24
Nov 23

หากใครต้องการใช้เงินด่วน แต่ไม่อยากนำทรัพย์สินไปขายขาด
สำหรับคนที่มีที่ดินและบ้านไว้ครอบครอง “การขายฝาก” จึงเป็นทางเลือกที่ดี
วิธีนี้สามารถทำได้ง่ายๆ ไม่ตรวจสอบเครดิตบูโร หรือรายการเคลื่อนไหวของบัญชีธนาคาร (Statement)
สามารถไถ่คืนที่ดินได้ และยังใช้ประโยชน์ในที่ดินต่อไปได้อีกด้วย

“การขายฝาก” เป็นการทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินประเภทหนึ่ง
โดยกรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้รับซื้อทันทีเมื่อมีการทำสัญญาเกิดขึ้น
ซึ่งมีข้อตกลงกันว่า ผู้ขายฝากสามารถไถ่ทรัพย์สินนั้นคืนได้ในเวลาที่ตกลงกันตามกฎหมาย

เพราะฉะนั้นในการทำสัญญาทุกครั้ง จะต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียดเกี่ยวกับสิ่งที่ระบุในสัญญา
ข้อควรระวังต่างๆ ต้องทำความเข้าใจให้ตรงกัน จะได้ไม่มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นภายหลังกันค่ะ

ข้อควรรู้ก่อนตกลงทำสัญญาขายฝาก มีดังนี้

  1. ผู้ขายฝากจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ซื้อฝากทันทีในวันที่ทำสัญญา

เมื่อขายฝากไปแล้วกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้ซื้อฝาก
โดยมีข้อตกลงกันว่า ผู้ขายฝากสามารถไถ่ทรัพย์สินนั้นคืนได้ในเวลาที่ตกลงกันตามกฎหมาย

  1. การทำสัญญาจะต้องทำต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ดิน ณ กรมที่ดินเท่านั้น

ในการทำสัญญาขายฝากที่ดินจะต้องทำเป็นหนังสือ
และมีการจดทะเบียนต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินเท่านั้น
โดยจะต้องระบุว่าเป็นการขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือการขายฝากที่อยู่อาศัย

  1. อัตราดอกเบี้ยหรือค่าตอบแทนสูงสุดไม่เกิน 15% ต่อปี

ผู้ซื้อฝากจะได้รับประโยชน์เป็นค่าตอบแทนในรูปแบบดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 15% ต่อปี
และจะได้รับเงินต้นคืนทันทีเมื่อมีการไถ่ถอน

 

  1. ผู้ขายฝากสามารถไถ่ที่ดินคืนได้ตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา

ผู้ขายฝากจะต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับผู้ซื้อฝาก จนกว่าผู้ขายฝากจะมีเงินต้นมาไถ่ถอนที่ดินคืนได้
ตามระยะเวลากำหนดภายในสัญญา เช่น
Ex. นาย ก. ตัดสินใจไปขายฝากที่ดินกับผู้ซื้อฝาก โดยมีข้อตกลงในสัญญาขายฝากที่ดิน
ให้นาย ก. จะต้องจ่ายดอกเบี้ยกับผู้ซื้อฝาก จนกว่านาย ก. จะสามารถมาไถ่คืนที่ดินแปลงนี้
ได้ในระยะเวลากำหนดภายใน 1 ปี นับตั้งแต่ทำสัญญาขายฝาก

  1. หากครบสัญญาแล้วผู้ขายฝากยังไม่พร้อมไถ่คืน
    สามารถขอต่อสัญญาได้จนกว่าจะครบตามที่กฎหมายกำหนด

โดยส่วนใหญ่ในสัญญาจะกำหนดไม่เกิน 1 ปี
หากครบกำหนดสัญญาแล้ว ผู้ขายฝากยังไม่สามารถไถ่ถอนที่ดินได้
ตามกฎหมายระยะเวลาในการไถ่ถอนสูงสุดไม่เกิน 10 ปี
สามารถขอเจรจาขยายเวลาออกไปเพื่อต่อสัญญาได้จนกว่าจะครบตามที่กฎหมายกำหนด

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีการเซ็นสัญญา จะต้องมีการศึกษาข้อมูลให้ละเอียดถี่ถ้วน
ยิ่งเป็นเรื่องของกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นยิ่งต้องมีการตรวจสอบรายละเอียดอย่างแม่นยำ
โดยสามารถปรึกษาเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการขายฝากโดยตรง
และต้องเลือกบริษัทขายฝากที่มีความน่าเชื่อมากๆ ที่มีการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย
มีที่ตั้งสำนักงานชัดเจนตรวจสอบได้ และบริหารจัดการอย่างมืออาชีพมาดูแลตลอดจนครบกำหนดสัญญาด้วยนะคะ

 

—————————————————–

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

รีไฟแนนซ์คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง ?
7
Apr 23
รีไฟแนนซ์คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง ?

