จัดการสินสมรส ในรูปแบบอสังหา แบ่งอย่างไรให้ลงตัว
1
Dec 23

ปัญหาการหย่าร้างมีมากกว่าขึ้นทุกปี ซึ่งสาเหตุของการหย่าร้างมาจากทั้ง 2 ฝ่าย
เกิดจากถูกกดดันจากครอบครัวและความไม่เข้าใจกัน ทำให้เกิดครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวมากขึ้น
และสิ่งที่ตามมาหลังจากการหย่าร้างกันนั้นคือ “จัดการสินสมรส” ที่อาจทำให้เกิดความขัดแย้งต่อกันมากที่สุด

ยิ่งสินสมรสนั้นเป็น อสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน บ้าน คอนโดมิเนียม
ที่ซื้อมาร่วมกันโดยไม่ใช่การรับมรดก
ถือว่าเป็นทรัพย์สินที่มักมีราคาค่างวดมาก
การจะทำอะไรที่เป็นการทำให้สิทธิที่มีอยู่อาจเสียไปอย่าง
เช่น การขาย จะต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่าย

กฎหมายจึงเปิดโอกาสให้คู่สมรสสามารถตกลงวิธีการ
เงื่อนไข และข้อจำกัดเกี่ยวกับสินสมรสกันๆ ได้เห็นสมควร
ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476 กำหนดวิธี จัดการสินสมรส ไว้
เรื่อง คู่สมรสต้องจัดการสินสมรสร่วมกันได้

  1. จัดการอสังหาริมทรัพย์ร่วมกัน

ในส่วนของอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะบ้านหรือที่ดิน
จะทำการขาย แลกเปลี่ยน ขายฝากให้เช่าชื้อ
จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง
ต้องได้รับการยินยอมร่วมกัน

  1. ให้ผู้อื่นเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี

เมื่อมีการปล่อยให้เช่าในระยะเวลาเกิน 3 ปี สามีและภรรยาต้องตกลงและทำธุรกรรมร่วมกัน
หากมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ยินยอม สามีหรือภรรยามีสิทธิฟ้องเพิกถอนได้

  1. ให้ทรัพย์สินโดยเสน่หา

หากจะมีการยกอสังหาริมทรัพย์นั้น เช่น บ้าน ที่ดิน คอนโด เป็นของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ต้องได้รับความยินยอมจากทั้งสองฝ่าย ยกเว้นการให้ที่พอสมควรตามฐานะเพื่อการกุศลหรือเพื่อสังคม

  1. การเอาสินสมรสไปเป็นหลักประกัน

ถ้ามีนำอสังหาริมทรัพย์ไปเป็นหลักประกันในการทำสัญญาต่างๆ
จะต้องได้รับยินยอมร่วมกัน และทำธุรกรรมร่วมกัน
ยกเว้นในกรณีใช้ตำแหน่งส่วนตัวไม่ต้องยินยอมจากคู่สมรส

  1. ประนีประนอมยอมความ

หากแบ่งสินสมรสไม่ลงตัว ไม่ว่าจะฝ่ายสามีหรือฝ่ายภรรยา
ทั้งสองฝ่ายจะทำการประนีประนอมยอมความกันเกิดขึ้น
เพื่อทำให้เกิดความยุติธรรมมากที่สุด

  1. มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย

ถ้ามีการตกลงกันในเรื่องสินสมรสในรูปแบบอสังหาไม่ลงตัว
ทั้งสามีและภรรยาสามารถขอศาลให้มอบข้อพิพาท
เกี่ยวกับสินสมรสให้บุคคลที่คู่กรณีแต่งตั้งขึ้น
หรืออนุญาโตตุลาการวินิจฉัยตัดสินข้อพิพาทเพื่อให้เกิดยุติธรรมที่สุด

อย่างไรก็ตาม สินสมรสที่เป็น “อสังหาริมทรัพย์”
จะเป็นบ้าน ที่ดิน คอนโดมิเนียม ที่ซื้อมาร่วมกันไม่ใช่การรับมรดก
การจะทำอะไรสักอย่าง เช่น ทำสัญญาต่างๆ ปล่อยให้เช่า ซื้อขาย จะต้องได้รับการยินยอมจากทุกฝ่าย
หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฝ่าฝืน กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480
กำหนดไว้ให้ฝ่ายนั้นมีสิทธิฟ้องร้องต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้รู้เหตุ
แต่ถ้าในกรณีที่มาฟ้องศาลหลังจากพ้น 10 ปีไปแล้ว
ศาลจะเพิ่งถอนนิติกรรมที่ตนไม่รู้ไม่เห็นและให้ยินยอมว่า “ตนนั้นยอมรับนิติกรรมไปแล้ว”นั้นเองค่ะ

จัดการสินสมรส ในรูปแบบอสังหา แบ่งอย่างไรให้ลงตัว

—————————————————–

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

การฝากขาย และ การขายฝาก แตกต่างกันอย่างไร
17
Oct 23
การฝากขาย และ การขายฝาก แตกต่างกันอย่างไร

