3 กลโกงขายฝาก ที่ควรระวัง (พร้อมวิธีป้องกัน)
5
Apr 23

กลโกงขายฝาก ที่ควรระวัง ขึ้นชื่อว่า “การโกง” นั้น นับว่าเป็นอะไรที่อยู่คู่สังคมมนุษย์มาอย่างยาวนาน
เป็นปัญหาที่ลุกลามไปทั่วทุกวงการ รวมไปถึงวงการ “ขายฝาก” เองนั้น
ก็เป็นหนึ่งในการทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่มักจะมีปัญหาโดนโกงด้วยวิธีต่างๆ มากมาย
จนทำให้เจ้าของบ้านน้ำตาตกในกันมานักต่อนัก พาลทำให้หลายๆ คน ไม่กล้าที่จะทำสัญญาขายฝาก
เพราะกลัวว่าจะต้องเสียทรัพย์ เสียบ้าน เสียที่ดินสุดรักสุดหวงไป

จะดีกว่าหรือไม่..? ถ้ารู้เท่าทัน กลโกงขายฝาก ต่างๆ พร้อมวิธีป้องกัน เพื่อที่เราจะได้ขายฝากอย่างสบายใจ
นำเงินไปใช้ยามฉุกเฉิน ยามจำเป็น โดยไม่ต้องกังวลว่าเวลาผ่านไป จะมีวิกฤตใหม่เข้ามาทำให้ชีวิตต้องทุกข์ทรมาน

นัดไถ่ถอน แต่ติดต่อนายทุนไม่ได้!
สัญญาขายฝากนั้น เป็นสัญญาที่มีการกำหนดไว้ว่า “ผู้ขายฝาก” หรือเจ้าของทรัพย์
สามารถนำเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยมาไถ่ถอนตามเวลาที่กำหนดในระยะสัญญาได้
ซึ่งจะทำให้สิทธิในการครอบครองทรัพย์สินนั้นๆ กลับคืนสู่เจ้าของเดิมผู้ขายฝาก
แต่หากไม่มาไถ่ถอนตามระยะเวลาที่กำหนดแล้วล่ะก็ อสังหาริมทรัพย์ที่เรานำมาขายฝากนั้น
ก็จะตกเป็นของนายทุนทันทีโดยไม่ต้องขึ้นศาลฟ้องร้องกันแต่อย่างใด

 

ตรงจุดนี้เอง เป็นจุดที่นายทุนหรือ “ผู้ซื้อฝาก” หลายๆ คน พยายามบ่ายเบี่ยงไม่ยอมให้เจ้าของ
นัดวันไปทำเรื่องไถ่ถอนที่กรมที่ดิน เพราะหวังจะฮุบเอาทรัพย์นั้นๆ เป็นของตนเองไปขายทำกำไรต่อไป
ซึ่งโดยปกติแล้ว หากเป็นทางฝ่าย “ผู้ขายฝาก”  เองที่บ่ายเบี่ยงไม่ยอมไถ่ถอนด้วยเหตุที่ว่าหาเงินต้นมาคืนไม่ทัน
แต่ก็มีหลายๆ ครั้งที่ผู้ขายฝากมีความพร้อม มีความต้องการที่จะไถ่ถอนทรัพย์คืนไปแล้ว แต่นายทุนพยายามหลบหนี
ตัดช่องทางการติดต่อเพื่อให้ระยะเวลาขายฝากครบกำหนดจนสิทธิ์การครอบครองทรัพย์นั้นๆ ตกเป็นของนายทุนไป

 

มาถึงตรงนี้แล้วคุณผู้อ่านอย่าเพิ่งกังวลไป ว่าหากเราติดต่อนายทุนเพื่อไถ่ถอนไม่ได้แล้วจะโดนยึดทรัพย์แน่นอน
เพราะเราสามารถนำเงินไป สำนักงานวางทรัพย์ กรมบังคับคดี ให้เจ้าหน้าที่พนักงานบังคับคดีออกหนังสือแจ้งแก่ผู้ซื้อฝาก
ให้มารับชำระหนี้ หากไม่มารับชำระหนี้ตามกำหนด ผู้ขายฝากสามารถคัดเอกสารจากกรมบังคดี
เพื่อนำไปอายัดไม่ให้มีการจำหน่ายหรือทำการใดๆ กับอสังหาริมทรัพย์ของเราได้

