ถูกเวนคืนที่ดิน เจ้าของที่ดินต้องรับมืออย่างไร?
10
May 23

เวนคืนที่ดินเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ในที่ดินของเพื่อนๆ โดนรัฐจะนำที่ดินเหล่านั้นมาสร้างเป็นสาธารณูปโภคต่าง ๆ
เพื่อพัฒนาประเทศ เช่น เส้นทางคมนาคม โครงการพัฒนา หรือ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่มีแผนพัฒนาอีกยาวไกลในอนาคต
สำหรับการเวนคืนที่ดิน เพื่อนๆ หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจกระบวนการ และ ขั้นตอนที่จะรักษา “สิทธิ”ของตัวเองให้มีความคุ้มค่าที่สุดยังไง
วันนี้เราจะพาเพื่อนๆทุกคนไปเรียนรู้ขั้นตอนต่างๆ สำหรับการ ถูกเวนคืนที่ดิน เจ้าของที่ดินต้องรับมืออย่างไร?

เวนคืนที่ดินคือ
การที่ภาครัฐ หรือหน่วยงานราชการบังคับขอซื้อที่ดินจากประชาชนที่เป็นเจ้าของที่ดิน เพื่อนำไปสร้างสาธารณประโยชน์
หรือพัฒนาระบบสาธารณูปโภคของประเทศ เช่น สร้างถนน สร้างทางด่วน มอเตอร์เวย์ หรือ สร้างสถานีรถไฟฟ้า เป็นต้น

ขั้นตอนการเวนคืนที่ดินของภาครัฐ

  1. รัฐจะประกาศพื้นที่ที่อยู่ในเขตแนวเวนคืนที่ดิน
  2. เจ้าหน้าที่จะเข้าดำเนินการสำรวจว่าอสังหาริมทรัพย์ใดบ้าง ที่อยู่ในเขตพื้นที่เวนคืนที่ดิน
  3. รัฐจะกำหนดราคาเวนคืนของอสังหาริมทรัพย์ และที่ดินในพื้นที่เวนคืนพิจารณาจากสภาพ
    และทำเลที่ตั้งของที่ดินด้วย และถ้าต้องเวนคืนเพียงบางส่วนของที่ดิน แล้วส่งผลให้ที่ดินส่วนที่เหลือนั้นราคาตก
    อันเกิดจากการเวนคืนที่ดิน เจ้าหน้าที่ต้องให้กำหนดเงินค่าทดแทนราคาที่ตกนั้นด้วย
  4. ข้อนี้สำคัญมาก รัฐทำการประกาศราคาค่าทดแทนพื้นที่ที่ถูกเวนคืน
    ซึ่งหากหน่วยงานประกาศแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนใจปรับลดจำนวนเงินค่าทดแทนได้ในภายหลัง
    (การปรับเปลี่ยนจำนวนเงินนั้นมีความยุ่งยาก และ ต้องใช้เวลานานพอสมควรเลยในการอุทธรณ์ และ ฟ้องร้องต่อศาล)
  5. ออกหนังสือแจ้งเจ้าของที่ดินให้มาติดต่อทำสัญญาซื้อขาย ถ้ายังไม่ตกลงทำสัญญาจะดำเนินการจ่ายเงินค่าทดแทนก่อน
  6. ขั้นตอนจ่ายเงินค่าทดแทน ทำสัญญาซื้อขายและรับเงินทดแทนจากเจ้าหน้าที่
  7. หากไม่พอใจคำวินิจฉัยเงินทดแทนของรัฐมนตรี สามารถอุทธรณ์ขอเพิ่มราคาเงินค่าทดแทน
    ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ โดยฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี
  8. เมื่อศาลตัดสินเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จ่ายเงินค่าทดแทนและเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์และที่ดิน
  9. ขนย้ายรื้อถอนอสังหาริมทรัพย์โดยรัฐหรือผู้ถูกเวนคืน
  10. ตรา พ.ร.บ. เวนคืนฯ เพื่อให้กรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ตกเป็นของรัฐ

