รีไฟแนนซ์คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง ?
7
Apr 23

มนุษย์เงินเดือนแบบเรามักได้ยินคำว่า “รีไฟแนนซ์” อยู่บ่อยๆ แต่เชื่อว่ามีเพื่อนๆ จำนวนไม่น้อยไม่เข้าใจว่าคืออะไร
หากเพื่อนๆยังสงสัย ไม่เข้าใจว่าการรีไฟแนนซ์บ้านคืออะไร? มีขั้นตอน ข้อดีและประโยชน์อย่างไรบ้าง
บทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจเรื่องรีไฟแนนซ์บ้านให้มากขึ้น

รีไฟแนนซ์ คือ

การเปลี่ยนเจ้าหนี้ เป็นการที่เราไปขอกู้เงินใหม่อีกก้อนหนึ่งเพื่อนำมาชำระหนี้ก้อนเดิม
ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมักจะทำกับการกู้ซื้อบ้าน คอนโดและรถยนต์เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่าย
ในการผ่อนชำระหนี้สินเชื่อก้อนเดิม และจ่ายส่วนของดอกเบี้ยลดลงเพราะได้รับการลดอัตราดอกเบี้ย

ที่สำคัญคือในการทำเรื่องขอรีไฟแนนซ์ครั้งใหม่นี้ จะได้รับข้อเสนอในการผ่อนชำระที่ดีกว่าสินเชื่อเดิม
และอาจจะได้ระยะเวลาในการผ่อนที่ยาวขึ้นโดยคนส่วนใหญ่มักจะไปขอรีไฟแนนซ์หลังจากได้ผ่อนชำระครบ 3 ปี

วิธีขอรีไฟแนนซ์บ้าน

  1. ตรวจสอบสัญญากู้เดิม
    ก่อนการยื่นเรื่องรีไฟแนนซ์บ้าน ต้องทำการติดต่อขอเอกสารสรุปยอดหนี้ทั้งหมดจากธนาคารเก่า
    เพื่อเป็นการสรุปรายละเอียด เช่น จำนวนเงินที่กู้ ระยะเวลาที่ชำระไปแล้ว เหลือเวลาที่ต้องผ่อนชำระอีกกี่ปี
    หลังจากนั้นให้นำเอกสารนี้ไปยื่นที่ธนาคารใหม่ที่เลือกไว้
  2. เลือกธนาคารใหม่ที่ตอบโจทย์
    การเลือกกู้สินเชื่อกับธนาคารใหม่จะทำให้ได้ดอกเบี้ยในอัตราที่น้อยลง โดยสามารถทำการหาข้อมูล
    และเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยได้จากหลายๆ ธนาคาร เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจ
    ซึ่งธนาคารหลายๆ แห่งก็จะมีโปรโมชั่นดอกเบี้ยให้ได้เลือกแบบจุใจ โดยอัตราต่ำสุดจะอยู่ที่ 2.39%-2.89%
    แต่ทั้งนี้ ในการเลือกกู้สินเชื่อกับธนาคารใหม่ ก็ต้องนำรายละเอียดอื่นๆ ในข้อกำหนดและเงื่อนไขมาพิจารณาด้วยก่อนการตัดสินใจ
  1. เตรียมเอกสาร
  • สำเนาทะเบียนบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้านทุกหน้า
  • ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล
  • ทะเบียนสมรส (กรณีกู้ร่วม)
  • สลิปเงินเดือนล่าสุด
  • หนังสือรับรองเงินเดือนไม่เกิน 3 เดือน
  • รายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน
  • สำเนาเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์หลักประกัน (เช่น โฉนดที่ดิน หรือ หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด อช.2)
  • สำเนาหนังสือสัญญาการซื้อขายหรือให้ที่ดิน ทด.13 หรือ 14 หรือสัญญาซื้อขายห้องชุด
  • สำเนาสัญญากู้จากธนาคารเก่า
  • สำเนาสัญญาจำนองที่ดิน หรือ สำเนาสัญญาจำนองห้องชุด
  • สำเนาใบเสร็จแสดงธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับบ้านหรือสำเนาใบเสร็จผ่อนชำระค่างวดบ้าน
  • แผนที่ตั้งหลักประกันโดยสังเขป
  1. ยื่นเอกสารขอรีไฟแนนซ์กับธนาคาร

ถึงขั้นตอนที่จะนำเอกสารไปยื่นที่ธนาคารใหม่ การพิจารณาของทางธนาคารอาจจะใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์
และเมื่อเอกสารของคุณผ่านการรีไฟแนนซ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทางธนาคารจะทำการส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาประเมินทรัพย์สิน
ซึ่งจะเป็นการประเมินว่ายอดเงินสินเชื่อที่กู้ได้จะเป็นวงเงินจำนวนเท่าไหร่ ทั้งนี้ ขั้นตอนในการยื่นเอกสารอาจจะแตกต่างกันไป
ตามนโยบายของแต่ละธนาคาร ถ้ายื่นผ่านได้รับการอนุมัติ ก็เริ่มทำสัญญากันใหม่ได้เลย

