่ได้มีการตกลงแบ่งสัดส่วนที่ดินอย่างชัดเจน
เมื่อมีเจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งต้องการซื้อขายหรือมีการขายฝากจำนองที่ดินเกิดขึ้น
ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทุกๆ คนก่อน ไม่เช่นนั้นจะถือว่าไม่สมบูรณ์
กลายเป็นความยุ่งยากที่ก่อให้เกิดภาระติดพันในส่วนของความเป็นเจ้าที่ดินของตนเอง

แต่หากเจ้าของที่ดินกรรมสิทธิ์รวม มีการตกลงแบ่งที่ดินเป็นสัดส่วนชัดเจนแล้ว
มีการระบุในโฉนดชัดเจนว่าที่ดินแปลงไหนบ้างมีชื่อเราเป็นเจ้าของ
ถือว่าเราเป็นเจ้าของที่ดินแปลงนั้นคนเดียวโดยสมบูรณ์
มีสิทธิ์ที่จะซื้อขายหรือขายฝากจำนองได้ในส่วนเฉพาะของตนเท่านั้น
และไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมผู้อื่นด้วย

การแบ่งที่ดินกรรมสิทธิ์รวม แบ่งได้อย่างไร

ในการแบ่งที่ดินกรรมสิทธิ์รวม  สามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณี

กรณีที่ 1  เจ้าของรวมที่ดิน จะต้องตกลงระหว่างกันเอง

โดยการตกลงนั้นจะต้องแบ่งตามความต้องการและได้รับความเห็นจากทุกๆ คน
เมื่อมีตกลงกันด้วยปากเปล่าแล้วว่าจะให้ใครมีสิทธิเท่าใด สัดส่วนเท่าไหร่
ให้ทุกคนที่มีกรรมสิทธิ์รวม ไปยื่นคำจดทะเบียนประเภท “บรรยายส่วน”ต่อเจ้าหน้าที่ที่ดิน
แล้วแจ้งสัดส่วนที่ต้องการให้จดระบุไว้ เจ้าหน้าที่ที่ดินก็จะแบ่งโฉนดตามสัดส่วนที่จดบันทึกข้อตกลงไว้เช่นกัน

กรณีที่ 2  เจ้าของรวมตกลงกันเองไม่ได้

หากเจ้าของที่ดินกรรมสิทธิ์รวม ตกลงกันเองไม่ได้หรือเคลียร์ความต้องการของแต่ละคนไม่ลงตัว
จะต้องนำเรื่องนี้ขึ้นศาลฟ้องร้องให้พิพากษาแบ่งที่ดินตามส่วน
ถ้ายังแบ่งตกลงกันไม่ได้อีก ศาลจะให้นำที่ดินดังกล่าวขายทอดตลาดและนำเงินมาแบ่งให้เท่าๆ กัน
ซึ่งส่วนใหญ่แล้วศาลก็จะพยายามให้เจ้าของรวมตกลงกันเองให้ได้
แต่ถ้าเจ้าของรวมมีปัญหากันจนไม่สามารถยินยอมได้
ศาลเป็นผู้ชี้ขาดตัดสินให้ตามความสมควร

อย่างไรแล้ว หากที่ดินดังกล่าว ได้มีการแบ่งสัดส่วนกันชัดเจนแล้ว
ไม่ว่าจะตกลงระหว่างกันเองหรือให้ศาลพิพากษา
ถ้าที่ดินแปลงสัดส่วนนั้นเป็นชื่อของตน
ก็สามารถ ซื้อขาย ขายฝากจำนองที่ดิน ได้อย่างสมบูรณ์
โดยไม่ต้องขอความยินยอมจากเจ้าของรวมผู้อื่น

ที่ดิน กรรมสิทธิ์รวม ซื้อขาย ขายฝากหรือจำนองได้หรือไม่?

—————————————————–

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

12
May 23
วิธีรับมือหนี้บ้าน ในช่วงดอกเบี้ยอสังหาขาขึ้น

เชื่อว่าในช่วงที่ผ่านมาทุกคนน่าจะได้ยินข่าวคราวการปรับขึ้นของ “ดอกเบี้ยนโยบาย” กันไปบ้างแล้ว ซึ่งดอกเบี้ยนโยบายนั้น คือ อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดโดยธนาคารกลางแห่งประเทศไทย ที่ส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ในประเทศทั้งหมด ดังนั้น เมื่อมีการปรับดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้น ย่อมส่งผลกระทบโดยตรง กับทั้งภาคประชาชนและภาคธุรกิจไม่มากก็น้อย ซึ่งในที่สุดแล้วย่อมส่งผลมาถึงภาระการผ่อนบ้าน กล่าวคือ อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านก็จะสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเราจะมีวิธีไหนมาช่วยลดภาระ ดอกเบี้ยอสังหา ได้บ้าง ไปดูกันเลยค่ะ ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจคำว่า “ดอกเบี้ยบ้าน” กันก่อนดีกว่าค่ะ โดยธนาคารแห่งประเทศได้ให้คำจำกัดความของ “ดอกเบี้ยบ้าน” หมายถึง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์โฮม คอนโด อาคารพาณิชย์ หรือแม้แต่ที่ดิน โดยจะแบ่งการคำนวณดอกเบี้ยเป็น 2 รูปแบบคือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ (Fixed Rate) อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่กำหนดตัวเลขเฉพาะตลอดอายุสัญญาเงินกู้ หรือในระยะเวลาที่กำหนด โดยจะไม่ขึ้นหรือลงตามสภาวะเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัว (Floating Rate) อ […]

อ่านเพิ่มเติม
กู้ร่วม แต่ผู้กู้ร่วมอีกคนเสียชีวิต ทำจำนองขายฝากได้ไหม?
2
Jul 24
กู้ร่วมแต่ผู้กู้ร่วมอีกคนเสียชีวิต ทำจำนองขายฝากได้ไหม?