ผลประโยชน์ที่เจ้าของที่ดินควรทราบ

  1. รัฐจะเวนคืนที่ดินได้เฉพาะกิจการที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น
  2. รัฐต้องจ่ายค่าทดแทนที่เป็นธรรมให้กับเจ้าของที่ดิน
  3. รัฐต้องกำหนดค่าทดแทนตามราคาซื้อ – ขายของตลาด
  4. รัฐต้องระบุวัตถุประสงค์ และ วันที่เข้าใช้งานพื้นที่อย่างชัดเจน
  5. ผลประโยชน์ทางภาษีอากร เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนจะได้รับการยกเว้น ค่าธรรมเนียม และ อากร
  6. ผลประโยชน์ที่จะได้ทำสัญญาตกลงซื้อขายที่ดินและรับเงินค่าทดแทนก่อนที่จะตราพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดิน
  7. ผลประโยชน์ที่จะรับเงินค่าทดแทนตามที่ภาครัฐกำหนด และ มีสิทธิ์อุทธรณ์ กรณีไม่พอใจเงินทดแทน
  8. ผลประโยชน์ ที่จะอุทธรณ์ เงินค่าทดแทนเพิ่มภายใน 60 วัน หลังจากที่ได้รับหนังสือแจ้ง และ ต้องฟ้องร้องศาลภายใน 1 ปี

สามารถตรวจสอบราคาที่ดินได้ตนเอง
สำหรับการตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน สามารถเข้าไปเช็คกับ กรมธนารักษ์
ด้วยตัวเองได้ที่  https://landsmaps.dol.go.th

เพื่อนๆคงเข้าใจแล้วใช่ไหมคะ ว่า ถูกเวนคืนที่ดิน เจ้าของที่ดินต้องรับมืออย่างไร?
และการเวนคืนที่ดินในสมัยนี้เป็นเรื่องที่ไม่น่าวิตกกังวลสักเท่าไหร่นัก เพราะแค่เพียงเราทราบถึง “ผลประโยชน์” ของเรา
ที่จะได้รับก็ไม่มีอะไรน่ากังวล  แต่จะมีหนึ่งข้อที่สำคัญมาก ๆ ห้ามพลาดเลยเพราะจะเสียเวลามากนั้นคือ
เมื่อรัฐประกาศราคาค่าทดแทนแล้ว การปรับเปลี่ยนภายหลังจะยากและต้องใช้เวลานานในการอุทธรณ์และฟ้องร้องต่อศาลใช้เวลานานพอสมควร
ฉะนั้นควรเช็คราคาประเมินที่ดินของเราให้ดีๆ

ถูกเวนคืนที่ดิน เจ้าของที่ดินต้องรับมืออย่างไร?

——————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน กับ เจ้าของบ้าน แตกต่างกันอย่างไร?
24
Oct 23
เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน กับ เจ้าของบ้าน แตกต่างกันอย่างไร?

หลายท่านคงสงสัย? ว่าเจ้าบ้านคือใคร!! หรือบางท่านอาจจะคิดไปถึงผีบ้านผีเรือน แต่ที่จริงแล้วตามหลักกฎหมาย ว่าด้วยเรื่องการดูแลบ้าน บ้านทุกหลังต้องมี เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน เพื่อระบุว่าบุคคลที่เป็นเจ้าบ้านนั้น ผู้เป็นหัวหน้าซึ่งครอบครองบ้าน ในฐานะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือในฐานะอื่น เช่น ผู้ดูแลบ้าน แล้วแตกต่างยังไงกับเจ้าของบ้านละ วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยกันค่ะก่อนอื่นเรามาดูความหมายของทั้งสองคำนี้กันก่อนเลยค่ะ เจ้าบ้าน หมายถึง ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะที่เป็นเจ้าของ ผู้เช่า และอื่นๆ โดยหากในทะเบียนบ้านไม่มีชื่อเจ้าบ้าน หรือผู้ที่ถูกแต่งตั้งเป็นเจ้าบ้าน เกิดเสียชีวิต ผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านสามารถมาเป็นเจ้าบ้านแทนได้ เจ้าของบ้าน หมายถึง เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อในโฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขาย มีสิทธิใช้สอย หวงกัน ติดตามเอาทรัพย์คืน. ใช้ยันต่อบุคคลทั่วไป มีกฎหมายรองรับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 โดยจากความหมายด้านบน เจ้าบ้านหรือเจ้าของบ้าน อาจจะเป็นคนเดียวกัน หรือ ไม่ใช่คนเดียวกันก็ได้ค่ะ หน้าที่เจ้าบ้าน VS เจ้าของบ้าน เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน มีหน้าที่ตาม พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร […]