 

สำคัญคือ เราจำเป็นต้องจำวันครบกำหนดขายฝากไว้ให้ขึ้นใจ หากจำเป็นต้องกระทำการใดๆ ที่ต้องใช้เวลา
จะได้รีบทำให้ทันท่วงที ก่อนที่อะไรๆ จะสายเกินไป

 

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ : สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม 02-881-4999

 

กฎสำคัญในการทำสัญญาใดๆ ก็ตาม คือจำเป็นต้องอ่านสัญญาให้ดี มีอะไรสงสัยตรงไหนให้ถามเจ้าหน้าที่
ที่สำนักงานที่ดิน เพราะหลายๆ ครั้ง มักจะมีเจ้าของทรัพย์ที่ไม่ค่อยใส่ใจในการอ่านรายละเอียดสัญญา
จนทำให้เกิดปัญหาที่ไม่สามารถแก้ได้ เพราะเป็นเราเองที่เป็นฝ่ายเซ็นยินยอมด้วยตนเองไปแล้วตั้งแต่ต้น

 

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราอ้างอิงมาจากสถานการณ์จริง เจ้าของบ้านต้องการทำสัญญาขายฝากเพื่อนำเงินไปใช้ด้วยความจำเป็น
ฝั่งนายทุนเองก็ร่างสัญญาที่เป็นสัญญาขายฝากจริงๆ ขึ้นมาเอง 1 ฉบับ มีถ้อยคำถูกต้องครบถ้วนเรียบร้อย
แต่พอถึงวันที่ทำสัญญาที่สำนักงานที่ดินแล้วกลับไม่ใช่สัญญาขายฝาก แต่เป็น “สัญญาซื้อขาย”
และฝั่งเจ้าของทรัพย์เองก็ไม่ได้เอะใจ ไม่ได้มีความรู้อะไรมากมาย ได้ยินคำว่า ขายๆ หรือ ขายฝาก
ก็ยังแยกไม่ค่อยออก ด้วยความเชื่อใจนายทุนที่ภาพลักษณ์ภายนอกดูเป็นคนดี ดูเป็นมืออาชีพ
เลยเซ็นเอกสารตามที่เขาให้เซ็นโดยที่ไม่ระมัดระวังอะไรเลย เท่ากับว่าทางกฎหมายแล้วอสังหาริมทรัพย์
ของเราถือว่าถูกขายให้กับนายทุนเป็นที่เรียบร้อย ในราคาที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เพราะเราคิดว่าเป็นการขายฝาก
ที่มักจะให้วงเงินกันที่ 50% ของราคาซื้อขายนั่นเอง

 

วิธีป้องกันง่ายๆ สำหรับเหตุการณ์นี้ – คืออย่างไว้ใจใครง่ายๆ หากเราไม่มั่นใจเรื่องสัญญา
เรื่องการใช้ภาษาก็อยากให้ปรึกษาพาคนใกล้ตัวที่พอจะมีความรู้ไปเป็นเพื่อนบ้าง
หรือเอาให้ชัวร์ที่สุดก็ถามเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินนั่นแหละ

 

ซื้อไปขายกลับ (ไม่โกงก็มี แต่ไม่แนะนำ)

เป็นการทำธุรกรรมอย่างหนึ่งที่นิยมทำกันมาก กับการทำสัญญาซื้อขายไปก่อนแล้วค่อยมาซื้อคืนได้ในราคาเดิม
เป็นการทำสัญญาที่สำนักงานที่ดินในรูปแบบซื้อขายกันปกติ แต่มีการทำสัญญาแยกเอาไว้ต่างหากกันเองว่า
เวลาผ่านไป 1 ปีหรือ 2 ปี เราสามารถมาซื้อคืนได้ในราคาที่ระบุไว้ โดยผู้ที่รับซื้อไปห้ามนำอสังหาริมทรัพย์นั้น
ไปทำนิติกรรมใดๆ

 