หลายคนคงเคยกังวลว่าหากเรา กู้ร่วม ซื้อบ้านหรือคอนโดกับใครสักคน แล้วเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ผู้กู้ร่วมเสียชีวิต เราจะทำอย่างไรต่อ? โดยเฉพาะเรื่อง มรดก การผ่อนชำระสินเชื่อ หรือ  การขายฝาก จำนอง บทความนี้จะมาไขข้อสงสัยเหล่านี้ให้กระจ่าง พร้อมอธิบายแนวทางปฏิบัติอย่างละเอียด เมื่อเผชิญสถานการณ์สูญเสียผู้กู้ร่วม เมื่อผู้กู้ร่วมเสียชีวิต สัญญาจะยังคงอยู่หรือไม่? ตอบ: สัญญากู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัยยังคงมีผลผูกพันแม้ว่าผู้กู้ร่วมจะเสียชีวิตก็ตาม ภาระหนี้สิน มรดก ต่างๆ จะตกไปอยู่กับผู้ กู้ร่วม ที่ยังมีชีวิตอยู่และทายาทของผู้เสียชีวิต แล้วทายาทมีสิทธิ์อะไรบ้าง? ตอบ: ทายาทของผู้เสียชีวิตมีสิทธิ์เลือกดังนี้ รับสืบทอดหนี้สิน: ทายาทสามารถรับสืบทอดหนี้สินต่อจากผู้เสียชีวิต โดยจะต้องผ่อนชำระสินเชื่อร่วมกับผู้กู้ร่วมที่ยังมีชีวิตอยู่ สละสิทธิ์: ทายาทสามารถสละสิทธิ์ไม่รับสืบทอดหนี้สิน กรณีนี้ธนาคารอาจพิจารณาให้ผู้กู้ร่วมที่ยังมีชีวิตอยู่กู้ต่อเพียงลำพัง หรือหาผู้กู้ร่วมใหม่ ขายทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้: ทายาทสามารถขายบ้านหรือคอนโดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้สิน กรณีต้องการขายฝากหรือจำนอง กรณีผู้กู้ร่วมเสียชีวิต การทำ […]

อ่านเพิ่มเติม
16
Feb 23
ถนนหน้าบ้านเรามีเจ้าของรึเปล่านะ

ถนน ทางสัญจร ที่เราใช้สัญจร อย่างเป็นปกติตลอดการอยู่อาศัยของเรานั้น บางที่บางแห่ง แท้จริงแล้ว อาจจะไม่ใช่ถนนสาธารณะ ที่ทุกคนมีสิทธิ์ในการใช้ หรือเป็นเจ้าของร่วมกัน อย่างที่เราเข้าใจก็ได้นะ ทีนี้เราจะรู้ได้อย่างไร ทีม Landthaimart เราจะพาไปรู้จักวิธีตามหาความจริงกันค่ะ ก่อนอื่น ในบทความนี้ จะขออนุญาตแบ่งกรรมสิทธิของถนนเป็น 2 ประเภทก่อน เพื่อความเข้าใจง่ายๆ 1.ถนนสาธารณะ ชื่อก็บ่งบอกอยู่แล้ว ว่าสาธารณะ ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ มีงบประมาณของแผ่นดิน จากภาษีของประชาชนเข้ามาบำรุงดูแลรักษา ทุกคนมีสิทธิ์ใช้ ดูแล ปกป้อง ถนนสาธารณะร่วมกัน การเช็คว่าเป็นสาธารณะหรือไม่ จะกล่าวถึงละเอียดต่อไป บางครั้งเราจะเห็นป้ายหน้าปากซอย ที่เป็นงบประมาณของเขต ติดตั้งอยู่ ก็ไม่ได้แสดงว่า ถนน ซอย นี้ เป็นสาธารณะเสมอไป บางครั้ง มีไว้เพื่อเป็น landmark เพื่ออำนวยความสะดวก ต่อการเดินทาง การบอกจุดหมาย การขนส่ง เท่านั้น หากในอนาคตถนนนี้ (ส่วนบุคคล) ที่มีป้ายถนนติดชื่อยู่ มีการซื้อไปเพื่อพัฒนาเป็นโครงการอื่นๆ มีการพิสูจน์สิทธิ์แล้วว่า เป็นที่ดินส่วนบุคคลจริง ป้ายซอย หรือป้ายชื่อถนนแบบนี้ ก็สามารถที่จะถูกรื้อถอนโดยหน่วยงานท […]

อ่านเพิ่มเติม