 ค่าใช้จ่ายสำหรับการรีไฟแนนซ์
  ค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระให้ทางธนาคาร

  • ค่าประเมินราคาบ้าน ประมาณ 2,000-3,000 บาท ขึ้นอยู่กับธนาคาร พื้นที่ให้บริการ
  • ค่าประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อบ้าน หรือ MRTA เป็นประกันชีวิตที่สามารถช่วยคุ้มครองความเสี่ยง
    ให้กับผู้ที่กำลังผ่อนบ้านเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
  • ค่าธรรมเนียมอื่นๆ

ค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระตามกฎหมาย
ค่าจดจำนอง คิดจาก 1% ของวงเงินกู้ เป็นการชำระให้กับทางกรมที่ดิน

– ค่าอากรแสตมป์ คิดจาก 0.05% ของวงเงินกู้ เป็นการชำระให้กับทางกรมสรรมพากร

– ค่าประกันภัยอัคคีภัย ราคาประมาณหลักพันบาทต่อปี

 

ข้อดีของการรีไฟแนนซ์

  • อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ใหม่ที่ถูกกว่า ทำให้เราผ่อนชำระได้ดอกเบี้ยถูกลงกว่าเดิม ปิดยอดได้ไวขึ้น
  • บางกรณีอาจได้วงเงินกู้มากขึ้นกว่ายอดคงค้างเดิม
  • ลดภาระหนี้ ทำให้จำนวนเงินที่ต้องผ่อนต่อเดือนลดลง
  • ได้เงินส่วนต่างจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ทำให้มีเงินเหลือใช้จ่ายส่วนอื่น ๆ ที่จำเป็นได้มากขึ้น
  • สามารถนำไปหมุนเวียนใช้จ่ายหรือหมุนเวียนในธุรกิจได้

ข้อเสียของการรีไฟแนนซ์

  • ทำให้ระยะเวลาผ่อนชำระนานขึ้น (หากเราเลือกที่จะเพิ่มระยะเวลา)
  • เสียค่าจัดรีไฟแนนซ์ใหม่ เสียค่าใช้จ่ายจิปาถะในการดำเนินการ เสียเวลา

และอาจต้องเสียค่าปรับหากมีการไถ่ถอนก่อนกำหนด

  • มีความยุ่งยากในการเตรียมเอกสาร เช่น เอกสารเกี่ยวกับรายได้ของผู้กู้

 

เป็นยังไงกันบ้างหวังว่าเพื่อนๆ จะเข้าใจเรื่องการรีไฟแนนซ์กันมากขึ้น สุดท้ายก็ต้องขึ้นอยู่กับการวางแผนการใช้เงินของแต่ละคน
และที่สำคัญการผ่อนชำระหนี้ที่ดีนั้นไม่ควรเกิน 1 ใน 3 ของรายได้ต่อเดือน เพื่อให้กระแสเงินสดในแต่ละเดือนของเราไม่ลำบาก
แถมยังสามารถมีเงินเก็บไว้ใช้ในยามที่เราจำเป็นได้อีกด้วย

แต่หากใครกำลังต้องใช้เงินด่ว แต่ติดปัญหาเรื่องยื่นเอกสาร แหล่งที่มารายได้ไม่เพียงพอ ทำให้ยื่นขอสินเชื่อกับธนาคารไม่ได้
เราข้อแนะนำอีกวิธีที่สามารถให้คุณสามารถมีเงินด่วนใช้ นั้นคือการจำนองและขายฝาก อสังหาริมทรัพย์ สามารถจำนองกับเราได้ มีทีมงานให้ปรึกษาฟรี

รีไฟแนนซ์ คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง ?

——————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

5 ปัญหาทางการเงิน ที่แก้ได้ด้วยการจำนองขายฝาก
10
Mar 23
5 ปัญหาทางการเงิน ที่แก้ได้ด้วยการจำนองขายฝาก

เพื่อนๆ หลายคนต้องเจอกับปัญหาทางการเงิน ที่ทำให้เพื่อนๆนั้นตัดสินใจลำบาก ไม่รู้จะแก้ไขยังไง พึ่งพาครอบครัวก็ไม่ได้ หากเจอปัญหาเหล่านี้ทำให้ต้องมองหาช่องทางการกู้เงินก้อน เข้ามาช่วยต่อยอดธุรกิจ หรือชำระหนี้ต่างๆ การจำนองขายฝากอสังหา อาจจะเป็นตัวเลือกหลัก ๆของใครหลายๆคน ที่จะช่วยเข้ามาให้เพื่อนๆเข้าถึงแหล่งการเงินได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย วันนี้ทีมงาน Proprety4cash จะมาบอกวิธีแก้และ 5 ปัญหาทางการเงิน ที่แก้ได้ด้วยการจำนองขายฝาก จะมีปัญหาทางการเงินแบบไหนบ้าง? ไปดูกันเลย 5 ปัญหาทางการเงิน 1 ธุรกิจขาดสภาพคล่อง เพราะว่าได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจ ที่ทธุรกิจกำลังเกิดสภาวะขาดทุน หรือการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ทำให้ต้องมองหาแหล่งเงินทุนนำไปใช้ต่อยอดส่งเสริมธุรกิจให้กลับมาดำเนินการต่อไปได้ ติดหนี้บัตรเครดิต ขึ้นชื่อว่าหนี้ ไม่มีใครอยากให้เกิด หมุนเงินไม่ทัน จ่ายเงินต้นและดอกเบี้ย ผิดนัดชำระงวดบัตรเครดิต ส่งผลทำให้หนี้บัตรเครดิตดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งถ้าเพื่อนๆมีหลายใบแล้ว อาจจะทำให้เพื่อนๆ ต้องเผชิญกับหนี้สินและดอกเบี้ยที่สูงขึ้น กลายเป็นหนี้สินรุงรัง 3.ติดหนี้หนี้นอกระบบ ได้ยินชื่อเพื่อน […]