แล้ว ซื้อไปขายกลับ มันเป็นกลโกงยังไง ? การทำซื้อไปขายกลับนี้ ใช่ว่าจะเป็นการโกงกันซะทีเดียว
เพราะหลายๆ คนก็ได้ทำตามสัญญากันจริง ขายคืนให้กับเจ้าของจริงๆ เพียงแต่สาเหตุที่เราไม่แนะนำก็เพราะว่า
การทำสัญญาแยกนั้นมันไม่มีผลทางกฎหมายแต่อย่างใด!! ให้ยึดถือสัญญาที่ทำกันที่สำนักงานที่ดินเท่านั้น
ทำให้ในทางกฎหมายแล้ว อสังหาริมทรัพย์ของคุณได้ตกเป็นของนายทุนเรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันแรกที่ทำสัญญากัน
โดยที่คุณไม่สามารถใช้ข้อกฎหมายใดๆ เอาผิดหรือบังคับไถ่ถอนกลับคืนมาได้เลย
ยกเว้นแต่ว่านายทุนเท่านั้นตกลงยินยอมทำตามข้อตกลงเดิมเท่านั้น

 

วิธีป้องกันง่ายๆ สำหรับเหตุการณ์นี้ – คือหลีกเลี่ยงการทำสัญญาใดๆ ที่ไม่ใช่การทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดิน
และให้ยึดถือสัญญาที่ทำที่สำนักงานที่ดิน “เป็นหลัก”

 

ไม่ใช่เพียงแต่การซื้อไปขายกลับเท่านั้น แต่การแปะโฉนดเอง ที่เป็นการนำโฉนดมาค้ำประกันเงินกู้นอกระบบ
หรือพวกสัญญาใจ สัญญาปากเปล่า ก็ไม่ควรไว้วางใจเช่นกัน เพราะเรื่องเงินทองมันไม่เข้าใครออกใครจริงๆ

3 กลโกงขายฝาก ที่ควรระวัง (พร้อมวิธีป้องกัน)

——————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

16
Feb 23
ถนนหน้าบ้านเรามีเจ้าของรึเปล่านะ

ถนน ทางสัญจร ที่เราใช้สัญจร อย่างเป็นปกติตลอดการอยู่อาศัยของเรานั้น บางที่บางแห่ง แท้จริงแล้ว อาจจะไม่ใช่ถนนสาธารณะ ที่ทุกคนมีสิทธิ์ในการใช้ หรือเป็นเจ้าของร่วมกัน อย่างที่เราเข้าใจก็ได้นะ ทีนี้เราจะรู้ได้อย่างไร ทีม Landthaimart เราจะพาไปรู้จักวิธีตามหาความจริงกันค่ะ ก่อนอื่น ในบทความนี้ จะขออนุญาตแบ่งกรรมสิทธิของถนนเป็น 2 ประเภทก่อน เพื่อความเข้าใจง่ายๆ 1.ถนนสาธารณะ ชื่อก็บ่งบอกอยู่แล้ว ว่าสาธารณะ ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ มีงบประมาณของแผ่นดิน จากภาษีของประชาชนเข้ามาบำรุงดูแลรักษา ทุกคนมีสิทธิ์ใช้ ดูแล ปกป้อง ถนนสาธารณะร่วมกัน การเช็คว่าเป็นสาธารณะหรือไม่ จะกล่าวถึงละเอียดต่อไป บางครั้งเราจะเห็นป้ายหน้าปากซอย ที่เป็นงบประมาณของเขต ติดตั้งอยู่ ก็ไม่ได้แสดงว่า ถนน ซอย นี้ เป็นสาธารณะเสมอไป บางครั้ง มีไว้เพื่อเป็น landmark เพื่ออำนวยความสะดวก ต่อการเดินทาง การบอกจุดหมาย การขนส่ง เท่านั้น หากในอนาคตถนนนี้ (ส่วนบุคคล) ที่มีป้ายถนนติดชื่อยู่ มีการซื้อไปเพื่อพัฒนาเป็นโครงการอื่นๆ มีการพิสูจน์สิทธิ์แล้วว่า เป็นที่ดินส่วนบุคคลจริง ป้ายซอย หรือป้ายชื่อถนนแบบนี้ ก็สามารถที่จะถูกรื้อถอนโดยหน่วยงานท […]