มนุษย์เงินเดือนแบบเรามักได้ยินคำว่า “รีไฟแนนซ์” อยู่บ่อยๆ แต่เชื่อว่ามีเพื่อนๆ จำนวนไม่น้อยไม่เข้าใจว่าคืออะไร หากเพื่อนๆยังสงสัย ไม่เข้าใจว่าการรีไฟแนนซ์บ้านคืออะไร? มีขั้นตอน ข้อดีและประโยชน์อย่างไรบ้าง บทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจเรื่องรีไฟแนนซ์บ้านให้มากขึ้น รีไฟแนนซ์ คือ การเปลี่ยนเจ้าหนี้ เป็นการที่เราไปขอกู้เงินใหม่อีกก้อนหนึ่งเพื่อนำมาชำระหนี้ก้อนเดิม ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมักจะทำกับการกู้ซื้อบ้าน คอนโดและรถยนต์เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่าย ในการผ่อนชำระหนี้สินเชื่อก้อนเดิม และจ่ายส่วนของดอกเบี้ยลดลงเพราะได้รับการลดอัตราดอกเบี้ย ที่สำคัญคือในการทำเรื่องขอรีไฟแนนซ์ครั้งใหม่นี้ จะได้รับข้อเสนอในการผ่อนชำระที่ดีกว่าสินเชื่อเดิม และอาจจะได้ระยะเวลาในการผ่อนที่ยาวขึ้นโดยคนส่วนใหญ่มักจะไปขอรีไฟแนนซ์หลังจากได้ผ่อนชำระครบ 3 ปี วิธีขอรีไฟแนนซ์บ้าน ตรวจสอบสัญญากู้เดิม ก่อนการยื่นเรื่องรีไฟแนนซ์บ้าน ต้องทำการติดต่อขอเอกสารสรุปยอดหนี้ทั้งหมดจากธนาคารเก่า เพื่อเป็นการสรุปรายละเอียด เช่น จำนวนเงินที่กู้ ระยะเวลาที่ชำระไปแล้ว เหลือเวลาที่ต้องผ่อนชำระอีกกี่ปี หลังจากนั้นให้นำเอกสารนี้ไปยื่นที่ธนาคารใหม่ท […]

อ่านเพิ่มเติม
จํานํา กับ จํานอง ต่างกันอย่างไร
30
Mar 23
จํานํา กับ จํานอง ต่างกันอย่างไร

ช่วงนี้หลายคนอาจได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจเพราะโควิดไม่มากก็น้อย หนึ่งในทางออกที่ใช้คือการนำทรัพย์สินที่มีออกมาขาย หรือนำทรัพย์สินที่มีค่าไป จำนำ หรือ จำนอง  หลายคนก็ยังสงสัยว่า จํานํา กับ จํานอง ต่างกันอย่างไร วันนี้เราจะพาทุกคนไปไข้ข้อสงสัยนี้กัน มาดูกัน จำนอง จำนำ แตกต่างกันอย่างไร การจำนอง การที่ผู้จำนองนำทรัพย์สินที่มีค่านำมาประกันเพื่อกู้เงินมาใช้  โดยใช้เป็นหลักประกันคือ อสังหาริมทรัพย์  คือ ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่น คอนโด โฉนดที่ดิน บ้าน อาคารพาณิชย์ โดยการจำนอง ผู้จำนองต้องนำสินทรัพย์ไปจดทะเบียนไว้กับผู้รับจำนอง ซึ่งต้องกระทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่กรมที่ดินเท่านั้น ทั้งนี้ไม่ต้องโอนที่ดินหรือทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้รับจำนอง สาระสำคัญ ทรัพย์สินที่นำมาจำนองจะต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ ผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบสินทรัพย์ให้แก่ผู้รับจำนอง โดยกรรมสิทธิ์ยังเป็นของผู้จำนองอยู่ ผู้จำนองเป็นลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกก็ได้ มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร ต้องจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที ณ กรมที่ดิน ในกรณีที่ผู้จำนองไม่สามารถชำระหนี้ได้ เจ้าหนี้ต้องทำการฟ้องร้องเพื่อบังคับจำนองโดยการที่จะนำทรัพย์สินไปข […]

อ่านเพิ่มเติม
ก่อนลงทุนต้องรู้จักกับ อัตราการดูดซับ
19
Dec 22
ก่อนลงทุนต้องรู้จักกับ ‘อัตราการดูดซับ’

หลายต่อหลายครั้งเราเห็นคำว่า อัตราการดูดซับ ปรากฏบนข่าว ซึ่งบางทีก็อาจสร้างความสงสัยให้กับผู้ที่เพิ่งเริ่มศึกษาเรื่องอสังหาริมทรัพย์ ว่ามันคืออะไร วันนี้เราจะมาไขข้องสงสัยกันค่ะ อัตราการดูดซับ หรือ Absorption Rate คือ ดัชนีชี้วัด ‘ความต้องการ’ หรือ ‘อุปสงค์’ ของตลาดอสังหาริมทรัพย์ ว่าในทำเลนั้นๆ หรือ ตลาดของอสังหาฯ แต่ละประเภท เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมากน้อยเพียงใด ซึ่งสามารถคำนวณได้โดยการนำหน่วยที่ขายได้ หารด้วยจำนวนยูนิตทั้งหมดที่โครงการมี ยิ่งค่าสูง แสดงว่ายังเป็นที่ต้องการมาก อัตราการดูดซับนี้ เป็นหนึ่งในดัชนีที่ใช้คาดการณ์ภาวะธุรกิจ (Business Expectation Index) ซึ่งโดยส่วนมากทางภาครัฐจะเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลตัวเลขเพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูล เพื่อให้เห็นถึงจุดสูงสุดและต่ำสุดของเศรษฐกิจในประเทศ และติดตามสภาวะเศรษฐกิจ แต่ในบางครั้ง ทางผู้พัฒนาอสังริมทรัพย์เองก็มีการเก็บรวมรวบข้อมูลตัวเลขเกี่ยวกับโครงการของตน เพื่อคำนวณออกมาเป็นอัตราการดูดซับเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ครึ่งแรกของปี 2565 อัตราการดูดซับของที่อยู่อาศัยทุกประเภท ต่ำสุดในรอบ 5 ปี สำหรับบ้านเดี่ยวและบ้านแฝด อัตราการดูดซับอยู่ท […]

อ่านเพิ่มเติม