อ่านเพิ่มเติม
อัปเดต! การชำระ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2568
18
Jan 25
อัปเดต! การจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี 2568

เปิดศักราชใหม่ กับเรื่องควรรู้ เกี่ยวกับ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2568 วันนี้ Property4Cash ได้รวมข้อมูลต่างๆ มาไว้ให้แล้วค่ะ โดยการจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ในปี 2568 มีการขยายระยะเวลาชำระภาษี จากเดิมเดือนเมษายน เลื่อนเป็นมิถุนายน เพื่อลดภาระและบรรเทาความเดือดร้อนจากสถานการณ์น้ำท่วมให้กับประชาชน ดังนั้น Property4Cash สรุปมาให้เช็ก ว่า… ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแต่ละประเภท ต้องเสียภาษีเท่าไร? เพื่อเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้า เพราะหากชำระล่าช้า ต้องจ่ายค่าปรับสูงสุดถึง 40% ของภาษีที่ค้างชำระเลยนะ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ประเภทไหน ต้องเสียภาษีที่ดิน 2568 ประเภทที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่ต้องเสียภาษีมี 4 ประเภท แบ่งตามรูปแบบการใช้งาน คือ ที่ดินเกษตรกรรม ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม และที่ดินที่ทิ้งไว้ว่างเปล่า ซึ่งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแต่ละประเภท มีอัตราการเสียภาษีที่แตกต่างกัน ดังนี้   1. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างเพื่อการเกษตรกรรม มูลค่าไม่เกิน 75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.01% (บุคคลธรรมดายกเว้น 50 ล้านแรก) มูลค่า 75 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03% มูลค่า 1 […]

อ่านเพิ่มเติม
25
Aug 23
โฉนดที่ดินหาย! ทำยังไงดี

#โฉนดที่ดิน อาจจะเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับหลายๆ คน เพราะเมื่อได้มาเราก็จะเก็บมันไว้เพราะเป็นเอกสารสำคัญของบ้าน และไม่ใช่เอกสารที่จะพกพาติดตัว เนื่องจากมีขนาดที่ใหญ่ แต่หากวันไหนที่ต้องใช้และพบว่า โฉนดที่ดินหาย หรือเกิดชำรุดขึ้นมาล่ะ จะทำยังไง? ก่อนอื่นไม่ต้องตกใจไปนะคะ เราสามารถยื่นขอโฉนดที่ดินใหม่ได้ ส่วนขั้นตอนจะเป็นอย่างไร วันนี้เราจะมาบอกทุกคนเองค่ะ แจ้งความต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น อันดับแรกเลยก็คือต้องไป แจ้งความต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เพื่อลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน เพื่อยืนยันว่าเจ้าของที่ดินนั้นไม่ได้นำโฉนดที่ดินไปจำหน่าย #จำนอง หรือแลกเปลี่ยนเป็นของผู้อื่น ติดต่อกับสำนักงานที่ดิน เมื่อได้ใบบันทึกประจำวันมาเรียบร้อยแล้ว ให้นำเอกสารมาติดต่อที่สำนักงานที่ดิน เพื่อขอโฉนดที่ดินใหม่ โดยเอกสารที่ต้องเตรียมไปด้วยมีดังนี้ – บัตรประชาชนตัวจริงของผู้ที่ยื่นขอโฉนดที่ดินใหม่ – ทะเบียนบ้านตัวจริงของผู้ที่ยื่นขอโฉนดที่ดินใหม่ – ใบแจ้งความ / บันทึกประจำวัน – พยานบุคคล 2 คน พร้อมบัตรประชาชนตัวจริง ซึ่งหากเกิดปัญหาในภายหลัง พยานทั้ง 2 คนนี้ จะต้องเป็นพยานในชั้นศาลด้วย เมื่ […]

อ่านเพิ่มเติม