อ่านเพิ่มเติม
การถมที่ดิน ต้องรู้กฎหมายถ้าไม่อยากโดนปรับ
16
Jan 24
ไม่อยากโดนปรับ ต้องรู้กฎหมายก่อนถมที่ดิน

“ การถมที่ดิน ” คือขั้นตอนแรกเริ่มของการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นอาคาร บ้านจัดสรร โรงงาน และกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องมีการลงโครงสร้าง การถมที่ดิน เราต้องดูหลายปัจจัยควบคู่กันไป ทั้งในเรื่องระดับความสูงของหน้าดิน การทรุดตัวของดิน รวมถึงการระบายน้ำภายในพื้นที่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาระยะยาวในภายหลัง การถมที่ดิน เรื่องที่ละเอียดอ่อน เพราะมีทั้งเรื่องกฎหมาย ประวัติที่ดิน และผู้รับเหมาที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นเจ้าของที่ดินจึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาให้เข้าใจก่อนที่จะทำการถมที่ดิน เพื่อส้รางบ้านหรืออาคารรูปแบบใดๆ ก็ตาม ในส่วนวันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องกฎหมายกันค่ะ เป็นสิ่งที่ทุกคนจำเป็นจะต้องรู้เบื้องต้นก่อนตัดสินใจ เพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องมีปัญหาตามมาภายหลังจากการโดนฟ้องร้อง ที่ต้องเสียทั้งเวลาและเงินเพิ่มเติม ถ้าพร้อมแล้วไปดูพร้อมๆ กันเลยค่ะ เริ่มจากทำความเข้าใจข้อกฎหมายก่อนถมที่ดินใหม่ การถมที่ดินจึงมีข้อบังคับให้อยู่ภายใต้ พรบ.ขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 โดยมีประเด็นหลักที่ต้องดูอยู่ด้วยกันอยู่ 4 ข้อ ดังนี้ หากเจ้าของที่ดินจำเป็นต้องทำการขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกิน 3 เมตร จะต้องแจ้งเจ […]

อ่านเพิ่มเติม
ก่อนลงทุนต้องรู้จักกับ อัตราการดูดซับ
19
Dec 22
ก่อนลงทุนต้องรู้จักกับ ‘อัตราการดูดซับ’

หลายต่อหลายครั้งเราเห็นคำว่า อัตราการดูดซับ ปรากฏบนข่าว ซึ่งบางทีก็อาจสร้างความสงสัยให้กับผู้ที่เพิ่งเริ่มศึกษาเรื่องอสังหาริมทรัพย์ ว่ามันคืออะไร วันนี้เราจะมาไขข้องสงสัยกันค่ะ อัตราการดูดซับ หรือ Absorption Rate คือ ดัชนีชี้วัด ‘ความต้องการ’ หรือ ‘อุปสงค์’ ของตลาดอสังหาริมทรัพย์ ว่าในทำเลนั้นๆ หรือ ตลาดของอสังหาฯ แต่ละประเภท เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมากน้อยเพียงใด ซึ่งสามารถคำนวณได้โดยการนำหน่วยที่ขายได้ หารด้วยจำนวนยูนิตทั้งหมดที่โครงการมี ยิ่งค่าสูง แสดงว่ายังเป็นที่ต้องการมาก อัตราการดูดซับนี้ เป็นหนึ่งในดัชนีที่ใช้คาดการณ์ภาวะธุรกิจ (Business Expectation Index) ซึ่งโดยส่วนมากทางภาครัฐจะเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลตัวเลขเพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูล เพื่อให้เห็นถึงจุดสูงสุดและต่ำสุดของเศรษฐกิจในประเทศ และติดตามสภาวะเศรษฐกิจ แต่ในบางครั้ง ทางผู้พัฒนาอสังริมทรัพย์เองก็มีการเก็บรวมรวบข้อมูลตัวเลขเกี่ยวกับโครงการของตน เพื่อคำนวณออกมาเป็นอัตราการดูดซับเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ครึ่งแรกของปี 2565 อัตราการดูดซับของที่อยู่อาศัยทุกประเภท ต่ำสุดในรอบ 5 ปี สำหรับบ้านเดี่ยวและบ้านแฝด อัตราการดูดซับอยู่ท […]

อ่านเพิ่มเติม