อ่านเพิ่มเติม
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ถัาไม่จ่ายจะ ขายฝาก-จำนองได้ไหม?
8
Mar 24
ไม่ชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะ ขายฝาก-จำนองได้ไหม?

รู้ไหมคะว่าคนที่มีที่ดินเป็นของตัวเองนั้นต่างก็ต้องเสียภาษีด้วยกันทั้งสิ้น ภาษีที่ว่าก็คือ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่ไม่ได้จำกัดเพียงแค่คนทำธุรกิจ แต่ยังรวมถึงพวกเราคนธรรมดาที่ครอบครองที่ดิน ไม่ว่าจะเพื่อใช้ หรือทิ้งไว้รกร้างค่ะ ก่อนอื่นมาทำความรู้จัก ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง กันก่อนเลยค่ะ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรืออาจเรียกสั้นๆ ว่าภาษีที่ดิน จะเป็นรูปแบบของภาษีรายปีที่คำนวณจากมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีไว้ในครอบครอง ซึ่งจะมีเทศบาล อบต. เป็นผู้เรียกเก็บ สำหรับที่กทม. จะต้องชำระที่สำนักงานเขต ส่วนเมืองพัทยาจะต้องชำระที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา ทั้งนี้จากการประกาศรายละเอียดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2567 จากเดิมที่ต้องเสียภาษีในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ถูกเลื่อนออกไปเป็นเดือนเมษายน 2567 แทน ผู้ที่ต้องเสียภาษีที่ดินต้องมีเงื่อนไขดังนี้ 1. เจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ (ดูตามโฉนด ไม่ใช่ทะเบียนบ้าน) ผู้ครอบครอง/ทำประโยชน์ในที่ดินนั้น จะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ ประเภทของภาษีที่ดิน 2566 แบ่งประเภทที่ดินที่ต้องเสียภาษีไว้ 4 รายการ 1. ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม  เพดานภา […]

อ่านเพิ่มเติม
12
Jul 23
ขายฝาก หรือจำนอง เปลี่ยนทรัพย์เป็นเงินวิธีไหนง่ายที่สุด

อีกหนึ่งช่องทางที่น่าสนใจ และกำลังเป็นที่นิยม ในตลาดอสังหาริมทรัพย์เลยก็คือการ “ขายฝาก” บางคนอาจจะคุ้นชินกับคำนี้มาก่อนหน้านี้แล้ว แต่บางคนอาจจะไม่รู้จัก เคยได้ยินเพียงแต่ คำว่า “จำนอง” เท่านั้น . แล้วถ้าเราอยากเปลี่ยนทรัพย์ให้เป็นเงินด่วนแบบนี้ การจำนองหรือขายฝาก จะตอบโจทย์เรามากกว่ากันล่ะ เรามาดูกันก่อนว่าสองอย่างนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร #จำนอง นั้นหมายถึง การทำนิติกรรมที่เรานำเอาทรัพย์ที่ครอบครองอยู่ ไปค้ำประกันกับผู้รับจำนอง เพื่อแลกกับเงินก้อนหนึ่งออกมา โดยที่ผู้รับจำนอง จะได้ดอกเบี้ยเป็นค่าตอบแทน ตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งหากเราไม่สามารถชำระหนี้ได้ ผู้รับจำนองมีสิทธิ์ยื่นฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้ ให้ศาลออกหมายบังคับคดี นำทรัพย์ออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาใช้หนี้ . ส่วน #ขายฝาก เป็นการทำนิติกรรมที่เรานำเอาอสังหาฯ ไปให้ผู้รับซื้อฝาก เพื่อแลกกับเงินก้อนหนึ่ง โดยที่ผู้รับฝากก็จะได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยเช่นกัน แต่ความแตกต่างระหว่างการขายฝาก กับการจำนอง ก็คือ กรรมสิทธิ์ของอสังหาฯ จะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันทีตั้งแต่วันแรกที่ทำสัญญาเสร็จสิ้น แต่ผู้ขายฝาก จะยังมีโอกาสไถ่ถอนคืนได้ ภายในร […]

อ่านเพิ่มเติม