หลายๆ คนอาจจะยังสับสนหรือสงสัยกับว่า การขายฝาก และ การฝากขาย แตกต่างกันอย่างไร แม้ว่าอ่านแล้วอาจจะดูคล้ายกัน แต่สองคำนี้มีความหมายที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ก่อนอื่นเรามาดูความหมายของการขายฝาก กับ การฝากขายกันก่อนดีกว่าค่ะ ว่าแต่ละตัวมันมีความหมายยังไง จะได้ไม่เข้าใจกันผิดกันอีกจ้า การขายฝาก คือ สัญญาการซื้อขายรูปแบบหนึ่ง ซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะตกแก่ผู้รับขายฝาก (นายทุน) ณ วันที่ทำสัญญาที่กรม ที่ดิน ภายใต้ข้อตกลงที่ว่า ผู้ขายฝากสามารถไถ่ถอนทรัพย์สินคืนได้ ภายในระยะเวลาที่ระบุในสัญญา (แต่ไม่เกิน 10 ปี) หากไม่มาไถ่ถอนทรัพย์สิน กรรมสิทธิ์นั้นจะตกเป็นของผู้รับฝาก(นายทุน) ทันที ส่วนการ ฝากขายนั้น ผู้ฝากขายจะนำทรัพย์สินของตนเองไปฝากขายกับตัวแทน หรือนายหน้า เพื่อให้ทางนายหน้า ช่วยทำการตลาด โฆษณา หรือประชาสัมพันธ์ทรัพย์สิน ที่เจ้าของทรัพย์นำไปฝากขาย ซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะยังเป็นของผู้ฝากขายอยู่ และจะโอนเป็นของผู้อื่นเมื่อนายหน้าได้ทำการขายทรัพย์สินนั้น ให้กับผู้ฝากขายได้แล้ว ตารางเปรียบเทียบระหว่างขายฝากและฝากขาย หัวข้อ ขายฝาก ฝากขาย ธุรกรรม การขายฝากและสามารถไถ่ถอนทรัพย์สินนั้นคืนได้ ห […]

อ่านเพิ่มเติม
ที่ดิน(ถนน)ติดภาระจำยอม ซื้อ-ขายได้ไหม
17
Dec 24
ที่ดิน(ถนน)ติดภาระจำยอม สามารถซื้อ-ขายได้หรือไม่?

>>> ที่ดิน(ถนน)ติดภาระจำยอม สามารถซื้อ – ขายได้หรือไม่?  ที่ดินติดภาระจำยอม เป็นสิ่งที่ผู้ซื้อ – ขายที่ดิน ให้ความสำคัญ และนำมาพิจารณาในการตัดสินใจซื้อ – ขาย เป็นอันต้นๆ แล้วทำไมที่ดินติดภาระจำยอมถึงมีผลต่อการตัดสินใจขนาดนี้ วันนี้ Property4Cash สรุปมาให้แล้ว… ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจ คำว่า ภาระจำยอม คืออะไร? ภาระจำยอม คือ สิทธิทางกฎหมายที่ให้บุคคลหนึ่งมีสิทธิใช้ทรัพย์สินของอีกบุคคลหนึ่ง โดยทรัพย์สินที่ถูกใช้ในลักษณะนี้เรียกว่า “ทรัพย์สินที่ติดภาระจำยอม” เช่น ทางผ่าน, ทางเข้า-ออก, การใช้แหล่งน้ำ หรือการเดินสายไฟฟ้าผ่านที่ดิน เป็นต้น    ภาระจำยอม จะต้องถูกบันทึกไว้ในโฉนดที่ดิน และต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน และคำถามที่ว่า… ที่ดิน(ถนน)ติดภาระจำยอม สามารถซื้อ – ขายได้หรือไม่? คำตอบคือ สามารถทำได้ แต่มีเงื่อนไขที่คุณต้องคำนึงถึง การซื้อ-ขายที่ดิน ที่ติดภาระจำยอมนั้นจะต้องมีการแจ้งให้ผู้ซื้อทราบถึงภาระจำยอมที่มีอยู่บนที่ดิน การแจ้งนี้ถือว่าเป็นการเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญ เพื่อให้ผู้ซื้อสามารถตัดสินใจได้ว่าต้องการซื้อที่ดินดังกล่าวหรือไม่ […]

อ่านเพิ่มเติม
ที่ดินมือเปล่า มีโอกาสได้โฉนดไหม?
4
Dec 24
อัพเดท! ที่ดินมือเปล่ามีโอกาสได้โฉนดไหม?

>>> ฮัลโหลทุกคน Property4Cash มาอัพเดท! ข้อมูลให้แล้ว สำหรับคำถามที่ว่า… ที่ดินมือเปล่า มีโอกาสได้โฉนดมั๊ย?  ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจคำว่า ที่ดินมือเปล่า คืออะไรกันก่อน โดยคำว่า “ที่ดินมือเปล่า” คือ ที่ดิน ที่ไม่มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เช่น ที่ดินไม่มีโฉนด เป็นต้น และเจ้าของที่ดินดังกล่าว มีเพียงสิทธิครอบครอง แต่หากจะซื้อที่ดินมือเปล่า จะต้องพิจารณาดูตามกฎหมาย  ในทางฎหมายที่ดินมือเปล่า ก็นับเป็นอสังหาริมทรัพย์ชนิดหนึ่ง การโอนที่ดินมือเปล่านั้นก็ต้องทำตามกฎหมายก็คือ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ไม่เช่นนั้นถือเป็นโมฆะ ฟ้องร้องบังคับคดีกันไม่ได้ แต่หาก ศาลฎีกาวินิจฉัยแล้วว่า… การโอนที่ดินนี้ ไม่เป็นไปตามรูปแบบของกฎหมาย การโอนที่ดินจะตกเป็นโมฆะทันที  และในกรณีของการโอนที่ดินมือเปล่านั้น นับว่าเป็นการโอนที่สมบูรณ์ เพราะการโอนที่ดินมือเปล่า เป็นเพียงแค่ส่งมอบการครอบครองเท่านั้น  โดยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378 “การโอนไปซึ่งการครอบครองนั้น ย่อมทำได้โดยส่งมอบทรัพย์สิน ที่ครอบครอง” เหตุเพราะที่พิพาทนั้นเป็นที่ดินมือเปล่า ผู้ขายมีเพียงสิทธิครอบครอง ใ […]

อ่านเพิ่มเติม