12
Jul 23

อีกหนึ่งช่องทางที่น่าสนใจ และกำลังเป็นที่นิยม

ในตลาดอสังหาริมทรัพย์เลยก็คือการ “ขายฝาก”

บางคนอาจจะคุ้นชินกับคำนี้มาก่อนหน้านี้แล้ว

แต่บางคนอาจจะไม่รู้จัก เคยได้ยินเพียงแต่

คำว่า “จำนอง” เท่านั้น

.

แล้วถ้าเราอยากเปลี่ยนทรัพย์ให้เป็นเงินด่วนแบบนี้ การจำนองหรือขายฝาก

จะตอบโจทย์เรามากกว่ากันล่ะ เรามาดูกันก่อนว่าสองอย่างนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร

#จำนอง นั้นหมายถึง การทำนิติกรรมที่เรานำเอาทรัพย์ที่ครอบครองอยู่ ไปค้ำประกันกับผู้รับจำนอง

เพื่อแลกกับเงินก้อนหนึ่งออกมา โดยที่ผู้รับจำนอง จะได้ดอกเบี้ยเป็นค่าตอบแทน ตามระยะเวลาที่กำหนด

ซึ่งหากเราไม่สามารถชำระหนี้ได้ ผู้รับจำนองมีสิทธิ์ยื่นฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้

ให้ศาลออกหมายบังคับคดี นำทรัพย์ออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาใช้หนี้

.

ส่วน #ขายฝาก เป็นการทำนิติกรรมที่เรานำเอาอสังหาฯ ไปให้ผู้รับซื้อฝาก

เพื่อแลกกับเงินก้อนหนึ่ง โดยที่ผู้รับฝากก็จะได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยเช่นกัน

แต่ความแตกต่างระหว่างการขายฝาก กับการจำนอง ก็คือ

กรรมสิทธิ์ของอสังหาฯ จะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันทีตั้งแต่วันแรกที่ทำสัญญาเสร็จสิ้น

แต่ผู้ขายฝาก จะยังมีโอกาสไถ่ถอนคืนได้ ภายในระยะเวลาที่ตกลงกัน แต่สูงสุดไม่เกิน 10 ปี

หากเวลาผ่านไปจนครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญาแล้ว ไม่นำเงินมาไถ่ถอน หรือซื้อคืน

ก็จะถูกยึดทรัพย์ได้เลยทันที โดยไม่จำเป็นต้องมีการฟ้องร้องขึ้นศาลใดๆ

.

ทั้งนี้ความแตกต่างของนิติกรรมทั้งสองแบบนั้นเราขอสรุปให้เข้าใจง่ายๆดังนี้

#กรรมสิทธิ์

📌 การขายฝากกรรมสิทธิ์จะเป็นของผู้รับซื้อฝากทันทีตั้งแต่วันทำสัญญา

และสามารถไถ่ถอนคืนได้ในระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา สูงสุดไม่เกิน 10 ปี

📌การจำนองเจ้าของกรรมสิทธิ์ยังเป็นเจ้าของเดิม ไม่สามารถยึดทรัพย์ได้

หากผู้มาจำนองผิดสัญญาจะต้องยื่นฟ้องร้อง

#วงเงิน

📌การขายฝากวงเงินจะขึ้นอยู่ 50-60% ของราคาซื้อขายในท้องตลาด

📌การจำนองจะอยู่ที่ไม่เกิน 30-40% ของราคาซื้อขายในท้องตลาด

#อัตราดอกเบี้ย

📌การขายฝากและการจำนองอัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 15% ต่อปี

#ระยะเวลาไถ่ถอน

📌การขายฝาก มีระยะเวลาตามที่ตกลงกันในสัญญาแต่ต้องไม่เกิน 10 ปี

📌การจำนอง ไม่มีอายุความ แต่มีระบุระยะเวลาการชำระหนี้ตามที่ตกลง

.

สรุปแล้ว หากลูกค้าต้องการเปลี่ยนทรัพย์ให้เป็นเงินขายฝากหรือจำนองจะดีกว่ากัน

ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขต่างๆดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น

#อยากได้วงเงินสูง การขายฝากจะตอบโจทย์ที่สุดเพราะสามารถตกลงวงเงินได้

#เลี่ยงความเสี่ยงในการโดนยึดทรัพย์ การจำนองกรรมสิทธิ์ของทรัพย์จะยังเป็นของคุณ

แม้ว่าทำสัญญาไปแล้วก็ตาม หรือแม้ว่าคุณจะผิดสัญญาก็ยังไม่สามารถยึดทรัพย์

ได้ทันทีจะต้องผ่านกระบวนการฟ้องร้องก่อน

.

อย่างไรก็ตามหากคุณต้องการเปลี่ยนทรัพย์เป็นเงินไม่ว่าในรูปแบบไหน ก็ต้องทำความเข้าใจ

ศึกษารายละเอียด และประเมินความเสี่ยงที่จะขึ้นได้ให้รอบคอบที่สุด เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของตัวเราเอง

——————————————————

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

9
Apr 24
ชาวต่างชาติสามารถรับจำนองได้ไหม?

หลายคนอาจจะสงสัยว่าการรับจำนองเนี่ย สามารถทำได้เฉพาะคนไทยใช่หรือไม่? และถ้ามี ชาวต่างชาติรับจำนอง ในไทยสามารถทำได้ไหมนะ? ค้นหาตามสื่อต่างๆ ก็อาจจะยังไม่ได้รับคำตอบที่คลายข้อสงสัยได้เลย วันนี้เรามีคำตอบมาให้ทุกคนได้คลายปมความสงสัยกันแล้วค่ะ ก่อนอื่นเรามาดูความหมายสั้นๆ ของ การจำนองกันก่อนดีกว่าค่ะ การจำนอง คือการที่ผู้จำนองนำทรัพย์สินที่มีค่านำมาประกันเพื่อกู้เงินมาใช้  โดยใช้เป็นหลักประกันคือ อสังหาริมทรัพย์  คือ ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่น คอนโด โฉนดที่ดิน บ้าน อาคารพาณิชย์ โดยการจำนอง ผู้จำนองต้องนำสินทรัพย์ไปจดทะเบียนไว้กับผู้รับจำนองซึ่งต้องกระทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่กรมที่ดินเท่านั้น ทั้งนี้ไม่ต้องโอนที่ดินหรือทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้รับจำนอง สำหรับคำถามที่ว่า ชาวต่างชาติสามารถรับจำนองได้ไหม? การรับจำนองสำหรับกรณีที่ ฝั่งผู้รับจำนองเป้นชาวต่างชาตินั้น ยังไม่มีกฎหมายกำหนดห้าม นั่นหมายความว่า ชาวต่างชาติรับจำนอง ที่ดินได้ เนื่องจากการจำนองไม่ได้มีการเปลี่ยนเจ้าของ เจ้าของในโฉนดที่ดินยังคงเป็นบุคคลเดิมอยู่ สัญญาการจำนองจะแตกต่างจากสัญญากู้เงิน คือเมื่อคุณทำการจดจำนองที่ดินแ […]

อ่านเพิ่มเติม
เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน กับ เจ้าของบ้าน แตกต่างกันอย่างไร?
24
Oct 23
เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน กับ เจ้าของบ้าน แตกต่างกันอย่างไร?

หลายท่านคงสงสัย? ว่าเจ้าบ้านคือใคร!! หรือบางท่านอาจจะคิดไปถึงผีบ้านผีเรือน แต่ที่จริงแล้วตามหลักกฎหมาย ว่าด้วยเรื่องการดูแลบ้าน บ้านทุกหลังต้องมี เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน เพื่อระบุว่าบุคคลที่เป็นเจ้าบ้านนั้น ผู้เป็นหัวหน้าซึ่งครอบครองบ้าน ในฐานะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือในฐานะอื่น เช่น ผู้ดูแลบ้าน แล้วแตกต่างยังไงกับเจ้าของบ้านละ วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยกันค่ะก่อนอื่นเรามาดูความหมายของทั้งสองคำนี้กันก่อนเลยค่ะ เจ้าบ้าน หมายถึง ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะที่เป็นเจ้าของ ผู้เช่า และอื่นๆ โดยหากในทะเบียนบ้านไม่มีชื่อเจ้าบ้าน หรือผู้ที่ถูกแต่งตั้งเป็นเจ้าบ้าน เกิดเสียชีวิต ผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านสามารถมาเป็นเจ้าบ้านแทนได้ เจ้าของบ้าน หมายถึง เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อในโฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขาย มีสิทธิใช้สอย หวงกัน ติดตามเอาทรัพย์คืน. ใช้ยันต่อบุคคลทั่วไป มีกฎหมายรองรับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 โดยจากความหมายด้านบน เจ้าบ้านหรือเจ้าของบ้าน อาจจะเป็นคนเดียวกัน หรือ ไม่ใช่คนเดียวกันก็ได้ค่ะ หน้าที่เจ้าบ้าน VS เจ้าของบ้าน เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน มีหน้าที่ตาม พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร […]

อ่านเพิ่มเติม
โฉนดที่ดิน แต่ละประเภทให้สิทธิ์ในที่ดินต่างกัน
7
Feb 24
รู้หรือไม่? โฉนดที่ดินแต่ละประเภทให้สิทธิ์ในที่ดินต่างกัน

ก่อนที่เราจะตัดสินใจซื้อบ้านหรือที่ดิน เราต้องศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนว่า โฉนดที่ดิน มีกี่ประเภท ซึ่งในปัจจุบันที่ดินถูกแบ่งออกเป็นหลายประเภทมากๆ มีทั้งแบบเป็นกรรมสิทธิ์ที่ดินและเอกสารสิทธิที่ดิน หรือแบบที่คนทั่วไปอย่างเราๆ สามารถซื้อขายกันได้ตามกฎหมาย และแบบที่รัฐออกสิทธิ์ให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินตรงนั้น แต่ไม่อนุญาตให้ครอบครองซื้อขายกันได้ ซึ่งความแตกต่างของสิทธิ์นี้จะระบุในโฉนดที่ดินทั้งหมด บางคนอาจไม่ได้สังเกตุจึงทำให้เข้าใจผิดเกิดเป็นข้อพิพาทฟ้องร้องกันได้ เพื่อความชัดเจนว่าโฉนดที่ดินแบบไหนสามารถซื้อขายกันได้ เราจะรวบรวมข้อมูลโฉนดที่ดินและเอกสารสิทธิ์ที่ดินต่างๆ กัน ทำความรู้จักโฉนดที่ดิน โฉนดที่ดินที่เราเรียกกันบ่อยๆ คือ หนังสือสำคัญที่มีไว้แสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินออกให้โดยกรมที่ดิน ผู้ที่มีโฉนดที่ดินจะถือว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ระบุไว้ในเอกสาร และมีอำนาจในการใช้ประโยชน์จากที่ดินตามพื้นที่ ที่ระบุในโฉนดที่ดินนั้น ซึ่งโฉนดที่ดินมีหลายประเภทและมีกรรมสิทธิ์ที่แตกต่างกันไป เช่น บางชนิดสามารถซื้อขายได้ บางชนิดไม่สามารถซื้อขายได้ โดยสังเกตได้จากสีของตราครุฑ และรหัสเอกสารด้านบนขวา โฉนดท […]

อ่านเพิ่มเติม